อนุรา กุมาร ดิสสานายาเก สส.จากพรรคมาร์กซิสต์ ชนะเลือกตั้งประธานาธิบดีศรีลังกา สามารถโค่น นายนรานิล วิกรมสิงห์ ประธานาธิบดีคนปัจจุบันออกไปได้

22 กันยายน 2567-รายงานข่าวเอพีระบุว่า นายดิสซานายาเกรณรงค์หาเสียงสนับสนุนจากชนชั้นแรงงานและต่อต้านชนชั้นนำทางการเมือง ทำให้เขาเป็นที่นิยมในหมู่คนรุ่นหนุ่มสาว เป็นผู้ชนะการเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงร้อยละ 39 ตามมาด้วยนายสาจิธ เปรมทาสา ผู้นำฝ่ายค้านได้คะแนนร้อยละ 34 ตามผลการนับคะแนนที่เผยแพร่โดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง

การเลือกตั้งจัดขึ้นในวันเสาร์ที่21 กันยายนมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากประเทศกำลังพยายามฟื้นตัวจากวิกฤตเศรษฐกิจครั้งเลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์และ ความวุ่นวายทางการเมืองที่เกิดขึ้นตามมาโดยมีผู้สมัคร 38 คนลงแข่งขัน แต่โดยส่วนใหญ่จะเน้นที่ผู้สมัครสามคนคือ Dissanayake, Wickremesinghe และPremadasa

สำหรับนาย ดิสสานายาเก วัย 55 ปี เป็นผู้นำของกลุ่มแนวร่วมฝ่ายซ้ายที่เรียกว่า National People's Power ซึ่งเป็นกลุ่มพันธมิตรที่ประกอบด้วยกลุ่มประชาสังคม นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญ พระสงฆ์ และนักศึกษาหัวก้าวหน้า

เมื่อปี 2562 นาย ดิสซานายาเกะ ลงสมัครการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งก่อนเคะแนได้เสียงเพียง 3% ผิดกับวันนี้ที่ได้คะแนนเสียงถึง 39%ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง17ล้านคน ถือเป็นผลงานที่แข็งแกร่ง และบ่งชี้ว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งเริ่มเบื่อหน่ายกับนโยบายเดิม ซึ่งถูกกล่าวหาว่าผลักให้เศรษฐกิจไม่มั่นคง

วิกฤตเศรษฐกิจของศรีลังกาเกิดจากการกู้ยืมเงินมากเกินไปสำหรับโครงการที่ไม่สร้างรายได้ ผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 และความดื้อรั้นของรัฐบาลในการใช้เงินสำรองต่างประเทศที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่อพยุงสกุลเงินรูปี ส่งผลให้เศรษฐกิจตกต่ำอย่างหนัก

ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำส่งผลให้ขาดแคลนสิ่งจำเป็น เช่น ยาอาหาร แก๊สหุงต้ม และเชื้อเพลิงอย่างรุนแรง ทำให้ประชาชนต้องยืนรอคิวเป็นเวลานานหลายวันเพื่อซื้อสิ่งของเหล่านี้ ส่งผลให้เกิดการจลาจล ผู้ประท้วงบุกยึดอาคารสำคัญๆ รวมถึงบ้านของประธานาธิบดี สำนักงานของเขา และสำนักงานของนายกรัฐมนตรี จนทำให้โกตาบายา ราชปักษา ประธานาธิบดีในขณะนั้นต้องหลบหนีออกนอกประเทศและลาออก

วิกรมสิงห์ได้รับเลือกโดยการลงคะแนนเสียงของรัฐสภาในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2565 เพื่อดำรงตำแหน่งแทนราชปักษาในช่วงเวลาที่เหลือ

รัฐบาลวิกรมสิงห์ประกาศเมื่อวันพฤหัสบดีว่าได้ผ่านอุปสรรคสุดท้ายในการปรับโครงสร้างหนี้แล้วด้วยการบรรลุข้อตกลงในหลักการกับผู้ถือพันธบัตรเอกชน

ศรีลังกาผิดนัดชำระหนี้ ทั้งหนี้ในประเทศและต่างประเทศมียอดรวม 83,000 ล้านดอลลาร์ รัฐบาลระบุว่าขณะนี้ได้ปรับโครงสร้างหนี้แล้วมากกว่า 17,000 ล้านดอลลาร์

หากรัฐบาลใหม่ภายใต้การนำของ Dissanayake ที่กล่าวว่าเขาจะเจรจาข้อตกลงกับ IMF ใหม่เพื่อให้มาตรการรัดเข็มขัดมีความเหมาะสมมากขึ้น แต่รัฐบาลวิกรมสิงห์เตือนว่าการเคลื่อนไหวใดๆ ที่จะเปลี่ยนแปลงพื้นฐานของข้อตกลงอาจทำให้การอนุมัติเงินงวดที่ 4 มูลค่าเกือบ 3 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งมีความสำคัญต่อการรักษาเสถียรภาพล่าช้าออกไป

