BAN เรียกร้อง MAERSK ชี้แจงแผนเดินเรือใหม่ของเรือ 2 ลำที่ขนขยะพิษฝุ่นแดง หลังพบเรือ “แคมป์ตัน” ผ่านสิงคโปร์ไปแล้วโดยไม่จอด ขณะที่ “แคนดอร์” เงียบหายไม่แสดงตัวมาแล้ว 6 วัน พร้อมทั้งขอคำรับรองจาก MAERSK ว่าจะไม่ฝ่าฝืนมาตรฐานเรื่องการเดินเรือขนส่งสินค้าและปฏิบัติตามกฎกติการที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด จนกว่าที่ตู้คอนเทนเนอร์ต้องสงสัยว่าบรรจุขยะพิษทั้ง 100 ตู้บนเรือ “เมอรส์กแคมป์ตัน” และ “เมอรส์ก แคนดอร์” จะถูกส่งถึงแอลเบเนีย
.
16 สิงหาคม 2567- เครือข่ายปฏิบัติการบาเซล หรือ Basel Action Network (BAN) ซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนในประเทศสหรัฐอเมริกาที่ทำงานตรวจสอบเกี่ยวกับการปฏิบัติตามอนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตรายและการกำจัด หรือที่เรียกกันโดยย่อว่า “อนุสัญญาบาเซล” (Basel Convention) ได้ส่งจดหมายผ่านทางอีเมล ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2567 (เวลาช้ากว่าไทยประมาณ 12 ชั่วโมง) ถึงผู้บริหารของบริษัท เมอส์ก (MAERSK) ระบุว่า เป็นความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องสอบถามถึงเจตนารมณ์ของ Maersk เกี่ยวกับตู้คอนเทนเนอร์ต้องสงสัยว่าบรรจุขยะอันตรายที่ขนส่งมาบนเรือของบริษัทที่ชื่อ “เมอรส์กแคมป์ตัน” และ “เมอรส์ก แคนดอร์”
.
BAN ได้กล่าวอ้างอิงถึงข่าวจากบลูมเบิร์ก (Bloomberg) รวมทั้งเนื้อหาในจดหมายของบริษัท เมอส์ก ไลน์ (ไทยแลนด์) จำกัด ที่ส่งถึงผู้อำนวยการสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง เรื่อง “การชี้แจงข้อมูลเส้นทางการเดินเรือ” ซึ่งแจ้งไว้ว่าจะส่งคืนตู้คอนเทนเนอร์ทั้งหมดจำนวน 100 ตู้บนเรือทั้งสองลำดังกล่าวกลับไปยังแอลเบเนีย ซึ่ง BAN ระบุว่า “เราปรบมือให้กับการตัดสินใจนั้น”
.
จดหมายของ BAN ที่ลงนามโดยจิม พักเก็ตต์ กล่าวต่อไปว่า อย่างไรก็ตาม เรือแคมป์ตันซึ่งควรที่จะจอดยังท่าเรือในสิงคโปร์ และมีขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์ต้องสงสัย ตามแผนการเดิม กลับเพิ่งมีรายงานข่าวว่าได้แล่นผ่านสิงคโปร์ไปแล้วเมื่อไม่กี่ชั่วโมงที่ผ่านมา โดยไม่มีการหยุด ซึ่งในจดหมายได้มีการแนบแผนที่แสดงเส้นทางและตำแหน่งการเดินเรือของ “เมอรส์กแคมป์ตัน” ไว้ด้วย
.
จดหมายของ BAN แจ้งอีกว่า ในขณะที่ทางด้านเรือแคนดอร์ก็ได้เงียบหายไปตลอดช่วงหกวันที่ผ่านมา หลังจากที่พบว่ามีการปิดระบบสัญญาณ AIS (Automatic Identification System) หรือสัญญาณการระบุตัวตนอัตโนมัติครั้งสุดท้ายที่นอกชายฝั่งแอฟริกาใต้ ซึ่งปรากฏการณ์ล่าสุดเหล่านี้ได้ “สร้างความกังวลอย่างยิ่งยวด” ให้เกิดขึ้นตามหลังจากการแถลงของบริษัท
.
