รีโพสต์จากเพจเฟซบุ๊ก ‘ปราย พันแสง

เมื่อคืนดูคลิปบอสเล่านิทานเรื่อง“มดไต่แก้ว”แล้วนอนไม่หลับเอาเลย ยอมรับว่าเล่าเก่งโคตร

ไม่น่าแปลกใจว่าทำไม
จึงมีเหยื่อมากมายนัก
ก็มันชวนเคลิ้มซะขนาดนี้

🌻

นานมาแล้ว สตีฟ จอบส์ ผู้ก่อตั้งบริษัทแอปเปิ้ลเคยบอกว่า "The most powerful person in the world is the storyteller.“ คนที่ทรงพลังที่สุดในโลกคือนักเล่าเรื่อง จอบส์ฟันธงไว้อย่างนั้น

เขาบอกว่า“นักเล่าเรื่อง” หรือคนที่เล่าเรื่องเป็น(storyteller) จะเป็นผู้กำหนดวิสัยทัศน์ ค่านิยม และระเบียบวาระต่างๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นให้กับผู้คนทั้งเจเนอเรชั่น อาจจะกล่าวได้ว่า นักเล่าเรื่องเก่งๆ นั้นสามารถกำหนดเทรนด์หรือทิศทางของสังคมได้

ส่วนที่จอบส์ไม่ได้บอกไว้ก็คือ นักเล่าเรื่องเก่งๆ หลายคน สามารถทำให้คนคิดฆ่าตัวตาย ทำให้เกิดความฉิบหายระดับหมื่นล้านแสนล้านได้ด้วย

สิ่งที่ปรากฏต่อสังคมไทยในวันนี้
มันอาจเป็นประจักษ์พยานด้านมืด
ของ storyteller อย่างชัดๆ

🌻

“มดไต่แก้ว” เป็นเรื่องเล่าง่ายๆ เกี่ยวกับมดที่พยายามป่ายปีนออกไปให้พ้นแก้ว มดบางตัวปีนไปจนอยู่ในจุดสูงที่สุดของปากแก้ว แต่แล้วก็ตกลงมา

บอสบอกไว้คมเฉียบว่า ”การตกลงมาจากจุดสูงสุดอย่างนั้น มันทำให้เจ็บที่สุด ทำให้มีมดบางตัวยอมแพั แต่ก็ยังมีมดบางตัวสู้ต่อ จนได้รับอิสรภาพในที่สุด“

เคลิ้มมั้ยล่ะ ^__^

🌻

เอาจริง จากอาชีพอ่านๆ เขียนๆ เรื่องเล่าประเภทนี้ไม่ได้กินเราหรอก แต่สำหรับคนที่ไม่ได้คลุกคลี อีกทั้งยังต้องอยู่ในสถานะลูกข่ายที่ต้องไล่ล่าทำยอดขาย พลังของเรื่องเล่าแบบนี้มันพุ่งปรี๊ดทะลุปม กระแทกต่อมได้ตรงจุด จึงไม่น่าแปลกใจถ้ามันจะทำให้ใครๆ ที่ได้ฟังครั้งแรกถึงกับน้ำตาไหลพราก ซาบซึ้งตรึงใจ

เราเองฟังเรื่องมดไต่แก้วนี้กลับไปคิดถึงอีกเรื่องหนึ่ง ไม่รู้มีใครเคยฟังมั้ย เป็นนิทานเรื่องกบกระโดด เรื่องมีอยู่ว่า มีกบตัวหนึ่งพยายามปีนออกจากบ่อลึก ทุกครั้งที่มันพยายามกระโดด เพื่อนๆ กบจะพากันตะโกนห้ามว่า "เลิกเถอะ มันเป็นไปไม่ได้หรอก!"

ทว่ากบตัวนั้นไม่ยอมแพ้ สุดท้ายในการกระโดดครั้งที่ 99 มันก็กระโดดออกจากบ่อได้สำเร็จ แต่ความจริงของเรื่องนี้คือ กบตัวนี้หูหนวก มันเลยไม่ได้ยินเสียงร้องห้ามจากเพื่อนๆ เลยสักนิดเดียว

ช่างไม่ต่างอะไรเลยกับผู้เสียหายมากมาย
ที่ไม่ยอมฟังคำทัดทานจากใครเลย
เหมือนกบหูหนวก

🌻

คดีบอสๆ นี้ เราว่านิทานเรื่องมดไต่แก้วนี้ไม่เท่าไหร่ แต่ที่เรารู้สึกเองว่ามันทรงพลังแห่ง storytelling จริงๆ น่าจะเป็นนิทานเรื่องจริงที่แชร์กันเยอะๆ วันนี้ ที่เป็นคลิปเล่าเรื่องบอสพอลพาผู้ชมกลับไปทัวร์สลัมคลองเตยบ้านเกิด พาไปชมแฟลตเก่าชั้นสองห้อง 16 ที่เคยเติบโตมา

แคปชั่นตรึงใจ “ผมไม่เคยลืม...ว่าผมเติบโตมาจากที่ไหน ชุมชนแออัด หรือที่ใครหลายคนเรียกว่า "สลัม"ผมเคยใช้ชีวิตอยู่ที่นี่ ในตอนที่ยังเริ่มต้นสร้างชีวิต”

“20 ปีที่แล้ว กับภาพในวันนี้ ทุกอย่างมันยังคงอยู่เหมือนเดิม ราวกับว่ามันหยุดเวลาไว้ เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจอะไรบางอย่าง มันคือจุดเริ่มต้น ที่ทำให้ผมไม่เคยคิดดูถูกความฝันหรือความพยายามของใคร เพราะผมก็เคยเป็นหนึ่งคน ที่ชีวิตไม่พร้อม แต่มีความฝัน ขอเป็นกำลังใจให้กับนักสู้ชีวิตทุก ๆ ท่านครับ“

คลิปถ่ายสวย ไม่เวอร์
ภาพดี เสียงดี เล่าเรื่องดี
นักแสดง(บอสพอล)แอ๊คติ้งเป็นธรรมชาติ
ไม่มีตรงไหนชวนแหวะ
หรือชวนเอ๊ะเลย

ยิ่งตอนโทรคุยกับแม่หน้าแฟลตเก่า พูดถึงร้านก๋วยเตี๋ยวไก่เจ้าอร่อยที่ยังขายอยู่นั่นก็ดูจะเป็นซีนที่น่าจดจำมากทีเดียว คือถ้าไม่ติดเรื่องข้อสงสัยว่าเป็นธุรกิจผิดกฎหมายเนี่ย อยากเชิญคนทำคลิปนี้ไปสร้างหนังไทยเลย อยากดู

