อ่านเอาเรื่อง Ep.78: ไซบีเรีย

ความในตอนที่แล้วได้เล่าไปถึงเรื่องท่อก๊าซไซบีเรียที่รัสเซียต่อท่อส่งมาขายให้จีน ผมก็เกิดสงสัยขึ้นว่า “ไซบีเรียนี่อยู่ตรงไหนกันแน่?”

ในความคิดแรก ผมคิดแค่ว่าไซบีเรียคงเป็นจังหวัดหรือมณฑลหนึ่งในรัสเซีย แต่ปรากฏว่าไม่ใช่แฮะ ไซบีเรียนั้นคือแผ่นดินขนาดยักษ์ที่ถือเป็น 80% ของประเทศรัสเซียเลย

ถ้าพูดเอาง่ายก็คือ รัสเซียนั้นเป็นประเทศที่ครอบคลุมสองทวีปคือยุโรปและเอเซีย ซึ่งแบ่งกันด้วยเทือกเขาอูราล ฝั่งซ้ายของเทือกเขาอูราลเป็นฝั่งยุโรปครับ เมืองใหญ่ๆเช่น มอสโคว หรือ เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก และที่ทำการรัฐบาลรัสเซียอยู่ฝั่งนี้

ส่วนฝั่งขวาของอูราลเป็นฝั่งเอเซียครับ ซึ่งแผ่นดินรัสเซียทั้งหมดในฝั่งเอเซียนี่แหละครับที่เราเรียกว่า “ไซบีเรีย” กว้างใหญ่ไพศาลประมาณ 13 ล้านตร.กม.

ไซบีเรียนั้นใหญ่กว่าประเทศไทยราวๆ 10 เท่าครับ
.
.
.
เมื่อเราย้อนเวลาไปประมาณ 150 ปีที่แล้ว ไซบีเรียนั้นเป็นพื้นที่หนาวเหน็บและทุรกันดารมาก รัฐบาลของพระเจ้าซาร์ไม่ค่อยได้ให้ความใส่ใจมากเท่าไรเพราะถือเป็นแผ่นดินไกลโพ้น

ในเวลานั้นเมืองของรัสเซียที่อยู่ไกลสุดฝั่งตะวันออกมีอยู่สองเมืองชื่อว่า “วลาดิวอสสต็อก” กับ “คาบารอฟ” ซึ่งอยู่ติดกับดินแดนของจีนที่เรียกว่า “แมนจูเรีย” ครับ

ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับรัสเซียในยุคนั้น ก็คือไม่ได้รักกันแต่ก็ไม่ได้เป็นศัตรูกันครับ อยู่เป็นเพื่อนบ้านกันไปยังงั้นแหละ ชาวไซบีเรียบางส่วนก็หน้าตาคล้ายคนจีน แถมบางกลุ่มยังคิดว่าตัวเองอยู่ในแผ่นดินของจักรพรรดิจีนอยู่เลย

แต่เมื่อเข้าสู่ยุคล่าอาณานิคม อันมีทั้งอังกฤษ โปรตุเกส และสเปน เข้ามามีอิทธิพลในเอเซีย รัสเซียก็เลยเริ่มกังวลถึงความปลอดภัยของดินแดนตัวเองที่อยู่ใกล้ๆจีน คือ เมืองวลาดิวอสต็อก

ในเวลานั้น เครื่องมือสำคัญอันหนึ่งที่ฝรั่งเขาใช้รุกรานแผ่นดินอื่นคือ “ทางรถไฟ” ครับ

อเมริกาใช้การก่อสร้างรางรถไฟเพื่อขยายรุกคืบไปยึดครองอเมริกาฝั่งตะวันตก ชื่อว่า “ทางรถไฟสายทรานส์คอนติเนนทัล"

อังกฤษก็ใช้วิธีเดียวกันในการรุกคืบแผ่นดินแคนาดาฝั่งตะวันตก คือ สร้างรางรถไฟชื่อว่า ”แคเนเดี้ยน แปซิฟิก เรลเวย์“

