‘สภาผู้บริโภค’ ชี้ภาครัฐละเลยไม่กำกับดูแล-ควบคุมเพดานค่ารักษาพยาบาล ‘โรงพยาบาลเอกชน’ ทำให้ผู้บริโภคถูกเรียกเก็บค่าบริการตามใจชอบ

23 ตุลาคม 2567-รายงานสำนักข่าวอิศราระบุว่า จากกรณีผู้บริโภคสะท้อนปัญหาการเข้าไปใช้บริการรักษาสุขภาพในโรงพยาบาลเอกชน ที่มีราคาต่างกัน แม้จะเข้าใช้บริการด้วยอาการเดียวกัน โดยผู้บริโภครายนี้ระบุว่ากรณีที่ไม่ได้ใช้ประกันสุขภาพ โรงพยาบาลคิดค่าบริการ 1,400 บาท ต่อมามีอาการเจ็บป่วยในลักษณะเดิมและผู้บริโภคใช้ประกันสุขภาพผู้ป่วยนอก กลับถูกคิดค่าบริการ 3,400 บาท โดยประกันคุ้มครองฯจ่าย 2,000 บาท ทำให้ต้องจ่ายเพิ่มเองอีก 1,400 บาท ซึ่งไม่เป็นธรรมในการใช้บริการ นั้น

นพ.ขวัญประชา เชียงไชยสกุลไทย อนุกรรมการด้านบริการสุขภาพ สภาองค์กรของผู้บริโภค เปิดเผยถึงกรณีดังกล่าว ว่า สาเหตุของปัญหานี้ เป็นเพราะไม่มีการควบคุมราคาค่ารักษา โดยเฉพาะหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่ต้องกำกับ ดูแลค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาลเอกชน แต่ปล่อยปละละเลย ทำให้โรงพยาบาลเอกชนคิดราคาค่ารักษาได้โดยไม่มีเพดานกำหนด ซึ่งการกระทำดังกล่าวถือว่าละเมิดสิทธิผู้บริโภค

ดังนั้น สิ่งที่ภาครัฐต้องดำเนินการ คือ การทบทวนมาตรการกำกับค่ารักษาพยาบาลที่แพงเกินจริงและกำหนดราคากลางที่เป็นธรรม รวมทั้งไม่ควรปล่อยให้เกิดการแข่งขันของโรงพยาบาลเอกชนมากเกินไป เพราะจะกลายเป็นช่องโหว่ให้มีการเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภคเกิดขึ้น

นอกจากนี้ ขอเสนอให้ผู้บริโภคต้องตรวจสอบใบเสร็จมีรายการใดบ้างที่จ่ายไป และเหตุใดที่การรักษาอาการเดียวกัน แต่เมื่อมีประกันภัยจ่ายค่ารักษาให้ราคากลับเพิ่มขึ้น แสดงว่าโรงพยาบาลแห่งนั้น อาจไม่ทำตามประกาศอัตราค่าบริการที่ติดประกาศไว้ ซึ่งกรมการค้าภายในที่กำกับดูแลเรื่องประกาศอัตราค่าบริการไม่ควรนิ่งเฉยกับกรณีนี้

“เมื่อเกิดปัญหาค่ารักษาพยาบาลแพง ภาครัฐจะแก้ไขปัญหาเป็นรายกรณีไป ไม่มีแนวทางที่แก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ หรือมีมาตรการที่จะออกมาควบคุมกำกับราคาอย่างจริงจัง เพราะภาพรวมคือการขาดกลไกการควบคุมกำกับ ไม่มีภาครัฐเคยดูเลยว่าโรงพยาบาลเอกชนเรียกเก็บเงินอย่างไร ผู้บริโภคแทบไม่ได้รับการช่วยเหลือเลย” นพ.ขวัญประชา กล่าว

