อดีตนายกรัฐมนตรีหญิง ชัยค์ ฮาสินา แห่งบังกลาเทศ ซึ่งถูกบีบให้ลาออกและหลบหนีออกนอกประเทศ ท่ามกลางการประท้วงใหญ่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว กล่าวหาสหรัฐฯ ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการขับไล่เธอพ้นจากอำนาจเพราะไม่ยอมให้อเมริกาตั้งฐานทัพในบังคลาเทศ

13 สิงหาคม 2567 -เพจเฟซบุ๊ก around the world รายงานข่าวจากอาร์ทีนิวส์ว่า ระหว่างให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์อีโคโนมิกไทม์ส ที่เผยแพร่เมื่อวันอาทิตย์(11ส.ค.) ฮาสินา บ่งชี้ว่าเธออาจยังคงอยู่ในอำนาจต่อไป หากว่าเธอยินยอมอ้าแขนรับให้กองทัพสหรัฐฯเข้ามาตั้งฐานทัพในบังกลาเทศ

"ฉันลาออกแล้ว เพื่อที่ว่า ฉันจะไม่ได้เห็นขบวนแห่ศพผู้เสียชีวิต พวกเขาต้องการก้าวเข้าสู่อำนาจด้วยศพของพวกนักศึกษา แต่ฉันไม่ยอมให้มันเกิดขึ้น ฉันลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี" ฮาสินากล่าว "ฉันอาจยังคงอยู่ในอำนาจ หากว่าฉันยอมสละอธิปไตยของเกาะเซนต์มาร์ติน และเปิดทางให้อเมริกามีอิทธิพลเหนืออ่าวเบงกอล ฉันขอวิงวอนผู้คนในแผ่นดินของฉัน กรุณาอย่าถูกบิดเบือนด้วยพวกหัวรุนแรง"

ฮาสินา อ้างถึงเกาะพืดหินปะการังของบังกลาเทศ ในทางตะวันออกเฉียงเหนือของอ่าวเบงกอล ที่กล่าวอ้างว่าวอชิงตันพยายามยึดครองมัน ทั้งนี้เจ้าหน้าที่บังกลาเทศหลายคนกล่าวอ้างในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ว่าอเมริกาขอเช่าเกาะแห่งนี้ในหลายๆโอกาส แต่ถูกปฏิเสธ ขณะที่ ฮาสินา บอกว่า "พวกชายผิวขาว" คำที่เธอใช้เรียกเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ เคยมาขอเข้าพบเธอก่อนศึกเลือกตั้งก่อนหน้านี้ และขอให้เธอสนับสนุนโครงการก่อสร้างฐานทัพอากาศบนเกาะเซนต์มาร์ติน

นักการเมืองหญิงวัย 76 ปี ซึ่งครองอำนาจมานานกว่า 15 ปี หลบหนีไปยังอินเดีย ประเทศเพื่อนบ้าน หลังลาออกจากตำแหน่งในวันที่ 5 สิงหาคม อย่างไรก็ตามเธอประกาศว่าจะเดินทางกลับกรุงธากาเร็วๆนี้ "ด้วยพระคุณแห่งผู้ทรงฤทธานุภาพ พระอัลเลาะห์"

การพ้นจากตำแหน่งของฮาสินา มีขึ้นหลังจากเกิดการประท้วงทั่วประเทศที่นำโดยนักศีกษาต่อเนื่องยาวนานหลายสัปดาห์ เกี่ยวกับระบบโควตางานของรัฐบาล ซึ่งถูกวิพาษ์วิจารณ์ว่าเอื้ออำนวยต่อคนที่เกี่ยวข้องกับพรรครัฐบาล การชุมชุมเริ่มต้นอย่างสันติ แต่จากนั้นได้ลุกลามกลายเป็นสถานการณ์ความรุนแรงอย่างรวดเร็ว ท่ามกลางรายงานว่ามีผู้เสียชีวิตกว่า 400 คน และถูกจัมกุมประมาณ 11,000 คน

ไม่นานหลังจาก ฮาสินา ลาออก ทางพลเอกวาเกอร์-อุซ-ซามัน ประธานคณะเสนาธิการร่วมของบังกลาเทศ แถลงว่าเขาจะตั้งรัฐบาลรักษาการ โดยที่ มูฮัมหมัด ยูนูส เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ผู้ริเริ่มและพัฒนาแนวคิดการให้กู้เงินแก่คนจนโดยไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ได้สาบานตนเข้ารับตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลรักษาการ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม
(ที่มา:อาร์ทีนิวส์)