รัสเซียเกรงว่าเมื่ออังกฤษยึดครองแคนาดาฝั่งตะวันตก (แถวๆแวนคูเวอร์) เสร็จแล้ว ก็จะเอาทหารนั่งเรือต่อมายังเอเซียและมาวุ่นวายกับดินแดนรัสเซียฝั่งเอเซียเข้า

โครงการอภิมหาโปรเจคท์สร้างทางรถไฟสายทรานส์ไซบีเรียจึงกำเนิดขึ้นในปี 1881

เป้าหมายของรัสเซียคือ เพื่อให้กองทัพรัสเซียขนส่งทหารและยุทโธปกรณ์ไปยังเมืองวลาดิวอสต็อกให้ได้โดยเร็วเมื่อเกิดสงคราม

ต้องขอเล่าก่อนว่า แต่ดั้งเดิมนั้นการเดินทางจากเมืองมอสโควไปยังตะวันออกของรัสเซีย ควีนคัทรินมหาราชินีแห่งรัสเซียได้เคยสร้างถนนยาวนับหมื่นกิโลเมตรไว้แล้ว แต่ก็ผุพังไปเพราะไม่มีการบำรุงรักษา

ต่อมาคนรัสเซียจึงใช้การล่องเรือไปตามแม่น้ำ แต่ก็ทำได้จำกัดเพราะไซบีเรียนั้นหนาวเหน็บหฤโหดมาก แม่น้ำแข็งจนเป็นน้ำแข็งถึงปีละ 8 เดือน

ในเบื้องแรกรัฐบาลรัสเซียก็เห็นพ้องต้องกันว่า ถึงเวลาที่ควรจะสร้างทางรถไฟทอดข้ามไซบีเรียกัน แต่ปรากฏว่ารัฐมนตรีคมนาคมกับรัฐมนตรีคลังทะเลาะกันอยู่เป็นปี เพราะต่างฝ่ายต่างอยากจะให้ทางรถไฟวิ่งผ่านในพื้นที่ของตัวเอง

พระเจ้าซาร์ทนไม่ไหวจึงเขียนจดหมายไปสั่งรัฐบาลว่า “หยุดทะเลาะกันได้แล้ว เราต้องสร้างทางรถไฟทรานส์ไซบีเรียเดี๋ยวนี้”

การทะเลาะกันจึงยุติลงและเริ่มก่อสร้างโดยทันที
.
.
.
การก่อสร้างนั้นเต็มไปด้วยความยากลำบาก เพราะต้องผ่านภูมิประเทศที่กันดาร มีการเจาะภูเขา สร้างสะพานข้ามแม่น้ำหลายสาย ลงหุบเขา รวมถึงต้องสร้างโรงหลอมเหล็กตามไปเป็นระยะๆ

แต่กระนั้นก็ยังหาเหล็กได้ไม่พอ จนต้องสั่งซื้อเพิ่มจากโปแลนด์ อังกฤษและอเมริกา

ส่วนแรงงานนั้นก็หลากหลาย มีตั้งแต่แรงงานรับจ้างไปจนถึงนักโทษที่เกณฑ์มา

ทางรถไฟสายทรานส์ไซบีเรียเส้นแรกนั้น มีบางส่วนที่ตัดผ่านแผ่นดินแมนจูเรียที่รัสเซียเช่าจากรัฐบาลจีน แต่เมื่อสร้างเสร็จปุ๊บ การณ์กลับกลายเป็นว่ามีคนจีนก่อหวอดประท้วง จนรัสเซียกับจีนต้องบาดหมางกัน

และญี่ปุ่นเปิดฉากก่อสงครามกับรัสเซีย ซึ่งเรารู้จักกันในชื่อของ Russo-Japanese war จนกองทัพเรือรัสเซียฝั่งแปซิฟิกย่อยยับ

รัสเซียจึงเห็นว่าการสร้างทางรถไฟบางส่วนในแผ่นดินจีนนั้นไม่ตอบโจทย์ความมั่นคง รัสเซียจึงทิ้งรางรถไฟทั้งหมดในแมนจูเรีย แล้วพัฒนาเปลี่ยนเส้นทางให้รางรถไฟทั้งหมดวิ่งในแผ่นดินรัสเซีย และขยายจากรางเดี่ยวเป็นรางคู่ด้วย