นพ.ขวัญประชา ยังระบุว่า ที่ผ่านมาสภาผู้บริโภคเคยส่งหนังสือข้อเสนอแนะทางนโยบายไปยังกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ โดยขอให้มีการกำกับราคาค่ารักษาพยาบาลให้ชัดเจน มีมาตรฐาน และเป็นธรรมต่อผู้บริโภค รวมถึงมีข้อเสนอแนะไปยังกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ให้ดำเนินการพัฒนาระบบคลังข้อมูล โดยกำหนดให้มีการแสดงรายละเอียดของรายการที่เกี่ยวข้องกับต้นทุนค่าบริการรักษาพยาบาลในงบกำไรขาดทุนของโรงพยาบาลเอกชน

“เราเคยเสนอองค์ความรู้ในการควบคุมราคาว่า จริงๆแล้ว สามารถทำกลไกการควบคุมราคาได้ โดยใช้ข้อมูลที่กรมการค้าภายในและข้อมูลที่กรมพัฒนาเศรษฐกิจการค้า สังกัดกระทรวงพาณิชย์มีข้อมูล ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานไหนตอบรับข้อเสนอ แต่สภาผู้บริโภคจะผลักดันข้อเสนอต่อเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค” นพ.ขวัญประชา ระบุ

อย่างไรก็ตาม หากผู้บริโภคพบปัญหาถูกเรียกเก็บค่ารักษาแพงเกินจริง ร้องเรียนได้ที่สายด่วนสภาผู้บริโภค 1502 หรือร้องเรียนออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ tcc.or.th และสามารถร้องเรียนกับหน่วยงานประจำจังหวัดของสภาผู้บริโภค ทั้ง 19 จังหวัด โดยดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ https://www.tcc.or.th/tcc-agency/

