เบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล เดือดดาลสุดขีด ตอบโต้กลับ เอ็มมานูเอล มาครง หลังไม่พอใจคำพูดของประธานาธิบดีฝรั่งเศส ที่เตือนความทรงจำว่าการก่อตั้งประเทศอิสราเอล เป็นผลลัพธ์จากมติของสหประชาชาติ และเรียกร้องรัฐยิวปฏิบัติตามการตัดสินใจต่างๆ ของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ศึกวาทกรรมรอบใหม่ที่เกิดขึ้นท่ามกลางเหตุกระทบกระทั่ง ทหารอิสราเอลยิงใส่กองกำลังรักษาสันติภาพของยูเอ็นในเลบานอน
.
มีรายงานข่าวว่า มาครง พูดกับคณะรัฐมนตรีฝรั่งเศส ระหว่างการประชุมหนึ่งเมื่อวันอังคาร (15 ต.ค.) ว่า "เนทันยาฮูต้องไม่ลืมว่าประเทศของเขาก่อตั้งโดยการตัดสินใจของสหประชาชาติ" อ้างถึงมติหนึ่งที่รับรองโดยที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ 1947 ให้แบ่งปาเลสไตน์ออกเป็นรัฐของชาวยิวและชาวอาหรับแยกกัน
.
เอเอฟพีรายงานอ้างอิงคำบอกเล่าของผู้เข้าร่วมประชุมรายหรึ่ง อ้างว่า มาครง ยังพูดด้วยว่า "นี่ไม่ใช่เวลาตัดขาดตัวเองจากการตัดสินใจต่างๆ ของยูเอ็น" ดูเหมือนเป็นการพาดพิงถึงกรณีที่อิสราเอลยกพลบุกเลบานอน เพื่อเล่นงานพวกนักรบฮิซบอลเลาะห์ แม้มีเสียงเรียกร้องซ้ำแล้วซ้ำเล่าต่อสหประชาชาติที่ขอให้หยุดความเป็นปรปักษ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากมีกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติได้รับบาดเจ็บในพื้นที่
.
เนทันยาฮู ตอบโต้กลับความเห็นของมาครง ยืนยันว่าประเทศของเขาก่อตั้งโดยเลือดของทหารอิสราเอลในสงครามอาหรับ-อิสราเอล ปี 1948 ความขัดแย้งที่ปะทะขึ้นหลังจากปาเลสไตน์ปฏิเสธมติของสหประชาชาติ และโจมตีรัฐยิว ซึ่งเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะหลังการสู้รบลากยาวประมาณ 1 ปี
.
"ขอเตือนความทรงจำประธานาธิบดีฝรั่งเศสหน่อย มันไม่ใช่มติของสหประชาชาติที่ก่อตั้งประเทศอิสราเอล แต่มันคือการบรรลุเป้าหมายแห่งชัยชนะในสงครามเอกราช ที่นองไปด้วยเลือดนักรบวีรชน หลายคนในนั้นคือผู้รอดชีวิตจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว" เนทันยาฮูระบุในถ้อยแถลง ตามรายงานของหนังสือพิมพ์ไทม์ออฟอินเดีย
.
ถ้อยแถลงของทำเนียบประธานาธิบดีฝรั่งเศส เปิดเผยว่า เนทันยาฮู และ มาครง ได้พูดคุยทางโทรศัพท์ในเวลาต่อมา โดยที่ทางนายกรัฐมนตรีอิสราเอลบอกกับประธานาธิบดีฝรั่งเศส ว่าเขาจะไม่เห็นพ้องใดๆ กับ "ข้อตกลงหยุดยิงแต่เพียงฝ่ายเดียว" ในเลบานอน
.
มาครงและเนทันยาฮู เปิดศึกวาทกรรมมาตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว ครั้งที่ผู้นำฝรั่งเศสเรียกร้องให้ตะวันตกระงับส่งออกอาวุธไปยังอิสราเอล โดยชี้ว่ามันเป็นหนทางเดียวที่จะบีบให้รัฐยิวหยุดความขัดแย้งในกาซาและเลบานอน นอกจากนี้ เขายังกล่าวหาอิสราเอล จงใจทำให้กองกำลังสันติภาพของสหประชาชาติ ที่มีกำลังมากกว่า 10,000 นายทางใต้ของเลบานอน ตกอยู่ในความเสี่ยง ในนั้นราว 700 นาย เป็นทหารฝรั่งเศส
.