ทางรถไฟสายทรานส์ไซบีเรียจึงสำเร็จได้ในปี 1916

ชนรัสเซียนั้นเขาภูมิใจในทางรถไฟสายนี้มาก แต่ไม่ใช่ที่รางรถไฟนะครับ เพราะความมหัศจรรย์ที่แท้ของทรานส์ไซบีเรียคือ “สะพาน”

วิศวกรรมการก่อสร้างสะพานตลอดเส้นทางทรานส์ไซบีเรียนั้นหลากหลายมาก สะพานบางแห่งสูงถึง 64 เมตร บางช่วงทอดข้ามแม่น้ำที่ยาวถึง 2.6 กิโลเมตร

เรียกกันว่า “Amur Miracle"

อ้อ....ลืมบอกไปว่า ทางรถไฟทรานส์ไซบีเรียนั้นยาวถึง 9,500 กิโลเมตรครับ
.
.
.
เมื่อทรานส์ไซบีเรียสร้างเสร็จปุ๊บ รัฐบาลรัสเซียก็พยายามชักชวนให้คนไปอาศัยอยู่ที่ไซบีเรีย โดยแถมโปรโมชั่นให้เพียบเช่น กู้เงินได้ง่าย, งดเก็บภาษี 10 ปี, รักษาพยาบาลฟรี, ลูกหลานเรียนฟรี, มีเงินอุดหนุนมากมายจากรัฐ

ผู้คนจึงทยอยหลั่งไหลไปไซบีเรีย ประชากรจึงเพิ่มจากหลักหมื่น ไปสู่หลักแสนและหลักล้านในที่สุด

ทุกวันนี้ภูมิภาคไซบีเรียมีคนอาศัยอยู่ประมาณ 37 ล้านคน

และกลายเป็นภูมิภาคสำคัญ เพราะมีทั้งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติอยู่ใต้แผ่นดินไซบีเรียมหาศาล

