บอสดารา The Icon ตอกย้ำด้านมืดคนดัง ดิ้นเอาตัวรอด-ไม่รับผิดชอบ
.
ปฏิเสธไม่ได้ว่าคดีการตรวจสอบกระบวนการทำธุรกิจของ The Icon กรุ๊ป กลายเป็นคดีระดับประเทศที่คนให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นคดีที่ท้าทายความสามารถของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่อย่าง 'บิ๊กต่าย' พล.ต.อ. กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ในการกอบกู้ศักดิ์ศรีของตำรวจไทยให้ประชาชนกลับมามีความเชื่อมั่นอีกครั้ง
.
นอกจากคดีจะเป็นตัวชี้วัดในการเรียกศรัทธาคืนมาของตำรวจแล้ว อีกด้านคดีนี้เป็นการนำไปสู่การตั้งคำถามถึงความน่าเชื่อถือของบุคคลสาธารณะอย่างดารานักแสดงและพิธีกรด้วย ภายหลังกรณีของ The Icon พบว่ามีเหล่าผู้มีชื่อเสียงเข้าไปเกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก
.
ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คดีกลายเป็นที่จับจ้องของสังคมนั้น เนื่องจากปรากฎหลักฐานเชิงประจักษ์ว่าเหล่าดาราเหล่านี้ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นเพียงพรีเซ็นเตอร์เท่านั้น แต่เป็นหนึ่งในผู้บริหารบริษัทด้านต่างๆ พร้อมกับมีการประกาศออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจน
.
แต่ทันทีที่เกิดเรื่องบรรดาผู้มีชื่อเสียงและนามสกุลใหญ่เหล่านั้นกลับเลือกที่เขียนด้วยและลบด้วยเท้าผ่านการอ้างว่าเป็นเพียงพรีเซ็นเตอร์เท่านั้น โดยไม่ได้เกี่ยวข้องในแง่การบริหารธุรกิจอย่างใด ซึ่งดันมาบังเอิญเหมาะเจาะกับการที่บริษัทดิ ไอคอน ก็ออกประกาศยืนยันว่าบอสดาราต่างๆไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท
.
การที่ยกข้ออ้างเหล่านี้ขึ้นมาเพื่อปกป้องบรรดาบอสดาราก็ถือเป็นสิทธิที่จะกระทำได้ ซึ่งก็ต้องไปว่ากันในแง่ของข้อกฎหมายต่อไป โดยเริ่มมีนักกฎหมายและผู้เชี่ยวชาญหลายคนเริ่มออกมาให้ความคิดเห็นแล้วว่า
.
หากผู้เสียหายเข้าร่วมลงทุนทำธุรกิจเพราะความน่าเชื่อถือของเหล่าดาราที่เรียกตัวเองว่าบอสเหล่านี้ จึงย่อมไม่อาจปฏิเสธความรับผิดชอบไปได้
.
ในแง่ของคดีความและข้อกฎหมายก็คงต้องไปว่ากันในชั้นศาล แต่คำถามที่ตามมา ว่าเวลานี้สังคมไทยยังพอจะสามารถเชื่อถือบรรดาแวดวงคนบันเทิงในฐานะที่เป็นผู้ชี้นำและมีอิทธิพลต่อสังคมไทยได้อีกต่อไปหรือไม่
.
ทั้งนี้เป็นเพราะกรณีที่เกิดขึ้นจากกลุ่มบริษัท ดิ ไอคอน ไม่ได้เป็นกรณีแรกที่มีดาราเข้ามามีส่วนพัวพัน ย้อนกลับไปก่อนหน้านี้ก็เคยมีดารา ซึ่งเป็นบุคคลที่มีสถานะพิเศษต้องถูกดำเนินคดีและใช้ชีวิตอยู่ในเรือนจำให้เห็นกันมาแล้วอย่างกรณีคดีแชร์ลูกโซ่ Forex-3D ซึ่งพบว่ามีดาราอาศัยความมีชื่อเสียงของตัวเองในการชักชวนให้ประชาชนมาลงทุน
.
ทั้งนี้ ดังจะเห็นได้จากกรณีของพิ้งกี้ สาวิกา ไชยเดช พร้อมแม่และพี่ชายถูกฟ้องเป็นจำเลย ซึ่งปัจจุบันได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวเพื่อมาต่อสู้คดี รวมไปถึงนายพัฒนพล มินทะขิน หรือดีเจแมน และ น.ส.สุธีวัน กุญชร หรือใบเตย อาร์สยาม โดยกรณีของรายหลังศาลได้มีการยกฟ้องคดีไปบางส่วนแล้ว แต่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)ออกมาให้ข้อมูลว่าคดีที่ยกฟ้องนั้น เป็นคดีที่ประชาชนผู้เสียหายเกี่ยวกับแชร์ Forex-3D ได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องเองโดยตรงที่สามารถกระทำได้ตามกฎหมาย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับคดีที่ดีเอสไอกำลังดำเนินการตรวจสอบ
.
