ดร.กิตติธัช ชัยประสิทธิ์ นักวิชาการอิสระ และอาจารย์ด้านสถาปัตยกรรม สอนพิเศษด้าน ปรัชญาการเมือง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Kittitouch Chaiprasith ระบุว่า…
หากเราดูการพบกันของนายกรัฐมนตรีของไทย กับ ประธานาธิบดีของอิหร่านที่เกิดขึ้นวันที่ 3 ตุลาคม ที่ผ่านมา เราจะพบ “ความประหลาด”
ตรงที่นายกฯ ไทย พยายามพูดและอ่านข้อความ “ภาษาอังกฤษ” ในแท็บเล็ตตลอดทั้งการพบปะหารือ แต่ประธานาธิบดีอิหร่านกลับ “ไม่พูดภาษาอังกฤษ” แม้แต่คำเดียว
ทั้งนี้เวลาที่เป็นเวทีสากล มีผู้นำประเทศหลากหลายชาติเข้าร่วม เขามักจะเลือกใช้ภาษากลางๆ เช่น ภาษาอังกฤษเป็นตัวสื่อสาร เพื่อจะไม่ได้ไม่ต้องแปลข้ามกันไปมาหลายชาติ
แต่เวลาไปเจรจาหรือพบปะ หารือระหว่าง 2 ชาติ/ทวิภาคี (bilateral) การใช้ภาษาของตนและให้มีล่ามแปล เป็นข้อควรปฏิบัติที่ควรยึดถือ
เช่น เมื่อผู้นำไทยจะคุยกับผู้นำอิหร่าน ก็คือเรื่องของ “ไทย-อิหร่าน” ภาษาที่ใช้คือ ภาษาไทยและภาษาเปอร์เซีย ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ เช่นเดียวกับที่ผู้นำจีนกับรัสเซียสนทนากัน ก็จะใช้ภาษาของตนและมีล่ามแปลให้
การทำเช่นนี้คือ การแสดงถึง “ความเคารพ เกียรติ และศักดิ์ศรีของสองชาติ” ที่ไม่จำเป็นต้องมีภาษาของประเทศที่สาม ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการเจรจาเข้ามา (ส่วนในช่วงส่วนตัว/หลังไมค์ เขาจะคุยกันด้วยภาษาอะไร ก็ว่ากันไป)
ดังนั้นสิ่งที่ควรจะเกิดขึ้นก็คือ
– ผู้นำไทย ใช้ภาษาไทย มีล่ามแปลอิหร่าน
– ผู้นำอิหร่าน ใช้ภาษาอิหร่าน/เปอร์เซีย มีล่ามแปลไทย (ซึ่งฝั่งอิหร่านเขาทำแบบนี้อยู่แล้ว)
การพยายามคุยภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษาของชาติ “ศัตรูคู่อาฆาต” ที่รบกับอิหร่านตลอดให้ผู้นำอิหร่านฟัง ผมไม่คิดว่ามันจะเป็นความประทับใจอะไรให้เขาเลย กลับกันเขาน่าจะมองตรงกันข้ามเสียด้วยซ้ำ…
#Thaitimes
หากเราดูการพบกันของนายกรัฐมนตรีของไทย กับ ประธานาธิบดีของอิหร่านที่เกิดขึ้นวันที่ 3 ตุลาคม ที่ผ่านมา เราจะพบ “ความประหลาด”
ตรงที่นายกฯ ไทย พยายามพูดและอ่านข้อความ “ภาษาอังกฤษ” ในแท็บเล็ตตลอดทั้งการพบปะหารือ แต่ประธานาธิบดีอิหร่านกลับ “ไม่พูดภาษาอังกฤษ” แม้แต่คำเดียว
ทั้งนี้เวลาที่เป็นเวทีสากล มีผู้นำประเทศหลากหลายชาติเข้าร่วม เขามักจะเลือกใช้ภาษากลางๆ เช่น ภาษาอังกฤษเป็นตัวสื่อสาร เพื่อจะไม่ได้ไม่ต้องแปลข้ามกันไปมาหลายชาติ
แต่เวลาไปเจรจาหรือพบปะ หารือระหว่าง 2 ชาติ/ทวิภาคี (bilateral) การใช้ภาษาของตนและให้มีล่ามแปล เป็นข้อควรปฏิบัติที่ควรยึดถือ
เช่น เมื่อผู้นำไทยจะคุยกับผู้นำอิหร่าน ก็คือเรื่องของ “ไทย-อิหร่าน” ภาษาที่ใช้คือ ภาษาไทยและภาษาเปอร์เซีย ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ เช่นเดียวกับที่ผู้นำจีนกับรัสเซียสนทนากัน ก็จะใช้ภาษาของตนและมีล่ามแปลให้
การทำเช่นนี้คือ การแสดงถึง “ความเคารพ เกียรติ และศักดิ์ศรีของสองชาติ” ที่ไม่จำเป็นต้องมีภาษาของประเทศที่สาม ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการเจรจาเข้ามา (ส่วนในช่วงส่วนตัว/หลังไมค์ เขาจะคุยกันด้วยภาษาอะไร ก็ว่ากันไป)
ดังนั้นสิ่งที่ควรจะเกิดขึ้นก็คือ
– ผู้นำไทย ใช้ภาษาไทย มีล่ามแปลอิหร่าน
– ผู้นำอิหร่าน ใช้ภาษาอิหร่าน/เปอร์เซีย มีล่ามแปลไทย (ซึ่งฝั่งอิหร่านเขาทำแบบนี้อยู่แล้ว)
การพยายามคุยภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษาของชาติ “ศัตรูคู่อาฆาต” ที่รบกับอิหร่านตลอดให้ผู้นำอิหร่านฟัง ผมไม่คิดว่ามันจะเป็นความประทับใจอะไรให้เขาเลย กลับกันเขาน่าจะมองตรงกันข้ามเสียด้วยซ้ำ…
#Thaitimes
0 Comments
0 Shares
8 Views
0 Reviews