ในคลิปนี้ บอสยืนพูดหน้าแฟลตที่สกปรกรุงรังว่า ตอนที่เขายังใช้ชีวิตอยู่ในสลัมแห่งนี้ ชีวิตวัยนั้นก็ไม่ได้คิดอะไรมากมายไปกว่าอยากดูแลแม่ให้มีความสุขเท่านั้น ตรงนี้เชื่อว่าเอฟซีอาจน้ำตาร่วง

อีกทั้งน้ำเสียงของแม่ปลายสาย ก็ร่าเริงมีความสุข กับการพูดถึงร้านก๋วยเตี๋ยวเจ้าประจำที่เคยกินสมัยอยู่สลัม สื่อให้เห็นว่าเมื่อก้าวพ้นความยากจนไปแล้ว ร้านก๋วยเตี๋ยวไก่ในสลัมธรรมดาก็ยังงดงามขึ้นมาได้

ทุกอย่างสอดคล้องกลมกลืนลื่นไหล เป็นคลิปฟิลลิ่ง Nostalgia การรำลึกความหลังยากแค้นของเศรษฐีหมื่นล้านที่สุดละเมียดจริงแท้

ใครไม่เคลิ้มให้มันรูัไป

ยอดขายระเบิดเถิดเทิงหมื่นล้านแสนล้าน ไม่ใช่ได้มาแบบฟลุคๆ แน่นอน มันผ่านการเล่าเรื่องที่คัดเค้นมาแล้วอย่างประณีต เพื่อพิชิตใจมหาชนคนสามัญที่คุ้นเคยชมชอบกับเรื่องดรามาชนิดซึมเข้ากระดูกดำแบบไทยๆ เราอย่างเหมาะเหม็ง

ดูคลิปนี้แล้วยิ่งไม่แปลกใจเลยสักนิด
ว่าทำไมลูกข่ายหอบเงินมาประเคนให้
เป็นหลักหมื่นแสนล้าน

🌻

เอาจริง เรื่องเล่าตรึงใจระคายต่อมพวกนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่หรอก มันเป็นเครื่องมือสำเร็จรูปที่มีใช้กันนานแล้วในวงการต่างๆ โดยเฉพาะในแวดวงหลอกลวงต้มตุ๋น ดูเหมือนจะสร้างเม็ดเงินมหาศาลทำลายสถิติได้ทุกยุคสมัย

เรื่องเล่ากระตุ้นต่อมที่ชาวโลกรู้จักกันแพร่หลาย ก็คงจะเป็นนิทานเรื่อง“ปลาทอง" ในคดีฉ้อฉลของเบอร์นี แมดอฟฟ์ในอเมริกา ที่น่าจะอื้อฉาวพอๆ กับคดีดิ ไอคอน ในเมืองไทยตอนนี้ก็ว่าได้

สมัยนั้น เบอร์นี แมดอฟฟ์ ก็มักจะชอบเล่าเรื่องเปรียบเทียบการลงทุนกับการให้อาหารปลาทอง โดยบอกว่าต้องให้อาหารสม่ำเสมอ ไม่มากไม่น้อยเกินไป เพื่อให้ปลาเติบโตอย่างแข็งแรง

เขาใช้เรื่องนี้อธิบายกลยุทธ์การลงทุนที่ "สม่ำเสมอ" ของเขา ซึ่งในความเป็นจริงคือแผนการณ์หลอกลวงแบบพอนซี (Ponzi scheme- คล้ายแชร์ลูกโซ่ แต่ไม่มีสินค้า ใช้วิธีเอาเงินคนใหม่ไปจ่ายให้คนเก่าวนไปเรื่อยๆ )

พอนซีของแมดอล์ฟฟ์มีขนาดใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยมีมูลค่าความเสียหายประมาณ 64.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

แมดอล์ฟฟ์ใช้เรื่องเล่าเกี่ยวกับปลาทองเพื่อสื่อว่ากลยุทธ์การลงทุนของเขานั้น "สม่ำเสมอ" และ "ปลอดภัย" เขาอ้างว่าสามารถสร้างผลตอบแทนที่คงที่และน่าเชื่อถือได้ ไม่ว่าสภาวะตลาดจะเป็นอย่างไร เรื่องเล่านี้ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนและทำให้พวกเขารู้สึกว่ากำลังลงทุนกับผู้เชี่ยวชาญที่มีกลยุทธ์ที่มั่นคง

ในความเป็นจริง แมดอล์ฟฟ์ไม่ได้นำเงินของลูกค้าไปลงทุนเลยสักนิด เขาใช้เงินจากนักลงทุนรายใหม่เพื่อจ่ายผลตอบแทนให้กับนักลงทุนรายเก่า ซึ่งเป็นลักษณะของแผนพอนซี ผลตอบแทน "สม่ำเสมอ" ที่เขาอ้างถึงนั้นเป็นเพียงตัวเลขที่เขาสร้างขึ้นมาเอง

แผนฉ้อโกงนี้ดำเนินมานานหลายทศวรรษก่อนจะถูกเปิดโปงในปี 2008 มีผู้เสียหายจำนวนมาก รวมถึงบุคคลทั่วไป องค์กรการกุศล และสถาบันการเงิน

ปัจจุบันแมดอล์ฟฟ์ถูกจับกุม
และถูกตัดสินจำคุก 150 ปี

🌻

นอกจากนิทานปลาทองของแมดอล์ฟฟ์ ยังมีนิทานอีกเรื่องที่โด่งดังไม่แพ้กัน นิทานเรื่องนี้มีชื่อว่า “ช้างล่ามโซ่” ที่เกี่ยวข้องกับการฉ้อโกงของบริษัท One Coin

One Coin เป็นโครงการที่อ้างว่าเป็นสกุลเงินดิจิทัล (cryptocurrency) แต่ในความเป็นจริงเป็นแผนหลอกลวงแบบพีระมิด (pyramid scheme) ที่ใหญ่ที่สุดอีกแห่งหนึ่งในประวัติศาสตร์ต้มตุ๋น

รูจา อิกนาโตวา (Ruja Ignatova) ผู้ก่อตั้ง One Coin
เกิดเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 1980 ที่เมืองรูส ประเทศบัลแกเรีย ย้ายไปเยอรมนีตั้งแต่อายุ 10 ขวบ จบปริญญาเอกด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยคอนสแตนซ์ ประเทศเยอรมนี เคยทำงานให้กับบริษัทที่ปรึกษา McKinsey & Company ในปี 2014 เธอก่อตั้งบริษัท One Coin ซึ่งอ้างว่าเป็นสกุลเงินดิจิทัลใหม่

