บทวิเคราะห์ UGC (User-Generated Content )เบื้องหลังความดังของ “หมูเด้ง” โดย ดร.จักรกฤษณ์ สิริริน เจ้าของนามปากกา “นกป่า อุษาคเนย์” อยู่ในวงการสื่อสารมวลชนมา 25 ปี เนื้อหาส่วนหนึ่งระบุว่า

“หากนำทฤษฎี UGC มาจับกับปรากฏการณ์ “หมูเด้ง” ก็จะเห็นได้ว่า กระแสความโด่งดังของ “หมูเด้ง” ตรงตามรูปแบบของการทำ UGC ทุกประการ

แม้ในตอนเริ่มต้น ช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เมื่อครั้งที่ “สวนสัตว์เปิดเขาเขียว” จัดประกวดตั้งชื่อ “หมูเด้ง” ในช่วงแรก ที่ชื่อ “หมูเด้ง” ชนะ VOTE “หมูแดง” และ “หมูสับ” ด้วยคะแนน 20,000 กว่า เรียกได้ว่าขาดลอย

ในช่วงนั้น ยังไม่เกิดกระแส “หมูเด้ง” แต่อย่างใด มิหนำซ้ำ หลังจากได้ชื่อแล้ว ก็เหลือคนสนใจ “หมูเด้ง” น้อยมาก

เพราะค่าเฉลี่ยความสนใจลูกสัตว์เกิดใหม่ จะมีอยู่เพียงสั้นๆ คือประมาณ 7 วัน ที่ประชาชนให้ความสนใจ ทำให้สื่อมวลชนต้องคอยตามติดในช่วงเวลาหนึ่ง จากนั้นก็จะเริ่มซาลง และเริ่มห่างหาย จนกระแสเงียบไปในที่สุด

ซึ่งทาง “สวนสัตว์เปิดเขาเขียว” ก็อาจมีการนำเสนอลูกสัตว์เกิดใหม่รายอื่นๆ ตามมาอีกเรื่อยๆ พอผลตัดสินการประกวดจบสิ้นลงแล้ว กระแสก็จะกลับไปเงียบอีกครั้ง วนเวียนอยู่เช่นนี้

ต่างจาก “หมูเด้ง” โดยสิ้นเชิง

เป็นเพราะว่า “หมูเด้ง” เกิดในยุคที่ทุกคนบนโลกเข้าถึง Social Media โดยเรื่องราวที่น่าสนใจจะไม่จำกัดอยู่ภายในประเทศใดประเทศหนึ่งอีกต่อไป ไม่เหมือนกระแสลูกสัตว์เกิดใหม่ที่ผ่านมาของ “สวนสัตว์เปิดเขาเขียว”

แต่ทันทีที่ “อรรถพล หนุนดี” หรือ “พี่เบนซ์” เจ้าของ Facebook Fanpage “ขาหมู แอนด์เดอะแก๊ง” ได้เริ่มทำ Content “หมูเด้ง” กระแส “หมูเด้ง” ก็ค่อยๆ ก่อตัวขึ้น

ฐาน “แฟนคลับ” ที่เหนียวแน่น หรือที่เรียกว่า “ลูกเพจ” ดั้งเดิมของ “ขาหมู แอนด์เดอะแก๊ง” ที่มีปริมาณมากอยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มี Empathy หรือ “ความผูกพัน” อย่างสูง ยิ่งช่วยต่อยอด Content ในแบบฉบับ UGC ได้เป็นอย่างดี

ผนวกกับการที่ “สวนสัตว์เปิดเขาเขียว” อยู่ใกล้ศรีราชา จุดที่มีชาวญี่ปุ่นพำนักในเมืองไทยเป็นชุมชน ทำให้มีการแชร์ Content “หมูเด้ง” ต่อๆ กันไปในหมู่ชาวญี่ปุ่น จากเมืองไทยไปญี่ปุ่น และแพร่กระจายไปทั่วโลก

