จากแหล่งช่าวในกัมพูชา คือ กัมพูชาเดลี่ และขแมร์ไทมส์ และข่าวจาก เซาท์ ไชน่า มอร์นิ่งโพสต์ ลงข่าวตรงกันว่ารัฐบาลไทยเป็นฝ่ายเร่งรีบเจรจาพื้นที่ทางทะเลระหว่างไทยและกัมพูชาในอ่าวไทย การกระทำเช่นนี้ย่อมเสี่ยงเป็นการยกพื้นที่ทางทะเลของไทย ให้กลายเป็นพื้นที่ทับซ้อนของไทย-กัมพูชา ผลคือเราแทบไม่ได้อะไร พลังงานที่จะตกอยู่กับผู้รับสัมปทานเดิม คือยกให้เชฟรอนของสหรัฐอเมริกาที่ได้รับสัญญาสัปทานที่ไทยเสียเปรียบเมื่อ 50 ปีก่อน โดยที่ฝ่ายไทยไม่ได้เงื่อนไขการยกเลิกสัญญาจนถึงวันนี้ โดยในขณะที่ดอลลาร์สหรัฐกำลังเสื่อมถอย และในขณะที่ BRICS กำลังสถาปนาสกุลเงินของโลกใหม่ ย่อมเท่ากับไทยประกาศให้แหล่งปิโตรเลียมขนาดใหญ่ของโลกตรึงอยู่กับเงินดอลลาร์สหรัฐ(ปิโตรดอลลาร์)ไปโดยปริยาย ดังนั้นประเทศไทยจะไม่ได้อะไรอย่างที่กล่าวอ้าง ประชาชนไม่ได้อะไรเรื่องค่าไฟฟ้า เพราะปัจจุบันปัญหาที่แท้จริงคือโรงไฟฟ้าเราก็ผลิตล้นเกินจนค่าไฟแพงมหาศาล แหล่งปิโตรเลียมราคาขายให้ประชาชนก็อิงราคาตลาดโลก ก๊าซธรรมชาติผ่านโรงแยกก๊าซก็จะมอบให้อุตสาหกรรมปิโตรเลียมก่อนประชาชน มีแต่สหรัฐอเมริกาจะอาศัยสิทธิ์ให้มีกองกำลังเข้ามาคุ้มครองแหล่งปิโตรเลียมในอ่าวไทย เหมือนกับที่จีนเข้ามาคุ้มครองท่อก๊าซธรรมชาติในเมียนมา การใช้นโยบายต่างประเทศเช่นนี้จึงป็นการชักศึกเข้าบ้านในสถานการเประาบางอ่อนไหวในทางภูมิรัฐศาสตร์ จะมาอ้างไม่ได้ว่าเป็นการเจรจาร่วมเรื่องพลังงานอย่างเดียวไม่เกี่ยวกับเขตแดน คำถามคือ แล้วแหล่งพลังงานที่เคยเป็นของไทยแท้ๆ ผู้รับสัมปทานหรือแบ่งปันผลผลิตจะเป็นการเซ็นสัญญากับชาติใด? ถ้าเป็นของไทยก็ต้องเซ็นกับรัฐบาลไทยเท่านั้น ถ้ายอมรับว่าเป็นพื้นที่ทับซ้อน ก็ต้องเซ็นลงนาม 2 ประเทศ การกระทำเช่นนี้จึงย่อมเท่ากับยกทรัพยากรของไทยในประเทศไทย ให้กลายเป็นของทั้ง 2 ประเทศ เป็นการสละทะเลอาณาเขตของไทย ทั้งๆที่กัมพูชาขีดเส้นทางทะเลอย่างไม่ถูกต้องตามกฎหมายสากลคร่อมเกาะกูดประเทศไทย กองทัพเรือและประชาชนชาวไทยจะยอมได้อย่างไร

ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
22 ตุลาคม 2567

https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1078558973637802/?
