ไทยเป็นปลายทางขยะโลก!? (ตอน 2: ข้อมูลชี้...การนำเข้าขยะพุ่งและมีมากมายหลายชนิด)
.
จากกรณีพบขยะเทศบาลในตู้คอนเทนเนอร์สินค้าที่บริษัท เอสซีจี อินเตอร์เนชั่นแนล คอร์ปอเรชั่น จำกัด เป็นผู้นำเข้าจากประเทศสหรัฐอเมริกา โดยที่มีการสำแดงว่าเป็นเศษกระดาษ เรื่องดังกล่าว กรมศุลกากรไม่ได้เปิดเผยสู่สาธารณะ แต่ด้วยข้อมูลที่เล็ดลอดออกมา ทำให้มีสื่อมวลชนบางสำนักหยิบมานำเสนอ เหตุการณ์ที่มีลักษณะเป็นการลักลอบนี้จึงได้เผยตัวสู่สาธารณะ
.
ในทางลึกมีข้อมูลว่า เฉพาะในรอบปีนี้ ซึ่งนับตามจำนวนเวลาก็คือประมาณ 7 เดือน มีการตรวจพบปัญหาลักษณะเดียวกันของผู้นำเข้ารายนี้มาแล้วถึง 3 ครั้ง
.
สิ่งที่เกิดขึ้นนี้เป็นมิติของการลักลอบ ซึ่งมักไม่มีการเปิดเผยข้อมูลออกมาอย่างชัดเจน ส่วนในมิติที่มีข้อมูลสถิติเป็นทางการ เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะนิเวศ ได้นำเสนอผ่านการแถลงข่าวร่วมกับกรรณิการ์ กิจติเวชกุล รองประธานกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch) ในหัวข้อ “เมื่อขยะโลกหลั่งไหลเข้าไทย เราจะรอดพ้นจากสถานการณ์ดังกล่าวได้อย่างไร” เมื่อวันที่ 13 กันยายน ที่ผ่านมา ระบุว่า
.
“จากการติดตามปัญหาการส่งออกขยะในหมู่ประเทศสมาชิกของอียู (สหภาพยุโรป) ตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นมา ได้มีการส่งขยะกลุ่มนี้เข้ามายังประเทศไทยสูงทีเดียว ประเทศไทยกลายเป็นปลายทางของการส่งออกขยะกระดาษและกระดาษแข็ง เป็นอันดับ 3 ในภูมิภาคนี้ รองจากอินโดนีเซียและเวียดนาม นอกจากนี้ไทยยังเป็นปลายทางอันดับ 4 ของขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่นำเข้าจากสหภาพยุโรป รองมาจากอินโดนีเซีย เวียดนาม และมาเลเซีย”
.
ตามสถิติของกรมศุลกากรที่เพ็ญโฉมค้นมานำเสนอ ไม่มีการแสดงปริมาณการนำเข้าของเสียเหล่านั้น แต่ได้แสดงเป็นมูลค่า ซึ่งในส่วนของเศษกระดาษมีมูลค่าสูงถึงระดับมากกว่า 10,000 ล้านบาทต่อปี ในขณะที่ประเภทส่วนประกอบทางไฟฟ้าของเครื่องจักรและอุปกรณ์ ที่เพ็ญโฉมบอกว่าเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์นั้น มูลค่าในแต่ละปีสูงประมาณ 4,000-5,000 ล้านบาท
.
“เราจะเห็นว่าการนำเข้าขยะกระดาษและขยะอิล็กทรอนิกส์ ซึ่งแม้ว่าประเทศไทยจะมีกฎหมายห้ามนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์แล้ว แต่ยังมีพิกัดหนึ่งที่เป็นตัวรวมของขยะอิเล็กทรอนิกส์หลายประเภทและเศษโลหะที่นำเข้ามา เศษพลาสติกบางอย่างที่ปนเข้ามาในพิกัด 8548 จะเห็นว่า ถ้าดูจากกราฟ สหรัฐอเมริกาคือประเทศที่ส่งออกขยะกลุ่มนี้มายังประเทศไทยสูงที่สุด ถ้าเทียบกับประเทศอื่นๆ”
.
ไม่เพียงพิกัด 8548 แต่พิกัด 4704 ที่เป็นรายการเศษกระดาษ คิดจากมูลค่าการนำเข้าสูงสุดก็มีต้นทางมาจากประเทศสหรัฐฯ เช่นเดียวกัน ส่วนลำดับรองลงมาได้แก่สหราชอาณาจักรและญี่ปุ่น ในขณะที่ประเทศลำดับรองที่ส่งออกขยะพิกัด 8548 มาไทยในมูลค่าที่สูงรองจากสหรัฐฯ ได้แก่จีนและญี่ปุ่น
.
นอกจากนั้น เพ็ญโฉมยังเปิดเผยข้อมูลในส่วนของขยะหรือกากของเสียอุตสาหกรรม โดยยกสถิติเกี่ยวกับเศษอะลูมิเนียมมานำเสนอด้วย
.
“อะลูมิเนียมดรอส ยกตัวอย่างปี 2560 - 2567 ประเทศไทยมีการนำเข้าอะลูมิเนียม ซึ่งตัวที่เป็นปัญหา ไม่ว่าจะกรณีที่พบที่วินโพรเสส นครปฐม และอีกหลายที่ เราจะเรียกว่า อะลูมิเนียมดรอส ซึ่งคือกากอะลูมิเนียม แต่เวลาแสดงพิกัดการนำเข้า จะเรียกว่าเป็นผงอะลูมีเนียม หรือเป็นเศษชิ้นส่วนอะลูมิเนียม พวกนี้สามารถนำเข้ามาได้ และมีการนำเข้าเยอะทีเดียว จากปี 2560 – 2567 เป็นปริมาณหลายล้านตัน
.
“อย่างการนำเข้ากาก/เศษอะลูมิเนียม ปี 67 จากมกราคม - มิถุนายน ครึ่งปี มีการนำเข้ามาถึง 335 ล้านกิโลกรัม หรืออย่างตัวผงและเกล็ดอะลูมิเนียม เพียงครึ่งปีนี้ก็นำเข้ามากว่า 580,000 กิโลกรัม แต่บางปีก็มีการนำเข้ามากกว่านั้น ซึ่งเราคิดว่า การนำเข้าผงอะลูมิเนียมจากปี 60-67 แนวโน้มมันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คำถามว่า นำเข้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะอะไร อันนี้เราคิดว่าต้องย้อนมาดูนโยบายเรื่องการส่งเสริมกิจการรีไซเคิลและเศรษฐกิจหมุนเวียน”
.
อย่างไรก็ตาม สำหรับประเด็นมิตินโยบาย เราจะนำเสนอในตอนต่อๆ ไป
...
...
เรียบเรียงโดย ปานรักษ์ วัฒกะวงศ์ มูลนิธิบูรณะนิเวศ

อ่านตอนที่ 1 ไทยเป็นปลายทางขยะโลก!? (ตอน 1: ทวงถามความรับผิดชอบ กรณีนำเข้าเศษกระดาษ แต่มี “ขยะเทศบาล” ปนมาด้วย)
https://shorturl.asia/k2SJG

#Thaitimes
ไทยเป็นปลายทางขยะโลก!? (ตอน 2: ข้อมูลชี้...การนำเข้าขยะพุ่งและมีมากมายหลายชนิด) . จากกรณีพบขยะเทศบาลในตู้คอนเทนเนอร์สินค้าที่บริษัท เอสซีจี อินเตอร์เนชั่นแนล คอร์ปอเรชั่น จำกัด เป็นผู้นำเข้าจากประเทศสหรัฐอเมริกา โดยที่มีการสำแดงว่าเป็นเศษกระดาษ เรื่องดังกล่าว กรมศุลกากรไม่ได้เปิดเผยสู่สาธารณะ แต่ด้วยข้อมูลที่เล็ดลอดออกมา ทำให้มีสื่อมวลชนบางสำนักหยิบมานำเสนอ เหตุการณ์ที่มีลักษณะเป็นการลักลอบนี้จึงได้เผยตัวสู่สาธารณะ . ในทางลึกมีข้อมูลว่า เฉพาะในรอบปีนี้ ซึ่งนับตามจำนวนเวลาก็คือประมาณ 7 เดือน มีการตรวจพบปัญหาลักษณะเดียวกันของผู้นำเข้ารายนี้มาแล้วถึง 3 ครั้ง . สิ่งที่เกิดขึ้นนี้เป็นมิติของการลักลอบ ซึ่งมักไม่มีการเปิดเผยข้อมูลออกมาอย่างชัดเจน ส่วนในมิติที่มีข้อมูลสถิติเป็นทางการ เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะนิเวศ ได้นำเสนอผ่านการแถลงข่าวร่วมกับกรรณิการ์ กิจติเวชกุล รองประธานกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch) ในหัวข้อ “เมื่อขยะโลกหลั่งไหลเข้าไทย เราจะรอดพ้นจากสถานการณ์ดังกล่าวได้อย่างไร” เมื่อวันที่ 13 กันยายน ที่ผ่านมา ระบุว่า . “จากการติดตามปัญหาการส่งออกขยะในหมู่ประเทศสมาชิกของอียู (สหภาพยุโรป) ตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นมา ได้มีการส่งขยะกลุ่มนี้เข้ามายังประเทศไทยสูงทีเดียว ประเทศไทยกลายเป็นปลายทางของการส่งออกขยะกระดาษและกระดาษแข็ง เป็นอันดับ 3 