สำทับด้วยสำนักข่าวตะวันตก ได้แห่กันมาทำข่าว “หมูเด้ง” ติดๆ กัน ไม่ว่าจะเป็น AP, AFP, BBC, VOA, CNN ก็ยิ่งช่วยสร้าง UGC ให้กับ “หมูเด้ง” จนกลายเป็น Viral ระดับโลกไปแล้ว

จากความน่ารัก น่าเอ็นดู การสัมผัสได้ถึงการไม่มีผลประโยชน์ใดแอบแฝงใน Content เนื่องจากเป็นลูกสัตว์เกิดใหม่ในสวนสัตว์ที่ค่าเข้าชมไม่ได้มากมายอะไร และการขายสินค้าของสวนสัตว์ไม่ว่าจะเป็นของที่ระลึกต่างๆ ก็ไม่ได้มีราคาค่างวดที่แพงจนจับต้องไม่ได้

แปลไทยเป็นไทยก็คือ Brand “หมูเด้ง” เป็น Brand บริสุทธิ์ ผนวกกับความทะลึ่ง สะดีดสะดิ้ง น่ารักน่าชัง เมื่อรวมกับบุคลิกดั้งเดิมของ “หมูเด้ง” ที่เป็นลูกฮิปโปแคระที่มีลีลาตลกเป็นพื้นเพอยู่แล้ว ยิ่งเรียกรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ และความประทับใจได้ไม่ยาก

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความรู้สึกลึกๆ ในใจมนุษย์เกี่ยวกับ “ลูกสัตว์” หรือ Baby Animal ทั้งลูกมนุษย์ด้วยกันที่ถือเป็นสัตว์ประเภทหนึ่ง และลูกสัตว์ต่างๆ ที่ดูแล้วให้ความรู้สึกน่ารัก น่าเอ็นดู อยากอุ้ม อยากเลี้ยง ซึ่งเป็นธรรมชาติของมนุษย์เป็นทุนเดิม

ประกอบกับคาแรกเตอร์ของ “หมูเด้ง” ที่แอบเกรี้ยวกราด น่ารัก น่าหยิก ทำให้เป็น UGC ที่ถูกนำไปต่อยอดได้ง่ายใน “วัฒนธรรมมีม” หรือ Meme Culture

ยกระดับสู่การเป็น “วัฒนธรรมร่วม” ผ่าน Social Media

เบื้องหลังความสำเร็จของ UGC “หมูเด้ง” คงต้องยกเครดิตให้ “พี่เบนซ์” ไปเต็มๆ ที่สามารถดึงคาแรกเตอร์ของ “หมูเด้ง” ออกมาเล่าได้อย่างน่ารัก

พูดอีกแบบก็คือ “ขาหมู แอนด์เดอะแก๊ง” มาถูกที่ ถูกเวลา และเล่นได้ถูกจุด จับจุด อารมณ์ร่วมของผู้คนได้อยู่หมัด สร้างการเชื่อมต่อ และเชื่อมโยงอารมณ์ความรู้สึกของผู้คน เข้ากับ “หมูเด้ง” ได้ตรงจุด

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่เสพ Social Media ที่อยู่ไกลจาก “สวนสัตว์เปิดเขาเขียว” ที่ไม่สะดวกเดินทางมาสัมผัสกับ “หมูเด้ง” ได้ด้วยตัวเอง

ตอบสนองธรรมชาติของมนุษย์ที่มีความรักสัตว์เป็นทุนเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ลูกสัตว์” น่ารัก ที่ตนไม่สามารถเลี้ยงเอาไว้ในบ้านได้

