ฟินแลนด์เตรียมส่งคืน“แพนด้ายักษ์คู่”ชื่อ”ลูมิและพีรี“กลับจีน อ้างแบกรับค่าดูแลปีละ1.5ล้านยูโรไม่ไหว

27 กันยายน 2567- สื่อบีบีซีรายงานข่าวว่าสวนสัตว์อาห์ตารีในประเทศฟินแลนด์ เปิดเผยว่าจะส่งคืน “แพนด้ายักษ์” 2 ตัวกลับไปยังประเทศจีน เร็วกว่ากำหนดส่งคืนถึง 8 ปีเพราะทางสวนสัตว์แบกรับค่าใช้จ่ายมหาศาลไม่ไหว

“ลูมิ”(Lumi : Jin Bao Bao) และ “พีรี”(Pyry: Hua Bao) แพนด้ายักษ์คู่ผัวตัวเมียที่มาอยู่ที่สวนสัตว์แห่งนี้ตั้งแต่ปี 2561 ตามข้อตกลงคุ้มครองสัตว์ที่ทั้งสองประเทศลงนามกันไว้ โดยจีนจะให้แพนด้าอยู่ในฟินแลนด์เป็นเวลา 15 ปี ถึงปี 2576 แต่สวนสัตว์อาห์ตารีขอส่งคืนในเดือนพ.ย.2567 ที่จะถึงนี้ เพราะพิษเศรษฐกิจค่าเงินเฟ้อในยุโรป ประกอบกับหนี้สินท่วมท้นจากผลพวงของการระบาดของโรคโควิด-19

รายงานข่าวระบุว่าสวนสัตว์ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายสำหรับดูแลแพนด้ายักษ์สองตัวประมาณ 1.5 ล้านยูโรต่อปี (หรือราวๆ 54 ล้านบาท) ไม่รวมค่าใช้จ่ายในส่วนจัดแสดงอีก 8 ล้านยูโร (ประมาณ 290 ล้านบาท)

นายมาร์โก ฮาปาโคสกี ผู้อำนวยการสวนสัตว์อาห์ตารี กล่าวว่าค่าดูแลแพนด้ายักษ์ต่อปีสูงกว่าค่าดูแลสัตว์อื่นๆ ทุกชนิดรวมกันเสียอีก การดูแลแพนด้ายังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ดูแลตลอด 24 ชั่วโมง ค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายให้จีนและค่านำเข้าไม้ไผ่

การตัดสินใจดังกล่าวจึงเป็นผลดีต่อสวนสัตว์เพราะค่าใช้จ่ายดูแลแพนด้ายักษ์นั้นแพงมาก แม้การมีแพนด้าจะดีและน่าเสียดายที่ต้องส่งคืนก็ตาม อีกเหตุผลหนึ่งคือเมื่อปีที่แล้วรัฐบาลฟินแลนด์ไม่อนุมัติเงินอุดหนุนเพราะคิดว่าแพนด้าจะดึงดูดนักท่องเที่ยวและทำให้สวนสัตว์มีรายได้เพิ่ม แต่ความจริงกลับตรงกันข้าม

ด้วยเหตุนี้สวนสัตว์จึงเริ่มเจรจากับหน่วยงานในจีนเมื่อปีที่ผ่านมาและจะส่งแพนด้ากลับบ้านเกิดซึ่งลูมิและพีรีจะต้องกักตัวเป็นเวลา 1 เดือนก่อนเดินทางกลับด้วยเรือ

ด้านโฆษกกระทรวงการต่างประเทศฟินแลนด์กล่าวว่าการส่งกลับแพนด้าเป็นการตัดสินใจของภาคเอกชนและไม่ได้เกี่ยวข้องกับภาครัฐ ดังนั้นจึงไม่กระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างฟินแลนด์และจีน
ส่วนสถานเอกอัครราชทูตจีนในฟินแลนด์กล่าวว่าจีนพยายามหาทางช่วยเหลือสวนสัตว์แล้ว แต่ในที่สุดก็ได้ข้อตกลงร่วมกันว่าควรส่งกลับจีน

ทั้งนี้ จีนส่งแพนด้าไปให้สวนสัตว์ในต่างประเทศจัดแสดงเพื่อเป็นการกระชับความสัมพันธ์ทางการค้า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เรียกได้ว่าเป็น “การทูตเชิงแพนด้า”

