ขงเบ้ง ปรมาจารย์ The Icon กับกลยุทธ์บีบน้ำตาลดแรงเสียดทาน มีบทความน่าคิดพิจารณาในเพจเฟซบุ๊กชื่อสามก๊ก เซ็นโกคุประวัติศาสตร์ History teller เขียนไว้ว่า
“ ขงเบ้ง ร้องไห้ในงานศพของจิวยี่ ช่วยลดความตึงเครียดจากเหล่าขุนพลของง่อก๊กที่กำลังไม่พอใจขงเบ้งให้เบาลง
.
ต้องยอมรับว่าในบางครั้งการร้องไห้ต่อหน้าผู้คนจำนวนมากที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับเรื่องราว ก็อาจช่วยลดความตึงเครียดของสถานการณ์ลงได้ ในยุคสามก๊กมีหลายคนที่ทำแบบนี้ได้ดี ก็คือ เล่าปี่ และ โจโฉ ต่อมายังเพิ่มขงเบ้งเข้าไปอีกคน
.
กรณีขงเบ้ง เดิมเขาไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญในด้านการแสดงอารมณ์ละเอียดอ่อนต่อหน้าผู้คน แต่คาดว่าเขาเองได้ศึกษาและเรียนรู้เรื่องนี้จากเล่าปี่ ซึ่งเป็นผู้ที่ถูกบรรยายไว้ในประวัติศาสตร์และวรรณกรรมว่า ไม่ว่าจะดีใจหรือเสียใจ มักไม่ค่อยแสดงอารมณ์ออกทางสีหน้า แต่เล่าปี่จะร้องไห้หรือแสดงอารมณ์ออกมาต่อหน้าผู้คนเฉพาะกรณีที่หวังผลบางอย่างเป็นหลักมากกว่า และได้ผลดีเลิศเสมอ
.
ส่วนฉากที่ขงเบ้งใช้กลยุทธ์นี้แล้วได้ผลดีก็คือเหตุการณ์ที่เขาเดินทางไปคารวะศพของจิวยี่ที่ง่อก๊ก เขาร้องไห้เสียใจต่อหน้าเหล่าขุนพลและขุนนางง่อทั้งหมดที่อยู่ในงาน เรื่องนี้ทำให้พวกคนของง่อที่เคยแสดงความไม่พอใจต่อขงเบ้งลดความรู้สึกด้านนี้ลงไปพอสมควร แต่ก็มีบางคนที่มองออกว่าขงเบ้งใช้อุบาย นั่นคือบังทอง ที่เข้ามาทักขงเบ้งในระหว่างที่เขากำลังจะขึ้นเรือกลับเกงจิ๋ว
.
แน่นอนว่าการร้องไห้ของขงเบ้งไม่ได้แก้ปัญหาได้ทั้งหมด แต่อย่างน้อยเขาลดความร้อนระอุด้านอารมณ์ของขุนพลง่อที่มีต่อขงเบ้งและฝ่ายเล่าปี่ลงมาบ้างในระยะเวลาหนึ่ง
.
เพิ่มเติม ส่วนคู่ปรับขงเบ้งอย่างสุมาอึ้จะชอบใช้แผนแกล้งป่วย (ไม่ได้พาดพิงนักการเมืองท่านใด)
.
ปล.แนวกลยุทธ์การร้องไห้ออกสื่อ เพื่อขอความเห็นใจ ยังคงใช้งานกันในปัจจุบัน แม้แต่ในระดับประเทศหรือในระดับโลก
………
ศิลปะและศาสตร์แห่งการร้องไห้ ฉบับ เล่าปี่ และ โจโฉ แล้วตอนหลังขงเบ้งก็ขอยืมเทคนิคนี้มาใช้ด้วย เรื่องนี้อาจจะตอบคำถามว่า อ่านสามก๊กแล้วได้อะไร วันนี้เราเพิ่งเห็นกันสดๆร้อนๆหนึ่งเรื่องในระดับประเทศ
.
ในสามก๊ก มีตัวอย่างของผู้นำหรือผู้ที่อยู่ในสถานการณ์ที่ยากจะแก้ไขได้โดยง่าย เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ต้องอาศัยกลยุทธ์ในด้านอารมณ์เข้ามาช่วย นอกเหนือจากหลักเหตุผลเท่านั้น
.
