United Airlines ประกาศเพิ่มเส้นทางบินระหว่างประเทศครั้งใหญ่ ในปี2568 เพิ่มเส้นทางบินใหม่ 13 เส้นทางไปยัง 8 เมือง และขยายเส้นทางบินในเอเชียแปซิฟิก เปิดบินไปเกาสง ไต้หวันและอูลานบาตอร์ในมองโกเลียด้วย

11 ตุลาคม 2567 -รายงานจากยูไนเต็ดแอร์ไลน์ส(UA/UAL) สายการบินของสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศการขยายเส้นทางบินระหว่างประเทศครั้งใหญ่ในปี 2568 นี้ โดยจะเพิ่มเส้นทางบินใหม่ 13 เส้นทางไปยัง 8 เมือง

ในจำนวนนี้มีจุดบินที่น่าสนใจในเอเชียแปซิฟิก เมื่อยูไนเต็ดประกาศว่าจะให้บริการสู่เกาสง ไต้หวัน จากโตเกียวด้วยความถี่วันละ 1 เที่ยวบินตั้งแต่ 11 กรกฎาคม 2568 และให้บริการสู่อูลานบาตอร์ มองโกเลีย จากโตเกียวด้วยความถี่ 3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ แบบเฉพาะฤดูกาลเริ่มตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2568

การขยายสู่จุดบินใหม่สองแห่งในเอเชียด้วยการใช้สิทธิตามเสรีภาพการบินที่ 5(Fifth Freedom of Flight) จากโตเกียวนี้เป็นการเพิ่มโอกาสและการเชื่อมต่อเมืองหรือดินแดนใหม่ ๆ ให้กับสายการบินยูไนเต็ด โดยผู้โดยสารจากเมืองต่าง ๆ ในเอเชียสามารถเดินทางกับยูไนเต็ดและพันธมิตรไปยังสหรัฐอเมริกาและอเมริกาเหนือ รวมถึงดินแดนของสหรัฐฯ ในแปซิฟิกได้ ผ่านโตเกียว

ยูไนเต็ดแอร์ไลน์สมีเที่ยวบินจากโตเกียว(นาริตะ) สู่เซบู(เริ่มบิน 27 ตุลาคม) และจะเพิ่มอีก 2 จุดบินในเอเชียคือ เกาสง และอูลานบาตอร์จะเริ่มให้บริการในปี 2568 และให้บริการจุดบินอื่น ๆ ในเอเชียรวมถึงกรุงเทพฯ(สุวรรณภูมิ) ผ่านกิจการร่วมค้ากับสายการบินออลนิปปอนแอร์เวยส์ โดยที่ยูไนเต็ดมีเที่ยวบินเชื่อม 7 จุดบินในสหรัฐอเมริกากับนาริตะ ได้แก่ เดนเวอร์ กวม ฮุสตัน ลอสแอนเจลิส นูอาร์ก ไซปันและซานฟรานซิสโก (หากรวมเที่ยวบินที่บริการด้วยออลนิปปอนแอร์เวย์สด้วยจะเพิ่มเป็น 9 จุดบินคือเพิ่ม ชิคาโก และโฮโนลูลู)

สำหรับในเอเชียปัจจุบัน สายการบินยูไนเต็ดให้บริการเที่ยวบิน(รวมที่ทำการบินจากจุดบินอื่น ๆ ไม่เพียงแค่โตเกียว นาริตะ)สู่จุดบินต่าง ๆ ได้แก่ ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ โซล(อินชอน) โตเกียว(ฮาเนดะ) นาโกย่า ฟุกุโอกะ ฮ่องกง ไทเป มะนิลา และสิงคโปร์

แต่เส้นทางบินใหม่ของUnited Airlines ยังขยายเครือข่ายในแปซิฟิกด้วย โดยจะเพิ่มเที่ยวบินตรงจากโตเกียว นาริตะ ไปยังอูลานบาตอร์ ประเทศมองโกเลีย และเกาสง ประเทศไต้หวัน ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางที่ไม่มีสายการบินอื่นใดในสหรัฐฯ ให้บริการ นอกจากนี้ United ยังจะเปิดตัวเที่ยวบินตรงจากโตเกียว นาริตะ ไปยังโครอร์ ประเทศปาเลา โดยต่อยอดจากบริการที่มีอยู่จากกวมและมะนิลา