หรือย้อนกลับไปกว่านั้น คือ กรณีของบริษัท เมจิกสกิน จำหน่ายอาหารเสริมที่ไม่มีคุณภาพและไม่ผ่านการตรวจสอบของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยเรื่องนี้กลายเป็นเรื่องใหญ่ขึ้นมาเนื่องจากมีดาราจำนวนไม่น้อยรับงานรีวิวสินค้า จนถูกหมายเรียกและบางรายต้องต่อสู้คดีในชั้นศาล เช่น น.ส.รัชวิน วงศ์วิริยะ หรือ ก้อย และ นายกนกฉัตร มรรยาทอ่อน หรือ ไต้ฝุ่น หนึ่งในกลุ่มดาราที่รับรีวิวเมจิกสกิน ศาลได้พิพากษาให้ความผิดแต่ให้รอลงอาญา ขณะที่ กลุ่มผู้บริหารผลิตภัณฑ์ของบริษัท เมจิกสกิน ศาลก็ได้พิพากษาให้ลงโทษจำคุก 20 ปี แต่เนื่องจากจำเลยมีพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นถึงการพยายามเยียวยาให้กับผู้เสียหาย ทำให้ศาลรอลงอาญาโทษจำคุก
.
อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องยากที่จะนำกรณีของเมจิกสกินกับดิ ไอคอน มาเปรียบเทียบกันเพื่อสรุปว่ากรณีของ The Icon จะมีบทสรุปลงเอยเหมือนกับคดีเมจิกสกิน เนื่องจากเหล่าดาราในกรณีของเมจิกสกินนั้นล้วนแล้วแต่เป็นเพียงพรีเซนเตอร์เท่านั้น
.
ผิดกับกรณี The Icon ที่ได้ประกาศตัวเองว่าเป็น 'บอส' ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการดึงดูดให้ประชาชนมาร่วมลงทุน ดังนั้น การจะมาอ้างว่าการเป็นบอสเป็นอีกร่างอวตารหนึ่งของพรีเซ็นเตอร์นั้นดูจะเป็นการเอาสีข้างเข้าถูกจนเกินไป
.
เพราะฉะนั้น จากกรณีของThe Icon ที่เกิดขึ้นมานั้นยิ่งจะเป็นปัจจัยฉุดรั้งที่ทำให้สถานะของวงการบันเทิงถูกสั่นคลอนในแง่ของความน่าเชื่อถือมากขึ้นไปอีก หลังจากที่ทุกวันนี้วงการบันเทิงไทยซบเซาลงอย่างต่อเนื่อง และคนนินทาหมาดูถูก อย่างหนัก
..............
Sondhi X
.
ปฏิเสธไม่ได้ว่าคดีการตรวจสอบกระบวนการทำธุรกิจของ The Icon กรุ๊ป กลายเป็นคดีระดับประเทศที่คนให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นคดีที่ท้าทายความสามารถของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่อย่าง 'บิ๊กต่าย' พล.ต.อ. กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ในการกอบกู้ศักดิ์ศรีของตำรวจไทยให้ประชาชนกลับมามีความเชื่อมั่นอีกครั้ง
.
นอกจากคดีจะเป็นตัวชี้วัดในการเรียกศรัทธาคืนมาของตำรวจแล้ว อีกด้านคดีนี้เป็นการนำไปสู่การตั้งคำถามถึงความน่าเชื่อถือของบุคคลสาธารณะอย่างดารานักแสดงและพิธีกรด้วย ภายหลังกรณีของ The Icon พบว่ามีเหล่าผู้มีชื่อเสียงเข้าไปเกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก
.
ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คดีกลายเป็นที่จับจ้องของสังคมนั้น เนื่องจากปรากฎหลักฐานเชิงประจักษ์ว่าเหล่าดาราเหล่านี้ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นเพียงพรีเซ็นเตอร์เท่านั้น แต่เป็นหนึ่งในผู้บริหารบริษัทด้านต่างๆ พร้อมกับมีการประกาศออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจน
.