ดังนั้น BAN จึงเรียกร้องให้บริษัท MAERSK ชี้แจงและอธิบายให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและสื่อที่เกี่ยวข้องทั้งหลายโดยทันที ว่าเหตุใดจึงมีการปรับเปลี่ยนแผนการเดินเรือ และแผนใหม่คืออะไร ตลอดจนชี้แจงถึงตําแหน่งและจุดหมายปลายทางของเรือทั้งสองลําด้วย โดยที่ MAERSK จะต้องรับรองว่าจะไม่ฝ่าฝืนต่อกฎเกณฑ์สากลของการเดินเรือขนส่งสินค้า รวมถึงระเบียบกติกาทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง
.
และที่สำคัญคือ ต้องรักษาไว้ซึ่งความมุ่งมั่นที่จะส่งคอนเทนเนอร์บรรจุของเสียอันตรายต้องสงสัยกลับไปยังประเทศต้นทาง ให้ถึงมือรัฐบาลแอลเบเนีย เพื่อที่จะจัดการส่งกลับไปยังประเทศต้นทางได้ต่อ
ดูเรื่องที่เกี่ยวข้องได้ที่
- MAERSK ยอมส่งเรือกลับแอลเบเนีย!?! แต่ไม่ยอมรับว่ามีการขนส่งขยะอันตราย: https://shorturl.at/hivjM
- "กรณีการขนย้ายฝุ่นแดงจากประเทศแอลเบเนีย ถือเป็นอาชญากรรมสิ่งแวดล้อมข้ามชาติ": https://shorturl.at/th5yX
ที่มา : มูลนิธิบูรณะนิเวศ
#Thaitimes
.
16 สิงหาคม 2567- เครือข่ายปฏิบัติการบาเซล หรือ Basel Action Network (BAN) ซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนในประเทศสหรัฐอเมริกาที่ทำงานตรวจสอบเกี่ยวกับการปฏิบัติตามอนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตรายและการกำจัด หรือที่เรียกกันโดยย่อว่า “อนุสัญญาบาเซล” (Basel Convention) ได้ส่งจดหมายผ่านทางอีเมล ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2567 (เวลาช้ากว่าไทยประมาณ 12 ชั่วโมง) ถึงผู้บริหารของบริษัท เมอส์ก (MAERSK) ระบุว่า เป็นความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องสอบถามถึงเจตนารมณ์ของ Maersk เกี่ยวกับตู้คอนเทนเนอร์ต้องสงสัยว่าบรรจุขยะอันตรายที่ขนส่งมาบนเรือของบริษัทที่ชื่อ “เมอรส์กแคมป์ตัน” และ “เมอรส์ก แคนดอร์”
.
BAN ได้กล่าวอ้างอิงถึงข่าวจากบลูมเบิร์ก (Bloomberg) รวมทั้งเนื้อหาในจดหมายของบริษัท เมอส์ก ไลน์ (ไทยแลนด์) จำกัด ที่ส่งถึงผู้อำนวยการสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง เรื่อง “การชี้แจงข้อมูลเส้นทางการเดินเรือ” ซึ่งแจ้งไว้ว่าจะส่งคืนตู้คอนเทนเนอร์ทั้งหมดจำนวน 100 ตู้บนเรือทั้งสองลำดังกล่าวกลับไปยังแอลเบเนีย ซึ่ง BAN ระบุว่า “เราปรบมือให้กับการตัดสินใจนั้น”
.
จดหมายของ BAN ที่ลงนามโดยจิม พักเก็ตต์ กล่าวต่อไปว่า อย่างไรก็ตาม เรือแคมป์ตันซึ่งควรที่จะจอดยังท่าเรือในสิงคโปร์ และมีขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์ต้องสงสัย ตามแผนการเดิม กลับเพิ่งมีรายงานข่าวว่าได้แล่นผ่านสิงคโปร์ไปแล้วเมื่อไม่กี่ชั่วโมงที่ผ่านมา โดยไม่มีการหยุด ซึ่งในจดหมายได้มีการแนบแผนที่แสดงเส้นทางและตำแหน่งการเดินเรือของ “เมอรส์กแคมป์ตัน” ไว้ด้วย
.
