สหรัฐฯแถลงว่าจะจัดส่งกองทหารอเมริกันพร้อมด้วยระบบ THAAD ที่เป็นระบบต่อสู้ขีปนาวุธล้ำยุคของตนไปยังอิสราเอล เพื่อหนุนเสริมการป้องกันภัยทางอากาศของรัฐยิวภายหลังจากถูกอิหร่านระดมโจมตีด้วยขีปนาวุธ ถือเป็นการเคลื่อนย้ายกำลังทหารที่ผิดธรรมดาเป็นอย่างมาก
.
ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐฯ กล่าวว่า ความเคลื่อนไหวครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อ “พิทักษ์ปกป้องอิสราเอล” ขณะที่รัฐยิวเองมีรายงานว่ากำลังชั่งใจจะตอบโต้เอาคืนอิหร่านอย่างไรดี หลังจากเตหะรานยิงขีปนาวุธจำนวนรวมมากกว่า 180 ลูกเข้าใส่อิสราเอลเมื่อวันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา
.
พวกเจ้าหน้าที่อเมริกันอ้างว่า สหรัฐฯกำลังรบเร้าอิสราเอลอย่างเป็นการภายในให้ดำเนินการตอบโต้อย่างระมัดระวัง เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้กลายเป็นการจุดชนวนสงครามขนาดกว้างขวางยิ่งไปกว่านี้ขึ้นมาในตะวันออกกลาง ขณะที่ ไบเดน ออกมาส่งเสียงต่อหน้าสาธารณชนว่าเขาคัดค้านหากอิสราเอลจะเล่นงานที่ตั้งทางนิวเคลียร์ของอิหร่าน และต่อมาเขายังแสดงความกังวลที่อาจจะมีการโจมตีใส่โครงสร้างพื้นฐานด้านน้ำมันของอิหร่าน
.
ทางด้านโฆษกของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ (เพนตากอน) พล.ต.แพทริก ไรเดอร์ พูดถึงการเคลื่อนย้ายกำลังคราวนี้ว่า เป็นส่วนหนึ่งของ “การปรับตัวระดับกว้างขวางยิ่งกว่านี้ ซึ่งทางกองทัพสหรัฐฯดำเนินการอยู่ในระยะไม่กี่เดือนที่ผ่านมา” เพื่อสนับสนุนอิสราเอล และพิทักษ์ปกป้องบุคลากรของสหรัฐฯจากการถูกโจมตีโดยอิหร่านและกลุ่มต่างๆ ที่อิหร่านหนุนหลังอยู่
.
แต่การเคลื่อนย้ายกำลังทหารสหรัฐฯไปยังอิสราเอล โดยที่มิได้เกี่ยวข้องกับการฝึกทางทหารเช่นนี้ ถึงอย่างไรก็เป็นเรื่องที่น้อยครั้งนักจะเกิดขึ้น เมื่อพิจารณาจากสมรรถนะทางทหารที่อิสราเอลเองมีอยู่แล้ว ถึงแม้ช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมากองทหารอเมริกันจากเรือรบและเครื่องบินขับไล่ของสหรัฐฯซึ่งประจำการอยู่ในตะวันออกกลาง ได้มีการช่วยเหลือการป้องกันของอิสราเอล เมื่อรัฐยิวตกเป็นเป้าหมายโจมตีจากฝ่ายอิหร่าน
.
ทว่าเรือรบและเครื่องบินรบอเมริกันเหล่านี้ล้วนตั้งฐานอยู่นอกอิสราเอล
.
ระบบป้องกันขีปนาวุธ ธาด (THAAD ย่อมาจาก Terminal High Altitude Area Defense system ระบบป้องกันพื้นที่โดยยิงทำลายขีปนาวุธทิ้งตัวของข้าศึกในระดับความสูงที่สูงมากขณะมันกำลังอยู่ในช่วง Terminal นั่นคือตกกลับลงมาหรือหวนกลับมาเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลก) ที่สหรัฐฯจะนำไปยังอิสราเอลนี้ ถือเป็นส่วนสำคัญยิ่งยวดส่วนหนึ่งของระบบป้องกันภัยทางอากาศที่มีอยู่ด้วยหลายๆ ชั้นของกองทัพสหรัฐฯ และแน่นอนทีเดียวว่าจะเป็นการเติมเสริมระบบต่อสู้ขีปนาวุธที่น่าเกรงขามอยู่แล้วของอิสราเอล
.
