"เกาะโลซิน" เป็นเกาะหินปูนขนาดเล็ก ที่มีมูลค่าแสนล้าน ขึ้นอยู่กับจังหวัด ปัตตานี
ลักษณะของตัวเกาะโผล่พ้นน้ำขึ้นมาไม่เกิน 50 ตารางเมตร สภาพส่วนใหญ่เป็นหินล้วนไม่มีต้นไม้ใบหญ้า รอบเกาะน้ำตื้น หากจะขึ้นเกาะต้องนำเรือเล็กเข้าไป
บนเกาะมีประภาคาร ที่ส่งไฟสัญญาณเตือนอยู่บนยอด และตัวประภาคารตั้งอยู่บนหินโผล่น้ำที่มีขนาดประมาณ 10 เมตร
บริเวณรอบเกาะเป็นแหล่งปะการังที่อุดมสมบูรณ์กินพื้นที่ยาวหนึ่งกิโลเมตร มีพืชใต้น้ำและฝูงปลานานาชนิดโดยเฉพาะฉลามวาฬ ด้วยเหตุนี้เกาะโลซินเป็นที่นิยมของนักดำน้ำและนักตกปลา
และเพราะเกาะโลซินนี่เอง ทำให้เรามี 'น่านน้ำอาณาเขต' ขยายออกไปจากชายฝั่งอีก 22.2 กิโลเมตร
ในวิกิพีเดียอธิบายน่านน้ำอาณาเขต (Territorial Waters) หรือทะเลอาณาเขต (Territorial Sea) ว่าเป็นแนวน่านน้ำชายฝั่งวัดจากเส้นฐาน ปกติของน้ำทะเลในช่วงลงเต็มที่จนถึงปานกลางของชายฝั่งไปไกลสุดที่ 22.2 กิโลเมตร
พูดง่ายๆ ก็คือ ตำแหน่งไหนที่เป็นปลายทางที่อยู่ติดกับทะเลหรือในทะเล ถ้าใครได้เป็นเจ้าของ ประเทศนั้นก็จะได้ครอบครองน่านน้ำเพิ่มออกไปจากจุดนั้นอีก 22.2 กิโลเมตร รวมถึงบนฟ้าและใต้ดินที่อยู่ในอาณาเขตด้วย
ก็แปลว่าประเทศไทย นอกจากจะเป็นเจ้าของพื้นที่รูปขวานใน Map โลกแล้ว หลายๆ เกาะในที่อยู่ไกลจากผืนดินมากที่สุด บวกเพิ่มไปอีก 22.2 กิโลเมตร ก็นับเป็นโซนของประเทศไทยเหมือนกัน
นั่นแปลว่า พื้นที่ใต้น่านน้ำอาณาเขต หากมีทรัพยากรธรรมชาติ ยกตัวอย่างเช่น แหล่งก๊าซธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติใต้น้ำนั้นจะเป็นของประเทศนั้น ๆ
แต่ก่อนทั้งไทยและมาเลเซียต่างก็เคยออกมาอ้างสิทธิในพื้นที่ทะเล ทำให้เกิดข้อถกเถียงกันขึ้น จนต้องเจรจากันอย่างจริงจังใน พ.ศ. 2515 โดยมีข้อสรุปในครั้งนั้น คือ
แบ่งเขตแดนทางทะเลด้วยวิธีการลากเส้นตั้งฉากจากแนวโค้งของผืนดินแต่ละฝ่าย หรือเรียกว่าเขตไหล่ทวีปตามหลักสากล
การแบ่งด้วยวิธีนั้นทำให้พื้นที่แหล่งก๊าซธรรมชาติกลายเป็นของมาเลเซียทั้งหมด
แต่โชคดีของไทย ที่ยังมีเกาะโลซิน โดยไทยยืนยันว่าได้ก่อสร้างประภาคารไว้บนเกาะนี้เพื่อแสดงอาณาเขตไว้แล้ว
ตามอนุสัญญาเจนีวา กฎหมายทางทะเล ค.ศ.1958 ที่ไทยเป็นสมาชิกในอนุสัญญา ได้ระบุความหมายของเกาะไว้ว่า "แผ่นดินที่มีน้ำล้อมรอบ" ซึ่งหมายถึงเกาะที่เป็นหิน หรือกองหินโผล่จากน้ำขึ้นมาด้วย