บริษัท One Coin เติบโตอย่างรวดเร็ว มีสมาชิกกว่า 3 ล้านคนทั่วโลก จนกระทั่งในปี 2016 เริ่มมีการสงสัยและตรวจสอบ One Coin ว่าอาจเป็นแชร์ลูกโซ่

วันที่ 25 ตุลาคม 2017 รูจาหายตัวไปอย่างลึกลับหลังจากบินจากโซเฟียไปยังเอเธนส์ ในปี 2019 เธอถูกฟ้องในสหรัฐอเมริกาในข้อหาฉ้อโกงและฟอกเงิน

🌻

ในการหลอกล่อเหยื่อมาลงทุน รูจา อิกนาโตวา มักใช้นิทานเรื่องช้างล่ามโซ่ในการปราศรัยบ่อยครั้ง

เธอเปรียบเทียบว่าคนทั่วไปเหมือนช้างที่ถูกล่ามด้วยโซ่ทางการเงิน ไม่กล้าที่จะหลุดพ้น เธอชี้ให้เห็นว่า One Coin คือโอกาสที่ทุกคนจะได้ "ตัดโซ่" และเป็นอิสระทางการเงิน

นิทานเรื่องนี้นำมาใช้เพื่อกระตุ้นให้คนรู้สึกว่าตนกำลัง "ติดกับดัก" ทางการเงิน สร้างความรู้สึกว่า One Coin เป็นทางออกเดียวที่จะทำให้พวกเขาหลุดพ้นจากข้อจำกัดทางการเงิน สร้างแรงจูงใจให้คนกล้าที่จะ "ทำลายกรอบความคิดเดิมๆ" และเข้าร่วมโครงการ

ในความเป็นจริง One Coin ไม่ได้เป็นสกุลเงินดิจิทัลจริง ไม่มีบล็อกเชนที่ใช้งานได้จริง เป็นระบบพีระมิดที่สร้างรายได้จากการรับสมาชิกใหม่เท่านั้น ผู้ลงทุนไม่สามารถถอนเงินหรือแลกเปลี่ยน One Coin เป็นเงินจริงได้

One Coin มีผู้เสียหายทั่วโลกมากกว่า 3 ล้านคน ความเสียหายทางการเงินประมาณ 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รูจา อิกนาโตวา ได้รับฉายาว่า “ราชินีคริปโต” หรือ Cryptoqueen เธอหายตัวไปในปี 2017 ทุกวันนี้ยังคงเป็นที่ต้องการตัวของ FBI

ปัจจุบัน เธอกลายเป็นหนึ่งในอาชญากรทางการเงินที่มีชื่อเสียงที่สุดในประวัติศาสตร์ร่วมสมัย​​​​​​​​​​​​​​​​จนทุกวันนี้

🌻

จะเห็นได้ว่า เรื่องเล่าอย่าง "ช้างล่ามโซ่" ถูกนำมาใช้เพื่อสร้างอารมณ์ร่วมและกระตุ้นการตัดสินใจที่ไม่สมเหตุสมผล จึงควรระวังโครงการที่สัญญาว่าจะทำให้รวยอย่างรวดเร็วหรือหลุดพ้นจากปัญหาทางการเงินอย่างง่ายดาย

คดีนี้แสดงให้เห็นว่าเรื่องเล่าที่สร้างแรงบันดาลใจสามารถถูกใช้เป็นเครื่องมือในการหลอกลวงได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเมื่อผสมผสานกับเทคโนโลยีที่ซับซ้อนและไม่เป็นที่เข้าใจกันดีนักเช่น cryptocurrency

🌻

ยังมีนิทานประเภทสร้างแรงบันดาลใจอีกมากมายหลายเรื่อง ที่มักนำมาใช้ในบริบทการฉ้อโกงลักษณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นนิทานเรื่อง“มีดเหลาดินสอ”ที่หลายคนอาจจะคุ้น พวกคอร์สอบรมต่างๆ จะเอามาเล่าบ่อย

เรื่องราวมีอยู่ว่า ดินสอบ่นว่าเจ็บเมื่อถูกเหลา แต่มีดเหลาบอกว่า "การเจ็บนี้จะทำให้เธอแหลมคมและเขียนได้ดีขึ้น“ นิทานเรื่องนี้ถูกนำมาใช้เพื่อให้แง่คิดเรื่องความอดทนต่อความยากลำบากที่อาจทำให้เราได้เติบโตและพัฒนา

🌻

"นิทานเรื่องช้างและเชือกเส้นเล็ก"

เรื่องมีอยู่ว่าในคณะละครสัตว์ มีช้างตัวใหญ่ถูกล่ามด้วยเชือกเส้นเล็กๆ เด็กน้อยสงสัยว่าทำไมช้างไม่ดึงเชือกให้ขาด คนเลี้ยงช้างอธิบายว่า ตั้งแต่ช้างยังเล็ก มันถูกล่ามด้วยโซ่ใหญ่ที่ไม่สามารถหลุดได้ ช้างจึงเชื่อว่าตัวเองไม่มีทางหลุดจากการล่าม แม้โตแล้วก็ยังคิดเช่นนั้น

🌻

"นิทานเรื่องหินสลักและค้อน"

เรื่องราวของช่างแกะสลักกำลังทำงานบนหินก้อนใหญ่ เขาตีค้อนลงบนหินครั้งแล้วครั้งเล่าโดยไม่เห็นผล คนผ่านไปมาสงสัยว่าทำไมเขาไม่ยอมแพ้ ในที่สุด หลังจากตีค้อนครั้งที่ 101 หินก็แตกออกตามที่เขาต้องการ ช่างแกะสลักอธิบายว่า "ไม่ใช่การตีครั้งสุดท้ายที่ทำให้หินแตก แต่มันเป็นผลรวมของการตีทุกครั้งที่ผ่านมา"

🌻

นิทานเหล่านี้มักถูกใช้เพื่อสื่อถึงความอดทน การไม่ยอมแพ้ และการเอาชนะข้อจำกัดทางความคิด

นิทานไม่ได้มีพิษภัยในตัวมันเอง มันเป็นเรื่องเล่าแสนวิเศษ สร้างแรงบันดาลใจได้จริง แต่เมื่อมีการนำมาใช้ในบริบทของการลงทุนหรือธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง การตีความและการนำไปใช้ กลับเป็นสิ่งที่ต้องระวัง

บางครั้งนิทานเหล่านี้
มักถูกใช้เพื่อกระตุ้นอารมณ์มากกว่าเหตุผล
อาจไม่สะท้อนความเป็นจริงของสถานการณ์
ในบริบทของธุรกิจที่น่าสงสัย
อาจใช้เพื่อกดดัน
ให้คนทำในสิ่งที่ไม่ควร

