ออสเตรเลีย=รัฐที่ 51 ของสหรัฐฯ?
โดย นิติการุณย์ มิ่งรุจิราลัย
ผมได้ยินชื่อของพอล คีทติ้ง บ่อย เพราะแกเป็นอดีตหัวหน้าพรรคแรงงานของออสเตรเลีย
สมัยก่อนตอนโน้น เคยมีผู้สมัคร สส.ของพรรคแรงงานมาพักที่บ้านเราที่กรุงเทพฯ และเล่าเรื่องของนายคีทติ้งให้พวกเราฟังบ่อย
ช่วงที่พ่อของผมเรียนอยู่ที่ St. Arnaud High School รัฐวิคตอเรีย ตอนนั้นนายคีทติ้งดังมาก แกเป็น สส.มาตั้งแต่ ค.ศ.1969 จนถึง 1996 เปิดทีวีดูหรืออ่านหนังสือพิมพ์ก็จะเจอเรื่องราวของ สส.คีทติ้ง
ต่อมาคีทติ้งเป็นรัฐมนตรีคลัง รองนายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้าพรรคแรงงาน และเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 24 ของออสเตรเลีย
ครอบครัวผมตามการทำงานของนายคีทติ้งมานานกว่า 45 ปี ทำให้เราทราบว่านายคีทติ้งมองโลกอย่างคนที่ตกผลึกมีประสบการณ์ที่ชั่วเคยมีดีเคยผ่านมาก่อน
ออสเตรเลียเป็นประเทศของพวกฝรั่งมังค่าผิวขาวที่มาลงหลักปักฐานในซีกโลกใต้ อยู่ใกล้กับจีน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และประเทศในกลุ่มอาเซียนอีกหลายแห่ง
ดูเหมือนนายคีทติ้งมองว่าออสเตรเลียควรรักษาความสัมพันธ์กับประเทศใกล้บ้านไว้เพื่อความสุขสงบในปัจจุบันและในภายภาคหน้า
นโยบายของสหรัฐฯคือต้องยับยั้งการเจริญเติบโตของจีนให้ได้ สหรัฐฯจึงสร้างกลุ่มขึ้นมาหลายกลุ่มเพื่อต่อต้านจีน ที่น่าสนใจคือ AUKUS หรือออคัส ซึ่งเป็นอักษรย่อจากชื่อของออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา
เป็นกติกาสัญญาความมั่นคงไตรภาคี ภายใต้กติกาออคัส สหรัฐฯและอังกฤษจะช่วยออสเตรเลียพัฒนาเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์สำหรับการเพิ่มบทบาททางการทหารของชาติตะวันตกในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก
ในการประกาศร่วมของนายกรัฐมนตรีมอร์ริสัน (ออสเตรเลีย) นายกรัฐมนตรีจอห์นสัน (อังกฤษ) และประธานาธิบดีไบเดน (สหรัฐฯ) แม้ว่าจะไม่ได้เอ่ยชื่อว่าตั้งกลุ่มออคัสขึ้นมาเพื่อจะต่อต้านอิทธิพลของใครในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก
แต่ก็เป็นที่รู้กันว่า 3 ประเทศตะวันตกมีเป้าหมายที่จะเหยียบจีน ทั้ง 3 ประเทศรอจังหวะความขัดแย้งระหว่างจีนกับไต้หวันเพื่อจะใช้สร้างความชอบธรรมในการลุยกับจีน
ออคัสยังครอบคลุมอีกหลายประเด็น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปัญญาประดิษฐ์ สงครามไซเบอร์ สมรรถนะใต้น้ำ สมรรถนะในการโจมตีระยะไกล ฯลฯ
สหรัฐฯเข้ามาสร้างกลุ่มหลายกลุ่มในภูมิภาคนี้เพื่อเตรียมลุยกับจีน ไม่ว่าจะเป็นกติกาสัญญาแอนซัส (สหรัฐฯ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์) ไฟฟ์อายส์ ซึ่งเป็นกลุ่มพันธมิตร แบ่งปันข่าวกรองระหว่างสหรัฐฯ อังกฤษ ออสเตรเลีย แคนาดา และนิวซีแลนด์ ยังมีกลุ่มอื่นๆ ที่มีเกาหลีใต้และญี่ปุ่นรวมอยู่ด้วย
มีนาคม 2023 ออสเตรเลียประกาศจะซื้อเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ของสหรัฐฯจำนวน 5 ลำ นายกรัฐมนตรีออสเตรเลียสมัยนั้นคือ นายอัลบาเนซี ประกาศว่า ‘นี่คือการยกระดับการทหารครั้งใหญ่สุดของประเทศ’ ส่วนประธานาธิบดีไบเดนโม้ว่า ‘นี่จะทำให้ภูมิภาคแปซิฟิกมีความเปิดกว้างและเสรี’