ในภูมิภาคนี้ รองจากอินโดนีเซียและเวียดนาม นอกจากนี้ไทยยังเป็นปลายทางอันดับ 4 ของขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่นำเข้าจากสหภาพยุโรป รองมาจากอินโดนีเซีย เวียดนาม และมาเลเซีย” . ตามสถิติของกรมศุลกากรที่เพ็ญโฉมค้นมานำเสนอ ไม่มีการแสดงปริมาณการนำเข้าของเสียเหล่านั้น แต่ได้แสดงเป็นมูลค่า ซึ่งในส่วนของเศษกระดาษมีมูลค่าสูงถึงระดับมากกว่า 10,000 ล้านบาทต่อปี ในขณะที่ประเภทส่วนประกอบทางไฟฟ้าของเครื่องจักรและอุปกรณ์ ที่เพ็ญโฉมบอกว่าเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์นั้น มูลค่าในแต่ละปีสูงประมาณ 4,000-5,000 ล้านบาท . “เราจะเห็นว่าการนำเข้าขยะกระดาษและขยะอิล็กทรอนิกส์ ซึ่งแม้ว่าประเทศไทยจะมีกฎหมายห้ามนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์แล้ว แต่ยังมีพิกัดหนึ่งที่เป็นตัวรวมของขยะอิเล็กทรอนิกส์หลายประเภทและเศษโลหะที่นำเข้ามา เศษพลาสติกบางอย่างที่ปนเข้ามาในพิกัด 8548 จะเห็นว่า ถ้าดูจากกราฟ สหรัฐอเมริกาคือประเทศที่ส่งออกขยะกลุ่มนี้มายังประเทศไทยสูงที่สุด ถ้าเทียบกับประเทศอื่นๆ” . ไม่เพียงพิกัด 8548 แต่พิกัด 4704 ที่เป็นรายการเศษกระดาษ คิดจากมูลค่าการนำเข้าสูงสุดก็มีต้นทางมาจากประเทศสหรัฐฯ เช่นเดียวกัน ส่วนลำดับรองลงมาได้แก่สหราชอาณาจักรและญี่ปุ่น ในขณะที่ประเทศลำดับรองที่ส่งออกขยะพิกัด 8548 มาไทยในมูลค่าที่สูงรองจากสหรัฐฯ ได้แก่จีนและญี่ปุ่น . นอกจากนั้น เพ็ญโฉมยังเปิดเผยข้อมูลในส่วนของขยะหรือกากของเสียอุตสาหกรรม โดยยกสถิติเกี่ยวกับเศษอะลูมิเนียมมานำเสนอด้วย . “อะลูมิเนียมดรอส ยกตัวอย่างปี 2560 - 2567 ประเทศไทยมีการนำเข้าอะลูมิเนียม ซึ่งตัวที่เป็นปัญหา ไม่ว่าจะกรณีที่พบที่วินโพรเสส นครปฐม และอีกหลายที่ เราจะเรียกว่า อะลูมิเนียมดรอส ซึ่งคือกากอะลูมิเนียม แต่เวลาแสดงพิกัดการนำเข้า จะเรียกว่าเป็นผงอะลูมีเนียม หรือเป็นเศษชิ้นส่วนอะลูมิเนียม พวกนี้สามารถนำเข้ามาได้ และมีการนำเข้าเยอะทีเดียว จากปี 2560 – 2567 เป็นปริมาณหลายล้านตัน . “อย่างการนำเข้ากาก/เศษอะลูมิเนียม ปี 67 จากมกราคม - มิถุนายน ครึ่งปี มีการนำเข้ามาถึง 335 ล้านกิโลกรัม หรืออย่างตัวผงและเกล็ดอะลูมิเนียม เพียงครึ่งปีนี้ก็นำเข้ามากว่า 580,000 กิโลกรัม แต่บางปีก็มีการนำเข้ามากกว่านั้น ซึ่งเราคิดว่า การนำเข้าผงอะลูมิเนียมจากปี 60-67 แนวโน้มมันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คำถามว่า นำเข้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะอะไร อันนี้เราคิดว่าต้องย้อนมาดูนโยบายเรื่องการส่งเสริมกิจการรีไซเคิลและเศรษฐกิจหมุนเวียน” . อย่างไรก็ตาม สำหรับประเด็นมิตินโยบาย เราจะนำเสนอในตอนต่อๆ ไป ... ... เรียบเรียงโดย ปานรักษ์ วัฒกะวงศ์ มูลนิธิบูรณะนิเวศ อ่านตอนที่ 1 ไทยเป็นปลายทางขยะโลก!? (ตอน 1: ทวงถามความรับผิดชอบ กรณีนำเข้าเศษกระดาษ แต่มี “ขยะเทศบาล” ปนมาด้วย) https://shorturl.asia/k2SJG #Thaitimes
Like
2
0 Comments 0 Shares 680 Views 0 Reviews