การยอมรับความจริง
เลิกทนและถอยออกมา
ก็อาจเป็นการตัดสินใจ
ที่ชาญฉลาดได้เช่นกัน

🌻

“ในยุคข้อมูลข่าวสาร ความจริงกำลังถูกบดบังด้วยเรื่องเล่าหรือเรื่องราวที่สร้างขึ้น (narratives)”

ยูวัล โนอาห์ ฮาราริ เขียนไว้ในหนังสือ"21 Lessons for the 21st Century"เมื่อหลายปีมาแล้ว (21 บทเรียน สำหรับศตวรรษที่ 21 : ผู้แปล ธิดา จงนิรามัยสถิต, ดร. นำชัย ชีววิวรรธน์ , สำนักพิมพ์ยิปซี)

ฮาราริอธิบายว่าผู้คนมักเชื่อในเรื่องราวที่สอดคล้องกับความเชื่อและอัตลักษณ์ของตน มากกว่าข้อเท็จจริงที่อาจขัดแย้งกับความเชื่อนั้น และชี้ให้เห็นว่ามนุษย์มีแนวโน้มที่จะเชื่อในเรื่องเล่าที่ให้ความหมายและอธิบายโลกรอบตัว เขาบอกว่า“เรื่องเล่าเหล่านี้มีพลังมากกว่าข้อเท็จจริงเพราะมันตอบสนองต่อความต้องการทางอารมณ์และจิตวิญญาณของมนุษย์”

ฮาราริเตือนว่าเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยเฉพาะ AI และ Big Data สามารถใช้ในการสร้างและเผยแพร่เรื่องราวที่มีอิทธิพลต่ออารมณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (อย่างคลิปเรื่องเล่าสารพัดที่ผลิตออกมาชักจูงใจคน) เขาชี้ให้เห็นว่าเทคโนโลยีเหล่านี้สามารถเข้าใจและจัดการกับอารมณ์มนุษย์ได้ดีขึ้นเรื่อยๆ

การให้ความสำคัญกับ“อารมณ์”มากกว่า“ความจริง”อาจส่งผลกระทบต่อกระบวนการประชาธิปไตยและการตัดสินใจที่สำคัญ เขาเตือนว่าสังคมอาจถูกชี้นำด้วยการปลุกเร้าอารมณ์มากกว่าการใช้เหตุผลและข้อมูล

ในอนาคต ทักษะทางอารมณ์และความคิดสร้างสรรค์อาจมีความสำคัญมากกว่าความรู้ทางเทคนิค เขาแนะนำว่าระบบการศึกษาควรปรับตัวเพื่อเตรียมคนให้พร้อมสำหรับโลกที่อารมณ์และความคิดสร้างสรรค์มีบทบาทสำคัญ

ฮาราริเน้นย้ำความสำคัญของการรู้จักและเข้าใจตนเอง รวมถึงอารมณ์และความรู้สึกของเราให้ได้อย่างถ่องแท้ เขาบอกว่า“การเข้าใจตนเองจะช่วยให้เราสามารถรับมือกับโลกที่ซับซ้อนและเต็มไปด้วยการกระตุ้นทางอารมณ์ได้ดีขึ้น”

ผู้เขียน "21 Lessons for the 21st Century" ไม่ได้บอกว่า แนวโน้มนี้เป็นสิ่งที่ดีหรือไม่ดี แต่ชี้ให้เห็นว่ามันเป็นความท้าทายที่สำคัญที่เราต้องเตรียมพร้อมรับมือ โดยเฉพาะในด้านการศึกษา การเมือง และการพัฒนาตนเอง

เพื่อรักษาสมดุล
ระหว่างอารมณ์และเหตุผล
ในยุคสมัยปัจจุบัน
ที่“อารมณ์”อาจมีอิทธิพล
มากขึ้นเรื่อยๆ​​​​​​​​​​​​​​​​

🌻

จากข่าวสารประเด็นร้อนแรงในประเทศไทยวันนี้ เราก็ได้เห็นการใช้ Storytelling ในทางที่ผิดหลายเรื่อง

เรื่องเล่าถูกใช้เพื่อบิดเบือนความจริงและสร้างภาพลวงตา มุ่งเน้นการกระตุ้นอารมณ์มากกว่าการให้ข้อมูลที่เป็นจริง

นิทานเหล่านี้สร้างความเชื่อที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับความสำเร็จและความมั่งคั่ง ทำให้คนมองข้ามความเสี่ยงและความเป็นจริงของสถานการณ์

เรื่องเล่าที่น่าประทับใจอาจทำให้ผู้ฟังลดการใช้เหตุผลและการคิดวิเคราะห์ ผู้คนอาจตัดสินใจบนพื้นฐานของ“อารมณ์” มากกว่า“ความจริง” อย่างที่ยูวัล โนอาห์ ฮาราริ กล่าวไว้ไม่มีผิด

Storytelling : นิทานหรือเรื่องเล่าที่มีประสิทธิภาพสามารถสร้างความไว้วางใจได้อย่างรวดเร็ว แม้กับคนแปลกหน้า ในกรณีของการหลอกลวง Storytelling ถูกใช้เพื่อลดความระแวดระวังของเหยื่อ เรื่องเล่าที่สวยงามอาจถูกใช้เพื่อปิดบังความจริงที่น่าเป็นห่วงหรือรายละเอียดที่สำคัญ

ในกรณีของแชร์ลูกโซ่หรือ MLM นิทาน เรื่องเล่า หรือ Storytelling ทั้งหลาย อาจถูกใช้เพื่อสร้างวัฒนธรรมที่กดดันให้สมาชิกไม่ยอมแพ้ แม้จะเผชิญกับความล้มเหลว

เรื่องเล่าเหล่านี้
มักเล็งเป้าไปที่ความฝัน
และความหวังของผู้คน
ทำให้เหยื่ออ่อนไหวและเปราะบาง
ทำให้ง่ายที่จะหลอกลวง

🌻

นิทาน เรื่องเล่า Storytelling ทั้งหลาย มันไม่ได้เลวร้ายในตัวมันเอง แต่เป็นเครื่องมือที่ทรงพลัง สามารถใช้ในทางที่ดีหรือไม่ดีก็ได้

ในด้านบวก Storytelling สามารถใช้เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ สอน และสื่อสารความคิดที่ซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สิ่งสำคัญที่คนเรายุคนี้ต้องรับมือ
คือต้องพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์
และการรู้เท่าทันสื่อของตัวเอง
เพื่อแยกแยะให้ออก
ระหว่างการใช้ Storytelling
ในทางที่สร้างสรรค์
หรือการใช้เพื่อหลอกลวง