เนทันยาฮู ประณามคำชี้แนะของมาครง เกี่ยวกับมาตรการปิดล้อมทางอาวุธ ว่า "น่าอดสู" และประกาศว่าอิสราเอลจะคว้าชัยไม่ว่าจะได้รับการสนับสนุนจากตะวันตกหรือไม่ก็ตาม ในวันอาทิตย์ (13 ต.ค.) ผู้นำอิสราเอลเรียกร้องสหประชาชาติ อพยพกองกำลังรักษาสันติภาพออกจากเลบานอน อ้างว่าพวกฮิซบอลเลาะห์กำลังใช้พวกเขาเป็นโล่มนุษย์ อย่างไรก็ตามทาง ฌอง-ปิแอร์ ลาครัวซ์ หัวหน้ากองกำลังรักษาสันติภาพ บอกกับผู้สื่อข่าวในวันจันทร์ (14 ต.ค.) ว่ากองกำลังรักษาสันติภาพจะปักหลักอยู่ตามที่มั่นต่างๆ ไม่เปลี่ยนแปลง
.
ก่อนหน้านี้ อิสราเอลเพิ่งก่อความขุ่นเคืองแก่ประชาคมนานาชาติ ด้วยการประกาศให้ อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการใหญ่แห่งสหประชาชาติ เป็นบุคคลไม่พึงประสงค์ หลังจากผู้นำยูเอ็นประณามความขัดแย้งที่ขยายวงกว้างในตะวันออกกลาง และเรียกร้องหยุดยิง แต่เบื้องต้นไม่ประณามอิหร่าน ตามหลังเตหะรานยิงห่าขีปนาวุธโจมตีแก้รัฐยิว
.
อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวก่อความเคลื่อนไหวของบรรดารัฐสมาชิกของสหประชาชาติมากกว่า 100 ประเทศ ที่ร่วมลงนามในหนังสือแสดงจุดยืนสนับสนุน กูเตอร์เรส ก่อนต่อมา กูเตอร์เรส ได้กล่าวปราศรัยกับคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ประณามการโจมตีของอิหร่านที่เล่นงานอิสราเอล
.
อ่านเพิ่มเติม..
..............
Sondhi X
เบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล เดือดดาลสุดขีด ตอบโต้กลับ เอ็มมานูเอล มาครง หลังไม่พอใจคำพูดของประธานาธิบดีฝรั่งเศส ที่เตือนความทรงจำว่าการก่อตั้งประเทศอิสราเอล เป็นผลลัพธ์จากมติของสหประชาชาติ และเรียกร้องรัฐยิวปฏิบัติตามการตัดสินใจต่างๆ ของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ศึกวาทกรรมรอบใหม่ที่เกิดขึ้นท่ามกลางเหตุกระทบกระทั่ง ทหารอิสราเอลยิงใส่กองกำลังรักษาสันติภาพของยูเอ็นในเลบานอน . มีรายงานข่าวว่า มาครง พูดกับคณะรัฐมนตรีฝรั่งเศส ระหว่างการประชุมหนึ่งเมื่อวันอังคาร (15 ต.ค.) ว่า "เนทันยาฮูต้องไม่ลืมว่าประเทศของเขาก่อตั้งโดยการตัดสินใจของสหประชาชาติ" อ้างถึงมติหนึ่งที่รับรองโดยที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ 1947 ให้แบ่งปาเลสไตน์ออกเป็นรัฐของชาวยิวและชาวอาหรับแยกกัน . เอเอฟพีรายงานอ้างอิงคำบอกเล่าของผู้เข้าร่วมประชุมรายหรึ่ง อ้างว่า มาครง ยังพูดด้วยว่า "นี่ไม่ใช่เวลาตัดขาดตัวเองจากการตัดสินใจต่างๆ ของยูเอ็น" ดูเหมือนเป็นการพาดพิงถึงกรณีที่อิสราเอลยกพลบุกเลบานอน เพื่อเล่นงานพวกนักรบฮิซบอลเลาะห์ แม้มีเสียงเรียกร้องซ้ำแล้วซ้ำเล่าต่อสหประชาชาติที่ขอให้หยุดความเป็นปรปักษ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากมีกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติได้รับบาดเจ็บในพื้นที่ . เนทันยาฮู ตอบโต้กลับความเห็นของมาครง