สำหรับตัวอย่างโดดเด่นที่ เล่าปี่ โจโฉ ขงเบ้ง เคยนำมาใช้ แล้วได้ผลลัพธ์ระดับสุดยอด เช่น
.
เล่าปี่ ตอนที่ต้องพาประชาชนอพยพหนีการตามล่าจากทัพโจโฉ แล้วเห็นประชาชนที่ทุกข์ยากเพราะติดตามตนมา เขาก็ร้องไห้เสียใจหนัก จะกระโดดน้ำ แต่คนอื่นห้ามไว้ และที่เด็ดสุดจากนั้นคือตอนที่ “จูล่งฝ่าทัพรับอาเต๊า” ช่วยพาทั้งอาเต๊าและนางกำฮูหยินที่พลัดหลงอยู่ในทุ่งเต็งหยาง เตียงปัน ซึ่งมีทหารโจโฉกระจัดกระจายอยู่มากกว่าหลายแสนคน เมื่อจูล่งพาอาเต๊ามาให้เล่าปี่ เขาก็ปล่อยอาเต๊าลงพื้นแล้วร้องไห้ว่า เด็กนี่เกือบทำให้ข้าสูญเสียจูล่ง จากนั้นจูล่งก็เข้าไปอุ้มอาเต๊าแล้วประกาศว่า ข้าจะขอติดตามเป็นดั่งม้าใช้ของนายท่านตราบจนสิ้นไป
.
โจโฉ หลายครั้งที่เขาผ่านการเสี่ยงตาย แต่ครั้งที่เสียหายรุนแรงที่สุดคือศึกเมืองอ้วนเสีย เพราะความประมาทและลุ่มหลงในหญิงงามของตนทำให้เสียท่าต่อกลยุทธ์ของกาเซี่ยง ทำให้ทหารตนล้มตายไปมากมาย รวมถึง บุตรชายโจงั่น หลานชายโจอั๋นปิน และองครักษ์เตียนอุย ต่อมาโจโฉเดินทัพผ่านบริเวณที่เคยเกิดเหตุ เขาก็ร้องไห้เสียใจออกมาให้พวกทหารเห็น โจโฉยังบอกว่า เขาร้องไห้ครั้งนี้ ไม่ใช่เพื่อบุตรชายและหลานชาย แต่เพื่อเตียนอุย เรื่องนี้ทำให้ได้ใจเหล่าทหารในกองทัพมาก
.
ขงเบ้ง เหตุการณ์สำคัญที่ขงเบ้งพ่ายแพ้ในการบุกภาคเหนือครั้งแรก สาเหตุหนึ่งที่ขงเบ้งยอมรับว่าตนผิดพลาดก็คือ การเลือกม้าเจ๊ก มาคุมทัพที่เกเต๋ง แต่หลังจากนั้นเขากลับผิดพลาด จึงทำให้ส่งผลเสียหายต่อทั้งกองทัพ หนึ่งในความรับผิดชอบที่เขาต้องทำก็คือ การสั่งประหารม้าเจ๊ก ซึ่งเป็นคนที่ทำให้การบุกครั้งนี้ล้มเหลว ขงเบ้งต้องประหารทั้งน้ำตา ซึ่งเรื่องนี้เจ้าตัวก็น่าจะเสียใจมากจริงๆ แต่เรื่องนี้ทำให้ขงเบ้งแสดงตนชัดเจนว่า เขาไม่อิงระบบเส้นสาย ต่อให้ม้าเจ๊กเป็นคนโปรดขนาดไหน หากทำผิดพลาดครั้งใหญ่ก็ต้องโทษประหาร พวกทหารจึงให้ความเคารพเชื่อฟังขงเบ้งต่อไป แม้ว่าจะรบแพ้ใหญ่ก็ตามทึ
.
ทั้งนี้ ไม่ได้แปลว่า “ร้องไห้แล้วจบ” เพราะหลังจากนั้นทุกคนต้องรับผลลัพธ์ของการกระทำ และหาทางแก้ปัญหากับเดินหน้าต่อไป หากทำผิดก็ต้องรับผล
ที่มา : https://www.facebook.com/share/p/SUbTfaxKA3edYxLC/?mibextid=CTbP7E
#Thaitimes
“ ขงเบ้ง ร้องไห้ในงานศพของจิวยี่ ช่วยลดความตึงเครียดจากเหล่าขุนพลของง่อก๊กที่กำลังไม่พอใจขงเบ้งให้เบาลง
.