🌻

ที่มา : https://www.facebook.com/share/p/sg5pYj1hseTp1QGK/?mibextid=CTbP7

#Thaitimes
รีโพสต์จากเพจเฟซบุ๊ก ‘ปราย พันแสง เมื่อคืนดูคลิปบอสเล่านิทานเรื่อง“มดไต่แก้ว”แล้วนอนไม่หลับเอาเลย ยอมรับว่าเล่าเก่งโคตร ไม่น่าแปลกใจว่าทำไม จึงมีเหยื่อมากมายนัก ก็มันชวนเคลิ้มซะขนาดนี้ 🌻 นานมาแล้ว สตีฟ จอบส์ ผู้ก่อตั้งบริษัทแอปเปิ้ลเคยบอกว่า "The most powerful person in the world is the storyteller.“ คนที่ทรงพลังที่สุดในโลกคือนักเล่าเรื่อง จอบส์ฟันธงไว้อย่างนั้น เขาบอกว่า“นักเล่าเรื่อง” หรือคนที่เล่าเรื่องเป็น(storyteller) จะเป็นผู้กำหนดวิสัยทัศน์ ค่านิยม และระเบียบวาระต่างๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นให้กับผู้คนทั้งเจเนอเรชั่น อาจจะกล่าวได้ว่า นักเล่าเรื่องเก่งๆ นั้นสามารถกำหนดเทรนด์หรือทิศทางของสังคมได้ ส่วนที่จอบส์ไม่ได้บอกไว้ก็คือ นักเล่าเรื่องเก่งๆ หลายคน สามารถทำให้คนคิดฆ่าตัวตาย ทำให้เกิดความฉิบหายระดับหมื่นล้านแสนล้านได้ด้วย สิ่งที่ปรากฏต่อสังคมไทยในวันนี้ มันอาจเป็นประจักษ์พยานด้านมืด ของ storyteller อย่างชัดๆ 🌻 “มดไต่แก้ว” เป็นเรื่องเล่าง่ายๆ เกี่ยวกับมดที่พยายามป่ายปีนออกไปให้พ้นแก้ว มดบางตัวปีนไปจนอยู่ในจุดสูงที่สุดของปากแก้ว แต่แล้วก็ตกลงมา บอสบอกไว้คมเฉียบว่า ”การตกลงมาจากจุดสูงสุดอย่างนั้น มันทำให้เจ็บที่สุด ทำให้มีมดบางตัวยอมแพั แต่ก็ยังมีมดบางตัวสู้ต่อ จนได้รับอิสรภาพในที่สุด“ เคลิ้มมั้ยล่ะ ^__^ 🌻 เอาจริง จากอาชีพอ่านๆ เขียนๆ เรื่องเล่าประเภทนี้ไม่ได้กินเราหรอก แต่สำหรับคนที่ไม่ได้คลุกคลี อีกทั้งยังต้องอยู่ในสถานะลูกข่ายที่ต้องไล่ล่าทำยอดขาย พลังของเรื่องเล่าแบบนี้มันพุ่งปรี๊ดทะลุปม กระแทกต่อมได้ตรงจุด จึงไม่น่าแปลกใจถ้ามันจะทำให้ใครๆ ที่ได้ฟังครั้งแรกถึงกับน้ำตาไหลพราก ซาบซึ้งตรึงใจ เราเองฟังเรื่องมดไต่แก้วนี้กลับไปคิดถึงอีกเรื่องหนึ่ง ไม่รู้มีใครเคยฟังมั้ย เป็นนิทานเรื่องกบกระโดด เรื่องมีอยู่ว่า มีกบตัวหนึ่งพยายามปีนออกจากบ่อลึก ทุกครั้งที่มันพยายามกระโดด เพื่อนๆ กบจะพากันตะโกนห้ามว่า "เลิกเถอะ มันเป็นไปไม่ได้หรอก!" ทว่ากบตัวนั้นไม่ยอมแพ้ สุดท้ายในการกระโดดครั้งที่ 99 มันก็กระโดดออกจากบ่อได้สำเร็จ แต่ความจริงของเรื่องนี้คือ กบตัวนี้หูหนวก มันเลยไม่ได้ยินเสียงร้องห้ามจากเพื่อนๆ เลยสักนิดเดียว ช่างไม่ต่างอะไรเลยกับผู้เสียหายมากมาย ที่ไม่ยอมฟังคำทัดทานจากใครเลย เหมือนกบหูหนวก 🌻 คดีบอสๆ นี้ เราว่านิทานเรื่องมดไต่แก้วนี้ไม่เท่าไหร่ แต่ที่เรารู้สึกเองว่ามันทรงพลังแห่ง storytelling จริงๆ น่าจะเป็นนิทานเรื่องจริงที่แชร์กันเยอะๆ วันนี้ ที่เป็นคลิปเล่าเรื่องบอสพอลพาผู้ชมกลับไปทัวร์สลัมคลองเตยบ้านเกิด พาไปชมแฟลตเก่าชั้นสองห้อง 16 ที่เคยเติบโตมา แคปชั่นตรึงใจ “ผมไม่เคยลืม...ว่าผมเติบโตมาจากที่ไหน ชุมชนแออัด หรือที่ใครหลายคนเรียกว่า "สลัม"ผมเคยใช้ชีวิตอยู่ที่นี่ ในตอนที่ยังเริ่มต้นสร้างชีวิต” “20 ปีที่แล้ว กับภาพในวันนี้ ทุกอย่างมันยังคงอยู่เหมือนเดิม ราวกับว่ามันหยุดเวลาไว้ เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจอะไรบางอย่าง มันคือจุดเริ่มต้น ที่ทำให้ผมไม่เคยคิดดูถูกความฝันหรือความพยายามของใคร เพราะผมก็เคยเป็นหนึ่งคน ที่ชีวิตไม่พร้อม แต่มีความฝัน ขอเป็นกำลังใจให้กับนักสู้ชีวิตทุก ๆ ท่านครับ“ คลิปถ่ายสวย ไม่เวอร์ ภาพดี เสียงดี เล่าเรื่องดี นักแสดง(บอสพอล)แอ๊คติ้งเป็นธรรมชาติ ไม่มีตรงไหนชวนแหวะ หรือชวนเอ๊ะเลย ยิ่งตอนโทรคุยกับแม่หน้าแฟลตเก่า พูดถึงร้านก๋วยเตี๋ยวไก่เจ้าอร่อยที่ยังขายอยู่นั่นก็ดูจะเป็นซีนที่น่าจดจำมากทีเดียว คือถ้าไม่ติดเรื่องข้อสงสัยว่าเป็นธุรกิจผิดกฎหมายเนี่ย อยากเชิญคนทำคลิปนี้ไปสร้างหนังไทยเลย อยากดู ในคลิปนี้ บอสยืนพูดหน้าแฟลตที่สกปรกรุงรังว่า ตอนที่เขายังใช้ชีวิตอยู่ในสลัมแห่งนี้ ชีวิตวัยนั้นก็ไม่ได้คิดอะไรมากมายไปกว่าอยากดูแลแม่ให้มีความสุขเท่านั้น ตรงนี้เชื่อว่าเอฟซีอาจน้ำตาร่วง