บทความน่าสนใจในเพจเฟซบุ๊กBrandThinkได้ตอบข้อสงสัยว่า “ทำไม The Voice ไทยปีนี้ไม่มี 'เพลงสากล'?และทำไม YouTube ถึงบล็อกเพลง Nirvana ในอเมริกา? ทั้งหมดเกี่ยวกันอย่างไร?

เนื้อหาในบทความนี้มีดังต่อไปนี้
“เรื่องลิขสิทธิ์เป็นเรื่องชวนปวดหัวที่หลายคนไม่อยากยุ่งเกี่ยวด้วยนัก อย่างไรก็ดีในหลายๆ ครั้งมันก็ส่งผลมาสู่สิ่งที่เรา 'รู้สึก' ได้ในชีวิตประจำวัน
.
ถ้าใครได้ดูรายการ ‘The Voice Thailand’ ปีนี้ สิ่งหนึ่งที่อาจสังเกตได้คือ ปีนี้ไม่มีเพลงสากล ทั้งนี้หลังจากมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตตั้งคำถามนี้ ทางผู้จัดรายการ The Voice จึงมาตอบให้ ซึ่งคำตอบนี้นักดนตรีมีชื่ออย่าง ‘หนึ่ง Mr. Drummer’ ก็ได้โพสต์บน Facebook ของตัวเอง จนคนแชร์เป็นไวรัลโพสต์ในวันที่ 30 กันยายน 2024 ซึ่งโพสต์ยาวมาก แต่สามารถสรุปใจความได้ว่า
.
ในปีก่อนๆ The Voice เวลาจะ 'เคลียร์ลิขสิทธิ์' เพลงสากล สมัยก่อนจะติดต่อผ่าน 'ตัวแทนลิขสิทธิ์' ในไทยเจ้าเดียวจบ แต่ปัจจุบัน ด้วยเหตุผลบางอย่าง ทำแบบนั้นไม่ได้แล้ว จะขอเพลงมาร้องในรายการก็ต้องไปไล่ติดต่อ 'นักแต่งเพลง' โดยตรง ซึ่งกระบวนการ 'เคลียร์' นั้นยุ่งยากและใช้เวลามาก เพราะต้องไปหาคอนแท็กนักแต่งเพลงเป็นคนๆ และบางเพลงมีนักแต่งหลายคนก็ต้องไปไล่ขอทุกคนด้วย สุดท้ายเคลียร์ไม่ได้ทันเวลา ก็เลยต้องระงับการใช้ 'เพลงสากล' ในรายการ
.
ต่อมาไม่นาน วิชัย มาตกุล ผู้เป็น Creative Director แห่งบริษัทโฆษณาชื่อดัง Salmon House ก็ดูเหมือนจะโพสต์ขึ้นมาเพื่อเสริมประเด็นบทสนทนานี้ โดยเน้นไปที่ประเด็นค่าลิขสิทธิ์ในการใช้เพลงดังๆ ของต่างประเทศที่แพงมาก ซึ่งได้ยกตัวอย่างว่า หากเขาจะทำโฆษณาสักชิ้นหนึ่ง จะมีการใช้เพลงสากลสั้นๆ แบบให้คนในโฆษณาร้องเฉพาะท่อนฮุกของเพลงดังกล่าวเท่านั้น แต่หลังจากติดต่อไปที่เจ้าของลิขสิทธิ์ เขาเคาะมาว่าค่าใช้จ่ายลิขสิทธิ์บทประพันธ์เพลงโดยนำท่อนฮุกไปร้องในโฆษณาสั้นๆ อยู่ที่ 2.5 ล้านบาท ซึ่งแพงว่าค่าโปรเจกต์โฆษณาทั้งหมด แผนการเลยยุติไป
.
ทั้งนี้ถ้าใครตามข่าวต่างประเทศด้านดนตรี เราก็จะพบโดยบังเอิญว่าในวันเดียวกันนี้มีข่าวใหญ่ข่าวหนึ่งว่า อยู่ดีๆ คนอเมริกันก็เข้าดู YouTube เพลงของวงดนตรีดังๆ อย่าง Nirvana, Green Day และนักร้องอีกจำนวนมากไม่ได้ สืบสาวราวเรื่องก็คือ YouTube ไม่สามารถดีลกับองค์กรบริหารลิขสิทธิ์บทประพันธ์เพลงที่เป็นตัวแทนในการดีลเก็บค่าลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่ 'บทประพันธ์เพลง' เหล่านี้บน YouTube ได้ และพอดีลไม่สำเร็จ YouTube ก็จำต้องถอนเพลงออกจากแพลตฟอร์ม เพราะถ้าไม่ได้รับอนุญาตก่อนก็ถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์
.