ต้องยอมรับว่าในบางครั้งการร้องไห้ต่อหน้าผู้คนจำนวนมากที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับเรื่องราว ก็อาจช่วยลดความตึงเครียดของสถานการณ์ลงได้ ในยุคสามก๊กมีหลายคนที่ทำแบบนี้ได้ดี ก็คือ เล่าปี่ และ โจโฉ ต่อมายังเพิ่มขงเบ้งเข้าไปอีกคน
.
กรณีขงเบ้ง เดิมเขาไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญในด้านการแสดงอารมณ์ละเอียดอ่อนต่อหน้าผู้คน แต่คาดว่าเขาเองได้ศึกษาและเรียนรู้เรื่องนี้จากเล่าปี่ ซึ่งเป็นผู้ที่ถูกบรรยายไว้ในประวัติศาสตร์และวรรณกรรมว่า ไม่ว่าจะดีใจหรือเสียใจ มักไม่ค่อยแสดงอารมณ์ออกทางสีหน้า แต่เล่าปี่จะร้องไห้หรือแสดงอารมณ์ออกมาต่อหน้าผู้คนเฉพาะกรณีที่หวังผลบางอย่างเป็นหลักมากกว่า และได้ผลดีเลิศเสมอ
.
ส่วนฉากที่ขงเบ้งใช้กลยุทธ์นี้แล้วได้ผลดีก็คือเหตุการณ์ที่เขาเดินทางไปคารวะศพของจิวยี่ที่ง่อก๊ก เขาร้องไห้เสียใจต่อหน้าเหล่าขุนพลและขุนนางง่อทั้งหมดที่อยู่ในงาน เรื่องนี้ทำให้พวกคนของง่อที่เคยแสดงความไม่พอใจต่อขงเบ้งลดความรู้สึกด้านนี้ลงไปพอสมควร แต่ก็มีบางคนที่มองออกว่าขงเบ้งใช้อุบาย นั่นคือบังทอง ที่เข้ามาทักขงเบ้งในระหว่างที่เขากำลังจะขึ้นเรือกลับเกงจิ๋ว
.
แน่นอนว่าการร้องไห้ของขงเบ้งไม่ได้แก้ปัญหาได้ทั้งหมด แต่อย่างน้อยเขาลดความร้อนระอุด้านอารมณ์ของขุนพลง่อที่มีต่อขงเบ้งและฝ่ายเล่าปี่ลงมาบ้างในระยะเวลาหนึ่ง
.
เพิ่มเติม ส่วนคู่ปรับขงเบ้งอย่างสุมาอึ้จะชอบใช้แผนแกล้งป่วย (ไม่ได้พาดพิงนักการเมืองท่านใด)
.
ปล.แนวกลยุทธ์การร้องไห้ออกสื่อ เพื่อขอความเห็นใจ ยังคงใช้งานกันในปัจจุบัน แม้แต่ในระดับประเทศหรือในระดับโลก
………
ศิลปะและศาสตร์แห่งการร้องไห้ ฉบับ เล่าปี่ และ โจโฉ แล้วตอนหลังขงเบ้งก็ขอยืมเทคนิคนี้มาใช้ด้วย เรื่องนี้อาจจะตอบคำถามว่า อ่านสามก๊กแล้วได้อะไร วันนี้เราเพิ่งเห็นกันสดๆร้อนๆหนึ่งเรื่องในระดับประเทศ
.
ในสามก๊ก มีตัวอย่างของผู้นำหรือผู้ที่อยู่ในสถานการณ์ที่ยากจะแก้ไขได้โดยง่าย เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ต้องอาศัยกลยุทธ์ในด้านอารมณ์เข้ามาช่วย นอกเหนือจากหลักเหตุผลเท่านั้น
.
สำหรับตัวอย่างโดดเด่นที่ เล่าปี่ โจโฉ ขงเบ้ง เคยนำมาใช้ แล้วได้ผลลัพธ์ระดับสุดยอด เช่น
.