จึงสามารถสรุปได้ว่า UGC อยู่เบื้องหลังความดังของ “หมูเด้ง”

https://www.salika.co/2024/10/04/user-generated-content-moodeng/

#Thaitimes
บทวิเคราะห์ UGC (User-Generated Content )เบื้องหลังความดังของ “หมูเด้ง” โดย ดร.จักรกฤษณ์ สิริริน เจ้าของนามปากกา “นกป่า อุษาคเนย์” อยู่ในวงการสื่อสารมวลชนมา 25 ปี เนื้อหาส่วนหนึ่งระบุว่า “หากนำทฤษฎี UGC มาจับกับปรากฏการณ์ “หมูเด้ง” ก็จะเห็นได้ว่า กระแสความโด่งดังของ “หมูเด้ง” ตรงตามรูปแบบของการทำ UGC ทุกประการ แม้ในตอนเริ่มต้น ช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เมื่อครั้งที่ “สวนสัตว์เปิดเขาเขียว” จัดประกวดตั้งชื่อ “หมูเด้ง” ในช่วงแรก ที่ชื่อ “หมูเด้ง” ชนะ VOTE “หมูแดง” และ “หมูสับ” ด้วยคะแนน 20,000 กว่า เรียกได้ว่าขาดลอย ในช่วงนั้น ยังไม่เกิดกระแส “หมูเด้ง” แต่อย่างใด มิหนำซ้ำ หลังจากได้ชื่อแล้ว ก็เหลือคนสนใจ “หมูเด้ง” น้อยมาก เพราะค่าเฉลี่ยความสนใจลูกสัตว์เกิดใหม่ จะมีอยู่เพียงสั้นๆ คือประมาณ 7 วัน ที่ประชาชนให้ความสนใจ ทำให้สื่อมวลชนต้องคอยตามติดในช่วงเวลาหนึ่ง จากนั้นก็จะเริ่มซาลง และเริ่มห่างหาย จนกระแสเงียบไปในที่สุด ซึ่งทาง “สวนสัตว์เปิดเขาเขียว” ก็อาจมีการนำเสนอลูกสัตว์เกิดใหม่รายอื่นๆ ตามมาอีกเรื่อยๆ พอผลตัดสินการประกวดจบสิ้นลงแล้ว กระแสก็จะกลับไปเงียบอีกครั้ง วนเวียนอยู่เช่นนี้ ต่างจาก “หมูเด้ง” โดยสิ้นเชิง เป็นเพราะว่า “หมูเด้ง” เกิดในยุคที่ทุกคนบนโลกเข้าถึง Social Media โดยเรื่องราวที่น่าสนใจจะไม่จำกัดอยู่ภายในประเทศใดประเทศหนึ่งอีกต่อไป ไม่เหมือนกระแสลูกสัตว์เกิดใหม่ที่ผ่านมาของ “สวนสัตว์เปิดเขาเขียว” แต่ทันทีที่ “อรรถพล หนุนดี” หรือ “พี่เบนซ์” เจ้าของ Facebook Fanpage “ขาหมู แอนด์เดอะแก๊ง” ได้เริ่มทำ Content “หมูเด้ง” กระแส “หมูเด้ง” ก็ค่อยๆ ก่อตัวขึ้น ฐาน “แฟนคลับ” ที่เหนียวแน่น หรือที่เรียกว่า “ลูกเพจ” ดั้งเดิมของ “ขาหมู แอนด์เดอะแก๊ง” ที่มีปริมาณมากอยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มี Empathy หรือ “ความผูกพัน” อย่างสูง ยิ่งช่วยต่อยอด Content ในแบบฉบับ UGC ได้เป็นอย่างดี ผนวกกับการที่ “สวนสัตว์เปิดเขาเขียว” อยู่ใกล้ศรีราชา จุดที่มีชาวญี่ปุ่นพำนักในเมืองไทยเป็นชุมชน ทำให้มีการแชร์ Content “หมูเด้ง” ต่อๆ กันไปในหมู่ชาวญี่ปุ่น จากเมืองไทยไปญี่ปุ่น และแพร่กระจายไปทั่วโลก สำทับด้วยสำนักข่าวตะวันตก ได้แห่กันมาทำข่าว “หมูเด้ง” ติดๆ กัน ไม่ว่าจะเป็น AP, AFP, BBC, VOA, CNN ก็ยิ่งช่วยสร้าง UGC ให้กับ “หมูเด้ง” จนกลายเป็น