บทความของบีบีซีไทยเรื่อง“เหตุใดคริปโตเคอเรนซีจึงถูกใช้ในกิจกรรมผิดกฏหมายมากขึ้น?“
มีตอนหนึ่งของบทความนี้ที่กล่าวถึง การควบคุมการกระทำความผิดเกี่ยวกับสกุลเงินดิจิทัลในไทย
รายงานศึกษาเรื่อง “มาตรการในการควบคุมการกระทำความผิดอาญาที่เกี่ยวกับสกุลเงินดิจิทัล” ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารศาสตร์สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ม.ราชภัฎมหาสารคาม เมื่อปี 2565 ระบุว่า ปัญหาของสถานะสกุลเงินดิจิทัลในไทยคือ เมื่อพิจารณาจากลักษณะทางกายภาพ นิยามทางกฎหมาย และลักษณะการกระทำความผิดที่ใกล้เคียงกัน ยังพบว่าไม่มีความชัดเจนในทางกฎหมายอาญาว่าสกุลเงินดิจิทัลมีสถานะเป็นอะไร จึงส่งผลกระทบต่อความไม่แน่นอนว่าจะนำกฎหมายใดมาบังคับใช้
ในขณะเดียวกัน ก็พบปัญหาว่ายังมีช่องว่างในการกระทำความผิดที่เกี่ยวข้องกับสกุลเงินดิจิทัลในลักษณะ การขโมยสกุลเงินดิจิทัล เนื่องจากกฎหมายอาญาของไทยกำหนดให้ความผิดในส่วนของวัตถุแห่งการกระทำนั้นจะต้องเป็น “ทรัพย์” ซึ่งมีรูปร่างจับต้องได้ ขณะที่สกุลเงินดิจิทัลไม่สามารถจับต้องได้
นอกจากนี้ การกระทำความผิดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสกุลเงินดิจิทัลนั้น มักกระทำผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่สามารถเชื่อมโยงผู้กระทำความผิดจากทั่วโลกเข้าไว้ด้วยกัน ความเสียหายจึงไม่ได้จำกัดอยู่ที่ประเทศใดประเทศหนึ่ง เพราะสกุลเงินดิจิทัลมีแพร่หลายทั่วโลกในลักษณะ global asset จึงทำให้อาชญากรรมที่เกิดขึ้นมีมิติข้ามชาติและเกี่ยวข้องกับเขตอำนาจทางกฎหมายมากกว่า 1 รัฐ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้ความร่วมมือทางอาญาระหว่างประเทศในการปราบปรามหรือยับยั้งการกระทำความผิดดังกล่าว
ที่มา https://www.bbc.com/thai/articles/cz9p85n709xo
#Thaitimes
มีตอนหนึ่งของบทความนี้ที่กล่าวถึง การควบคุมการกระทำความผิดเกี่ยวกับสกุลเงินดิจิทัลในไทย
รายงานศึกษาเรื่อง “มาตรการในการควบคุมการกระทำความผิดอาญาที่เกี่ยวกับสกุลเงินดิจิทัล” ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารศาสตร์สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ม.ราชภัฎมหาสารคาม เมื่อปี 2565 ระบุว่า ปัญหาของสถานะสกุลเงินดิจิทัลในไทยคือ เมื่อพิจารณาจากลักษณะทางกายภาพ นิยามทางกฎหมาย และลักษณะการกระทำความผิดที่ใกล้เคียงกัน ยังพบว่าไม่มีความชัดเจนในทางกฎหมายอาญาว่าสกุลเงินดิจิทัลมีสถานะเป็นอะไร จึงส่งผลกระทบต่อความไม่แน่นอนว่าจะนำกฎหมายใดมาบังคับใช้
ในขณะเดียวกัน ก็พบปัญหาว่ายังมีช่องว่างในการกระทำความผิดที่เกี่ยวข้องกับสกุลเงินดิจิทัลในลักษณะ การขโมยสกุลเงินดิจิทัล เนื่องจากกฎหมายอาญาของไทยกำหนดให้ความผิดในส่วนของวัตถุแห่งการกระทำนั้นจะต้องเป็น “ทรัพย์” ซึ่งมีรูปร่างจับต้องได้ ขณะที่สกุลเงินดิจิทัลไม่สามารถจับต้องได้
