ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมไทย ได้ให้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวเมื่อวันที่20ตุลาคมนี้ ให้ข้อมูลความรู้ปรากฏการณ์เมฆระเบิด กรณีอุทกภัยจากฝนตกหนักที่พื้นที่อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี เนื้อหาดังต่อไปนี้

เมฆระเบิด(Cloudburst) ทำให้เกิดฝนกระ หน่ำ(RainBomb)หนัก จะเกิดขึ้นบ่อยที่ประเทศไทยในทุกฤดูฝน

1.กรณีที่เกิดฝนตกอย่างหนัก4ชั่วโมงริมเชิงเขา เกิดน้ำป่าไหลหลากน้ำท่วมหนักในพื้นที่อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี เกิดความเสียหายมหาศาลอาจเกิดมาจากปรากฎการณ์ CloudburstและRain Bomb

2 สภาวะการเกิดเมฆระเบิด (Cloudburst)
ส่วนใหญ่เกิดในพื้นที่ใกล้เชิงเขาในกรณีที่อากาศบนพื้นดินและอากาศบนยอดเขามีอุณหภูมิที่แตกต่างกันค่อนข้างมากทำให้อากาศร้อนหรือมวลความกดอากาศต่ำที่อยู่ใกล้เชิงเขาจะพัดเคลื่อนที่ขึ้นในแนวดิ่งไปยังยอดเขาซึ่งมีอากาศเย็นกว่าอย่างกะ ทันหัน ทำให้สภาพภูมิอากาศใกล้พื้นโลกเย็นลงอย่างรวดเร็ว เกิดความชื้นสัมพัทธ์สูงขึ้นและความชื้นรวมตัวกันเป็นเมฆฝนมากขึ้น นอกจากนี้ลมที่พัดในแนวราบได้พัดพานำเมฆที่กระจัดกระจายมารวมกันอยู่ที่เชิงเขารวมตัวกันเป็นเมฆก้อนใหญ่ที่มีความชื้นสูง เมื่อมีมวลอากาศเย็นจากมหา สมุทรพัดหรือจากแผ่นดินใหญ่พัดเข้ามาปะทะจึงทำให้เกิดปรากฎการณ์เมฆระเบิดเกิดการกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ และกลายเป็นฝนที่ตกลงมากระหน่ำหรือRain Bombทำอาจให้เกิดน้ำท่วมอย่างกะทันหันได้

3.จากนี้เป็นต้นไปการเกิดเมฆระเบิด และการเกิดฝนตกกระหน่ำอย่างรุนแรงในพื้น ที่ใดพื้นที่หนึ่ง จะเกิดขึ้นบ่อยมากขึ้นโดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีลักษณะภูมิประเทศต่างกันเช่น เป็นภูเขาสูงที่มีป่าไม้หนาแน่นหรือในเมืองที่มีตึกและอาคารค่อนข้างสูงจะทำ ให้อุณหภูมิระหว่างพื้นดินกับระดับความสูงขึ้นไปเกิดความแตกต่างกันมากขึ้น การเกิดปรากฎการณ์ดังกล่าวจะคาดการณ์ได้ค่อนข้างยากเนื่องจากภาวะโลกร้อนที่รุน แรงขึ้นทำให้เกิดอากาศแปรปรวนและทำ ให้น้ำในมหาสมุทรและทะเลระเหยขึ้นไปรวมกันเป็นความชื้นในอากาศมากกว่าปรก ติ นอกจากนี้ยังทำให้อุณหภูมิเกิดความแตกต่างกันมากขึ้นระหว่างระดับพื้นดินและระดับที่สูงขึ้นไป ดังนั้นการเกิดสภาวะเมฆระเบิดและฝนตกกระหน่ำจึงคาดเดาได้ยากแต่มักจะเกิดในช่วงที่มีร่องมรสุมความกดอากาศต่ำพัดผ่านและช่วงที่มวล อากาศเย็นพัดจากแผ่นดินใหญ่หรือทะเลมหาสมุทรมาปะทะ

4. คาดว่าช่วงเดือนพฤศจิกายนมวลความกดอากาศสูงหรืออากาศเย็นจากแผ่นดินใหญ่จะพัดลงมารุนแรงมากขึ้นและร่องมร สุมจะเคลื่อนที่ลงสู่ภาคใต้ตอนล่างจะทำ ให้ปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดลดน้อลง..แต่มวลอากาศเย็นที่แผ่ลงมาซึ่งเป็นความกดอากาศสูงจะกดทับอากาศบนพื้นโลกไว้ ทำให้การระบายอากาศ จากแหล่งกำเนิดมลพิษต่างๆบนพื้นโลกในแนวดิ่งจะระบายได้น้อยลง ..ฝุ่น PM2.5 จะเริ่มกลับมา..