อีกทั้งน้ำเสียงของแม่ปลายสาย ก็ร่าเริงมีความสุข กับการพูดถึงร้านก๋วยเตี๋ยวเจ้าประจำที่เคยกินสมัยอยู่สลัม สื่อให้เห็นว่าเมื่อก้าวพ้นความยากจนไปแล้ว ร้านก๋วยเตี๋ยวไก่ในสลัมธรรมดาก็ยังงดงามขึ้นมาได้ ทุกอย่างสอดคล้องกลมกลืนลื่นไหล เป็นคลิปฟิลลิ่ง Nostalgia การรำลึกความหลังยากแค้นของเศรษฐีหมื่นล้านที่สุดละเมียดจริงแท้ ใครไม่เคลิ้มให้มันรูัไป ยอดขายระเบิดเถิดเทิงหมื่นล้านแสนล้าน ไม่ใช่ได้มาแบบฟลุคๆ แน่นอน มันผ่านการเล่าเรื่องที่คัดเค้นมาแล้วอย่างประณีต เพื่อพิชิตใจมหาชนคนสามัญที่คุ้นเคยชมชอบกับเรื่องดรามาชนิดซึมเข้ากระดูกดำแบบไทยๆ เราอย่างเหมาะเหม็ง ดูคลิปนี้แล้วยิ่งไม่แปลกใจเลยสักนิด ว่าทำไมลูกข่ายหอบเงินมาประเคนให้ เป็นหลักหมื่นแสนล้าน 🌻 เอาจริง เรื่องเล่าตรึงใจระคายต่อมพวกนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่หรอก มันเป็นเครื่องมือสำเร็จรูปที่มีใช้กันนานแล้วในวงการต่างๆ โดยเฉพาะในแวดวงหลอกลวงต้มตุ๋น ดูเหมือนจะสร้างเม็ดเงินมหาศาลทำลายสถิติได้ทุกยุคสมัย เรื่องเล่ากระตุ้นต่อมที่ชาวโลกรู้จักกันแพร่หลาย ก็คงจะเป็นนิทานเรื่อง“ปลาทอง" ในคดีฉ้อฉลของเบอร์นี แมดอฟฟ์ในอเมริกา ที่น่าจะอื้อฉาวพอๆ กับคดีดิ ไอคอน ในเมืองไทยตอนนี้ก็ว่าได้ สมัยนั้น เบอร์นี แมดอฟฟ์ ก็มักจะชอบเล่าเรื่องเปรียบเทียบการลงทุนกับการให้อาหารปลาทอง โดยบอกว่าต้องให้อาหารสม่ำเสมอ ไม่มากไม่น้อยเกินไป เพื่อให้ปลาเติบโตอย่างแข็งแรง เขาใช้เรื่องนี้อธิบายกลยุทธ์การลงทุนที่ "สม่ำเสมอ" ของเขา ซึ่งในความเป็นจริงคือแผนการณ์หลอกลวงแบบพอนซี (Ponzi scheme- คล้ายแชร์ลูกโซ่ แต่ไม่มีสินค้า ใช้วิธีเอาเงินคนใหม่ไปจ่ายให้คนเก่าวนไปเรื่อยๆ ) พอนซีของแมดอล์ฟฟ์มีขนาดใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยมีมูลค่าความเสียหายประมาณ 64.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แมดอล์ฟฟ์ใช้เรื่องเล่าเกี่ยวกับปลาทองเพื่อสื่อว่ากลยุทธ์การลงทุนของเขานั้น "สม่ำเสมอ" และ "ปลอดภัย" เขาอ้างว่าสามารถสร้างผลตอบแทนที่คงที่และน่าเชื่อถือได้ ไม่ว่าสภาวะตลาดจะเป็นอย่างไร เรื่องเล่านี้ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนและทำให้พวกเขารู้สึกว่ากำลังลงทุนกับผู้เชี่ยวชาญที่มีกลยุทธ์ที่มั่นคง ในความเป็นจริง แมดอล์ฟฟ์ไม่ได้นำเงินของลูกค้าไปลงทุนเลยสักนิด เขาใช้เงินจากนักลงทุนรายใหม่เพื่อจ่ายผลตอบแทนให้กับนักลงทุนรายเก่า ซึ่งเป็นลักษณะของแผนพอนซี ผลตอบแทน "สม่ำเสมอ" ที่เขาอ้างถึงนั้นเป็นเพียงตัวเลขที่เขาสร้างขึ้นมาเอง แผนฉ้อโกงนี้ดำเนินมานานหลายทศวรรษก่อนจะถูกเปิดโปงในปี 2008 มีผู้เสียหายจำนวนมาก รวมถึงบุคคลทั่วไป องค์กรการกุศล และสถาบันการเงิน ปัจจุบันแมดอล์ฟฟ์ถูกจับกุม และถูกตัดสินจำคุก 150 ปี 🌻 นอกจากนิทานปลาทองของแมดอล์ฟฟ์ ยังมีนิทานอีกเรื่องที่โด่งดังไม่แพ้กัน นิทานเรื่องนี้มีชื่อว่า “ช้างล่ามโซ่” ที่เกี่ยวข้องกับการฉ้อโกงของบริษัท One Coin One Coin เป็นโครงการที่อ้างว่าเป็นสกุลเงินดิจิทัล (cryptocurrency) แต่ในความเป็นจริงเป็นแผนหลอกลวงแบบพีระมิด (pyramid scheme) ที่ใหญ่ที่สุดอีกแห่งหนึ่งในประวัติศาสตร์ต้มตุ๋น รูจา อิกนาโตวา (Ruja Ignatova) ผู้ก่อตั้ง One Coin เกิดเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 1980 ที่เมืองรูส ประเทศบัลแกเรีย ย้ายไปเยอรมนีตั้งแต่อายุ 10 ขวบ จบปริญญาเอกด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยคอนสแตนซ์ ประเทศเยอรมนี เคยทำงานให้กับบริษัทที่ปรึกษา McKinsey & Company ในปี 2014 เธอก่อตั้งบริษัท One Coin ซึ่งอ้างว่าเป็นสกุลเงินดิจิทัลใหม่ บริษัท One Coin เติบโตอย่างรวดเร็ว มีสมาชิกกว่า 3 ล้านคนทั่วโลก จนกระทั่งในปี 2016 เริ่มมีการสงสัยและตรวจสอบ One Coin ว่าอาจเป็นแชร์ลูกโซ่ วันที่ 25 ตุลาคม 2017 รูจาหายตัวไปอย่างลึกลับหลังจากบินจากโซเฟียไปยังเอเธนส์ ในปี 2019 เธอถูกฟ้องในสหรัฐอเมริกาในข้อหาฉ้อโกงและฟอกเงิน 🌻 ในการหลอกล่อเหยื่อมาลงทุน