เล่าปี่ ตอนที่ต้องพาประชาชนอพยพหนีการตามล่าจากทัพโจโฉ แล้วเห็นประชาชนที่ทุกข์ยากเพราะติดตามตนมา เขาก็ร้องไห้เสียใจหนัก จะกระโดดน้ำ แต่คนอื่นห้ามไว้ และที่เด็ดสุดจากนั้นคือตอนที่ “จูล่งฝ่าทัพรับอาเต๊า” ช่วยพาทั้งอาเต๊าและนางกำฮูหยินที่พลัดหลงอยู่ในทุ่งเต็งหยาง เตียงปัน ซึ่งมีทหารโจโฉกระจัดกระจายอยู่มากกว่าหลายแสนคน เมื่อจูล่งพาอาเต๊ามาให้เล่าปี่ เขาก็ปล่อยอาเต๊าลงพื้นแล้วร้องไห้ว่า เด็กนี่เกือบทำให้ข้าสูญเสียจูล่ง จากนั้นจูล่งก็เข้าไปอุ้มอาเต๊าแล้วประกาศว่า ข้าจะขอติดตามเป็นดั่งม้าใช้ของนายท่านตราบจนสิ้นไป
.
โจโฉ หลายครั้งที่เขาผ่านการเสี่ยงตาย แต่ครั้งที่เสียหายรุนแรงที่สุดคือศึกเมืองอ้วนเสีย เพราะความประมาทและลุ่มหลงในหญิงงามของตนทำให้เสียท่าต่อกลยุทธ์ของกาเซี่ยง ทำให้ทหารตนล้มตายไปมากมาย รวมถึง บุตรชายโจงั่น หลานชายโจอั๋นปิน และองครักษ์เตียนอุย ต่อมาโจโฉเดินทัพผ่านบริเวณที่เคยเกิดเหตุ เขาก็ร้องไห้เสียใจออกมาให้พวกทหารเห็น โจโฉยังบอกว่า เขาร้องไห้ครั้งนี้ ไม่ใช่เพื่อบุตรชายและหลานชาย แต่เพื่อเตียนอุย เรื่องนี้ทำให้ได้ใจเหล่าทหารในกองทัพมาก
.
ขงเบ้ง เหตุการณ์สำคัญที่ขงเบ้งพ่ายแพ้ในการบุกภาคเหนือครั้งแรก สาเหตุหนึ่งที่ขงเบ้งยอมรับว่าตนผิดพลาดก็คือ การเลือกม้าเจ๊ก มาคุมทัพที่เกเต๋ง แต่หลังจากนั้นเขากลับผิดพลาด จึงทำให้ส่งผลเสียหายต่อทั้งกองทัพ หนึ่งในความรับผิดชอบที่เขาต้องทำก็คือ การสั่งประหารม้าเจ๊ก ซึ่งเป็นคนที่ทำให้การบุกครั้งนี้ล้มเหลว ขงเบ้งต้องประหารทั้งน้ำตา ซึ่งเรื่องนี้เจ้าตัวก็น่าจะเสียใจมากจริงๆ แต่เรื่องนี้ทำให้ขงเบ้งแสดงตนชัดเจนว่า เขาไม่อิงระบบเส้นสาย ต่อให้ม้าเจ๊กเป็นคนโปรดขนาดไหน หากทำผิดพลาดครั้งใหญ่ก็ต้องโทษประหาร พวกทหารจึงให้ความเคารพเชื่อฟังขงเบ้งต่อไป แม้ว่าจะรบแพ้ใหญ่ก็ตามทึ
.
ทั้งนี้ ไม่ได้แปลว่า “ร้องไห้แล้วจบ” เพราะหลังจากนั้นทุกคนต้องรับผลลัพธ์ของการกระทำ และหาทางแก้ปัญหากับเดินหน้าต่อไป หากทำผิดก็ต้องรับผล
ที่มา : https://www.facebook.com/share/p/SUbTfaxKA3edYxLC/?mibextid=CTbP7E
#Thaitimes
ขงเบ้ง ปรมาจารย์ The Icon กับกลยุทธ์บีบน้ำตาลดแรงเสียดทาน มีบทความน่าคิดพิจารณาในเพจเฟซบุ๊กชื่อสามก๊ก เซ็นโกคุประวัติศาสตร์ History teller เขียนไว้ว่า
“ ขงเบ้ง ร้องไห้ในงานศพของจิวยี่ ช่วยลดความตึงเครียดจากเหล่าขุนพลของง่อก๊กที่กำลังไม่พอใจขงเบ้งให้เบาลง
.