ชุดปฏิบัติการยิงระบบ ธาด ชุดหนึ่งๆ ปกติแล้วต้องอาศัยกำลังทหารราว 100 คนในการใช้งาน โดยประกอบไปด้วยแท่นยิงหลายแท่นซึ่งติดตั้งอยู่บนรถบรรทุกรวม 6 คัน แต่ละแท่นยิงนี้บรรจุขีปนาวุธสกัดกั้น 8 ลูก แล้วยังมีระบบเรดาร์ทรงพลังมากอีก 1 ระบบ
.
รัฐมนตรีต่างประเทศ อับบาส อารากชี ของอิหร่าน กล่าวเตือนเอาไว้ก่อนหน้านี้เมื่อวันอาทิตย์ (13) ว่า สหรัฐฯกำลังนำเอาทหารของตนเอง “เข้ามาอยู่ในความเสี่ยง ด้วยการเคลื่อนย้ายพวกเขาเข้าปฏิบัติการใช้งานระบบขีปนาวุธสหรัฐฯในอิสราเอล”
.
“ขณะที่เราได้ใช้ความพยายามอย่างมหาศาลในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา เพื่อจำกัดควบคุมไม่ให้เกิดสงครามแบบเต็มพิกัดขึ้นในภูมิภาคของเรา ผมก็ต้องพูดออกมาให้ชัดเจนด้วยว่า ในการพิทักษ์ปกป้องประชาชนของเราและผลประโยชน์ของเรานั้น ไม่มีการขีดเส้นแดงห้ามล่วงละเมิดใดๆ ทั้งสิ้น (นั่นคือทุกอย่างที่ศัตรูทำต่ออิหร่าน ถือเป็นการละเมิดเส้นแดงทั้งหมด)” อารากชี กล่าวในข้อความที่โพสต์บนแพลตฟอร์มเอ็กซ์
.
กระนั้น พวกผู้เชี่ยวชาญบอกว่า อิหร่านยังคงหาทางหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการทำสงครามโดยตรงกับสหรัฐฯ ดังนั้นจึงทำให้การเคลื่อนย้ายกำลังทหารสหรัฐฯไปยังอิสราเอลคราวนี้ กลายเป็นปัจจัยอีกอย่างหนึ่งที่เตหะรานต้องนำมาคำนวณในเวลาเดินหน้าทำอะไรต่อไป
.
อิหร่านนั้นได้เปิดฉากยิงขีปนาวุธและปล่อยโดรนออกไปเล่นงานอิสราเอลในเดือนเมษายน จากนั้นในวันที่ 1 ตุลาคม อิหร่านก็ยิงขีปนาวุธทิ้งตัวมากกว่า 180 ลูกใส่อิสราเอล ท่ามกลางการบานปลายขยายตัวขึ้นอีกครั้งหนึ่งของการสู้รบระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบานอนซึ่งเตหะรานหนุนหลังอยู่ ขีปนาวุธและโดรนเหล่านี้จำนวนมากถูกสกัดกั้นเอาไว้ได้กลางเวหา แต่ก็มีบางส่วนฝ่าผ่านระบบป้องกันขีปนาวุธเข้าไปได้สำเร็จ
.
พวกเจ้าหน้าที่สหรัฐฯไม่ได้ระบุว่า ระบบนี้จะถูกเคลื่อนย้ายมายังอิสราเอลได้รวดเร็วแค่ไหน
.
ก่อนหน้านี้ เพนตากอนเคยแถลงว่า ได้เคลื่อนย้ายระบบ ธาด 1 ระบบเข้าไปทางภาคใต้อิสราเอลเมื่อปี 2019 สำหรับการฝึกซ้อม ถือเป็นครั้งสุดท้ายและครั้งเดียวเท่านั้นซึ่งเป็นที่ทราบกันว่ามีการนำเอาอาวุธนี้ไปยังรัฐยิว
.
ล็อกฮีด มาร์ติน บริษัทผู้ผลิตอาวุธรายใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ คือผู้ที่ผลิต, สร้าง, และนำเอาส่วนต่างๆ ของระบบธาด มารวมกัน โดยที่ระบบนี้ออกแบบมาเพื่อใช้ยิงขีปนาวุธทิ้งตัวทั้งแบบแบบพิสัยสั้น, พิสัยกลาง (medium -range), และพิสัยปานกลาง (intermediate-range) ขณะที่ เรย์ธีออน บริษัทอาวุธอเมริกันอีกแห่งหนึ่ง เป็นผู้สร้างระบบเรดาร์ล้ำยุคที่ใช้กับ ธาด
.
อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000099219
..............