ดังนั้น เกาะโลซินก็เลยกลายเป็นเกาะสุดท้ายของประเทศไทยที่ทำให้ฝ่ายมาเลเซียต้องยอมให้
ในปี 2522 ประเทศไทยและมาเลเซียเจรจาตกลงกำหนดพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลให้เป็นพื้นที่พัฒนาร่วม (Joint Development Area) ครอบคลุมประมาณ 7,250 ตร.กม. โดยตั้งองค์กรขึ้นมาบริหารจัดการร่วมกันแล้วแบ่งผลประโยชน์คนละครึ่ง เป็นระยะเวลา 50 ปี
เมื่อมีการสำรวจขุดเจาะก๊าซธรรมชาติขึ้นมาก็พบว่า แหล่งก๊าซที่มีปริมาณมากถึงราว 75% นั้น อยู่ในซีกพื้นที่ใกล้ชายฝั่งมาเลเซีย
แต่ไทยเราได้รับผลประโยชน์ไปด้วย เพราะ การอ้างอาณาเขตจากเกาะโลซินที่เป็นแค่กองหินเล็กๆ ขนาดไม่เกิน 50 ตร.ม. นั้นแหละ
จนหลายคนตั้งชื่อเกาะโลซินใหม่ว่า "กองหินแสนล้าน" ตามมูลค่าของแหล่งก๊าซธรรมชาติที่สำรวจพบใต้น่านน้ำอาณาเขตนั่นเอง
แต่ในปี 2572 ข้อตกลงเจรจาระหว่างไทย-มาเลเซีย ที่กำหนดพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลให้เป็นพื้นที่พัฒนาร่วมจะหมดอายุลง เกาะโลซินยังจะถูกเรียกเหมือนเดิมไหมไม่รู้ เพื่อนบ้านของเรา จะเปิดการเจรจาเพื่อตกลงผลประโยชน์ใหม่หรือเปล่า คงต้องรอกันจนถึงวันนั้น
และหากเรามาดูเป้าหมายของกลุ่มแบ่งแยกดินแดน ที่อยากจะแบ่งแยกตั้งตัวเองเป็นรัฐใหม่ ซึ่งประกอบไปด้วย ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และอีกสามอำเภอของสงขลา โดยตั้งเป้าเอาไว้ว่า
ในปี 2570 จะทำให้เกิดสงครามกลางเมือง จนแบ่งแยกดินแดนสำเร็จ ด้วยความช่วยเหลือจากนานาชาติ และนักการเมืองแนวร่วม ในปี 2580
ซึ่งหากกระทำการสำเร็จ เราจะไม่ได้เสียแค่ดินแดนบนผืนแผ่นดิน แต่เราจะสูญเสียเกาะโลซินที่รวมอยู่กับจังหวัดปัตตานี รวมถึงทรัพยากรแสนล้านใต้น่านน้ำอาณาเขต ที่เราได้จากการเป็นเจ้าของเกาะโลซินแห่งนี้ด้วยเช่นกัน
https://www.facebook.com/share/p/1BdTQSpXHd/?mibextid=wwXIfr
ลักษณะของตัวเกาะโผล่พ้นน้ำขึ้นมาไม่เกิน 50 ตารางเมตร สภาพส่วนใหญ่เป็นหินล้วนไม่มีต้นไม้ใบหญ้า รอบเกาะน้ำตื้น หากจะขึ้นเกาะต้องนำเรือเล็กเข้าไป
บนเกาะมีประภาคาร ที่ส่งไฟสัญญาณเตือนอยู่บนยอด และตัวประภาคารตั้งอยู่บนหินโผล่น้ำที่มีขนาดประมาณ 10 เมตร
บริเวณรอบเกาะเป็นแหล่งปะการังที่อุดมสมบูรณ์กินพื้นที่ยาวหนึ่งกิโลเมตร มีพืชใต้น้ำและฝูงปลานานาชนิดโดยเฉพาะฉลามวาฬ ด้วยเหตุนี้เกาะโลซินเป็นที่นิยมของนักดำน้ำและนักตกปลา