ต้องยอมรับว่าในบางครั้งการร้องไห้ต่อหน้าผู้คนจำนวนมากที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับเรื่องราว ก็อาจช่วยลดความตึงเครียดของสถานการณ์ลงได้ ในยุคสามก๊กมีหลายคนที่ทำแบบนี้ได้ดี ก็คือ เล่าปี่ และ โจโฉ ต่อมายังเพิ่มขงเบ้งเข้าไปอีกคน
.
กรณีขงเบ้ง เดิมเขาไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญในด้านการแสดงอารมณ์ละเอียดอ่อนต่อหน้าผู้คน แต่คาดว่าเขาเองได้ศึกษาและเรียนรู้เรื่องนี้จากเล่าปี่ ซึ่งเป็นผู้ที่ถูกบรรยายไว้ในประวัติศาสตร์และวรรณกรรมว่า ไม่ว่าจะดีใจหรือเสียใจ มักไม่ค่อยแสดงอารมณ์ออกทางสีหน้า แต่เล่าปี่จะร้องไห้หรือแสดงอารมณ์ออกมาต่อหน้าผู้คนเฉพาะกรณีที่หวังผลบางอย่างเป็นหลักมากกว่า และได้ผลดีเลิศเสมอ
.
ส่วนฉากที่ขงเบ้งใช้กลยุทธ์นี้แล้วได้ผลดีก็คือเหตุการณ์ที่เขาเดินทางไปคารวะศพของจิวยี่ที่ง่อก๊ก เขาร้องไห้เสียใจต่อหน้าเหล่าขุนพลและขุนนางง่อทั้งหมดที่อยู่ในงาน เรื่องนี้ทำให้พวกคนของง่อที่เคยแสดงความไม่พอใจต่อขงเบ้งลดความรู้สึกด้านนี้ลงไปพอสมควร แต่ก็มีบางคนที่มองออกว่าขงเบ้งใช้อุบาย นั่นคือบังทอง ที่เข้ามาทักขงเบ้งในระหว่างที่เขากำลังจะขึ้นเรือกลับเกงจิ๋ว
.
แน่นอนว่าการร้องไห้ของขงเบ้งไม่ได้แก้ปัญหาได้ทั้งหมด แต่อย่างน้อยเขาลดความร้อนระอุด้านอารมณ์ของขุนพลง่อที่มีต่อขงเบ้งและฝ่ายเล่าปี่ลงมาบ้างในระยะเวลาหนึ่ง
.
เพิ่มเติม ส่วนคู่ปรับขงเบ้งอย่างสุมาอึ้จะชอบใช้แผนแกล้งป่วย (ไม่ได้พาดพิงนักการเมืองท่านใด)
.
ปล.แนวกลยุทธ์การร้องไห้ออกสื่อ เพื่อขอความเห็นใจ ยังคงใช้งานกันในปัจจุบัน แม้แต่ในระดับประเทศหรือในระดับโลก
………
ศิลปะและศาสตร์แห่งการร้องไห้ ฉบับ เล่าปี่ และ โจโฉ แล้วตอนหลังขงเบ้งก็ขอยืมเทคนิคนี้มาใช้ด้วย เรื่องนี้อาจจะตอบคำถามว่า อ่านสามก๊กแล้วได้อะไร วันนี้เราเพิ่งเห็นกันสดๆร้อนๆหนึ่งเรื่องในระดับประเทศ
.
ในสามก๊ก มีตัวอย่างของผู้นำหรือผู้ที่อยู่ในสถานการณ์ที่ยากจะแก้ไขได้โดยง่าย เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ต้องอาศัยกลยุทธ์ในด้านอารมณ์เข้ามาช่วย นอกเหนือจากหลักเหตุผลเท่านั้น
.