ที่มา https://www.bbc.com/news/articles/cd0z289ervmo

#Thaitimes
ฟินแลนด์เตรียมส่งคืน“แพนด้ายักษ์คู่”ชื่อ”ลูมิและพีรี“กลับจีน อ้างแบกรับค่าดูแลปีละ1.5ล้านยูโรไม่ไหว 27 กันยายน 2567- สื่อบีบีซีรายงานข่าวว่าสวนสัตว์อาห์ตารีในประเทศฟินแลนด์ เปิดเผยว่าจะส่งคืน “แพนด้ายักษ์” 2 ตัวกลับไปยังประเทศจีน เร็วกว่ากำหนดส่งคืนถึง 8 ปีเพราะทางสวนสัตว์แบกรับค่าใช้จ่ายมหาศาลไม่ไหว “ลูมิ”(Lumi : Jin Bao Bao) และ “พีรี”(Pyry: Hua Bao) แพนด้ายักษ์คู่ผัวตัวเมียที่มาอยู่ที่สวนสัตว์แห่งนี้ตั้งแต่ปี 2561 ตามข้อตกลงคุ้มครองสัตว์ที่ทั้งสองประเทศลงนามกันไว้ โดยจีนจะให้แพนด้าอยู่ในฟินแลนด์เป็นเวลา 15 ปี ถึงปี 2576 แต่สวนสัตว์อาห์ตารีขอส่งคืนในเดือนพ.ย.2567 ที่จะถึงนี้ เพราะพิษเศรษฐกิจค่าเงินเฟ้อในยุโรป ประกอบกับหนี้สินท่วมท้นจากผลพวงของการระบาดของโรคโควิด-19 รายงานข่าวระบุว่าสวนสัตว์ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายสำหรับดูแลแพนด้ายักษ์สองตัวประมาณ 1.5 ล้านยูโรต่อปี (หรือราวๆ 54 ล้านบาท) ไม่รวมค่าใช้จ่ายในส่วนจัดแสดงอีก 8 ล้านยูโร (ประมาณ 290 ล้านบาท) นายมาร์โก ฮาปาโคสกี ผู้อำนวยการสวนสัตว์อาห์ตารี กล่าวว่าค่าดูแลแพนด้ายักษ์ต่อปีสูงกว่าค่าดูแลสัตว์อื่นๆ ทุกชนิดรวมกันเสียอีก การดูแลแพนด้ายังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ดูแลตลอด 24 ชั่วโมง ค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายให้จีนและค่านำเข้าไม้ไผ่ การตัดสินใจดังกล่าวจึงเป็นผลดีต่อสวนสัตว์เพราะค่าใช้จ่ายดูแลแพนด้ายักษ์นั้นแพงมาก แม้การมีแพนด้าจะดีและน่าเสียดายที่ต้องส่งคืนก็ตาม อีกเหตุผลหนึ่งคือเมื่อปีที่แล้วรัฐบาลฟินแลนด์ไม่อนุมัติเงินอุดหนุนเพราะคิดว่าแพนด้าจะดึงดูดนักท่องเที่ยวและทำให้สวนสัตว์มีรายได้เพิ่ม แต่ความจริงกลับตรงกันข้าม ด้วยเหตุนี้สวนสัตว์จึงเริ่มเจรจากับหน่วยงานในจีนเมื่อปีที่ผ่านมาและจะส่งแพนด้ากลับบ้านเกิดซึ่งลูมิและพีรีจะต้องกักตัวเป็นเวลา 1 เดือนก่อนเดินทางกลับด้วยเรือ ด้านโฆษกกระทรวงการต่างประเทศฟินแลนด์กล่าวว่าการส่งกลับแพนด้าเป็นการตัดสินใจของภาคเอกชนและไม่ได้เกี่ยวข้องกับภาครัฐ ดังนั้นจึงไม่กระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างฟินแลนด์และจีน ส่วนสถานเอกอัครราชทูตจีนในฟินแลนด์กล่าวว่าจีนพยายามหาทางช่วยเหลือสวนสัตว์แล้ว แต่ในที่สุดก็ได้ข้อตกลงร่วมกันว่าควรส่งกลับจีน ทั้งนี้ จีนส่งแพนด้าไปให้สวนสัตว์ในต่างประเทศจัดแสดงเพื่อเป็นการกระชับความสัมพันธ์ทางการค้า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เรียกได้ว่าเป็น “การทูตเชิงแพนด้า” ที่มา https://www.bbc.com/news/articles/cd0z289ervmo #Thaitimes
Like
1
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1002 มุมมอง 0 รีวิว