…เอามาเล่าสู่กันฟังครับ…


นัทแนะ
อ่านเอาเรื่อง Ep.78: ไซบีเรีย ความในตอนที่แล้วได้เล่าไปถึงเรื่องท่อก๊าซไซบีเรียที่รัสเซียต่อท่อส่งมาขายให้จีน ผมก็เกิดสงสัยขึ้นว่า “ไซบีเรียนี่อยู่ตรงไหนกันแน่?” ในความคิดแรก ผมคิดแค่ว่าไซบีเรียคงเป็นจังหวัดหรือมณฑลหนึ่งในรัสเซีย แต่ปรากฏว่าไม่ใช่แฮะ ไซบีเรียนั้นคือแผ่นดินขนาดยักษ์ที่ถือเป็น 80% ของประเทศรัสเซียเลย ถ้าพูดเอาง่ายก็คือ รัสเซียนั้นเป็นประเทศที่ครอบคลุมสองทวีปคือยุโรปและเอเซีย ซึ่งแบ่งกันด้วยเทือกเขาอูราล ฝั่งซ้ายของเทือกเขาอูราลเป็นฝั่งยุโรปครับ เมืองใหญ่ๆเช่น มอสโคว หรือ เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก และที่ทำการรัฐบาลรัสเซียอยู่ฝั่งนี้ ส่วนฝั่งขวาของอูราลเป็นฝั่งเอเซียครับ ซึ่งแผ่นดินรัสเซียทั้งหมดในฝั่งเอเซียนี่แหละครับที่เราเรียกว่า “ไซบีเรีย” กว้างใหญ่ไพศาลประมาณ 13 ล้านตร.กม. ไซบีเรียนั้นใหญ่กว่าประเทศไทยราวๆ 10 เท่าครับ . . . เมื่อเราย้อนเวลาไปประมาณ 150 ปีที่แล้ว ไซบีเรียนั้นเป็นพื้นที่หนาวเหน็บและทุรกันดารมาก รัฐบาลของพระเจ้าซาร์ไม่ค่อยได้ให้ความใส่ใจมากเท่าไรเพราะถือเป็นแผ่นดินไกลโพ้น ในเวลานั้นเมืองของรัสเซียที่อยู่ไกลสุดฝั่งตะวันออกมีอยู่สองเมืองชื่อว่า “วลาดิวอสสต็อก” กับ “คาบารอฟ” ซึ่งอยู่ติดกับดินแดนของจีนที่เรียกว่า “แมนจูเรีย” ครับ ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับรัสเซียในยุคนั้น ก็คือไม่ได้รักกันแต่ก็ไม่ได้เป็นศัตรูกันครับ อยู่เป็นเพื่อนบ้านกันไปยังงั้นแหละ ชาวไซบีเรียบางส่วนก็หน้าตาคล้ายคนจีน แถมบางกลุ่มยังคิดว่าตัวเองอยู่ในแผ่นดินของจักรพรรดิจีนอยู่เลย แต่เมื่อเข้าสู่ยุคล่าอาณานิคม อันมีทั้งอังกฤษ โปรตุเกส และสเปน เข้ามามีอิทธิพลในเอเซีย รัสเซียก็เลยเริ่มกังวลถึงความปลอดภัยของดินแดนตัวเองที่อยู่ใกล้ๆจีน คือ เมืองวลาดิวอสต็อก ในเวลานั้น เครื่องมือสำคัญอันหนึ่งที่ฝรั่งเขาใช้รุกรานแผ่นดินอื่นคือ “ทางรถไฟ” ครับ อเมริกาใช้การก่อสร้างรางรถไฟเพื่อขยายรุกคืบไปยึดครองอเมริกาฝั่งตะวันตก ชื่อว่า “ทางรถไฟสายทรานส์คอนติเนนทัล" อังกฤษก็ใช้วิธีเดียวกันในการรุกคืบแผ่นดินแคนาดาฝั่งตะวันตก คือ สร้างรางรถไฟชื่อว่า ”แคเนเดี้ยน แปซิฟิก เรลเวย์“ รัสเซียเกรงว่าเมื่ออังกฤษยึดครองแคนาดาฝั่งตะวันตก (แถวๆแวนคูเวอร์) เสร็จแล้ว ก็จะเอาทหารนั่งเรือต่อมายังเอเซียและมาวุ่นวายกับดินแดนรัสเซียฝั่งเอเซียเข้า โครงการอภิมหาโปรเจคท์สร้างทางรถไฟสายทรานส์ไซบีเรียจึงกำเนิดขึ้นในปี 1881 เป้าหมายของรัสเซียคือ เพื่อให้กองทัพรัสเซียขนส่งทหารและยุทโธปกรณ์ไปยังเมืองวลาดิวอสต็อกให้ได้โดยเร็วเมื่อเกิดสงคราม ต้องขอเล่าก่อนว่า แต่ดั้งเดิมนั้นการเดินทางจากเมืองมอสโควไปยังตะวันออกของรัสเซีย ควีนคัทรินมหาราชินีแห่งรัสเซียได้เคยสร้างถนนยาวนับหมื่นกิโลเมตรไว้แล้ว