Sondhi X
สหรัฐฯแถลงว่าจะจัดส่งกองทหารอเมริกันพร้อมด้วยระบบ THAAD ที่เป็นระบบต่อสู้ขีปนาวุธล้ำยุคของตนไปยังอิสราเอล เพื่อหนุนเสริมการป้องกันภัยทางอากาศของรัฐยิวภายหลังจากถูกอิหร่านระดมโจมตีด้วยขีปนาวุธ ถือเป็นการเคลื่อนย้ายกำลังทหารที่ผิดธรรมดาเป็นอย่างมาก . ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐฯ กล่าวว่า ความเคลื่อนไหวครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อ “พิทักษ์ปกป้องอิสราเอล” ขณะที่รัฐยิวเองมีรายงานว่ากำลังชั่งใจจะตอบโต้เอาคืนอิหร่านอย่างไรดี หลังจากเตหะรานยิงขีปนาวุธจำนวนรวมมากกว่า 180 ลูกเข้าใส่อิสราเอลเมื่อวันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา . พวกเจ้าหน้าที่อเมริกันอ้างว่า สหรัฐฯกำลังรบเร้าอิสราเอลอย่างเป็นการภายในให้ดำเนินการตอบโต้อย่างระมัดระวัง เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้กลายเป็นการจุดชนวนสงครามขนาดกว้างขวางยิ่งไปกว่านี้ขึ้นมาในตะวันออกกลาง ขณะที่ ไบเดน ออกมาส่งเสียงต่อหน้าสาธารณชนว่าเขาคัดค้านหากอิสราเอลจะเล่นงานที่ตั้งทางนิวเคลียร์ของอิหร่าน และต่อมาเขายังแสดงความกังวลที่อาจจะมีการโจมตีใส่โครงสร้างพื้นฐานด้านน้ำมันของอิหร่าน . ทางด้านโฆษกของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ (เพนตากอน) พล.ต.แพทริก ไรเดอร์ พูดถึงการเคลื่อนย้ายกำลังคราวนี้ว่า เป็นส่วนหนึ่งของ “การปรับตัวระดับกว้างขวางยิ่งกว่านี้ ซึ่งทางกองทัพสหรัฐฯดำเนินการอยู่ในระยะไม่กี่เดือนที่ผ่านมา” เพื่อสนับสนุนอิสราเอล และพิทักษ์ปกป้องบุคลากรของสหรัฐฯจากการถูกโจมตีโดยอิหร่านและกลุ่มต่างๆ ที่อิหร่านหนุนหลังอยู่ . แต่การเคลื่อนย้ายกำลังทหารสหรัฐฯไปยังอิสราเอล โดยที่มิได้เกี่ยวข้องกับการฝึกทางทหารเช่นนี้ ถึงอย่างไรก็เป็นเรื่องที่น้อยครั้งนักจะเกิดขึ้น เมื่อพิจารณาจากสมรรถนะทางทหารที่อิสราเอลเองมีอยู่แล้ว ถึงแม้ช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมากองทหารอเมริกันจากเรือรบและเครื่องบินขับไล่ของสหรัฐฯซึ่งประจำการอยู่ในตะวันออกกลาง ได้มีการช่วยเหลือการป้องกันของอิสราเอล เมื่อรัฐยิวตกเป็นเป้าหมายโจมตีจากฝ่ายอิหร่าน . ทว่าเรือรบและเครื่องบินรบอเมริกันเหล่านี้ล้วนตั้งฐานอยู่นอกอิสราเอล . ระบบป้องกันขีปนาวุธ ธาด (THAAD ย่อมาจาก Terminal High Altitude Area Defense system ระบบป้องกันพื้นที่โดยยิงทำลายขีปนาวุธทิ้งตัวของข้าศึกในระดับความสูงที่สูงมากขณะมันกำลังอยู่ในช่วง Terminal นั่นคือตกกลับลงมาหรือหวนกลับมาเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลก) ที่สหรัฐฯจะนำไปยังอิสราเอลนี้ ถือเป็นส่วนสำคัญยิ่งยวดส่วนหนึ่งของระบบป้องกันภัยทางอากาศที่มีอยู่ด้วยหลายๆ ชั้นของกองทัพสหรัฐฯ และแน่นอนทีเดียวว่าจะเป็นการเติมเสริมระบบต่อสู้ขีปนาวุธที่น่าเกรงขามอยู่แล้วของอิสราเอล . ชุดปฏิบัติการยิงระบบ ธาด ชุดหนึ่งๆ ปกติแล้วต้องอาศัยกำลังทหารราว 100 คนในการใช้งาน โดยประกอบไปด้วยแท่นยิงหลายแท่นซึ่งติดตั้งอยู่บนรถบรรทุกรวม 6 คัน แต่ละแท่นยิงนี้บรรจุขีปนาวุธสกัดกั้น 8 ลูก แล้วยังมีระบบเรดาร์ทรงพลังมากอีก 1 ระบบ . รัฐมนตรีต่างประเทศ อับบาส อารากชี ของอิหร่าน กล่าวเตือนเอาไว้ก่อนหน้านี้เมื่อวันอาทิตย์ (13) ว่า สหรัฐฯกำลังนำเอาทหารของตนเอง “เข้ามาอยู่ในความเสี่ยง ด้วยการเคลื่อนย้ายพวกเขาเข้าปฏิบัติการใช้งานระบบขีปนาวุธสหรัฐฯในอิสราเอล” . “ขณะที่เราได้ใช้ความพยายามอย่างมหาศาลในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา เพื่อจำกัดควบคุมไม่ให้เกิดสงครามแบบเต็มพิกัดขึ้นในภูมิภาคของเรา ผมก็ต้องพูดออกมาให้ชัดเจนด้วยว่า ในการพิทักษ์ปกป้องประชาชนของเราและผลประโยชน์ของเรานั้น ไม่มีการขีดเส้นแดงห้ามล่วงละเมิดใดๆ ทั้งสิ้น (นั่นคือทุกอย่างที่ศัตรูทำต่ออิหร่าน ถือเป็นการละเมิดเส้นแดงทั้งหมด)” อารากชี กล่าวในข้อความที่โพสต์บนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ . กระนั้น พวกผู้เชี่ยวชาญบอกว่า อิหร่านยังคงหาทางหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการทำสงครามโดยตรงกับสหรัฐฯ ดังนั้นจึงทำให้การเคลื่อนย้ายกำลังทหารสหรัฐฯไปยังอิสราเอลคราวนี้ กลายเป็นปัจจัยอีกอย่างหนึ่งที่เตหะรานต้องนำมาคำนวณในเวลาเดินหน้าทำอะไรต่อไป . อิหร่านนั้นได้เปิดฉากยิงขีปนาวุธและปล่อยโดรนออกไปเล่นงานอิสราเอลในเดือนเมษายน จากนั้นในวันที่ 1 ตุลาคม อิหร่านก็ยิงขีปนาวุธทิ้งตัวมากกว่า 180 ลูกใส่อิสราเอล ท่ามกลางการบานปลายขยายตัวขึ้นอีกครั้งหนึ่งของการสู้รบระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบานอนซึ่งเตหะรานหนุนหลังอยู่ ขีปนาวุธและโดรนเหล่านี้จำนวนมากถูกสกัดกั้นเอาไว้ได้กลางเวหา แต่ก็มีบางส่วนฝ่าผ่านระบบป้องกันขีปนาวุธเข้าไปได้สำเร็จ . พวกเจ้าหน้าที่สหรัฐฯไม่ได้ระบุว่า ระบบนี้จะถูกเคลื่อนย้ายมายังอิสราเอลได้รวดเร็วแค่ไหน . ก่อนหน้านี้ เพนตากอนเคยแถลงว่า ได้เคลื่อนย้ายระบบ ธาด 1 ระบบเข้าไปทางภาคใต้อิสราเอลเมื่อปี 2019 สำหรับการฝึกซ้อม ถือเป็นครั้งสุดท้ายและครั้งเดียวเท่านั้นซึ่งเป็นที่ทราบกันว่ามีการนำเอาอาวุธนี้ไปยังรัฐยิว . ล็อกฮีด มาร์ติน บริษัทผู้ผลิตอาวุธรายใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ คือผู้ที่ผลิต, สร้าง, และนำเอาส่วนต่างๆ ของระบบธาด มารวมกัน โดยที่ระบบนี้ออกแบบมาเพื่อใช้ยิงขีปนาวุธทิ้งตัวทั้งแบบแบบพิสัยสั้น, พิสัยกลาง (medium -range), และพิสัยปานกลาง (intermediate-range) ขณะที่ เรย์ธีออน บริษัทอาวุธอเมริกันอีกแห่งหนึ่ง เป็นผู้สร้างระบบเรดาร์ล้ำยุคที่ใช้กับ ธาด . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000099219 .............. Sondhi X
Like
Sad
Angry
6
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 845 มุมมอง 0 รีวิว