Viral ระดับโลกไปแล้ว จากความน่ารัก น่าเอ็นดู การสัมผัสได้ถึงการไม่มีผลประโยชน์ใดแอบแฝงใน Content เนื่องจากเป็นลูกสัตว์เกิดใหม่ในสวนสัตว์ที่ค่าเข้าชมไม่ได้มากมายอะไร และการขายสินค้าของสวนสัตว์ไม่ว่าจะเป็นของที่ระลึกต่างๆ ก็ไม่ได้มีราคาค่างวดที่แพงจนจับต้องไม่ได้ แปลไทยเป็นไทยก็คือ Brand “หมูเด้ง” เป็น Brand บริสุทธิ์ ผนวกกับความทะลึ่ง สะดีดสะดิ้ง น่ารักน่าชัง เมื่อรวมกับบุคลิกดั้งเดิมของ “หมูเด้ง” ที่เป็นลูกฮิปโปแคระที่มีลีลาตลกเป็นพื้นเพอยู่แล้ว ยิ่งเรียกรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ และความประทับใจได้ไม่ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความรู้สึกลึกๆ ในใจมนุษย์เกี่ยวกับ “ลูกสัตว์” หรือ Baby Animal ทั้งลูกมนุษย์ด้วยกันที่ถือเป็นสัตว์ประเภทหนึ่ง และลูกสัตว์ต่างๆ ที่ดูแล้วให้ความรู้สึกน่ารัก น่าเอ็นดู อยากอุ้ม อยากเลี้ยง ซึ่งเป็นธรรมชาติของมนุษย์เป็นทุนเดิม ประกอบกับคาแรกเตอร์ของ “หมูเด้ง” ที่แอบเกรี้ยวกราด น่ารัก น่าหยิก ทำให้เป็น UGC ที่ถูกนำไปต่อยอดได้ง่ายใน “วัฒนธรรมมีม” หรือ Meme Culture ยกระดับสู่การเป็น “วัฒนธรรมร่วม” ผ่าน Social Media เบื้องหลังความสำเร็จของ UGC “หมูเด้ง” คงต้องยกเครดิตให้ “พี่เบนซ์” ไปเต็มๆ ที่สามารถดึงคาแรกเตอร์ของ “หมูเด้ง” ออกมาเล่าได้อย่างน่ารัก พูดอีกแบบก็คือ “ขาหมู แอนด์เดอะแก๊ง” มาถูกที่ ถูกเวลา และเล่นได้ถูกจุด จับจุด อารมณ์ร่วมของผู้คนได้อยู่หมัด สร้างการเชื่อมต่อ และเชื่อมโยงอารมณ์ความรู้สึกของผู้คน เข้ากับ “หมูเด้ง” ได้ตรงจุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่เสพ Social Media ที่อยู่ไกลจาก “สวนสัตว์เปิดเขาเขียว” ที่ไม่สะดวกเดินทางมาสัมผัสกับ “หมูเด้ง” ได้ด้วยตัวเอง ตอบสนองธรรมชาติของมนุษย์ที่มีความรักสัตว์เป็นทุนเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ลูกสัตว์” น่ารัก ที่ตนไม่สามารถเลี้ยงเอาไว้ในบ้านได้ จึงสามารถสรุปได้ว่า UGC อยู่เบื้องหลังความดังของ “หมูเด้ง” https://www.salika.co/2024/10/04/user-generated-content-moodeng/ #Thaitimes
WWW.SALIKA.CO
UGC เบื้องหลังความดังของ “หมูเด้ง”
User-Generated Content (UGC) หมายถึง Story ที่ผู้บริโภค หรือลูกค้า หรือกลุ่มเป้าหมาย สร้างขึ้นมาเอง โดยผู้คนเหล่านั้น จะพูดถึงเรื่องราวที่พวกเขาประทับใจ หรือให้ความสนใจ โดยที่ต้นเรื่องไม่ต้องเสียเงินจ้างแม้แต่บาทเดียว
Love
1
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 65 มุมมอง 0 รีวิว