เรื่องทั้งหมดอาจฟังดูไม่เกี่ยวกัน แต่จริงๆ มันเป็น 'เรื่องเดียวกัน' เลย แต่ก่อนอื่นเราอาจต้องย้อนทำความเข้าใจเบสิกเรื่องลิขสิทธิ์งานดนตรีกันก่อน
.
โดยทั่วๆ ไปในโลกปัจจุบัน ลิขสิทธิ์งานดนตรีจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ‘ลิขสิทธิ์บทประพันธ์เพลง’ ที่อยู่กับตัวนักประพันธ์เพลง กับ ‘ลิขสิทธิ์งานบันทึกเสียง’ ที่มักจะอยู่กับค่ายเพลงหรือบริษัทที่ผลิตงานบันทึกเสียงออกมาขาย
.
ในระบบไทยจะง่าย เพราะปกติค่ายเพลงจะรวบลิขสิทธิ์ทั้งสองมาเป็นของตัวเอง ทำให้เคลียร์ง่ายเวลามีคนเอาไปใช้ แต่จะมีปัญหาเวลานักร้องไปร้องเพลงตัวเองตามคอนเสิร์ต ก็ต้องขออนุญาตค่ายก่อน ซึ่งในไทยก็จะมีปัญหาถกเถียงกันว่า 'ไม่เป็นธรรม'
.
ระบบอเมริกาและโลกตะวันตกไม่เป็นแบบนั้น ลิขสิทธิ์ตัวบทประพันธ์เพลงโดยทั่วไปจะอยู่กับตัวผู้แต่งเพลงเสมอ ทำให้คนเหล่านี้ใช้เพลงที่ตนเองแต่งไปเล่นสดได้เสมอแบบไม่ต้องขออนุญาตใคร หรือถ้าแตกกับค่ายเพลงเดิม ก็ยังสามารถนำเพลงตัวเองมาบันทึกเสียงใหม่ให้เป็นของตัวเองโดยตรงได้ ดังในกรณีที่โด่งดังของ Taylor Swift
.
ลิขสิทธิ์เป็นของนักแต่งเพลงมีข้อดีในแบบที่ว่ามานี้เอง แต่จากมุมผู้อื่นที่ต้องการนำเอาบทประพันธ์เพลงไปใช้ มันจะยุ่งยากมาก คือต้องไปขอนักแต่งเพลงโดยตรงจึงจะไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ ทั้งนี้อยากลองให้นึกถึงสมัยก่อนที่ไม่มีเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารแบบปัจจุบัน เราจะไปตามตัวขอใช้บทเพลงยังไง? ไม่ต้องพูดถึงเพลงในประเทศอื่น เพราะแค่เพลงในประเทศตัวเองยังยากเลย เพราะถึงเรารู้ว่าใครเป็นคนแต่งเพลงนี้ๆ เราก็ไม่รู้ว่าจะติดต่อเขาได้อย่างไรอยู่ดี
.
จึงทำให้เกิดระบบ 'สมาคมเก็บค่าลิขสิทธิ์บทประพันธ์เพลงเพื่อการแสดง' (Performance Right Society) ขึ้นมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 ระบบนี้ก็ง่ายๆ คือพวกนักแต่งเพลงก็ไปรวมตัวกันเป็นสมาคมและมอบอำนาจการ 'เก็บค่าลิขสิทธิ์' ทั้งประเทศให้กับสมาคมฯ และสมาคมฯ ก็จะไปไล่เก็บค่าลิขสิทธิ์แล้วนำมาแจกจ่ายให้นักแต่งเพลงที่เป็นสมาชิกอีกที
.