นอกจากนี้ การกระทำความผิดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสกุลเงินดิจิทัลนั้น มักกระทำผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่สามารถเชื่อมโยงผู้กระทำความผิดจากทั่วโลกเข้าไว้ด้วยกัน ความเสียหายจึงไม่ได้จำกัดอยู่ที่ประเทศใดประเทศหนึ่ง เพราะสกุลเงินดิจิทัลมีแพร่หลายทั่วโลกในลักษณะ global asset จึงทำให้อาชญากรรมที่เกิดขึ้นมีมิติข้ามชาติและเกี่ยวข้องกับเขตอำนาจทางกฎหมายมากกว่า 1 รัฐ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้ความร่วมมือทางอาญาระหว่างประเทศในการปราบปรามหรือยับยั้งการกระทำความผิดดังกล่าว
ที่มา https://www.bbc.com/thai/articles/cz9p85n709xo
#Thaitimes
บทความของบีบีซีไทยเรื่อง“เหตุใดคริปโตเคอเรนซีจึงถูกใช้ในกิจกรรมผิดกฏหมายมากขึ้น?“
มีตอนหนึ่งของบทความนี้ที่กล่าวถึง การควบคุมการกระทำความผิดเกี่ยวกับสกุลเงินดิจิทัลในไทย
รายงานศึกษาเรื่อง “มาตรการในการควบคุมการกระทำความผิดอาญาที่เกี่ยวกับสกุลเงินดิจิทัล” ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารศาสตร์สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ม.ราชภัฎมหาสารคาม เมื่อปี 2565 ระบุว่า ปัญหาของสถานะสกุลเงินดิจิทัลในไทยคือ เมื่อพิจารณาจากลักษณะทางกายภาพ นิยามทางกฎหมาย และลักษณะการกระทำความผิดที่ใกล้เคียงกัน ยังพบว่าไม่มีความชัดเจนในทางกฎหมายอาญาว่าสกุลเงินดิจิทัลมีสถานะเป็นอะไร จึงส่งผลกระทบต่อความไม่แน่นอนว่าจะนำกฎหมายใดมาบังคับใช้
ในขณะเดียวกัน ก็พบปัญหาว่ายังมีช่องว่างในการกระทำความผิดที่เกี่ยวข้องกับสกุลเงินดิจิทัลในลักษณะ การขโมยสกุลเงินดิจิทัล เนื่องจากกฎหมายอาญาของไทยกำหนดให้ความผิดในส่วนของวัตถุแห่งการกระทำนั้นจะต้องเป็น “ทรัพย์” ซึ่งมีรูปร่างจับต้องได้ ขณะที่สกุลเงินดิจิทัลไม่สามารถจับต้องได้
นอกจากนี้ การกระทำความผิดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสกุลเงินดิจิทัลนั้น มักกระทำผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่สามารถเชื่อมโยงผู้กระทำความผิดจากทั่วโลกเข้าไว้ด้วยกัน ความเสียหายจึงไม่ได้จำกัดอยู่ที่ประเทศใดประเทศหนึ่ง เพราะสกุลเงินดิจิทัลมีแพร่หลายทั่วโลกในลักษณะ global asset จึงทำให้อาชญากรรมที่เกิดขึ้นมีมิติข้ามชาติและเกี่ยวข้องกับเขตอำนาจทางกฎหมายมากกว่า 1 รัฐ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้ความร่วมมือทางอาญาระหว่างประเทศในการปราบปรามหรือยับยั้งการกระทำความผิดดังกล่าว
ที่มา https://www.bbc.com/thai/articles/cz9p85n709xo
#Thaitimes