ขณะที่นักการเมืองออสเตรเลียจำนวนหนึ่งเอาเรื่องเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ที่จะซื้อจากสหรัฐฯไปโม้กับประชาชน ผู้ที่อยู่กับการเมืองมายาวนานกว่า 55 ปี เป็นรัฐมนตรี รองนายกฯ และนายกรัฐมนตรี รวมระยะเวลานานถึง 21 ปี อย่างนายคีทติ้งกลับบอกว่า “นี่เป็นหายนะครั้งใหญ่”
“ประวัติศาสตร์ต้องบันทึกไว้ว่า ผมเป็นคนหนึ่งที่มองว่านี่เป็นความหายนะ” นายคีทติ้งพูดต่อว่า “หลายคนบอกว่าจีนต้องการครอบครองซิดนีย์และเมลเบิร์น ผมขอถามว่าเพื่ออะไร เพื่อการทหารอย่างนั้นหรือ” “นี่เป็นการเดินทางที่อันตรายและไม่จำเป็น และจะนำผลกระทบที่ร้ายแรงตามมา เมื่อประเทศถูกนำไปพัวพันกับความขัดแย้งในอนาคต”
8 สิงหาคม 2024 นายคีทติ้งให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเอบีซี นิวส์ว่า ข้อตกลงออคัสจะทำให้สหรัฐฯเข้ามาประจำการแทนที่ทหารของเรา (ออสเตรเลีย) และล้อมประเทศของเราด้วยฐานทัพ
แคนเบอร์รา (ออสเตรเลีย) ต้องสละสิทธิ์ในการตัดสินใจนโยบายต่างประเทศและกลาโหมของตนเอง ออสเตรเลียจะสูญเสียความเป็นอิสระเชิงยุทธศาสตร์โดยสิ้นเชิง
“นี่คือการควบคุมออสเตรเลียทางด้านการทหาร” และ “เป็นไปได้ที่จะเปลี่ยนออสเตรเลียให้กลายเป็นรัฐที่ 51 ของสหรัฐฯ”
ผู้นำที่จัดเจนโลกอย่างคีทติ้งพยายามทำให้สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างออสเตรเลียกับประเทศอื่น (อย่างเช่นจีน) เบาลง
แต่สหรัฐฯจะไม่มีวันยอม.
ที่มา : เฟซบุ๊ก นิติภูมิธณัฐ มิ่งรุจิราลัย
https://www.facebook.com/share/p/pssHLmKwqPJRatV4/?mibextid=CTbP7E
#Thaitimes
โดย นิติการุณย์ มิ่งรุจิราลัย
ผมได้ยินชื่อของพอล คีทติ้ง บ่อย เพราะแกเป็นอดีตหัวหน้าพรรคแรงงานของออสเตรเลีย
สมัยก่อนตอนโน้น เคยมีผู้สมัคร สส.ของพรรคแรงงานมาพักที่บ้านเราที่กรุงเทพฯ และเล่าเรื่องของนายคีทติ้งให้พวกเราฟังบ่อย
ช่วงที่พ่อของผมเรียนอยู่ที่ St. Arnaud High School รัฐวิคตอเรีย ตอนนั้นนายคีทติ้งดังมาก แกเป็น สส.มาตั้งแต่ ค.ศ.1969 จนถึง 1996 เปิดทีวีดูหรืออ่านหนังสือพิมพ์ก็จะเจอเรื่องราวของ สส.คีทติ้ง
ต่อมาคีทติ้งเป็นรัฐมนตรีคลัง รองนายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้าพรรคแรงงาน และเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 24 ของออสเตรเลีย
ครอบครัวผมตามการทำงานของนายคีทติ้งมานานกว่า 45 ปี ทำให้เราทราบว่านายคีทติ้งมองโลกอย่างคนที่ตกผลึกมีประสบการณ์ที่ชั่วเคยมีดีเคยผ่านมาก่อน
ออสเตรเลียเป็นประเทศของพวกฝรั่งมังค่าผิวขาวที่มาลงหลักปักฐานในซีกโลกใต้ อยู่ใกล้กับจีน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และประเทศในกลุ่มอาเซียนอีกหลายแห่ง
ดูเหมือนนายคีทติ้งมองว่าออสเตรเลียควรรักษาความสัมพันธ์กับประเทศใกล้บ้านไว้เพื่อความสุขสงบในปัจจุบันและในภายภาคหน้า
นโยบายของสหรัฐฯคือต้องยับยั้งการเจริญเติบโตของจีนให้ได้ สหรัฐฯจึงสร้างกลุ่มขึ้นมาหลายกลุ่มเพื่อต่อต้านจีน ที่น่าสนใจคือ AUKUS หรือออคัส ซึ่งเป็นอักษรย่อจากชื่อของออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา
เป็นกติกาสัญญาความมั่นคงไตรภาคี ภายใต้กติกาออคัส สหรัฐฯและอังกฤษจะช่วยออสเตรเลียพัฒนาเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์สำหรับการเพิ่มบทบาททางการทหารของชาติตะวันตกในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก
ในการประกาศร่วมของนายกรัฐมนตรีมอร์ริสัน (ออสเตรเลีย) นายกรัฐมนตรีจอห์นสัน (อังกฤษ) และประธานาธิบดีไบเดน (สหรัฐฯ) แม้ว่าจะไม่ได้เอ่ยชื่อว่าตั้งกลุ่มออคัสขึ้นมาเพื่อจะต่อต้านอิทธิพลของใครในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก
แต่ก็เป็นที่รู้กันว่า 3 ประเทศตะวันตกมีเป้าหมายที่จะเหยียบจีน ทั้ง 3 ประเทศรอจังหวะความขัดแย้งระหว่างจีนกับไต้หวันเพื่อจะใช้สร้างความชอบธรรมในการลุยกับจีน
ออคัสยังครอบคลุมอีกหลายประเด็น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปัญญาประดิษฐ์ สงครามไซเบอร์ สมรรถนะใต้น้ำ สมรรถนะในการโจมตีระยะไกล ฯลฯ
สหรัฐฯเข้ามาสร้างกลุ่มหลายกลุ่มในภูมิภาคนี้เพื่อเตรียมลุยกับจีน ไม่ว่าจะเป็นกติกาสัญญาแอนซัส (สหรัฐฯ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์) ไฟฟ์อายส์ ซึ่งเป็นกลุ่มพันธมิตร แบ่งปันข่าวกรองระหว่างสหรัฐฯ อังกฤษ ออสเตรเลีย แคนาดา และนิวซีแลนด์ ยังมีกลุ่มอื่นๆ ที่มีเกาหลีใต้และญี่ปุ่นรวมอยู่ด้วย
มีนาคม 2023 ออสเตรเลียประกาศจะซื้อเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ของสหรัฐฯจำนวน 5 ลำ นายกรัฐมนตรีออสเตรเลียสมัยนั้นคือ นายอัลบาเนซี ประกาศว่า ‘นี่คือการยกระดับการทหารครั้งใหญ่สุดของประเทศ’ ส่วนประธานาธิบดีไบเดนโม้ว่า ‘นี่จะทำให้ภูมิภาคแปซิฟิกมีความเปิดกว้างและเสรี’
ขณะที่นักการเมืองออสเตรเลียจำนวนหนึ่งเอาเรื่องเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ที่จะซื้อจากสหรัฐฯไปโม้กับประชาชน ผู้ที่อยู่กับการเมืองมายาวนานกว่า 55 ปี เป็นรัฐมนตรี รองนายกฯ และนายกรัฐมนตรี รวมระยะเวลานานถึง 21 ปี อย่างนายคีทติ้งกลับบอกว่า “นี่เป็นหายนะครั้งใหญ่”
“ประวัติศาสตร์ต้องบันทึกไว้ว่า ผมเป็นคนหนึ่งที่มองว่านี่เป็นความหายนะ” นายคีทติ้งพูดต่อว่า “หลายคนบอกว่าจีนต้องการครอบครองซิดนีย์และเมลเบิร์น ผมขอถามว่าเพื่ออะไร เพื่อการทหารอย่างนั้นหรือ” “นี่เป็นการเดินทางที่อันตรายและไม่จำเป็น และจะนำผลกระทบที่ร้ายแรงตามมา เมื่อประเทศถูกนำไปพัวพันกับความขัดแย้งในอนาคต”
8 สิงหาคม 2024 นายคีทติ้งให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเอบีซี นิวส์ว่า ข้อตกลงออคัสจะทำให้สหรัฐฯเข้ามาประจำการแทนที่ทหารของเรา (ออสเตรเลีย) และล้อมประเทศของเราด้วยฐานทัพ
แคนเบอร์รา (ออสเตรเลีย) ต้องสละสิทธิ์ในการตัดสินใจนโยบายต่างประเทศและกลาโหมของตนเอง ออสเตรเลียจะสูญเสียความเป็นอิสระเชิงยุทธศาสตร์โดยสิ้นเชิง
“นี่คือการควบคุมออสเตรเลียทางด้านการทหาร” และ “เป็นไปได้ที่จะเปลี่ยนออสเตรเลียให้กลายเป็นรัฐที่ 51 ของสหรัฐฯ”
ผู้นำที่จัดเจนโลกอย่างคีทติ้งพยายามทำให้สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างออสเตรเลียกับประเทศอื่น (อย่างเช่นจีน) เบาลง
แต่สหรัฐฯจะไม่มีวันยอม.