จดหมายของ BAN แจ้งอีกว่า ในขณะที่ทางด้านเรือแคนดอร์ก็ได้เงียบหายไปตลอดช่วงหกวันที่ผ่านมา หลังจากที่พบว่ามีการปิดระบบสัญญาณ AIS (Automatic Identification System) หรือสัญญาณการระบุตัวตนอัตโนมัติครั้งสุดท้ายที่นอกชายฝั่งแอฟริกาใต้ ซึ่งปรากฏการณ์ล่าสุดเหล่านี้ได้ “สร้างความกังวลอย่างยิ่งยวด” ให้เกิดขึ้นตามหลังจากการแถลงของบริษัท
.
ดังนั้น BAN จึงเรียกร้องให้บริษัท MAERSK ชี้แจงและอธิบายให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและสื่อที่เกี่ยวข้องทั้งหลายโดยทันที ว่าเหตุใดจึงมีการปรับเปลี่ยนแผนการเดินเรือ และแผนใหม่คืออะไร ตลอดจนชี้แจงถึงตําแหน่งและจุดหมายปลายทางของเรือทั้งสองลําด้วย โดยที่ MAERSK จะต้องรับรองว่าจะไม่ฝ่าฝืนต่อกฎเกณฑ์สากลของการเดินเรือขนส่งสินค้า รวมถึงระเบียบกติกาทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง
.
และที่สำคัญคือ ต้องรักษาไว้ซึ่งความมุ่งมั่นที่จะส่งคอนเทนเนอร์บรรจุของเสียอันตรายต้องสงสัยกลับไปยังประเทศต้นทาง ให้ถึงมือรัฐบาลแอลเบเนีย เพื่อที่จะจัดการส่งกลับไปยังประเทศต้นทางได้ต่อ
ดูเรื่องที่เกี่ยวข้องได้ที่
- MAERSK ยอมส่งเรือกลับแอลเบเนีย!?! แต่ไม่ยอมรับว่ามีการขนส่งขยะอันตราย: https://shorturl.at/hivjM
- "กรณีการขนย้ายฝุ่นแดงจากประเทศแอลเบเนีย ถือเป็นอาชญากรรมสิ่งแวดล้อมข้ามชาติ": https://shorturl.at/th5yX
ที่มา : มูลนิธิบูรณะนิเวศ
#Thaitimes
BAN เรียกร้อง MAERSK ชี้แจงแผนเดินเรือใหม่ของเรือ 2 ลำที่ขนขยะพิษฝุ่นแดง หลังพบเรือ “แคมป์ตัน” ผ่านสิงคโปร์ไปแล้วโดยไม่จอด ขณะที่ “แคนดอร์” เงียบหายไม่แสดงตัวมาแล้ว 6 วัน พร้อมทั้งขอคำรับรองจาก MAERSK ว่าจะไม่ฝ่าฝืนมาตรฐานเรื่องการเดินเรือขนส่งสินค้าและปฏิบัติตามกฎกติการที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด จนกว่าที่ตู้คอนเทนเนอร์ต้องสงสัยว่าบรรจุขยะพิษทั้ง 100 ตู้บนเรือ “เมอรส์กแคมป์ตัน” และ “เมอรส์ก แคนดอร์” จะถูกส่งถึงแอลเบเนีย
.
16 สิงหาคม 2567- เครือข่ายปฏิบัติการบาเซล หรือ Basel Action Network (BAN) ซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนในประเทศสหรัฐอเมริกาที่ทำงานตรวจสอบเกี่ยวกับการปฏิบัติตามอนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตรายและการกำจัด หรือที่เรียกกันโดยย่อว่า “อนุสัญญาบาเซล” (Basel Convention) ได้ส่งจดหมายผ่านทางอีเมล ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2567 (เวลาช้ากว่าไทยประมาณ 12 ชั่วโมง) ถึงผู้บริหารของบริษัท เมอส์ก (MAERSK) ระบุว่า เป็นความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องสอบถามถึงเจตนารมณ์ของ Maersk เกี่ยวกับตู้คอนเทนเนอร์ต้องสงสัยว่าบรรจุขยะอันตรายที่ขนส่งมาบนเรือของบริษัทที่ชื่อ “เมอรส์กแคมป์ตัน” และ “เมอรส์ก แคนดอร์”
.