จากแหล่งช่าวในกัมพูชา คือ กัมพูชาเดลี่ และขแมร์ไทมส์ และข่าวจาก เซาท์ ไชน่า มอร์นิ่งโพสต์ ลงข่าวตรงกันว่ารัฐบาลไทยเป็นฝ่ายเร่งรีบเจรจาพื้นที่ทางทะเลระหว่างไทยและกัมพูชาในอ่าวไทย การกระทำเช่นนี้ย่อมเสี่ยงเป็นการยกพื้นที่ทางทะเลของไทย ให้กลายเป็นพื้นที่ทับซ้อนของไทย-กัมพูชา ผลคือเราแทบไม่ได้อะไร พลังงานที่จะตกอยู่กับผู้รับสัมปทานเดิม คือยกให้เชฟรอนของสหรัฐอเมริกาที่ได้รับสัญญาสัปทานที่ไทยเสียเปรียบเมื่อ 50 ปีก่อน โดยที่ฝ่ายไทยไม่ได้เงื่อนไขการยกเลิกสัญญาจนถึงวันนี้ โดยในขณะที่ดอลลาร์สหรัฐกำลังเสื่อมถอย และในขณะที่ BRICS กำลังสถาปนาสกุลเงินของโลกใหม่ ย่อมเท่ากับไทยประกาศให้แหล่งปิโตรเลียมขนาดใหญ่ของโลกตรึงอยู่กับเงินดอลลาร์สหรัฐ(ปิโตรดอลลาร์)ไปโดยปริยาย ดังนั้นประเทศไทยจะไม่ได้อะไรอย่างที่กล่าวอ้าง ประชาชนไม่ได้อะไรเรื่องค่าไฟฟ้า เพราะปัจจุบันปัญหาที่แท้จริงคือโรงไฟฟ้าเราก็ผลิตล้นเกินจนค่าไฟแพงมหาศาล แหล่งปิโตรเลียมราคาขายให้ประชาชนก็อิงราคาตลาดโลก ก๊าซธรรมชาติผ่านโรงแยกก๊าซก็จะมอบให้อุตสาหกรรมปิโตรเลียมก่อนประชาชน มีแต่สหรัฐอเมริกาจะอาศัยสิทธิ์ให้มีกองกำลังเข้ามาคุ้มครองแหล่งปิโตรเลียมในอ่าวไทย เหมือนกับที่จีนเข้ามาคุ้มครองท่อก๊าซธรรมชาติในเมียนมา การใช้นโยบายต่างประเทศเช่นนี้จึงป็นการชักศึกเข้าบ้านในสถานการเประาบางอ่อนไหวในทางภูมิรัฐศาสตร์ จะมาอ้างไม่ได้ว่าเป็นการเจรจาร่วมเรื่องพลังงานอย่างเดียวไม่เกี่ยวกับเขตแดน คำถามคือ แล้วแหล่งพลังงานที่เคยเป็นของไทยแท้ๆ ผู้รับสัมปทานหรือแบ่งปันผลผลิตจะเป็นการเซ็นสัญญากับชาติใด? ถ้าเป็นของไทยก็ต้องเซ็นกับรัฐบาลไทยเท่านั้น ถ้ายอมรับว่าเป็นพื้นที่ทับซ้อน ก็ต้องเซ็นลงนาม 2 ประเทศ การกระทำเช่นนี้จึงย่อมเท่ากับยกทรัพยากรของไทยในประเทศไทย ให้กลายเป็นของทั้ง 2 ประเทศ เป็นการสละทะเลอาณาเขตของไทย ทั้งๆที่กัมพูชาขีดเส้นทางทะเลอย่างไม่ถูกต้องตามกฎหมายสากลคร่อมเกาะกูดประเทศไทย กองทัพเรือและประชาชนชาวไทยจะยอมได้อย่างไร ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ 22 ตุลาคม 2567 https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1078558973637802/?
Like
Love
Sad
Angry
15
1 ความคิดเห็น 2 การแบ่งปัน 737 มุมมอง 0 รีวิว