WHO องค์การอนามัยโลกประกาศเตือนภัยโรคฝีดาษลิงเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระดับโลก

14 สิงหาคม 2567 -นาย เทดรอส อะดานอม เกเบรเยซุส( Tedros Adhanom Ghebreyesus) ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้การระบาดของโรคเอ็มพอกซ์ (MPox) หรือฝีดาษลิง ในบางพื้นที่ของทวีปแอฟริกามีสถานะเป็น "ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ" หลังจากโรคแพร่กระจายจากการระบาดสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ที่มีผู้เสียชีวิตกว่า 450 คน ไปตามประเทศต่าง ๆ ในแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันออก

ความเคลื่อนไหวครั้งนี้มีขึ้นหลังจากเมื่อวันอังคารที่ 13 ส.ค.ที่ผ่านมา ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแอฟริกาประกาศให้เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขไป

MPox เดิมรู้จักกันในชื่อฝีดาษลิง แบ่งเป็น 2 ประเภทหลักคือ Clade 1 และ Clade 2 การแพร่ระบาดเกิดจากการสัมผัสใกล้ชิด การสัมผัสผิวหนัง พูดคุยหรือหายใจใกล้ชิดกัน รวมถึงเพศสัมพันธ์ ไวรัสจะทำให้มีอาการคล้ายเป็นไข้หวัด และเกิดแผลพุพองตามร่างกาย ซึ่งอาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้
ครั้งที่แล้ว WHO ประกาศเตือนภัยสาธารณสุขเมื่อปี 2565 ตอนนั้นเป็น Clade 2 ที่อาการไม่รุนแรงนัก แม้จะระบาดไปกว่า 100 ประเทศ รวมถึงในยุโรปและเอเชีย โดยมีผู้ติดเชื้อมากกว่า 87,000 คนและเสียชีวิต 140 คน อัตราการเสียชีวิตที่ 4 ใน 100 แม้จะติดต่อได้ทั่วไป แต่รอบที่แล้วพบว่าการระบาดส่วนมากกระจุกตัวในกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ จึงรับมือได้โดยการฉีดวัคซีนให้กลุ่มเสี่ยง

แต่รอบนี้ที่ระบาดกลับเป็น Clade 1 ซึ่งรุนแรงกว่ามาก มีอัตราการเสียชีวิตของผู้ที่ติดเชื้อสูงสุดร้อยละ 10

#Thaitimes
WHO องค์การอนามัยโลกประกาศเตือนภัยโรคฝีดาษลิงเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระดับโลก 14 สิงหาคม 2567 -นาย เทดรอส อะดานอม เกเบรเยซุส( Tedros Adhanom Ghebreyesus) ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้การระบาดของโรคเอ็มพอกซ์ (MPox) หรือฝีดาษลิง ในบางพื้นที่ของทวีปแอฟริกามีสถานะเป็น "ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ" หลังจากโรคแพร่กระจายจากการระบาดสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ที่มีผู้เสียชีวิตกว่า 450 คน ไปตามประเทศต่าง ๆ ในแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันออก ความเคลื่อนไหวครั้งนี้มีขึ้นหลังจากเมื่อวันอังคารที่ 13 ส.ค.ที่ผ่านมา ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแอฟริกาประกาศให้เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขไป MPox เดิมรู้จักกันในชื่อฝีดาษลิง แบ่งเป็น 2 ประเภทหลักคือ Clade 1 และ Clade 2 การแพร่ระบาดเกิดจากการสัมผัสใกล้ชิด การสัมผัสผิวหนัง พูดคุยหรือหายใจใกล้ชิดกัน รวมถึงเพศสัมพันธ์ ไวรัสจะทำให้มีอาการคล้ายเป็นไข้หวัด และเกิดแผลพุพองตามร่างกาย ซึ่งอาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ ครั้งที่แล้ว WHO ประกาศเตือนภัยสาธารณสุขเมื่อปี 2565 ตอนนั้นเป็น Clade 2 ที่อาการไม่รุนแรงนัก แม้จะระบาดไปกว่า 100 ประเทศ รวมถึงในยุโรปและเอเชีย โดยมีผู้ติดเชื้อมากกว่า 87,000 คนและเสียชีวิต 140 คน อัตราการเสียชีวิตที่ 4 ใน 100 แม้จะติดต่อได้ทั่วไป แต่รอบที่แล้วพบว่าการระบาดส่วนมากกระจุกตัวในกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ จึงรับมือได้โดยการฉีดวัคซีนให้กลุ่มเสี่ยง แต่รอบนี้ที่ระบาดกลับเป็น Clade 1 ซึ่งรุนแรงกว่ามาก มีอัตราการเสียชีวิตของผู้ที่ติดเชื้อสูงสุดร้อยละ 10 #Thaitimes
0 Comments 0 Shares 263 Views 0 Reviews