BAN ได้กล่าวอ้างอิงถึงข่าวจากบลูมเบิร์ก (Bloomberg) รวมทั้งเนื้อหาในจดหมายของบริษัท เมอส์ก ไลน์ (ไทยแลนด์) จำกัด ที่ส่งถึงผู้อำนวยการสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง เรื่อง “การชี้แจงข้อมูลเส้นทางการเดินเรือ” ซึ่งแจ้งไว้ว่าจะส่งคืนตู้คอนเทนเนอร์ทั้งหมดจำนวน 100 ตู้บนเรือทั้งสองลำดังกล่าวกลับไปยังแอลเบเนีย ซึ่ง BAN ระบุว่า “เราปรบมือให้กับการตัดสินใจนั้น”
.
จดหมายของ BAN ที่ลงนามโดยจิม พักเก็ตต์ กล่าวต่อไปว่า อย่างไรก็ตาม เรือแคมป์ตันซึ่งควรที่จะจอดยังท่าเรือในสิงคโปร์ และมีขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์ต้องสงสัย ตามแผนการเดิม กลับเพิ่งมีรายงานข่าวว่าได้แล่นผ่านสิงคโปร์ไปแล้วเมื่อไม่กี่ชั่วโมงที่ผ่านมา โดยไม่มีการหยุด ซึ่งในจดหมายได้มีการแนบแผนที่แสดงเส้นทางและตำแหน่งการเดินเรือของ “เมอรส์กแคมป์ตัน” ไว้ด้วย
.
จดหมายของ BAN แจ้งอีกว่า ในขณะที่ทางด้านเรือแคนดอร์ก็ได้เงียบหายไปตลอดช่วงหกวันที่ผ่านมา หลังจากที่พบว่ามีการปิดระบบสัญญาณ AIS (Automatic Identification System) หรือสัญญาณการระบุตัวตนอัตโนมัติครั้งสุดท้ายที่นอกชายฝั่งแอฟริกาใต้ ซึ่งปรากฏการณ์ล่าสุดเหล่านี้ได้ “สร้างความกังวลอย่างยิ่งยวด” ให้เกิดขึ้นตามหลังจากการแถลงของบริษัท
.
ดังนั้น BAN จึงเรียกร้องให้บริษัท MAERSK ชี้แจงและอธิบายให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและสื่อที่เกี่ยวข้องทั้งหลายโดยทันที ว่าเหตุใดจึงมีการปรับเปลี่ยนแผนการเดินเรือ และแผนใหม่คืออะไร ตลอดจนชี้แจงถึงตําแหน่งและจุดหมายปลายทางของเรือทั้งสองลําด้วย โดยที่ MAERSK จะต้องรับรองว่าจะไม่ฝ่าฝืนต่อกฎเกณฑ์สากลของการเดินเรือขนส่งสินค้า รวมถึงระเบียบกติกาทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง
.
และที่สำคัญคือ ต้องรักษาไว้ซึ่งความมุ่งมั่นที่จะส่งคอนเทนเนอร์บรรจุของเสียอันตรายต้องสงสัยกลับไปยังประเทศต้นทาง ให้ถึงมือรัฐบาลแอลเบเนีย เพื่อที่จะจัดการส่งกลับไปยังประเทศต้นทางได้ต่อ
ดูเรื่องที่เกี่ยวข้องได้ที่
- MAERSK ยอมส่งเรือกลับแอลเบเนีย!?! แต่ไม่ยอมรับว่ามีการขนส่งขยะอันตราย: https://shorturl.at/hivjM
- "กรณีการขนย้ายฝุ่นแดงจากประเทศแอลเบเนีย ถือเป็นอาชญากรรมสิ่งแวดล้อมข้ามชาติ": https://shorturl.at/th5yX
ที่มา : มูลนิธิบูรณะนิเวศ
#Thaitimes
0 Comments
0 Shares
449 Views
0 Reviews