ที่มา https://www.isranews.org/article/isranews-short-news/132801-TCC-Medical-expense-Private-hospital-news.html?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR2JZQTQpzsbX3j9O_APQSKLhqcTwWNdJqKrHhBPKE-YJNobdOfkSq87DXo_aem_NZvpNKA39nV0yUf4Xw6crw
‘สภาผู้บริโภค’ ชี้ภาครัฐละเลยไม่กำกับดูแล-ควบคุมเพดานค่ารักษาพยาบาล ‘โรงพยาบาลเอกชน’ ทำให้ผู้บริโภคถูกเรียกเก็บค่าบริการตามใจชอบ 23 ตุลาคม 2567-รายงานสำนักข่าวอิศราระบุว่า จากกรณีผู้บริโภคสะท้อนปัญหาการเข้าไปใช้บริการรักษาสุขภาพในโรงพยาบาลเอกชน ที่มีราคาต่างกัน แม้จะเข้าใช้บริการด้วยอาการเดียวกัน โดยผู้บริโภครายนี้ระบุว่ากรณีที่ไม่ได้ใช้ประกันสุขภาพ โรงพยาบาลคิดค่าบริการ 1,400 บาท ต่อมามีอาการเจ็บป่วยในลักษณะเดิมและผู้บริโภคใช้ประกันสุขภาพผู้ป่วยนอก กลับถูกคิดค่าบริการ 3,400 บาท โดยประกันคุ้มครองฯจ่าย 2,000 บาท ทำให้ต้องจ่ายเพิ่มเองอีก 1,400 บาท ซึ่งไม่เป็นธรรมในการใช้บริการ นั้น นพ.ขวัญประชา เชียงไชยสกุลไทย อนุกรรมการด้านบริการสุขภาพ สภาองค์กรของผู้บริโภค เปิดเผยถึงกรณีดังกล่าว ว่า สาเหตุของปัญหานี้ เป็นเพราะไม่มีการควบคุมราคาค่ารักษา โดยเฉพาะหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่ต้องกำกับ ดูแลค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาลเอกชน แต่ปล่อยปละละเลย ทำให้โรงพยาบาลเอกชนคิดราคาค่ารักษาได้โดยไม่มีเพดานกำหนด ซึ่งการกระทำดังกล่าวถือว่าละเมิดสิทธิผู้บริโภค ดังนั้น สิ่งที่ภาครัฐต้องดำเนินการ คือ การทบทวนมาตรการกำกับค่ารักษาพยาบาลที่แพงเกินจริงและกำหนดราคากลางที่เป็นธรรม รวมทั้งไม่ควรปล่อยให้เกิดการแข่งขันของโรงพยาบาลเอกชนมากเกินไป เพราะจะกลายเป็นช่องโหว่ให้มีการเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภคเกิดขึ้น นอกจากนี้ ขอเสนอให้ผู้บริโภคต้องตรวจสอบใบเสร็จมีรายการใดบ้างที่จ่ายไป และเหตุใดที่การรักษาอาการเดียวกัน แต่เมื่อมีประกันภัยจ่ายค่ารักษาให้ราคากลับเพิ่มขึ้น แสดงว่าโรงพยาบาลแห่งนั้น อาจไม่ทำตามประกาศอัตราค่าบริการที่ติดประกาศไว้ ซึ่งกรมการค้าภายในที่กำกับดูแลเรื่องประกาศอัตราค่าบริการไม่ควรนิ่งเฉยกับกรณีนี้ “เมื่อเกิดปัญหาค่ารักษาพยาบาลแพง ภาครัฐจะแก้ไขปัญหาเป็นรายกรณีไป ไม่มีแนวทางที่แก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ หรือมีมาตรการที่จะออกมาควบคุมกำกับราคาอย่างจริงจัง เพราะภาพรวมคือการขาดกลไกการควบคุมกำกับ ไม่มีภาครัฐเคยดูเลยว่าโรงพยาบาลเอกชนเรียกเก็บเงินอย่างไร ผู้บริโภคแทบไม่ได้รับการช่วยเหลือเลย” นพ.ขวัญประชา กล่าว นพ.ขวัญประชา ยังระบุว่า ที่ผ่านมาสภาผู้บริโภคเคยส่งหนังสือข้อเสนอแนะทางนโยบายไปยังกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ โดยขอให้มีการกำกับราคาค่ารักษาพยาบาลให้ชัดเจน มีมาตรฐาน และเป็นธรรมต่อผู้บริโภค รวมถึงมีข้อเสนอแนะไปยังกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ให้ดำเนินการพัฒนาระบบคลังข้อมูล โดยกำหนดให้มีการแสดงรายละเอียดของรายการที่เกี่ยวข้องกับต้นทุนค่าบริการรักษาพยาบาลในงบกำไรขาดทุนของโรงพยาบาลเอกชน “เราเคยเสนอองค์ความรู้ในการควบคุมราคาว่า จริงๆแล้ว สามารถทำกลไกการควบคุมราคาได้ โดยใช้ข้อมูลที่กรมการค้าภายในและข้อมูลที่กรมพัฒนาเศรษฐกิจการค้า สังกัดกระทรวงพาณิชย์มีข้อมูล ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานไหนตอบรับข้อเสนอ แต่สภาผู้บริโภคจะผลักดันข้อเสนอต่อเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค” นพ.ขวัญประชา ระบุ อย่างไรก็ตาม หากผู้บริโภคพบปัญหาถูกเรียกเก็บค่ารักษาแพงเกินจริง ร้องเรียนได้ที่สายด่วนสภาผู้บริโภค 1502 หรือร้องเรียนออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ tcc.or.th และสามารถร้องเรียนกับหน่วยงานประจำจังหวัดของสภาผู้บริโภค ทั้ง 19 จังหวัด โดยดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ https://www.tcc.or.th/tcc-agency/ ที่มา https://www.isranews.org/article/isranews-short-news/132801-TCC-Medical-expense-Private-hospital-news.html?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR2JZQTQpzsbX3j9O_APQSKLhqcTwWNdJqKrHhBPKE-YJNobdOfkSq87DXo_aem_NZvpNKA39nV0yUf4Xw6crw
WWW.ISRANEWS.ORG
‘สภาผู้บริโภค’ชี้รัฐละเลย-ไม่ควบคุมค่ารักษาพยาบาล เปิดช่อง‘รพ.เอกชน’เอาเปรียบผู้บริโภค
‘สภาผู้บริโภค’ ชี้ภาครัฐละเลยไม่กำกับดูแล-ควบคุมเพดานค่ารักษาพยาบาล ‘โรงพยาบาลเอกชน’ ทำให้ผู้บริโภคถูกเรียกเก็บค่าบริการตามใจชอบ
Like
4
0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 649 มุมมอง 0 รีวิว