'วุฒิสภา' ยื้อประชามติ ดึงเกมแก้ รธน.รัฐบาลทำใจอาจใช้เวลา
.
การเดินเกมทางการเมืองของวุฒิสภาชุดนี้ภายใต้การนำของส.ว.สายสีน้ำเงินเริ่มมีความลึกลับและแหลมคมมากขึ้น ภายหลังคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่…) พ.ศ… มีมติแก้ไขเนื้อหาที่สำคัญ คือ การใช้ระบบเสียงข้างมากแบบสองชั้น กล่าวคือ กำหนดให้การทำประชามติเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ต้องมีผู้มาใช้สิทธิออกเสียงเป็นจำนวนเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิออกเสียง และมีจำนวนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้ออกมาใช้สิทธิออกเสียงในเรื่องที่ทำประชามติ
.
โดยตามขั้นตอนเมื่อมีการแก้ไขแล้วจะต้องมีการพิจารณากันในที่ประชุมวุฒิสภาวันที่ 30 กันยายน ต่อไป โดยนำมาซึ่งเสียงวิจารณ์เป็นอย่างมากถึงการกำหนดรูปแบบการออกเสียงดังกล่าว อย่างนางอังคณา นีละไพจิตร สว. กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยตั้งแต่แรก เพราะการใช้เสียงข้างมากสองชั้นนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้ โดยเฉพาะช่วงที่ทุกคนเห็นร่วมกันว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้มีความจำเป็นต้องแก้ไข แต่กลับมีคนเสนอมติดังกล่าว ทำให้สงสัยว่าเกิดอะไรขึ้น สว.มีอิสระจริงหรือไม่
.
“ยืนยันชัดเจนว่าดิฉันไม่อาจจะเห็นด้วยได้ เพราะการกลับมติที่เคยมี การไม่เห็นด้วยกับร่างสส. จะทำให้ร่างพ.ร.บ.ประชามติล่าช้า ไม่ทันการเลือกตั้ง อบจ.เดือนกุมภาพันธ์ ไม่ทันการแก้ไขรัฐธรรมนูญในรัฐบาลชุดนี้ที่แถลงไว้ชัดเจนว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่หากตั้งแต่จุดเริ่มต้นคือพ.ร.บ.ประชามติไม่ผ่านก็จบ ถามว่าประชาชนจะได้ประโยชน์อะไร” นางอังคณา กล่าว
.
ไม่เว้นแม้แต่ฝ่ายรัฐบาลที่ก็มองว่าอาจต้องเพิ่มกระบวนการทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติเข้าไปอีก โดยนายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล ระบุว่า ส่วนตัวไม่ขอวิจารณ์การทำงานของส.ว. แต่หากที่สุดแล้วที่ประชุมส.ว.มีมติอะไรต่างจากร่างกฎหมายที่สภาผู้แทนราษฎรเสนอ ก็ต้องตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันทั้งสองสภา เพื่อให้ได้กฎหมายที่มีความเห็นร่วมของทั้งสองสภา อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้การดำเนินการอะไรในสภาฯ ต้องให้หัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาลคุยกันก่อน เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่าจะเสนอกฎหมายอะไร อย่างไร เพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน จากนั้นจึงนำเข้าสู่ที่ประชุมวิปรัฐบาลเพื่อเป็นมติ จะได้ไม่มีปัญหาอีก แต่ตนเชื่อว่าทุกอย่างจะจบได้ด้วยการเจรจา
............
Sondhi X
'วุฒิสภา' ยื้อประชามติ ดึงเกมแก้ รธน.รัฐบาลทำใจอาจใช้เวลา . การเดินเกมทางการเมืองของวุฒิสภาชุดนี้ภายใต้การนำของส.ว.สายสีน้ำเงินเริ่มมีความลึกลับและแหลมคมมากขึ้น ภายหลังคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่…) พ.ศ… มีมติแก้ไขเนื้อหาที่สำคัญ คือ การใช้ระบบเสียงข้างมากแบบสองชั้น กล่าวคือ กำหนดให้การทำประชามติเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ต้องมีผู้มาใช้สิทธิออกเสียงเป็นจำนวนเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิออกเสียง และมีจำนวนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้ออกมาใช้สิทธิออกเสียงในเรื่องที่ทำประชามติ . โดยตามขั้นตอนเมื่อมีการแก้ไขแล้วจะต้องมีการพิจารณากันในที่ประชุมวุฒิสภาวันที่ 30 กันยายน ต่อไป โดยนำมาซึ่งเสียงวิจารณ์เป็นอย่างมากถึงการกำหนดรูปแบบการออกเสียงดังกล่าว อย่างนางอังคณา นีละไพจิตร สว. กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยตั้งแต่แรก เพราะการใช้เสียงข้างมากสองชั้นนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้ โดยเฉพาะช่วงที่ทุกคนเห็นร่วมกันว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้มีความจำเป็นต้องแก้ไข แต่กลับมีคนเสนอมติดังกล่าว ทำให้สงสัยว่าเกิดอะไรขึ้น สว.มีอิสระจริงหรือไม่ . “ยืนยันชัดเจนว่าดิฉันไม่อาจจะเห็นด้วยได้ เพราะการกลับมติที่เคยมี การไม่เห็นด้วยกับร่างสส. จะทำให้ร่างพ.ร.บ.ประชามติล่าช้า ไม่ทันการเลือกตั้ง อบจ.เดือนกุมภาพันธ์ ไม่ทันการแก้ไขรัฐธรรมนูญในรัฐบาลชุดนี้ที่แถลงไว้ชัดเจนว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่หากตั้งแต่จุดเริ่มต้นคือพ.ร.บ.ประชามติไม่ผ่านก็จบ ถามว่าประชาชนจะได้ประโยชน์อะไร” นางอังคณา กล่าว . ไม่เว้นแม้แต่ฝ่ายรัฐบาลที่ก็มองว่าอาจต้องเพิ่มกระบวนการทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติเข้าไปอีก โดยนายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล ระบุว่า ส่วนตัวไม่ขอวิจารณ์การทำงานของส.ว. แต่หากที่สุดแล้วที่ประชุมส.ว.มีมติอะไรต่างจากร่างกฎหมายที่สภาผู้แทนราษฎรเสนอ ก็ต้องตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันทั้งสองสภา เพื่อให้ได้กฎหมายที่มีความเห็นร่วมของทั้งสองสภา อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้การดำเนินการอะไรในสภาฯ ต้องให้หัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาลคุยกันก่อน เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่าจะเสนอกฎหมายอะไร อย่างไร เพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน จากนั้นจึงนำเข้าสู่ที่ประชุมวิปรัฐบาลเพื่อเป็นมติ จะได้ไม่มีปัญหาอีก แต่ตนเชื่อว่าทุกอย่างจะจบได้ด้วยการเจรจา ............ Sondhi X
Like
3
0 Comments 0 Shares 1019 Views 0 Reviews