บางคนอาจมีคำถามว่า เราจะเชื่อใจสมาคมฯ ได้อย่างไร? แต่ความเป็นจริงคือระบบนี้อยู่มาเกิน 100 ปี และประเทศส่วนใหญ่ในโลกก็จะเชื่อใจสมาคมฯ ในประเทศตัวเองให้ไปไล่เก็บค่าลิขสิทธิ์ให้ โดยแทบทุกประเทศในโลก สมาคมแบบนี้จะมีเพียงแห่งเดียว ทำให้ง่ายต่อการจัดการ ใครต้องการจะ 'เคลียร์ค่าลิขสิทธิ์เพลง’ ของนักแต่งเพลงในประเทศนี้ก็ติดต่อสมาคมฯ จบ สมาคมฯ ก็จะมีเรตมาให้ ถ้าโอเคก็ลุยต่อ ไม่โอเค ถ้าไม่ถอยเลย ก็อาจไปคุยกับตัวนักแต่งเพลงเจ้าของลิขสิทธิ์โดยตรงก็ได้
.
และสมาคมฯ พวกนี้ในแต่ละประเทศก็จะมีดีลกันพอสมควร ทำให้การติดต่อเคลียร์ค่าลิขสิทธิ์เป็นไปโดยง่าย เช่นถ้าเราเป็นคนฝรั่งเศส อยากใช้เพลงของนักแต่งเพลงเยอรมัน เราก็ติดต่อ SACEM ของฝรั่งเศส แล้วเขาก็จะให้คอนแท็ก GEMA มา เป็นต้น
.
ระบบแบบนี้ก็ดำเนินไปเรื่อยๆ จนถึงจุดหนึ่งที่เทคโนโลยีเริ่มเปลี่ยน คือในตอนแรก 'สมาคมเก็บค่าลิขสิทธิ์บทประพันธ์เพลงเพื่อการแสดง' เป้าหมายหลักที่ตั้งมาแรกสุดตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 คือการเก็บเงินค่าลิขสิทธิ์บทประพันธ์เพลงตามร้านอาหารและร้านเหล้า ซึ่งมันเป็นสิ่งที่นักแต่งเพลงตามไปตรวจสอบและเก็บเองไม่ไหว เลยมอบอำนาจให้สมาคมฯ ไปจัดการแทน
.
แต่ในยุคปัจจุบัน บทประพันธ์เพลงไม่ได้ถูกใช้แค่เล่นตามร้านอาหารและร้านเหล้า แต่ยังถูกใช้ในโฆษณา ใช้ในหนัง ไปจนถึงใช้ในรายการทีวี ซึ่งเราไม่ต้องมีความรู้อะไรก็น่าจะพอเดาออกว่ามูลค่าทางเศรษฐกิจของกิจกรรมพวกนี้มันสูงมาก จึงทำให้บรรดานักแต่งเพลงเริ่ม 'ถอนสิทธิ์' ในการดีลเพลงเพื่อใช้ในการทำสื่อต่างๆ จากสมาคมฯ แล้วนำมาจัดการเอง เพราะพวกนักแต่งเพลงคิดว่าการดีลเองตรงๆ จะทำให้พวกเขาได้เงินเยอะกว่า และนี่เรากำลังพูดถึงอุตสาหกรรมดนตรีในยุค 'ขาลง' ที่ทุกฝ่ายต่างดิ้นรนหารายได้เพิ่ม
.
นี่จึงเป็นการตอบประเด็นที่ทั้ง หนึ่ง Mr. Drummer และ วิชัย มาตกุล พูดถึงว่าทำไมปัจจุบันลิขสิทธิ์ตัวบทประพันธ์เพลงฝั่งอเมริกาถึงดีลยาก และทำไมมันจึงแพงนัก
.
แต่มากกว่านั้น ในกรณีของ YouTube ที่ไม่สามารถดีลกับ 'สมาคมเก็บค่าลิขสิทธิ์บทประพันธ์เพลงเพื่อการแสดง' ได้ ก็เป็นภาพสะท้อนถึงปรากฏการณ์เดียวกัน คือพวกนักแต่งเพลงทั่วๆ ไปถึงจะโด่งดังแค่ไหน ก็มักจะไม่ห้าวหาญขนาดจะดีลกับ YouTube เองตรงๆ แต่เลือกดีลผ่านสมาคมฯ เหมือนเดิม เพราะดีลแบบนี้ 'อำนาจต่อรอง' มากกว่า แต่การที่ดีลไม่ผ่านล่าสุดที่เป็นข่าว ถ้าให้เดาก็คือ YouTube น่าจะยืนยันขอจ่ายค่าลิขสิทธิ์บทประพันธ์เพลงเท่าเดิมแบบที่เคยจ่ายทุกปี แต่ฝั่งสมาคมฯ นั้นไม่ยอมอีกแล้ว จะเอาค่าลิขสิทธิ์เพิ่ม เพราะสมาชิกเรียกร้องมา ดีลเลยล่ม YouTube เลยต้องถอนเพลงจำนวนมากที่เคลียร์ลิขสิทธิ์ส่วนบทประพันธ์เพลงไม่สำเร็จออกจากแพลตฟอร์ม (โดยมีข้อยกเว้นสำคัญคือพวกบันทึกการแสดงสด เพราะในระบบกฎหมายลิขสิทธิ์อเมริกา นักแต่งเพลงไม่มีอำนาจลิขสิทธิ์เหนือ 'บันทึกการแสดงสด' ของเพลงตัวเอง)
.