แต่ทันทีที่เกิดเรื่องบรรดาผู้มีชื่อเสียงและนามสกุลใหญ่เหล่านั้นกลับเลือกที่เขียนด้วยและลบด้วยเท้าผ่านการอ้างว่าเป็นเพียงพรีเซ็นเตอร์เท่านั้น โดยไม่ได้เกี่ยวข้องในแง่การบริหารธุรกิจอย่างใด ซึ่งดันมาบังเอิญเหมาะเจาะกับการที่บริษัทดิ ไอคอน ก็ออกประกาศยืนยันว่าบอสดาราต่างๆไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท
.
การที่ยกข้ออ้างเหล่านี้ขึ้นมาเพื่อปกป้องบรรดาบอสดาราก็ถือเป็นสิทธิที่จะกระทำได้ ซึ่งก็ต้องไปว่ากันในแง่ของข้อกฎหมายต่อไป โดยเริ่มมีนักกฎหมายและผู้เชี่ยวชาญหลายคนเริ่มออกมาให้ความคิดเห็นแล้วว่า
.
หากผู้เสียหายเข้าร่วมลงทุนทำธุรกิจเพราะความน่าเชื่อถือของเหล่าดาราที่เรียกตัวเองว่าบอสเหล่านี้ จึงย่อมไม่อาจปฏิเสธความรับผิดชอบไปได้
.
ในแง่ของคดีความและข้อกฎหมายก็คงต้องไปว่ากันในชั้นศาล แต่คำถามที่ตามมา ว่าเวลานี้สังคมไทยยังพอจะสามารถเชื่อถือบรรดาแวดวงคนบันเทิงในฐานะที่เป็นผู้ชี้นำและมีอิทธิพลต่อสังคมไทยได้อีกต่อไปหรือไม่
.
ทั้งนี้เป็นเพราะกรณีที่เกิดขึ้นจากกลุ่มบริษัท ดิ ไอคอน ไม่ได้เป็นกรณีแรกที่มีดาราเข้ามามีส่วนพัวพัน ย้อนกลับไปก่อนหน้านี้ก็เคยมีดารา ซึ่งเป็นบุคคลที่มีสถานะพิเศษต้องถูกดำเนินคดีและใช้ชีวิตอยู่ในเรือนจำให้เห็นกันมาแล้วอย่างกรณีคดีแชร์ลูกโซ่ Forex-3D ซึ่งพบว่ามีดาราอาศัยความมีชื่อเสียงของตัวเองในการชักชวนให้ประชาชนมาลงทุน
.
ทั้งนี้ ดังจะเห็นได้จากกรณีของพิ้งกี้ สาวิกา ไชยเดช พร้อมแม่และพี่ชายถูกฟ้องเป็นจำเลย ซึ่งปัจจุบันได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวเพื่อมาต่อสู้คดี รวมไปถึงนายพัฒนพล มินทะขิน หรือดีเจแมน และ น.ส.สุธีวัน กุญชร หรือใบเตย อาร์สยาม โดยกรณีของรายหลังศาลได้มีการยกฟ้องคดีไปบางส่วนแล้ว แต่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)ออกมาให้ข้อมูลว่าคดีที่ยกฟ้องนั้น เป็นคดีที่ประชาชนผู้เสียหายเกี่ยวกับแชร์ Forex-3D ได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องเองโดยตรงที่สามารถกระทำได้ตามกฎหมาย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับคดีที่ดีเอสไอกำลังดำเนินการตรวจสอบ
.
หรือย้อนกลับไปกว่านั้น คือ กรณีของบริษัท เมจิกสกิน จำหน่ายอาหารเสริมที่ไม่มีคุณภาพและไม่ผ่านการตรวจสอบของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยเรื่องนี้กลายเป็นเรื่องใหญ่ขึ้นมาเนื่องจากมีดาราจำนวนไม่น้อยรับงานรีวิวสินค้า จนถูกหมายเรียกและบางรายต้องต่อสู้คดีในชั้นศาล เช่น น.ส.รัชวิน วงศ์วิริยะ หรือ ก้อย และ นายกนกฉัตร มรรยาทอ่อน หรือ ไต้ฝุ่น หนึ่งในกลุ่มดาราที่รับรีวิวเมจิกสกิน ศาลได้พิพากษาให้ความผิดแต่ให้รอลงอาญา ขณะที่ กลุ่มผู้บริหารผลิตภัณฑ์ของบริษัท เมจิกสกิน ศาลก็ได้พิพากษาให้ลงโทษจำคุก 20 ปี แต่เนื่องจากจำเลยมีพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นถึงการพยายามเยียวยาให้กับผู้เสียหาย ทำให้ศาลรอลงอาญาโทษจำคุก
.
อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องยากที่จะนำกรณีของเมจิกสกินกับดิ ไอคอน มาเปรียบเทียบกันเพื่อสรุปว่ากรณีของ The Icon จะมีบทสรุปลงเอยเหมือนกับคดีเมจิกสกิน เนื่องจากเหล่าดาราในกรณีของเมจิกสกินนั้นล้วนแล้วแต่เป็นเพียงพรีเซนเตอร์เท่านั้น
.
ผิดกับกรณี The Icon ที่ได้ประกาศตัวเองว่าเป็น 'บอส' ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการดึงดูดให้ประชาชนมาร่วมลงทุน ดังนั้น การจะมาอ้างว่าการเป็นบอสเป็นอีกร่างอวตารหนึ่งของพรีเซ็นเตอร์นั้นดูจะเป็นการเอาสีข้างเข้าถูกจนเกินไป
.
เพราะฉะนั้น จากกรณีของThe Icon ที่เกิดขึ้นมานั้นยิ่งจะเป็นปัจจัยฉุดรั้งที่ทำให้สถานะของวงการบันเทิงถูกสั่นคลอนในแง่ของความน่าเชื่อถือมากขึ้นไปอีก หลังจากที่ทุกวันนี้วงการบันเทิงไทยซบเซาลงอย่างต่อเนื่อง และคนนินทาหมาดูถูก อย่างหนัก
..............
Sondhi X
บอสดารา The Icon ตอกย้ำด้านมืดคนดัง ดิ้นเอาตัวรอด-ไม่รับผิดชอบ
.
ปฏิเสธไม่ได้ว่าคดีการตรวจสอบกระบวนการทำธุรกิจของ The Icon กรุ๊ป กลายเป็นคดีระดับประเทศที่คนให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นคดีที่ท้าทายความสามารถของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่อย่าง 'บิ๊กต่าย' พล.ต.อ. กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ในการกอบกู้ศักดิ์ศรีของตำรวจไทยให้ประชาชนกลับมามีความเชื่อมั่นอีกครั้ง
.
นอกจากคดีจะเป็นตัวชี้วัดในการเรียกศรัทธาคืนมาของตำรวจแล้ว อีกด้านคดีนี้เป็นการนำไปสู่การตั้งคำถามถึงความน่าเชื่อถือของบุคคลสาธารณะอย่างดารานักแสดงและพิธีกรด้วย ภายหลังกรณีของ The Icon พบว่ามีเหล่าผู้มีชื่อเสียงเข้าไปเกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก
.
ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คดีกลายเป็นที่จับจ้องของสังคมนั้น เนื่องจากปรากฎหลักฐานเชิงประจักษ์ว่าเหล่าดาราเหล่านี้ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นเพียงพรีเซ็นเตอร์เท่านั้น แต่เป็นหนึ่งในผู้บริหารบริษัทด้านต่างๆ พร้อมกับมีการประกาศออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจน
.
แต่ทันทีที่เกิดเรื่องบรรดาผู้มีชื่อเสียงและนามสกุลใหญ่เหล่านั้นกลับเลือกที่เขียนด้วยและลบด้วยเท้าผ่านการอ้างว่าเป็นเพียงพรีเซ็นเตอร์เท่านั้น โดยไม่ได้เกี่ยวข้องในแง่การบริหารธุรกิจอย่างใด ซึ่งดันมาบังเอิญเหมาะเจาะกับการที่บริษัทดิ ไอคอน ก็ออกประกาศยืนยันว่าบอสดาราต่างๆไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท
.
การที่ยกข้ออ้างเหล่านี้ขึ้นมาเพื่อปกป้องบรรดาบอสดาราก็ถือเป็นสิทธิที่จะกระทำได้ ซึ่งก็ต้องไปว่ากันในแง่ของข้อกฎหมายต่อไป โดยเริ่มมีนักกฎหมายและผู้เชี่ยวชาญหลายคนเริ่มออกมาให้ความคิดเห็นแล้วว่า
.
หากผู้เสียหายเข้าร่วมลงทุนทำธุรกิจเพราะความน่าเชื่อถือของเหล่าดาราที่เรียกตัวเองว่าบอสเหล่านี้ จึงย่อมไม่อาจปฏิเสธความรับผิดชอบไปได้
.