รูจา อิกนาโตวา มักใช้นิทานเรื่องช้างล่ามโซ่ในการปราศรัยบ่อยครั้ง เธอเปรียบเทียบว่าคนทั่วไปเหมือนช้างที่ถูกล่ามด้วยโซ่ทางการเงิน ไม่กล้าที่จะหลุดพ้น เธอชี้ให้เห็นว่า One Coin คือโอกาสที่ทุกคนจะได้ "ตัดโซ่" และเป็นอิสระทางการเงิน นิทานเรื่องนี้นำมาใช้เพื่อกระตุ้นให้คนรู้สึกว่าตนกำลัง "ติดกับดัก" ทางการเงิน สร้างความรู้สึกว่า One Coin เป็นทางออกเดียวที่จะทำให้พวกเขาหลุดพ้นจากข้อจำกัดทางการเงิน สร้างแรงจูงใจให้คนกล้าที่จะ "ทำลายกรอบความคิดเดิมๆ" และเข้าร่วมโครงการ ในความเป็นจริง One Coin ไม่ได้เป็นสกุลเงินดิจิทัลจริง ไม่มีบล็อกเชนที่ใช้งานได้จริง เป็นระบบพีระมิดที่สร้างรายได้จากการรับสมาชิกใหม่เท่านั้น ผู้ลงทุนไม่สามารถถอนเงินหรือแลกเปลี่ยน One Coin เป็นเงินจริงได้ One Coin มีผู้เสียหายทั่วโลกมากกว่า 3 ล้านคน ความเสียหายทางการเงินประมาณ 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รูจา อิกนาโตวา ได้รับฉายาว่า “ราชินีคริปโต” หรือ Cryptoqueen เธอหายตัวไปในปี 2017 ทุกวันนี้ยังคงเป็นที่ต้องการตัวของ FBI ปัจจุบัน เธอกลายเป็นหนึ่งในอาชญากรทางการเงินที่มีชื่อเสียงที่สุดในประวัติศาสตร์ร่วมสมัย​​​​​​​​​​​​​​​​จนทุกวันนี้ 🌻 จะเห็นได้ว่า เรื่องเล่าอย่าง "ช้างล่ามโซ่" ถูกนำมาใช้เพื่อสร้างอารมณ์ร่วมและกระตุ้นการตัดสินใจที่ไม่สมเหตุสมผล จึงควรระวังโครงการที่สัญญาว่าจะทำให้รวยอย่างรวดเร็วหรือหลุดพ้นจากปัญหาทางการเงินอย่างง่ายดาย คดีนี้แสดงให้เห็นว่าเรื่องเล่าที่สร้างแรงบันดาลใจสามารถถูกใช้เป็นเครื่องมือในการหลอกลวงได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเมื่อผสมผสานกับเทคโนโลยีที่ซับซ้อนและไม่เป็นที่เข้าใจกันดีนักเช่น cryptocurrency 🌻 ยังมีนิทานประเภทสร้างแรงบันดาลใจอีกมากมายหลายเรื่อง ที่มักนำมาใช้ในบริบทการฉ้อโกงลักษณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นนิทานเรื่อง“มีดเหลาดินสอ”ที่หลายคนอาจจะคุ้น พวกคอร์สอบรมต่างๆ จะเอามาเล่าบ่อย เรื่องราวมีอยู่ว่า ดินสอบ่นว่าเจ็บเมื่อถูกเหลา แต่มีดเหลาบอกว่า "การเจ็บนี้จะทำให้เธอแหลมคมและเขียนได้ดีขึ้น“ นิทานเรื่องนี้ถูกนำมาใช้เพื่อให้แง่คิดเรื่องความอดทนต่อความยากลำบากที่อาจทำให้เราได้เติบโตและพัฒนา 🌻 "นิทานเรื่องช้างและเชือกเส้นเล็ก" เรื่องมีอยู่ว่าในคณะละครสัตว์ มีช้างตัวใหญ่ถูกล่ามด้วยเชือกเส้นเล็กๆ เด็กน้อยสงสัยว่าทำไมช้างไม่ดึงเชือกให้ขาด คนเลี้ยงช้างอธิบายว่า ตั้งแต่ช้างยังเล็ก มันถูกล่ามด้วยโซ่ใหญ่ที่ไม่สามารถหลุดได้ ช้างจึงเชื่อว่าตัวเองไม่มีทางหลุดจากการล่าม แม้โตแล้วก็ยังคิดเช่นนั้น 🌻 "นิทานเรื่องหินสลักและค้อน" เรื่องราวของช่างแกะสลักกำลังทำงานบนหินก้อนใหญ่ เขาตีค้อนลงบนหินครั้งแล้วครั้งเล่าโดยไม่เห็นผล คนผ่านไปมาสงสัยว่าทำไมเขาไม่ยอมแพ้ ในที่สุด หลังจากตีค้อนครั้งที่ 101 หินก็แตกออกตามที่เขาต้องการ ช่างแกะสลักอธิบายว่า "ไม่ใช่การตีครั้งสุดท้ายที่ทำให้หินแตก แต่มันเป็นผลรวมของการตีทุกครั้งที่ผ่านมา" 🌻 นิทานเหล่านี้มักถูกใช้เพื่อสื่อถึงความอดทน การไม่ยอมแพ้ และการเอาชนะข้อจำกัดทางความคิด นิทานไม่ได้มีพิษภัยในตัวมันเอง มันเป็นเรื่องเล่าแสนวิเศษ สร้างแรงบันดาลใจได้จริง แต่เมื่อมีการนำมาใช้ในบริบทของการลงทุนหรือธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง การตีความและการนำไปใช้ กลับเป็นสิ่งที่ต้องระวัง บางครั้งนิทานเหล่านี้ มักถูกใช้เพื่อกระตุ้นอารมณ์มากกว่าเหตุผล อาจไม่สะท้อนความเป็นจริงของสถานการณ์ ในบริบทของธุรกิจที่น่าสงสัย อาจใช้เพื่อกดดัน ให้คนทำในสิ่งที่ไม่ควร การยอมรับความจริง เลิกทนและถอยออกมา ก็อาจเป็นการตัดสินใจ ที่ชาญฉลาดได้เช่นกัน 🌻 “ในยุคข้อมูลข่าวสาร ความจริงกำลังถูกบดบังด้วยเรื่องเล่าหรือเรื่องราวที่สร้างขึ้น (narratives)” ยูวัล โนอาห์ ฮาราริ เขียนไว้ในหนังสือ"21 Lessons for the 21st Century"เมื่อหลายปีมาแล้ว (21 บทเรียน สำหรับศตวรรษที่ 21 : ผู้แปล ธิดา