ที่มา : เฟซบุ๊ก นิติภูมิธณัฐ มิ่งรุจิราลัย
https://www.facebook.com/share/p/pssHLmKwqPJRatV4/?mibextid=CTbP7E
#Thaitimes
ออสเตรเลีย=รัฐที่ 51 ของสหรัฐฯ?
โดย นิติการุณย์ มิ่งรุจิราลัย
ผมได้ยินชื่อของพอล คีทติ้ง บ่อย เพราะแกเป็นอดีตหัวหน้าพรรคแรงงานของออสเตรเลีย
สมัยก่อนตอนโน้น เคยมีผู้สมัคร สส.ของพรรคแรงงานมาพักที่บ้านเราที่กรุงเทพฯ และเล่าเรื่องของนายคีทติ้งให้พวกเราฟังบ่อย
ช่วงที่พ่อของผมเรียนอยู่ที่ St. Arnaud High School รัฐวิคตอเรีย ตอนนั้นนายคีทติ้งดังมาก แกเป็น สส.มาตั้งแต่ ค.ศ.1969 จนถึง 1996 เปิดทีวีดูหรืออ่านหนังสือพิมพ์ก็จะเจอเรื่องราวของ สส.คีทติ้ง
ต่อมาคีทติ้งเป็นรัฐมนตรีคลัง รองนายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้าพรรคแรงงาน และเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 24 ของออสเตรเลีย
ครอบครัวผมตามการทำงานของนายคีทติ้งมานานกว่า 45 ปี ทำให้เราทราบว่านายคีทติ้งมองโลกอย่างคนที่ตกผลึกมีประสบการณ์ที่ชั่วเคยมีดีเคยผ่านมาก่อน
ออสเตรเลียเป็นประเทศของพวกฝรั่งมังค่าผิวขาวที่มาลงหลักปักฐานในซีกโลกใต้ อยู่ใกล้กับจีน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และประเทศในกลุ่มอาเซียนอีกหลายแห่ง
ดูเหมือนนายคีทติ้งมองว่าออสเตรเลียควรรักษาความสัมพันธ์กับประเทศใกล้บ้านไว้เพื่อความสุขสงบในปัจจุบันและในภายภาคหน้า
นโยบายของสหรัฐฯคือต้องยับยั้งการเจริญเติบโตของจีนให้ได้ สหรัฐฯจึงสร้างกลุ่มขึ้นมาหลายกลุ่มเพื่อต่อต้านจีน ที่น่าสนใจคือ AUKUS หรือออคัส ซึ่งเป็นอักษรย่อจากชื่อของออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา
เป็นกติกาสัญญาความมั่นคงไตรภาคี ภายใต้กติกาออคัส สหรัฐฯและอังกฤษจะช่วยออสเตรเลียพัฒนาเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์สำหรับการเพิ่มบทบาททางการทหารของชาติตะวันตกในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก
ในการประกาศร่วมของนายกรัฐมนตรีมอร์ริสัน (ออสเตรเลีย) นายกรัฐมนตรีจอห์นสัน (อังกฤษ) และประธานาธิบดีไบเดน (สหรัฐฯ) แม้ว่าจะไม่ได้เอ่ยชื่อว่าตั้งกลุ่มออคัสขึ้นมาเพื่อจะต่อต้านอิทธิพลของใครในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก
แต่ก็เป็นที่รู้กันว่า 3 ประเทศตะวันตกมีเป้าหมายที่จะเหยียบจีน ทั้ง 3 ประเทศรอจังหวะความขัดแย้งระหว่างจีนกับไต้หวันเพื่อจะใช้สร้างความชอบธรรมในการลุยกับจีน