ในแง่ของคดีความและข้อกฎหมายก็คงต้องไปว่ากันในชั้นศาล แต่คำถามที่ตามมา ว่าเวลานี้สังคมไทยยังพอจะสามารถเชื่อถือบรรดาแวดวงคนบันเทิงในฐานะที่เป็นผู้ชี้นำและมีอิทธิพลต่อสังคมไทยได้อีกต่อไปหรือไม่
.
ทั้งนี้เป็นเพราะกรณีที่เกิดขึ้นจากกลุ่มบริษัท ดิ ไอคอน ไม่ได้เป็นกรณีแรกที่มีดาราเข้ามามีส่วนพัวพัน ย้อนกลับไปก่อนหน้านี้ก็เคยมีดารา ซึ่งเป็นบุคคลที่มีสถานะพิเศษต้องถูกดำเนินคดีและใช้ชีวิตอยู่ในเรือนจำให้เห็นกันมาแล้วอย่างกรณีคดีแชร์ลูกโซ่ Forex-3D ซึ่งพบว่ามีดาราอาศัยความมีชื่อเสียงของตัวเองในการชักชวนให้ประชาชนมาลงทุน
.
ทั้งนี้ ดังจะเห็นได้จากกรณีของพิ้งกี้ สาวิกา ไชยเดช พร้อมแม่และพี่ชายถูกฟ้องเป็นจำเลย ซึ่งปัจจุบันได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวเพื่อมาต่อสู้คดี รวมไปถึงนายพัฒนพล มินทะขิน หรือดีเจแมน และ น.ส.สุธีวัน กุญชร หรือใบเตย อาร์สยาม โดยกรณีของรายหลังศาลได้มีการยกฟ้องคดีไปบางส่วนแล้ว แต่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)ออกมาให้ข้อมูลว่าคดีที่ยกฟ้องนั้น เป็นคดีที่ประชาชนผู้เสียหายเกี่ยวกับแชร์ Forex-3D ได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องเองโดยตรงที่สามารถกระทำได้ตามกฎหมาย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับคดีที่ดีเอสไอกำลังดำเนินการตรวจสอบ
.
หรือย้อนกลับไปกว่านั้น คือ กรณีของบริษัท เมจิกสกิน จำหน่ายอาหารเสริมที่ไม่มีคุณภาพและไม่ผ่านการตรวจสอบของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยเรื่องนี้กลายเป็นเรื่องใหญ่ขึ้นมาเนื่องจากมีดาราจำนวนไม่น้อยรับงานรีวิวสินค้า จนถูกหมายเรียกและบางรายต้องต่อสู้คดีในชั้นศาล เช่น น.ส.รัชวิน วงศ์วิริยะ หรือ ก้อย และ นายกนกฉัตร มรรยาทอ่อน หรือ ไต้ฝุ่น หนึ่งในกลุ่มดาราที่รับรีวิวเมจิกสกิน ศาลได้พิพากษาให้ความผิดแต่ให้รอลงอาญา ขณะที่ กลุ่มผู้บริหารผลิตภัณฑ์ของบริษัท เมจิกสกิน ศาลก็ได้พิพากษาให้ลงโทษจำคุก 20 ปี แต่เนื่องจากจำเลยมีพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นถึงการพยายามเยียวยาให้กับผู้เสียหาย ทำให้ศาลรอลงอาญาโทษจำคุก
.
อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องยากที่จะนำกรณีของเมจิกสกินกับดิ ไอคอน มาเปรียบเทียบกันเพื่อสรุปว่ากรณีของ The Icon จะมีบทสรุปลงเอยเหมือนกับคดีเมจิกสกิน เนื่องจากเหล่าดาราในกรณีของเมจิกสกินนั้นล้วนแล้วแต่เป็นเพียงพรีเซนเตอร์เท่านั้น
.
ผิดกับกรณี The Icon ที่ได้ประกาศตัวเองว่าเป็น 'บอส' ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการดึงดูดให้ประชาชนมาร่วมลงทุน ดังนั้น การจะมาอ้างว่าการเป็นบอสเป็นอีกร่างอวตารหนึ่งของพรีเซ็นเตอร์นั้นดูจะเป็นการเอาสีข้างเข้าถูกจนเกินไป
.
เพราะฉะนั้น จากกรณีของThe Icon ที่เกิดขึ้นมานั้นยิ่งจะเป็นปัจจัยฉุดรั้งที่ทำให้สถานะของวงการบันเทิงถูกสั่นคลอนในแง่ของความน่าเชื่อถือมากขึ้นไปอีก หลังจากที่ทุกวันนี้วงการบันเทิงไทยซบเซาลงอย่างต่อเนื่อง และคนนินทาหมาดูถูก อย่างหนัก
..............
Sondhi X