ภาพจาก อีโคโนมิกไทม์ส

#Thaitimes
อดีตนายกรัฐมนตรีหญิง ชัยค์ ฮาสินา แห่งบังกลาเทศ ซึ่งถูกบีบให้ลาออกและหลบหนีออกนอกประเทศ ท่ามกลางการประท้วงใหญ่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว กล่าวหาสหรัฐฯ ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการขับไล่เธอพ้นจากอำนาจเพราะไม่ยอมให้อเมริกาตั้งฐานทัพในบังคลาเทศ 13 สิงหาคม 2567 -เพจเฟซบุ๊ก around the world รายงานข่าวจากอาร์ทีนิวส์ว่า ระหว่างให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์อีโคโนมิกไทม์ส ที่เผยแพร่เมื่อวันอาทิตย์(11ส.ค.) ฮาสินา บ่งชี้ว่าเธออาจยังคงอยู่ในอำนาจต่อไป หากว่าเธอยินยอมอ้าแขนรับให้กองทัพสหรัฐฯเข้ามาตั้งฐานทัพในบังกลาเทศ "ฉันลาออกแล้ว เพื่อที่ว่า ฉันจะไม่ได้เห็นขบวนแห่ศพผู้เสียชีวิต พวกเขาต้องการก้าวเข้าสู่อำนาจด้วยศพของพวกนักศึกษา แต่ฉันไม่ยอมให้มันเกิดขึ้น ฉันลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี" ฮาสินากล่าว "ฉันอาจยังคงอยู่ในอำนาจ หากว่าฉันยอมสละอธิปไตยของเกาะเซนต์มาร์ติน และเปิดทางให้อเมริกามีอิทธิพลเหนืออ่าวเบงกอล ฉันขอวิงวอนผู้คนในแผ่นดินของฉัน กรุณาอย่าถูกบิดเบือนด้วยพวกหัวรุนแรง" ฮาสินา อ้างถึงเกาะพืดหินปะการังของบังกลาเทศ ในทางตะวันออกเฉียงเหนือของอ่าวเบงกอล ที่กล่าวอ้างว่าวอชิงตันพยายามยึดครองมัน ทั้งนี้เจ้าหน้าที่บังกลาเทศหลายคนกล่าวอ้างในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ว่าอเมริกาขอเช่าเกาะแห่งนี้ในหลายๆโอกาส แต่ถูกปฏิเสธ ขณะที่ ฮาสินา บอกว่า "พวกชายผิวขาว" คำที่เธอใช้เรียกเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ เคยมาขอเข้าพบเธอก่อนศึกเลือกตั้งก่อนหน้านี้ และขอให้เธอสนับสนุนโครงการก่อสร้างฐานทัพอากาศบนเกาะเซนต์มาร์ติน นักการเมืองหญิงวัย 76 ปี ซึ่งครองอำนาจมานานกว่า 15 ปี หลบหนีไปยังอินเดีย ประเทศเพื่อนบ้าน หลังลาออกจากตำแหน่งในวันที่ 5 สิงหาคม อย่างไรก็ตามเธอประกาศว่าจะเดินทางกลับกรุงธากาเร็วๆนี้ "ด้วยพระคุณแห่งผู้ทรงฤทธานุภาพ พระอัลเลาะห์" การพ้นจากตำแหน่งของฮาสินา มีขึ้นหลังจากเกิดการประท้วงทั่วประเทศที่นำโดยนักศีกษาต่อเนื่องยาวนานหลายสัปดาห์ เกี่ยวกับระบบโควตางานของรัฐบาล ซึ่งถูกวิพาษ์วิจารณ์ว่าเอื้ออำนวยต่อคนที่เกี่ยวข้องกับพรรครัฐบาล การชุมชุมเริ่มต้นอย่างสันติ แต่จากนั้นได้ลุกลามกลายเป็นสถานการณ์ความรุนแรงอย่างรวดเร็ว ท่ามกลางรายงานว่ามีผู้เสียชีวิตกว่า 400 คน และถูกจัมกุมประมาณ 11,000 คน ไม่นานหลังจาก ฮาสินา ลาออก ทางพลเอกวาเกอร์-อุซ-ซามัน ประธานคณะเสนาธิการร่วมของบังกลาเทศ แถลงว่าเขาจะตั้งรัฐบาลรักษาการ โดยที่ มูฮัมหมัด ยูนูส เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ผู้ริเริ่มและพัฒนาแนวคิดการให้กู้เงินแก่คนจนโดยไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ได้สาบานตนเข้ารับตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลรักษาการ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม (ที่มา:อาร์ทีนิวส์) ภาพจาก อีโคโนมิกไทม์ส #Thaitimes
0 Comments 0 Shares 417 Views 0 Reviews