จงนิรามัยสถิต, ดร. นำชัย ชีววิวรรธน์ , สำนักพิมพ์ยิปซี) ฮาราริอธิบายว่าผู้คนมักเชื่อในเรื่องราวที่สอดคล้องกับความเชื่อและอัตลักษณ์ของตน มากกว่าข้อเท็จจริงที่อาจขัดแย้งกับความเชื่อนั้น และชี้ให้เห็นว่ามนุษย์มีแนวโน้มที่จะเชื่อในเรื่องเล่าที่ให้ความหมายและอธิบายโลกรอบตัว เขาบอกว่า“เรื่องเล่าเหล่านี้มีพลังมากกว่าข้อเท็จจริงเพราะมันตอบสนองต่อความต้องการทางอารมณ์และจิตวิญญาณของมนุษย์” ฮาราริเตือนว่าเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยเฉพาะ AI และ Big Data สามารถใช้ในการสร้างและเผยแพร่เรื่องราวที่มีอิทธิพลต่ออารมณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (อย่างคลิปเรื่องเล่าสารพัดที่ผลิตออกมาชักจูงใจคน) เขาชี้ให้เห็นว่าเทคโนโลยีเหล่านี้สามารถเข้าใจและจัดการกับอารมณ์มนุษย์ได้ดีขึ้นเรื่อยๆ การให้ความสำคัญกับ“อารมณ์”มากกว่า“ความจริง”อาจส่งผลกระทบต่อกระบวนการประชาธิปไตยและการตัดสินใจที่สำคัญ เขาเตือนว่าสังคมอาจถูกชี้นำด้วยการปลุกเร้าอารมณ์มากกว่าการใช้เหตุผลและข้อมูล ในอนาคต ทักษะทางอารมณ์และความคิดสร้างสรรค์อาจมีความสำคัญมากกว่าความรู้ทางเทคนิค เขาแนะนำว่าระบบการศึกษาควรปรับตัวเพื่อเตรียมคนให้พร้อมสำหรับโลกที่อารมณ์และความคิดสร้างสรรค์มีบทบาทสำคัญ ฮาราริเน้นย้ำความสำคัญของการรู้จักและเข้าใจตนเอง รวมถึงอารมณ์และความรู้สึกของเราให้ได้อย่างถ่องแท้ เขาบอกว่า“การเข้าใจตนเองจะช่วยให้เราสามารถรับมือกับโลกที่ซับซ้อนและเต็มไปด้วยการกระตุ้นทางอารมณ์ได้ดีขึ้น” ผู้เขียน "21 Lessons for the 21st Century" ไม่ได้บอกว่า แนวโน้มนี้เป็นสิ่งที่ดีหรือไม่ดี แต่ชี้ให้เห็นว่ามันเป็นความท้าทายที่สำคัญที่เราต้องเตรียมพร้อมรับมือ โดยเฉพาะในด้านการศึกษา การเมือง และการพัฒนาตนเอง เพื่อรักษาสมดุล ระหว่างอารมณ์และเหตุผล ในยุคสมัยปัจจุบัน ที่“อารมณ์”อาจมีอิทธิพล มากขึ้นเรื่อยๆ​​​​​​​​​​​​​​​​ 🌻 จากข่าวสารประเด็นร้อนแรงในประเทศไทยวันนี้ เราก็ได้เห็นการใช้ Storytelling ในทางที่ผิดหลายเรื่อง เรื่องเล่าถูกใช้เพื่อบิดเบือนความจริงและสร้างภาพลวงตา มุ่งเน้นการกระตุ้นอารมณ์มากกว่าการให้ข้อมูลที่เป็นจริง นิทานเหล่านี้สร้างความเชื่อที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับความสำเร็จและความมั่งคั่ง ทำให้คนมองข้ามความเสี่ยงและความเป็นจริงของสถานการณ์ เรื่องเล่าที่น่าประทับใจอาจทำให้ผู้ฟังลดการใช้เหตุผลและการคิดวิเคราะห์ ผู้คนอาจตัดสินใจบนพื้นฐานของ“อารมณ์” มากกว่า“ความจริง” อย่างที่ยูวัล โนอาห์ ฮาราริ กล่าวไว้ไม่มีผิด Storytelling : นิทานหรือเรื่องเล่าที่มีประสิทธิภาพสามารถสร้างความไว้วางใจได้อย่างรวดเร็ว แม้กับคนแปลกหน้า ในกรณีของการหลอกลวง Storytelling ถูกใช้เพื่อลดความระแวดระวังของเหยื่อ เรื่องเล่าที่สวยงามอาจถูกใช้เพื่อปิดบังความจริงที่น่าเป็นห่วงหรือรายละเอียดที่สำคัญ ในกรณีของแชร์ลูกโซ่หรือ MLM นิทาน เรื่องเล่า หรือ Storytelling ทั้งหลาย อาจถูกใช้เพื่อสร้างวัฒนธรรมที่กดดันให้สมาชิกไม่ยอมแพ้ แม้จะเผชิญกับความล้มเหลว เรื่องเล่าเหล่านี้ มักเล็งเป้าไปที่ความฝัน และความหวังของผู้คน ทำให้เหยื่ออ่อนไหวและเปราะบาง ทำให้ง่ายที่จะหลอกลวง 🌻 นิทาน เรื่องเล่า Storytelling ทั้งหลาย มันไม่ได้เลวร้ายในตัวมันเอง แต่เป็นเครื่องมือที่ทรงพลัง สามารถใช้ในทางที่ดีหรือไม่ดีก็ได้ ในด้านบวก Storytelling สามารถใช้เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ สอน และสื่อสารความคิดที่ซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สิ่งสำคัญที่คนเรายุคนี้ต้องรับมือ คือต้องพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ และการรู้เท่าทันสื่อของตัวเอง เพื่อแยกแยะให้ออก ระหว่างการใช้ Storytelling ในทางที่สร้างสรรค์ หรือการใช้เพื่อหลอกลวง 🌻 ที่มา : https://www.facebook.com/share/p/sg5pYj1hseTp1QGK/?mibextid=CTbP7 #Thaitimes
0 Comments 0 Shares 865 Views 0 Reviews