ยืนยันว่าประเทศของเขาก่อตั้งโดยเลือดของทหารอิสราเอลในสงครามอาหรับ-อิสราเอล ปี 1948 ความขัดแย้งที่ปะทะขึ้นหลังจากปาเลสไตน์ปฏิเสธมติของสหประชาชาติ และโจมตีรัฐยิว ซึ่งเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะหลังการสู้รบลากยาวประมาณ 1 ปี . "ขอเตือนความทรงจำประธานาธิบดีฝรั่งเศสหน่อย มันไม่ใช่มติของสหประชาชาติที่ก่อตั้งประเทศอิสราเอล แต่มันคือการบรรลุเป้าหมายแห่งชัยชนะในสงครามเอกราช ที่นองไปด้วยเลือดนักรบวีรชน หลายคนในนั้นคือผู้รอดชีวิตจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว" เนทันยาฮูระบุในถ้อยแถลง ตามรายงานของหนังสือพิมพ์ไทม์ออฟอินเดีย . ถ้อยแถลงของทำเนียบประธานาธิบดีฝรั่งเศส เปิดเผยว่า เนทันยาฮู และ มาครง ได้พูดคุยทางโทรศัพท์ในเวลาต่อมา โดยที่ทางนายกรัฐมนตรีอิสราเอลบอกกับประธานาธิบดีฝรั่งเศส ว่าเขาจะไม่เห็นพ้องใดๆ กับ "ข้อตกลงหยุดยิงแต่เพียงฝ่ายเดียว" ในเลบานอน . มาครงและเนทันยาฮู เปิดศึกวาทกรรมมาตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว ครั้งที่ผู้นำฝรั่งเศสเรียกร้องให้ตะวันตกระงับส่งออกอาวุธไปยังอิสราเอล โดยชี้ว่ามันเป็นหนทางเดียวที่จะบีบให้รัฐยิวหยุดความขัดแย้งในกาซาและเลบานอน นอกจากนี้ เขายังกล่าวหาอิสราเอล จงใจทำให้กองกำลังสันติภาพของสหประชาชาติ ที่มีกำลังมากกว่า 10,000 นายทางใต้ของเลบานอน ตกอยู่ในความเสี่ยง ในนั้นราว 700 นาย เป็นทหารฝรั่งเศส . เนทันยาฮู ประณามคำชี้แนะของมาครง เกี่ยวกับมาตรการปิดล้อมทางอาวุธ ว่า "น่าอดสู" และประกาศว่าอิสราเอลจะคว้าชัยไม่ว่าจะได้รับการสนับสนุนจากตะวันตกหรือไม่ก็ตาม ในวันอาทิตย์ (13 ต.ค.) ผู้นำอิสราเอลเรียกร้องสหประชาชาติ อพยพกองกำลังรักษาสันติภาพออกจากเลบานอน อ้างว่าพวกฮิซบอลเลาะห์กำลังใช้พวกเขาเป็นโล่มนุษย์ อย่างไรก็ตามทาง ฌอง-ปิแอร์ ลาครัวซ์ หัวหน้ากองกำลังรักษาสันติภาพ บอกกับผู้สื่อข่าวในวันจันทร์ (14 ต.ค.) ว่ากองกำลังรักษาสันติภาพจะปักหลักอยู่ตามที่มั่นต่างๆ ไม่เปลี่ยนแปลง . ก่อนหน้านี้ อิสราเอลเพิ่งก่อความขุ่นเคืองแก่ประชาคมนานาชาติ ด้วยการประกาศให้ อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการใหญ่แห่งสหประชาชาติ เป็นบุคคลไม่พึงประสงค์ หลังจากผู้นำยูเอ็นประณามความขัดแย้งที่ขยายวงกว้างในตะวันออกกลาง และเรียกร้องหยุดยิง แต่เบื้องต้นไม่ประณามอิหร่าน ตามหลังเตหะรานยิงห่าขีปนาวุธโจมตีแก้รัฐยิว . อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวก่อความเคลื่อนไหวของบรรดารัฐสมาชิกของสหประชาชาติมากกว่า 100 ประเทศ ที่ร่วมลงนามในหนังสือแสดงจุดยืนสนับสนุน กูเตอร์เรส ก่อนต่อมา กูเตอร์เรส ได้กล่าวปราศรัยกับคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ประณามการโจมตีของอิหร่านที่เล่นงานอิสราเอล . อ่านเพิ่มเติม.. .............. Sondhi X
Like
Haha
6
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 780 มุมมอง 0 รีวิว