สำหรับตัวอย่างโดดเด่นที่ เล่าปี่ โจโฉ ขงเบ้ง เคยนำมาใช้ แล้วได้ผลลัพธ์ระดับสุดยอด เช่น
.
เล่าปี่ ตอนที่ต้องพาประชาชนอพยพหนีการตามล่าจากทัพโจโฉ แล้วเห็นประชาชนที่ทุกข์ยากเพราะติดตามตนมา เขาก็ร้องไห้เสียใจหนัก จะกระโดดน้ำ แต่คนอื่นห้ามไว้ และที่เด็ดสุดจากนั้นคือตอนที่ “จูล่งฝ่าทัพรับอาเต๊า” ช่วยพาทั้งอาเต๊าและนางกำฮูหยินที่พลัดหลงอยู่ในทุ่งเต็งหยาง เตียงปัน ซึ่งมีทหารโจโฉกระจัดกระจายอยู่มากกว่าหลายแสนคน เมื่อจูล่งพาอาเต๊ามาให้เล่าปี่ เขาก็ปล่อยอาเต๊าลงพื้นแล้วร้องไห้ว่า เด็กนี่เกือบทำให้ข้าสูญเสียจูล่ง จากนั้นจูล่งก็เข้าไปอุ้มอาเต๊าแล้วประกาศว่า ข้าจะขอติดตามเป็นดั่งม้าใช้ของนายท่านตราบจนสิ้นไป
.
โจโฉ หลายครั้งที่เขาผ่านการเสี่ยงตาย แต่ครั้งที่เสียหายรุนแรงที่สุดคือศึกเมืองอ้วนเสีย เพราะความประมาทและลุ่มหลงในหญิงงามของตนทำให้เสียท่าต่อกลยุทธ์ของกาเซี่ยง ทำให้ทหารตนล้มตายไปมากมาย รวมถึง บุตรชายโจงั่น หลานชายโจอั๋นปิน และองครักษ์เตียนอุย ต่อมาโจโฉเดินทัพผ่านบริเวณที่เคยเกิดเหตุ เขาก็ร้องไห้เสียใจออกมาให้พวกทหารเห็น โจโฉยังบอกว่า เขาร้องไห้ครั้งนี้ ไม่ใช่เพื่อบุตรชายและหลานชาย แต่เพื่อเตียนอุย เรื่องนี้ทำให้ได้ใจเหล่าทหารในกองทัพมาก
.
ขงเบ้ง เหตุการณ์สำคัญที่ขงเบ้งพ่ายแพ้ในการบุกภาคเหนือครั้งแรก สาเหตุหนึ่งที่ขงเบ้งยอมรับว่าตนผิดพลาดก็คือ การเลือกม้าเจ๊ก มาคุมทัพที่เกเต๋ง แต่หลังจากนั้นเขากลับผิดพลาด จึงทำให้ส่งผลเสียหายต่อทั้งกองทัพ หนึ่งในความรับผิดชอบที่เขาต้องทำก็คือ การสั่งประหารม้าเจ๊ก ซึ่งเป็นคนที่ทำให้การบุกครั้งนี้ล้มเหลว ขงเบ้งต้องประหารทั้งน้ำตา ซึ่งเรื่องนี้เจ้าตัวก็น่าจะเสียใจมากจริงๆ แต่เรื่องนี้ทำให้ขงเบ้งแสดงตนชัดเจนว่า เขาไม่อิงระบบเส้นสาย ต่อให้ม้าเจ๊กเป็นคนโปรดขนาดไหน หากทำผิดพลาดครั้งใหญ่ก็ต้องโทษประหาร พวกทหารจึงให้ความเคารพเชื่อฟังขงเบ้งต่อไป แม้ว่าจะรบแพ้ใหญ่ก็ตามทึ
.
ทั้งนี้ ไม่ได้แปลว่า “ร้องไห้แล้วจบ” เพราะหลังจากนั้นทุกคนต้องรับผลลัพธ์ของการกระทำ และหาทางแก้ปัญหากับเดินหน้าต่อไป หากทำผิดก็ต้องรับผล
ที่มา : https://www.facebook.com/share/p/SUbTfaxKA3edYxLC/?mibextid=CTbP7E
#Thaitimes
0 Comments
0 Shares
366 Views
0 Reviews