ดังนั้นสรุปง่ายๆ เรื่องราวของความติดขัดในการใช้บทเพลงทั้งหมด เกิดจากฝั่ง 'นักแต่งเพลง' เรียกร้องอำนาจ (และผลตอบแทน) ในการควบคุมลิขสิทธิ์บทเพลงตัวเองมากขึ้นนั่นเอง
.
ถ้าจะถามว่ามันถูกต้องและเป็นธรรมหรือไม่ เราอาจต้องเข้าสู่บทสนทนาทางปรัชญาและนโยบายสาธารณะเกี่ยวกับ 'สมดุล' ของลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญาโดยรวมๆ ซึ่งจะวุ่นวายมาก แต่สิ่งที่เดาได้เลยแบบไม่ต้องวิเคราะห์อะไรมากก็คือ ต่อจากนี้ไปจากมุมของไทย การใช้เพลงต่างประเทศจากฝั่งอเมริกาจะวุ่นวายและมีค่าใช้จ่ายเยอะมากๆ จนทั้งนักโฆษณา คนทำหนัง รวมถึงคนทำรายการทีวีจะหลีกเลี่ยงไม่ใช้กันอีก แบบที่เราเห็นในรายการ The Voice Thailand ปีนี้“

ที่มา : BrandThink https://www.facebook.com/share/8qKxnfVpQJ7WooWB/?mibextid=CTbP7E

#Thaitimes
บทความน่าสนใจในเพจเฟซบุ๊กBrandThinkได้ตอบข้อสงสัยว่า “ทำไม The Voice ไทยปีนี้ไม่มี 'เพลงสากล'?และทำไม YouTube ถึงบล็อกเพลง Nirvana ในอเมริกา? ทั้งหมดเกี่ยวกันอย่างไร? เนื้อหาในบทความนี้มีดังต่อไปนี้ “เรื่องลิขสิทธิ์เป็นเรื่องชวนปวดหัวที่หลายคนไม่อยากยุ่งเกี่ยวด้วยนัก อย่างไรก็ดีในหลายๆ ครั้งมันก็ส่งผลมาสู่สิ่งที่เรา 'รู้สึก' ได้ในชีวิตประจำวัน . ถ้าใครได้ดูรายการ ‘The Voice Thailand’ ปีนี้ สิ่งหนึ่งที่อาจสังเกตได้คือ ปีนี้ไม่มีเพลงสากล ทั้งนี้หลังจากมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตตั้งคำถามนี้ ทางผู้จัดรายการ The Voice จึงมาตอบให้ ซึ่งคำตอบนี้นักดนตรีมีชื่ออย่าง ‘หนึ่ง Mr. Drummer’ ก็ได้โพสต์บน Facebook ของตัวเอง จนคนแชร์เป็นไวรัลโพสต์ในวันที่ 30 กันยายน 2024 ซึ่งโพสต์ยาวมาก แต่สามารถสรุปใจความได้ว่า . ในปีก่อนๆ The Voice เวลาจะ 'เคลียร์ลิขสิทธิ์' เพลงสากล สมัยก่อนจะติดต่อผ่าน 'ตัวแทนลิขสิทธิ์' ในไทยเจ้าเดียวจบ แต่ปัจจุบัน ด้วยเหตุผลบางอย่าง ทำแบบนั้นไม่ได้แล้ว จะขอเพลงมาร้องในรายการก็ต้องไปไล่ติดต่อ 'นักแต่งเพลง' โดยตรง ซึ่งกระบวนการ 'เคลียร์' นั้นยุ่งยากและใช้เวลามาก เพราะต้องไปหาคอนแท็กนักแต่งเพลงเป็นคนๆ และบางเพลงมีนักแต่งหลายคนก็ต้องไปไล่ขอทุกคนด้วย สุดท้ายเคลียร์ไม่ได้ทันเวลา ก็เลยต้องระงับการใช้ 'เพลงสากล' ในรายการ . ต่อมาไม่นาน วิชัย มาตกุล ผู้เป็น Creative Director แห่งบริษัทโฆษณาชื่อดัง Salmon House