ที่มา https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid02PiJQCYxCAuMQ8nxg2gUkukfixV5TA7Zz4iC2SQShyvBeXdgwH5bK8JVqpUqefBQUl&id=100000260097650

#Thaitimes
ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมไทย ได้ให้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวเมื่อวันที่20ตุลาคมนี้ ให้ข้อมูลความรู้ปรากฏการณ์เมฆระเบิด กรณีอุทกภัยจากฝนตกหนักที่พื้นที่อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี เนื้อหาดังต่อไปนี้ เมฆระเบิด(Cloudburst) ทำให้เกิดฝนกระ หน่ำ(RainBomb)หนัก จะเกิดขึ้นบ่อยที่ประเทศไทยในทุกฤดูฝน 1.กรณีที่เกิดฝนตกอย่างหนัก4ชั่วโมงริมเชิงเขา เกิดน้ำป่าไหลหลากน้ำท่วมหนักในพื้นที่อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี เกิดความเสียหายมหาศาลอาจเกิดมาจากปรากฎการณ์ CloudburstและRain Bomb 2 สภาวะการเกิดเมฆระเบิด (Cloudburst) ส่วนใหญ่เกิดในพื้นที่ใกล้เชิงเขาในกรณีที่อากาศบนพื้นดินและอากาศบนยอดเขามีอุณหภูมิที่แตกต่างกันค่อนข้างมากทำให้อากาศร้อนหรือมวลความกดอากาศต่ำที่อยู่ใกล้เชิงเขาจะพัดเคลื่อนที่ขึ้นในแนวดิ่งไปยังยอดเขาซึ่งมีอากาศเย็นกว่าอย่างกะ ทันหัน ทำให้สภาพภูมิอากาศใกล้พื้นโลกเย็นลงอย่างรวดเร็ว เกิดความชื้นสัมพัทธ์สูงขึ้นและความชื้นรวมตัวกันเป็นเมฆฝนมากขึ้น นอกจากนี้ลมที่พัดในแนวราบได้พัดพานำเมฆที่กระจัดกระจายมารวมกันอยู่ที่เชิงเขารวมตัวกันเป็นเมฆก้อนใหญ่ที่มีความชื้นสูง เมื่อมีมวลอากาศเย็นจากมหา สมุทรพัดหรือจากแผ่นดินใหญ่พัดเข้ามาปะทะจึงทำให้เกิดปรากฎการณ์เมฆระเบิดเกิดการกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ และกลายเป็นฝนที่ตกลงมากระหน่ำหรือRain Bombทำอาจให้เกิดน้ำท่วมอย่างกะทันหันได้ 3.จากนี้เป็นต้นไปการเกิดเมฆระเบิด และการเกิดฝนตกกระหน่ำอย่างรุนแรงในพื้น ที่ใดพื้นที่หนึ่ง จะเกิดขึ้นบ่อยมากขึ้นโดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีลักษณะภูมิประเทศต่างกันเช่น เป็นภูเขาสูงที่มีป่าไม้หนาแน่นหรือในเมืองที่มีตึกและอาคารค่อนข้างสูงจะทำ ให้อุณหภูมิระหว่างพื้นดินกับระดับความสูงขึ้นไปเกิดความแตกต่างกันมากขึ้น การเกิดปรากฎการณ์ดังกล่าวจะคาดการณ์ได้ค่อนข้างยากเนื่องจากภาวะโลกร้อนที่รุน แรงขึ้นทำให้เกิดอากาศแปรปรวนและทำ ให้น้ำในมหาสมุทรและทะเลระเหยขึ้นไปรวมกันเป็นความชื้นในอากาศมากกว่าปรก ติ นอกจากนี้ยังทำให้อุณหภูมิเกิดความแตกต่างกันมากขึ้นระหว่างระดับพื้นดินและระดับที่สูงขึ้นไป ดังนั้นการเกิดสภาวะเมฆระเบิดและฝนตกกระหน่ำจึงคาดเดาได้ยากแต่มักจะเกิดในช่วงที่มีร่องมรสุมความกดอากาศต่ำพัดผ่านและช่วงที่มวล อากาศเย็นพัดจากแผ่นดินใหญ่หรือทะเลมหาสมุทรมาปะทะ 4. คาดว่าช่วงเดือนพฤศจิกายนมวลความกดอากาศสูงหรืออากาศเย็นจากแผ่นดินใหญ่จะพัดลงมารุนแรงมากขึ้นและร่องมร สุมจะเคลื่อนที่ลงสู่ภาคใต้ตอนล่างจะทำ ให้ปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดลดน้อลง..แต่มวลอากาศเย็นที่แผ่ลงมาซึ่งเป็นความกดอากาศสูงจะกดทับอากาศบนพื้นโลกไว้ ทำให้การระบายอากาศ จากแหล่งกำเนิดมลพิษต่างๆบนพื้นโลกในแนวดิ่งจะระบายได้น้อยลง ..ฝุ่น PM2.5 จะเริ่มกลับมา.. ที่มา https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid02PiJQCYxCAuMQ8nxg2gUkukfixV5TA7Zz4iC2SQShyvBeXdgwH5bK8JVqpUqefBQUl&id=100000260097650 #Thaitimes
Like
3
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 295 มุมมอง 0 รีวิว