สำหรับประเทศไทย ในอดีตสายการบินยูไนเต็ดเคยให้บริการมายังกรุงเทพฯ โดยทำการบินจากจุดบินในสหรัฐอเมริกาผ่านโตเกียว ต่อมายังกรุงเทพฯ ซึ่งเที่ยวบินสู่กรุงเทพฯ ของยูไนเต็ดนั้นได้ให้บริการต่อเนื่องยาวนานถึง 28 ปี จนกระทั่งสายการบินยูไนเต็ดได้หยุดให้บริการเที่ยวบินระหว่างนาริตะกับกรุงเทพฯ เมื่อ 31 มีนาคม 2557 (เที่ยวบินสุดท้าย 30 มีนาคม 2557) และให้บริการกรุงเทพฯ ผ่านกิจการร่วมค้ากับออลนิปปอนแอร์เวย์สแทน ซึ่งออลนิปปอนแอร์เวย์สจะเป็นผู้ให้บริการเที่ยวบินที่เชื่อมต่อกรุงเทพฯ จากทั้งโตเกียว(นาริตะและฮาเนดะ) เพื่อเชื่อมต่อกับเที่ยวบินของยูไนเต็ดหรือออลนิปปอนแอร์เวย์สในเส้นทางสู่อเมริกาเหนือมานับแต่นั้น

ทั้งนี้ วิกิพีเดียระบุว่ายูไนเต็ดแอร์ไลน์ (อังกฤษ: United Airlines) เป็นสายการบินหลักของสหรัฐ ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ชิคาโก รัฐอิลลินอย ตามจำนวนฝูงบินและจุดหมายปลายทาง ยูไนเต็ดแอร์ไลน์เป็นสายการบินที่ใหญ่ที่สุดอันดับสามของโลก หลังจากการผนวกกิจการเข้ากับคอนติเนนตัลแอร์ไลน์ในปี 2010 ยูไนเต็ดมีฐานการบินหลักในท่าอากาศยานนานาชาติโอแฮร์ และเป็นหนึ่งในสมาชิกก่อตั้งของสตาร์อัลไลแอนซ์