และเพราะเกาะโลซินนี่เอง ทำให้เรามี 'น่านน้ำอาณาเขต' ขยายออกไปจากชายฝั่งอีก 22.2 กิโลเมตร
ในวิกิพีเดียอธิบายน่านน้ำอาณาเขต (Territorial Waters) หรือทะเลอาณาเขต (Territorial Sea) ว่าเป็นแนวน่านน้ำชายฝั่งวัดจากเส้นฐาน ปกติของน้ำทะเลในช่วงลงเต็มที่จนถึงปานกลางของชายฝั่งไปไกลสุดที่ 22.2 กิโลเมตร
พูดง่ายๆ ก็คือ ตำแหน่งไหนที่เป็นปลายทางที่อยู่ติดกับทะเลหรือในทะเล ถ้าใครได้เป็นเจ้าของ ประเทศนั้นก็จะได้ครอบครองน่านน้ำเพิ่มออกไปจากจุดนั้นอีก 22.2 กิโลเมตร รวมถึงบนฟ้าและใต้ดินที่อยู่ในอาณาเขตด้วย
ก็แปลว่าประเทศไทย นอกจากจะเป็นเจ้าของพื้นที่รูปขวานใน Map โลกแล้ว หลายๆ เกาะในที่อยู่ไกลจากผืนดินมากที่สุด บวกเพิ่มไปอีก 22.2 กิโลเมตร ก็นับเป็นโซนของประเทศไทยเหมือนกัน
นั่นแปลว่า พื้นที่ใต้น่านน้ำอาณาเขต หากมีทรัพยากรธรรมชาติ ยกตัวอย่างเช่น แหล่งก๊าซธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติใต้น้ำนั้นจะเป็นของประเทศนั้น ๆ
แต่ก่อนทั้งไทยและมาเลเซียต่างก็เคยออกมาอ้างสิทธิในพื้นที่ทะเล ทำให้เกิดข้อถกเถียงกันขึ้น จนต้องเจรจากันอย่างจริงจังใน พ.ศ. 2515 โดยมีข้อสรุปในครั้งนั้น คือ
แบ่งเขตแดนทางทะเลด้วยวิธีการลากเส้นตั้งฉากจากแนวโค้งของผืนดินแต่ละฝ่าย หรือเรียกว่าเขตไหล่ทวีปตามหลักสากล
การแบ่งด้วยวิธีนั้นทำให้พื้นที่แหล่งก๊าซธรรมชาติกลายเป็นของมาเลเซียทั้งหมด
แต่โชคดีของไทย ที่ยังมีเกาะโลซิน โดยไทยยืนยันว่าได้ก่อสร้างประภาคารไว้บนเกาะนี้เพื่อแสดงอาณาเขตไว้แล้ว
ตามอนุสัญญาเจนีวา กฎหมายทางทะเล ค.ศ.1958 ที่ไทยเป็นสมาชิกในอนุสัญญา ได้ระบุความหมายของเกาะไว้ว่า "แผ่นดินที่มีน้ำล้อมรอบ" ซึ่งหมายถึงเกาะที่เป็นหิน หรือกองหินโผล่จากน้ำขึ้นมาด้วย
ดังนั้น เกาะโลซินก็เลยกลายเป็นเกาะสุดท้ายของประเทศไทยที่ทำให้ฝ่ายมาเลเซียต้องยอมให้
ในปี 2522 ประเทศไทยและมาเลเซียเจรจาตกลงกำหนดพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลให้เป็นพื้นที่พัฒนาร่วม (Joint Development Area) ครอบคลุมประมาณ 7,250 ตร.กม. โดยตั้งองค์กรขึ้นมาบริหารจัดการร่วมกันแล้วแบ่งผลประโยชน์คนละครึ่ง เป็นระยะเวลา 50 ปี
เมื่อมีการสำรวจขุดเจาะก๊าซธรรมชาติขึ้นมาก็พบว่า แหล่งก๊าซที่มีปริมาณมากถึงราว 75% นั้น อยู่ในซีกพื้นที่ใกล้ชายฝั่งมาเลเซีย