ก็ดูเหมือนจะโพสต์ขึ้นมาเพื่อเสริมประเด็นบทสนทนานี้ โดยเน้นไปที่ประเด็นค่าลิขสิทธิ์ในการใช้เพลงดังๆ ของต่างประเทศที่แพงมาก ซึ่งได้ยกตัวอย่างว่า หากเขาจะทำโฆษณาสักชิ้นหนึ่ง จะมีการใช้เพลงสากลสั้นๆ แบบให้คนในโฆษณาร้องเฉพาะท่อนฮุกของเพลงดังกล่าวเท่านั้น แต่หลังจากติดต่อไปที่เจ้าของลิขสิทธิ์ เขาเคาะมาว่าค่าใช้จ่ายลิขสิทธิ์บทประพันธ์เพลงโดยนำท่อนฮุกไปร้องในโฆษณาสั้นๆ อยู่ที่ 2.5 ล้านบาท ซึ่งแพงว่าค่าโปรเจกต์โฆษณาทั้งหมด แผนการเลยยุติไป . ทั้งนี้ถ้าใครตามข่าวต่างประเทศด้านดนตรี เราก็จะพบโดยบังเอิญว่าในวันเดียวกันนี้มีข่าวใหญ่ข่าวหนึ่งว่า อยู่ดีๆ คนอเมริกันก็เข้าดู YouTube เพลงของวงดนตรีดังๆ อย่าง Nirvana, Green Day และนักร้องอีกจำนวนมากไม่ได้ สืบสาวราวเรื่องก็คือ YouTube ไม่สามารถดีลกับองค์กรบริหารลิขสิทธิ์บทประพันธ์เพลงที่เป็นตัวแทนในการดีลเก็บค่าลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่ 'บทประพันธ์เพลง' เหล่านี้บน YouTube ได้ และพอดีลไม่สำเร็จ YouTube ก็จำต้องถอนเพลงออกจากแพลตฟอร์ม เพราะถ้าไม่ได้รับอนุญาตก่อนก็ถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์ . เรื่องทั้งหมดอาจฟังดูไม่เกี่ยวกัน แต่จริงๆ มันเป็น 'เรื่องเดียวกัน' เลย แต่ก่อนอื่นเราอาจต้องย้อนทำความเข้าใจเบสิกเรื่องลิขสิทธิ์งานดนตรีกันก่อน . โดยทั่วๆ ไปในโลกปัจจุบัน ลิขสิทธิ์งานดนตรีจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ‘ลิขสิทธิ์บทประพันธ์เพลง’ ที่อยู่กับตัวนักประพันธ์เพลง กับ ‘ลิขสิทธิ์งานบันทึกเสียง’ ที่มักจะอยู่กับค่ายเพลงหรือบริษัทที่ผลิตงานบันทึกเสียงออกมาขาย . ในระบบไทยจะง่าย เพราะปกติค่ายเพลงจะรวบลิขสิทธิ์ทั้งสองมาเป็นของตัวเอง ทำให้เคลียร์ง่ายเวลามีคนเอาไปใช้ แต่จะมีปัญหาเวลานักร้องไปร้องเพลงตัวเองตามคอนเสิร์ต ก็ต้องขออนุญาตค่ายก่อน ซึ่งในไทยก็จะมีปัญหาถกเถียงกันว่า 'ไม่เป็นธรรม' . ระบบอเมริกาและโลกตะวันตกไม่เป็นแบบนั้น ลิขสิทธิ์ตัวบทประพันธ์เพลงโดยทั่วไปจะอยู่กับตัวผู้แต่งเพลงเสมอ ทำให้คนเหล่านี้ใช้เพลงที่ตนเองแต่งไปเล่นสดได้เสมอแบบไม่ต้องขออนุญาตใคร หรือถ้าแตกกับค่ายเพลงเดิม ก็ยังสามารถนำเพลงตัวเองมาบันทึกเสียงใหม่ให้เป็นของตัวเองโดยตรงได้ ดังในกรณีที่โด่งดังของ Taylor Swift . ลิขสิทธิ์เป็นของนักแต่งเพลงมีข้อดีในแบบที่ว่ามานี้เอง