แต่ก็ผุพังไปเพราะไม่มีการบำรุงรักษา ต่อมาคนรัสเซียจึงใช้การล่องเรือไปตามแม่น้ำ แต่ก็ทำได้จำกัดเพราะไซบีเรียนั้นหนาวเหน็บหฤโหดมาก แม่น้ำแข็งจนเป็นน้ำแข็งถึงปีละ 8 เดือน ในเบื้องแรกรัฐบาลรัสเซียก็เห็นพ้องต้องกันว่า ถึงเวลาที่ควรจะสร้างทางรถไฟทอดข้ามไซบีเรียกัน แต่ปรากฏว่ารัฐมนตรีคมนาคมกับรัฐมนตรีคลังทะเลาะกันอยู่เป็นปี เพราะต่างฝ่ายต่างอยากจะให้ทางรถไฟวิ่งผ่านในพื้นที่ของตัวเอง พระเจ้าซาร์ทนไม่ไหวจึงเขียนจดหมายไปสั่งรัฐบาลว่า “หยุดทะเลาะกันได้แล้ว เราต้องสร้างทางรถไฟทรานส์ไซบีเรียเดี๋ยวนี้” การทะเลาะกันจึงยุติลงและเริ่มก่อสร้างโดยทันที . . . การก่อสร้างนั้นเต็มไปด้วยความยากลำบาก เพราะต้องผ่านภูมิประเทศที่กันดาร มีการเจาะภูเขา สร้างสะพานข้ามแม่น้ำหลายสาย ลงหุบเขา รวมถึงต้องสร้างโรงหลอมเหล็กตามไปเป็นระยะๆ แต่กระนั้นก็ยังหาเหล็กได้ไม่พอ จนต้องสั่งซื้อเพิ่มจากโปแลนด์ อังกฤษและอเมริกา ส่วนแรงงานนั้นก็หลากหลาย มีตั้งแต่แรงงานรับจ้างไปจนถึงนักโทษที่เกณฑ์มา ทางรถไฟสายทรานส์ไซบีเรียเส้นแรกนั้น มีบางส่วนที่ตัดผ่านแผ่นดินแมนจูเรียที่รัสเซียเช่าจากรัฐบาลจีน แต่เมื่อสร้างเสร็จปุ๊บ การณ์กลับกลายเป็นว่ามีคนจีนก่อหวอดประท้วง จนรัสเซียกับจีนต้องบาดหมางกัน และญี่ปุ่นเปิดฉากก่อสงครามกับรัสเซีย ซึ่งเรารู้จักกันในชื่อของ Russo-Japanese war จนกองทัพเรือรัสเซียฝั่งแปซิฟิกย่อยยับ รัสเซียจึงเห็นว่าการสร้างทางรถไฟบางส่วนในแผ่นดินจีนนั้นไม่ตอบโจทย์ความมั่นคง รัสเซียจึงทิ้งรางรถไฟทั้งหมดในแมนจูเรีย แล้วพัฒนาเปลี่ยนเส้นทางให้รางรถไฟทั้งหมดวิ่งในแผ่นดินรัสเซีย และขยายจากรางเดี่ยวเป็นรางคู่ด้วย ทางรถไฟสายทรานส์ไซบีเรียจึงสำเร็จได้ในปี 1916 ชนรัสเซียนั้นเขาภูมิใจในทางรถไฟสายนี้มาก แต่ไม่ใช่ที่รางรถไฟนะครับ เพราะความมหัศจรรย์ที่แท้ของทรานส์ไซบีเรียคือ “สะพาน” วิศวกรรมการก่อสร้างสะพานตลอดเส้นทางทรานส์ไซบีเรียนั้นหลากหลายมาก สะพานบางแห่งสูงถึง 64 เมตร บางช่วงทอดข้ามแม่น้ำที่ยาวถึง 2.6 กิโลเมตร เรียกกันว่า “Amur Miracle" อ้อ....ลืมบอกไปว่า ทางรถไฟทรานส์ไซบีเรียนั้นยาวถึง 9,500 กิโลเมตรครับ . . . เมื่อทรานส์ไซบีเรียสร้างเสร็จปุ๊บ รัฐบาลรัสเซียก็พยายามชักชวนให้คนไปอาศัยอยู่ที่ไซบีเรีย โดยแถมโปรโมชั่นให้เพียบเช่น กู้เงินได้ง่าย, งดเก็บภาษี 10 ปี, รักษาพยาบาลฟรี, ลูกหลานเรียนฟรี, มีเงินอุดหนุนมากมายจากรัฐ ผู้คนจึงทยอยหลั่งไหลไปไซบีเรีย ประชากรจึงเพิ่มจากหลักหมื่น ไปสู่หลักแสนและหลักล้านในที่สุด ทุกวันนี้ภูมิภาคไซบีเรียมีคนอาศัยอยู่ประมาณ 37 ล้านคน และกลายเป็นภูมิภาคสำคัญ เพราะมีทั้งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติอยู่ใต้แผ่นดินไซบีเรียมหาศาล …เอามาเล่าสู่กันฟังครับ… นัทแนะ
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 10 มุมมอง 0 รีวิว