#Thaitimes
อนุรา กุมาร ดิสสานายาเก สส.จากพรรคมาร์กซิสต์ ชนะเลือกตั้งประธานาธิบดีศรีลังกา สามารถโค่น นายนรานิล วิกรมสิงห์ ประธานาธิบดีคนปัจจุบันออกไปได้ 22 กันยายน 2567-รายงานข่าวเอพีระบุว่า นายดิสซานายาเกรณรงค์หาเสียงสนับสนุนจากชนชั้นแรงงานและต่อต้านชนชั้นนำทางการเมือง ทำให้เขาเป็นที่นิยมในหมู่คนรุ่นหนุ่มสาว เป็นผู้ชนะการเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงร้อยละ 39 ตามมาด้วยนายสาจิธ เปรมทาสา ผู้นำฝ่ายค้านได้คะแนนร้อยละ 34 ตามผลการนับคะแนนที่เผยแพร่โดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง การเลือกตั้งจัดขึ้นในวันเสาร์ที่21 กันยายนมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากประเทศกำลังพยายามฟื้นตัวจากวิกฤตเศรษฐกิจครั้งเลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์และ ความวุ่นวายทางการเมืองที่เกิดขึ้นตามมาโดยมีผู้สมัคร 38 คนลงแข่งขัน แต่โดยส่วนใหญ่จะเน้นที่ผู้สมัครสามคนคือ Dissanayake, Wickremesinghe และPremadasa สำหรับนาย ดิสสานายาเก วัย 55 ปี เป็นผู้นำของกลุ่มแนวร่วมฝ่ายซ้ายที่เรียกว่า National People's Power ซึ่งเป็นกลุ่มพันธมิตรที่ประกอบด้วยกลุ่มประชาสังคม นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญ พระสงฆ์ และนักศึกษาหัวก้าวหน้า เมื่อปี 2562 นาย ดิสซานายาเกะ ลงสมัครการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งก่อนเคะแนได้เสียงเพียง 3% ผิดกับวันนี้ที่ได้คะแนนเสียงถึง 39%ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง17ล้านคน ถือเป็นผลงานที่แข็งแกร่ง และบ่งชี้ว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งเริ่มเบื่อหน่ายกับนโยบายเดิม ซึ่งถูกกล่าวหาว่าผลักให้เศรษฐกิจไม่มั่นคง วิกฤตเศรษฐกิจของศรีลังกาเกิดจากการกู้ยืมเงินมากเกินไปสำหรับโครงการที่ไม่สร้างรายได้ ผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 และความดื้อรั้นของรัฐบาลในการใช้เงินสำรองต่างประเทศที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่อพยุงสกุลเงินรูปี ส่งผลให้เศรษฐกิจตกต่ำอย่างหนัก ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำส่งผลให้ขาดแคลนสิ่งจำเป็น เช่น ยาอาหาร แก๊สหุงต้ม และเชื้อเพลิงอย่างรุนแรง ทำให้ประชาชนต้องยืนรอคิวเป็นเวลานานหลายวันเพื่อซื้อสิ่งของเหล่านี้ ส่งผลให้เกิดการจลาจล ผู้ประท้วงบุกยึดอาคารสำคัญๆ รวมถึงบ้านของประธานาธิบดี สำนักงานของเขา และสำนักงานของนายกรัฐมนตรี จนทำให้โกตาบายา ราชปักษา ประธานาธิบดีในขณะนั้นต้องหลบหนีออกนอกประเทศและลาออก วิกรมสิงห์ได้รับเลือกโดยการลงคะแนนเสียงของรัฐสภาในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2565 เพื่อดำรงตำแหน่งแทนราชปักษาในช่วงเวลาที่เหลือ รัฐบาลวิกรมสิงห์ประกาศเมื่อวันพฤหัสบดีว่าได้ผ่านอุปสรรคสุดท้ายในการปรับโครงสร้างหนี้แล้วด้วยการบรรลุข้อตกลงในหลักการกับผู้ถือพันธบัตรเอกชน ศรีลังกาผิดนัดชำระหนี้ ทั้งหนี้ในประเทศและต่างประเทศมียอดรวม 83,000 ล้านดอลลาร์ รัฐบาลระบุว่าขณะนี้ได้ปรับโครงสร้างหนี้แล้วมากกว่า 17,000 ล้านดอลลาร์ หากรัฐบาลใหม่ภายใต้การนำของ Dissanayake ที่กล่าวว่าเขาจะเจรจาข้อตกลงกับ IMF ใหม่เพื่อให้มาตรการรัดเข็มขัดมีความเหมาะสมมากขึ้น แต่รัฐบาลวิกรมสิงห์เตือนว่าการเคลื่อนไหวใดๆ ที่จะเปลี่ยนแปลงพื้นฐานของข้อตกลงอาจทำให้การอนุมัติเงินงวดที่ 4 มูลค่าเกือบ 3 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งมีความสำคัญต่อการรักษาเสถียรภาพล่าช้าออกไป #Thaitimes
Like
2
0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 893 มุมมอง 0 รีวิว