แต่จากมุมผู้อื่นที่ต้องการนำเอาบทประพันธ์เพลงไปใช้ มันจะยุ่งยากมาก คือต้องไปขอนักแต่งเพลงโดยตรงจึงจะไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ ทั้งนี้อยากลองให้นึกถึงสมัยก่อนที่ไม่มีเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารแบบปัจจุบัน เราจะไปตามตัวขอใช้บทเพลงยังไง? ไม่ต้องพูดถึงเพลงในประเทศอื่น เพราะแค่เพลงในประเทศตัวเองยังยากเลย เพราะถึงเรารู้ว่าใครเป็นคนแต่งเพลงนี้ๆ เราก็ไม่รู้ว่าจะติดต่อเขาได้อย่างไรอยู่ดี . จึงทำให้เกิดระบบ 'สมาคมเก็บค่าลิขสิทธิ์บทประพันธ์เพลงเพื่อการแสดง' (Performance Right Society) ขึ้นมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 ระบบนี้ก็ง่ายๆ คือพวกนักแต่งเพลงก็ไปรวมตัวกันเป็นสมาคมและมอบอำนาจการ 'เก็บค่าลิขสิทธิ์' ทั้งประเทศให้กับสมาคมฯ และสมาคมฯ ก็จะไปไล่เก็บค่าลิขสิทธิ์แล้วนำมาแจกจ่ายให้นักแต่งเพลงที่เป็นสมาชิกอีกที . บางคนอาจมีคำถามว่า เราจะเชื่อใจสมาคมฯ ได้อย่างไร? แต่ความเป็นจริงคือระบบนี้อยู่มาเกิน 100 ปี และประเทศส่วนใหญ่ในโลกก็จะเชื่อใจสมาคมฯ ในประเทศตัวเองให้ไปไล่เก็บค่าลิขสิทธิ์ให้ โดยแทบทุกประเทศในโลก สมาคมแบบนี้จะมีเพียงแห่งเดียว ทำให้ง่ายต่อการจัดการ ใครต้องการจะ 'เคลียร์ค่าลิขสิทธิ์เพลง’ ของนักแต่งเพลงในประเทศนี้ก็ติดต่อสมาคมฯ จบ สมาคมฯ ก็จะมีเรตมาให้ ถ้าโอเคก็ลุยต่อ ไม่โอเค ถ้าไม่ถอยเลย ก็อาจไปคุยกับตัวนักแต่งเพลงเจ้าของลิขสิทธิ์โดยตรงก็ได้ . และสมาคมฯ พวกนี้ในแต่ละประเทศก็จะมีดีลกันพอสมควร ทำให้การติดต่อเคลียร์ค่าลิขสิทธิ์เป็นไปโดยง่าย เช่นถ้าเราเป็นคนฝรั่งเศส อยากใช้เพลงของนักแต่งเพลงเยอรมัน เราก็ติดต่อ SACEM ของฝรั่งเศส แล้วเขาก็จะให้คอนแท็ก GEMA มา เป็นต้น . ระบบแบบนี้ก็ดำเนินไปเรื่อยๆ จนถึงจุดหนึ่งที่เทคโนโลยีเริ่มเปลี่ยน คือในตอนแรก 'สมาคมเก็บค่าลิขสิทธิ์บทประพันธ์เพลงเพื่อการแสดง' เป้าหมายหลักที่ตั้งมาแรกสุดตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 คือการเก็บเงินค่าลิขสิทธิ์บทประพันธ์เพลงตามร้านอาหารและร้านเหล้า ซึ่งมันเป็นสิ่งที่นักแต่งเพลงตามไปตรวจสอบและเก็บเองไม่ไหว เลยมอบอำนาจให้สมาคมฯ ไปจัดการแทน . แต่ในยุคปัจจุบัน บทประพันธ์เพลงไม่ได้ถูกใช้แค่เล่นตามร้านอาหารและร้านเหล้า แต่ยังถูกใช้ในโฆษณา ใช้ในหนัง ไปจนถึงใช้ในรายการทีวี