ออคัสยังครอบคลุมอีกหลายประเด็น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปัญญาประดิษฐ์ สงครามไซเบอร์ สมรรถนะใต้น้ำ สมรรถนะในการโจมตีระยะไกล ฯลฯ
สหรัฐฯเข้ามาสร้างกลุ่มหลายกลุ่มในภูมิภาคนี้เพื่อเตรียมลุยกับจีน ไม่ว่าจะเป็นกติกาสัญญาแอนซัส (สหรัฐฯ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์) ไฟฟ์อายส์ ซึ่งเป็นกลุ่มพันธมิตร แบ่งปันข่าวกรองระหว่างสหรัฐฯ อังกฤษ ออสเตรเลีย แคนาดา และนิวซีแลนด์ ยังมีกลุ่มอื่นๆ ที่มีเกาหลีใต้และญี่ปุ่นรวมอยู่ด้วย
มีนาคม 2023 ออสเตรเลียประกาศจะซื้อเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ของสหรัฐฯจำนวน 5 ลำ นายกรัฐมนตรีออสเตรเลียสมัยนั้นคือ นายอัลบาเนซี ประกาศว่า ‘นี่คือการยกระดับการทหารครั้งใหญ่สุดของประเทศ’ ส่วนประธานาธิบดีไบเดนโม้ว่า ‘นี่จะทำให้ภูมิภาคแปซิฟิกมีความเปิดกว้างและเสรี’
ขณะที่นักการเมืองออสเตรเลียจำนวนหนึ่งเอาเรื่องเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ที่จะซื้อจากสหรัฐฯไปโม้กับประชาชน ผู้ที่อยู่กับการเมืองมายาวนานกว่า 55 ปี เป็นรัฐมนตรี รองนายกฯ และนายกรัฐมนตรี รวมระยะเวลานานถึง 21 ปี อย่างนายคีทติ้งกลับบอกว่า “นี่เป็นหายนะครั้งใหญ่”
“ประวัติศาสตร์ต้องบันทึกไว้ว่า ผมเป็นคนหนึ่งที่มองว่านี่เป็นความหายนะ” นายคีทติ้งพูดต่อว่า “หลายคนบอกว่าจีนต้องการครอบครองซิดนีย์และเมลเบิร์น ผมขอถามว่าเพื่ออะไร เพื่อการทหารอย่างนั้นหรือ” “นี่เป็นการเดินทางที่อันตรายและไม่จำเป็น และจะนำผลกระทบที่ร้ายแรงตามมา เมื่อประเทศถูกนำไปพัวพันกับความขัดแย้งในอนาคต”
8 สิงหาคม 2024 นายคีทติ้งให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเอบีซี นิวส์ว่า ข้อตกลงออคัสจะทำให้สหรัฐฯเข้ามาประจำการแทนที่ทหารของเรา (ออสเตรเลีย) และล้อมประเทศของเราด้วยฐานทัพ
แคนเบอร์รา (ออสเตรเลีย) ต้องสละสิทธิ์ในการตัดสินใจนโยบายต่างประเทศและกลาโหมของตนเอง ออสเตรเลียจะสูญเสียความเป็นอิสระเชิงยุทธศาสตร์โดยสิ้นเชิง
“นี่คือการควบคุมออสเตรเลียทางด้านการทหาร” และ “เป็นไปได้ที่จะเปลี่ยนออสเตรเลียให้กลายเป็นรัฐที่ 51 ของสหรัฐฯ”
ผู้นำที่จัดเจนโลกอย่างคีทติ้งพยายามทำให้สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างออสเตรเลียกับประเทศอื่น (อย่างเช่นจีน) เบาลง
แต่สหรัฐฯจะไม่มีวันยอม.
ที่มา : เฟซบุ๊ก นิติภูมิธณัฐ มิ่งรุจิราลัย
https://www.facebook.com/share/p/pssHLmKwqPJRatV4/?mibextid=CTbP7E
#Thaitimes