#Thaitimes
United Airlines ประกาศเพิ่มเส้นทางบินระหว่างประเทศครั้งใหญ่ ในปี2568 เพิ่มเส้นทางบินใหม่ 13 เส้นทางไปยัง 8 เมือง และขยายเส้นทางบินในเอเชียแปซิฟิก เปิดบินไปเกาสง ไต้หวันและอูลานบาตอร์ในมองโกเลียด้วย 11 ตุลาคม 2567 -รายงานจากยูไนเต็ดแอร์ไลน์ส(UA/UAL) สายการบินของสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศการขยายเส้นทางบินระหว่างประเทศครั้งใหญ่ในปี 2568 นี้ โดยจะเพิ่มเส้นทางบินใหม่ 13 เส้นทางไปยัง 8 เมือง ในจำนวนนี้มีจุดบินที่น่าสนใจในเอเชียแปซิฟิก เมื่อยูไนเต็ดประกาศว่าจะให้บริการสู่เกาสง ไต้หวัน จากโตเกียวด้วยความถี่วันละ 1 เที่ยวบินตั้งแต่ 11 กรกฎาคม 2568 และให้บริการสู่อูลานบาตอร์ มองโกเลีย จากโตเกียวด้วยความถี่ 3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ แบบเฉพาะฤดูกาลเริ่มตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2568 การขยายสู่จุดบินใหม่สองแห่งในเอเชียด้วยการใช้สิทธิตามเสรีภาพการบินที่ 5(Fifth Freedom of Flight) จากโตเกียวนี้เป็นการเพิ่มโอกาสและการเชื่อมต่อเมืองหรือดินแดนใหม่ ๆ ให้กับสายการบินยูไนเต็ด โดยผู้โดยสารจากเมืองต่าง ๆ ในเอเชียสามารถเดินทางกับยูไนเต็ดและพันธมิตรไปยังสหรัฐอเมริกาและอเมริกาเหนือ รวมถึงดินแดนของสหรัฐฯ ในแปซิฟิกได้ ผ่านโตเกียว ยูไนเต็ดแอร์ไลน์สมีเที่ยวบินจากโตเกียว(นาริตะ) สู่เซบู(เริ่มบิน 27 ตุลาคม) และจะเพิ่มอีก 2 จุดบินในเอเชียคือ เกาสง และอูลานบาตอร์จะเริ่มให้บริการในปี 2568 และให้บริการจุดบินอื่น ๆ ในเอเชียรวมถึงกรุงเทพฯ(สุวรรณภูมิ) ผ่านกิจการร่วมค้ากับสายการบินออลนิปปอนแอร์เวยส์ โดยที่ยูไนเต็ดมีเที่ยวบินเชื่อม 7 จุดบินในสหรัฐอเมริกากับนาริตะ ได้แก่ เดนเวอร์ กวม ฮุสตัน ลอสแอนเจลิส นูอาร์ก ไซปันและซานฟรานซิสโก (หากรวมเที่ยวบินที่บริการด้วยออลนิปปอนแอร์เวย์สด้วยจะเพิ่มเป็น 9 จุดบินคือเพิ่ม ชิคาโก และโฮโนลูลู) สำหรับในเอเชียปัจจุบัน สายการบินยูไนเต็ดให้บริการเที่ยวบิน(รวมที่ทำการบินจากจุดบินอื่น ๆ ไม่เพียงแค่โตเกียว นาริตะ)สู่จุดบินต่าง ๆ ได้แก่ ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ โซล(อินชอน) โตเกียว(ฮาเนดะ) นาโกย่า ฟุกุโอกะ ฮ่องกง ไทเป มะนิลา และสิงคโปร์ แต่เส้นทางบินใหม่ของUnited Airlines ยังขยายเครือข่ายในแปซิฟิกด้วย โดยจะเพิ่มเที่ยวบินตรงจากโตเกียว นาริตะ ไปยังอูลานบาตอร์ ประเทศมองโกเลีย และเกาสง ประเทศไต้หวัน ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางที่ไม่มีสายการบินอื่นใดในสหรัฐฯ ให้บริการ นอกจากนี้ United ยังจะเปิดตัวเที่ยวบินตรงจากโตเกียว นาริตะ ไปยังโครอร์ ประเทศปาเลา โดยต่อยอดจากบริการที่มีอยู่จากกวมและมะนิลา สำหรับประเทศไทย ในอดีตสายการบินยูไนเต็ดเคยให้บริการมายังกรุงเทพฯ โดยทำการบินจากจุดบินในสหรัฐอเมริกาผ่านโตเกียว ต่อมายังกรุงเทพฯ ซึ่งเที่ยวบินสู่กรุงเทพฯ ของยูไนเต็ดนั้นได้ให้บริการต่อเนื่องยาวนานถึง 28 ปี จนกระทั่งสายการบินยูไนเต็ดได้หยุดให้บริการเที่ยวบินระหว่างนาริตะกับกรุงเทพฯ เมื่อ 31 มีนาคม 2557 (เที่ยวบินสุดท้าย 30 มีนาคม 2557) และให้บริการกรุงเทพฯ ผ่านกิจการร่วมค้ากับออลนิปปอนแอร์เวย์สแทน ซึ่งออลนิปปอนแอร์เวย์สจะเป็นผู้ให้บริการเที่ยวบินที่เชื่อมต่อกรุงเทพฯ จากทั้งโตเกียว(นาริตะและฮาเนดะ) เพื่อเชื่อมต่อกับเที่ยวบินของยูไนเต็ดหรือออลนิปปอนแอร์เวย์สในเส้นทางสู่อเมริกาเหนือมานับแต่นั้น ทั้งนี้ วิกิพีเดียระบุว่ายูไนเต็ดแอร์ไลน์ (อังกฤษ: United Airlines) เป็นสายการบินหลักของสหรัฐ ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ชิคาโก รัฐอิลลินอย ตามจำนวนฝูงบินและจุดหมายปลายทาง ยูไนเต็ดแอร์ไลน์เป็นสายการบินที่ใหญ่ที่สุดอันดับสามของโลก หลังจากการผนวกกิจการเข้ากับคอนติเนนตัลแอร์ไลน์ในปี 2010 ยูไนเต็ดมีฐานการบินหลักในท่าอากาศยานนานาชาติโอแฮร์ และเป็นหนึ่งในสมาชิกก่อตั้งของสตาร์อัลไลแอนซ์ #Thaitimes
Like
2
0 Comments 0 Shares 567 Views 0 Reviews