ซึ่งเราไม่ต้องมีความรู้อะไรก็น่าจะพอเดาออกว่ามูลค่าทางเศรษฐกิจของกิจกรรมพวกนี้มันสูงมาก จึงทำให้บรรดานักแต่งเพลงเริ่ม 'ถอนสิทธิ์' ในการดีลเพลงเพื่อใช้ในการทำสื่อต่างๆ จากสมาคมฯ แล้วนำมาจัดการเอง เพราะพวกนักแต่งเพลงคิดว่าการดีลเองตรงๆ จะทำให้พวกเขาได้เงินเยอะกว่า และนี่เรากำลังพูดถึงอุตสาหกรรมดนตรีในยุค 'ขาลง' ที่ทุกฝ่ายต่างดิ้นรนหารายได้เพิ่ม . นี่จึงเป็นการตอบประเด็นที่ทั้ง หนึ่ง Mr. Drummer และ วิชัย มาตกุล พูดถึงว่าทำไมปัจจุบันลิขสิทธิ์ตัวบทประพันธ์เพลงฝั่งอเมริกาถึงดีลยาก และทำไมมันจึงแพงนัก . แต่มากกว่านั้น ในกรณีของ YouTube ที่ไม่สามารถดีลกับ 'สมาคมเก็บค่าลิขสิทธิ์บทประพันธ์เพลงเพื่อการแสดง' ได้ ก็เป็นภาพสะท้อนถึงปรากฏการณ์เดียวกัน คือพวกนักแต่งเพลงทั่วๆ ไปถึงจะโด่งดังแค่ไหน ก็มักจะไม่ห้าวหาญขนาดจะดีลกับ YouTube เองตรงๆ แต่เลือกดีลผ่านสมาคมฯ เหมือนเดิม เพราะดีลแบบนี้ 'อำนาจต่อรอง' มากกว่า แต่การที่ดีลไม่ผ่านล่าสุดที่เป็นข่าว ถ้าให้เดาก็คือ YouTube น่าจะยืนยันขอจ่ายค่าลิขสิทธิ์บทประพันธ์เพลงเท่าเดิมแบบที่เคยจ่ายทุกปี แต่ฝั่งสมาคมฯ นั้นไม่ยอมอีกแล้ว จะเอาค่าลิขสิทธิ์เพิ่ม เพราะสมาชิกเรียกร้องมา ดีลเลยล่ม YouTube เลยต้องถอนเพลงจำนวนมากที่เคลียร์ลิขสิทธิ์ส่วนบทประพันธ์เพลงไม่สำเร็จออกจากแพลตฟอร์ม (โดยมีข้อยกเว้นสำคัญคือพวกบันทึกการแสดงสด เพราะในระบบกฎหมายลิขสิทธิ์อเมริกา นักแต่งเพลงไม่มีอำนาจลิขสิทธิ์เหนือ 'บันทึกการแสดงสด' ของเพลงตัวเอง) . ดังนั้นสรุปง่ายๆ เรื่องราวของความติดขัดในการใช้บทเพลงทั้งหมด เกิดจากฝั่ง 'นักแต่งเพลง' เรียกร้องอำนาจ (และผลตอบแทน) ในการควบคุมลิขสิทธิ์บทเพลงตัวเองมากขึ้นนั่นเอง . ถ้าจะถามว่ามันถูกต้องและเป็นธรรมหรือไม่ เราอาจต้องเข้าสู่บทสนทนาทางปรัชญาและนโยบายสาธารณะเกี่ยวกับ 'สมดุล' ของลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญาโดยรวมๆ ซึ่งจะวุ่นวายมาก แต่สิ่งที่เดาได้เลยแบบไม่ต้องวิเคราะห์อะไรมากก็คือ ต่อจากนี้ไปจากมุมของไทย การใช้เพลงต่างประเทศจากฝั่งอเมริกาจะวุ่นวายและมีค่าใช้จ่ายเยอะมากๆ จนทั้งนักโฆษณา คนทำหนัง รวมถึงคนทำรายการทีวีจะหลีกเลี่ยงไม่ใช้กันอีก แบบที่เราเห็นในรายการ The Voice Thailand ปีนี้“ ที่มา : BrandThink https://www.facebook.com/share/8qKxnfVpQJ7WooWB/?mibextid=CTbP7E #Thaitimes
0 Comments 0 Shares 130 Views 0 Reviews