แต่ไทยเราได้รับผลประโยชน์ไปด้วย เพราะ การอ้างอาณาเขตจากเกาะโลซินที่เป็นแค่กองหินเล็กๆ ขนาดไม่เกิน 50 ตร.ม. นั้นแหละ
จนหลายคนตั้งชื่อเกาะโลซินใหม่ว่า "กองหินแสนล้าน" ตามมูลค่าของแหล่งก๊าซธรรมชาติที่สำรวจพบใต้น่านน้ำอาณาเขตนั่นเอง
แต่ในปี 2572 ข้อตกลงเจรจาระหว่างไทย-มาเลเซีย ที่กำหนดพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลให้เป็นพื้นที่พัฒนาร่วมจะหมดอายุลง เกาะโลซินยังจะถูกเรียกเหมือนเดิมไหมไม่รู้ เพื่อนบ้านของเรา จะเปิดการเจรจาเพื่อตกลงผลประโยชน์ใหม่หรือเปล่า คงต้องรอกันจนถึงวันนั้น
และหากเรามาดูเป้าหมายของกลุ่มแบ่งแยกดินแดน ที่อยากจะแบ่งแยกตั้งตัวเองเป็นรัฐใหม่ ซึ่งประกอบไปด้วย ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และอีกสามอำเภอของสงขลา โดยตั้งเป้าเอาไว้ว่า
ในปี 2570 จะทำให้เกิดสงครามกลางเมือง จนแบ่งแยกดินแดนสำเร็จ ด้วยความช่วยเหลือจากนานาชาติ และนักการเมืองแนวร่วม ในปี 2580
ซึ่งหากกระทำการสำเร็จ เราจะไม่ได้เสียแค่ดินแดนบนผืนแผ่นดิน แต่เราจะสูญเสียเกาะโลซินที่รวมอยู่กับจังหวัดปัตตานี รวมถึงทรัพยากรแสนล้านใต้น่านน้ำอาณาเขต ที่เราได้จากการเป็นเจ้าของเกาะโลซินแห่งนี้ด้วยเช่นกัน
https://www.facebook.com/share/p/1BdTQSpXHd/?mibextid=wwXIfr
"เกาะโลซิน" เป็นเกาะหินปูนขนาดเล็ก ที่มีมูลค่าแสนล้าน ขึ้นอยู่กับจังหวัด ปัตตานี
ลักษณะของตัวเกาะโผล่พ้นน้ำขึ้นมาไม่เกิน 50 ตารางเมตร สภาพส่วนใหญ่เป็นหินล้วนไม่มีต้นไม้ใบหญ้า รอบเกาะน้ำตื้น หากจะขึ้นเกาะต้องนำเรือเล็กเข้าไป
บนเกาะมีประภาคาร ที่ส่งไฟสัญญาณเตือนอยู่บนยอด และตัวประภาคารตั้งอยู่บนหินโผล่น้ำที่มีขนาดประมาณ 10 เมตร
บริเวณรอบเกาะเป็นแหล่งปะการังที่อุดมสมบูรณ์กินพื้นที่ยาวหนึ่งกิโลเมตร มีพืชใต้น้ำและฝูงปลานานาชนิดโดยเฉพาะฉลามวาฬ ด้วยเหตุนี้เกาะโลซินเป็นที่นิยมของนักดำน้ำและนักตกปลา
และเพราะเกาะโลซินนี่เอง ทำให้เรามี 'น่านน้ำอาณาเขต' ขยายออกไปจากชายฝั่งอีก 22.2 กิโลเมตร
ในวิกิพีเดียอธิบายน่านน้ำอาณาเขต (Territorial Waters) หรือทะเลอาณาเขต (Territorial Sea) ว่าเป็นแนวน่านน้ำชายฝั่งวัดจากเส้นฐาน ปกติของน้ำทะเลในช่วงลงเต็มที่จนถึงปานกลางของชายฝั่งไปไกลสุดที่ 22.2 กิโลเมตร
พูดง่ายๆ ก็คือ ตำแหน่งไหนที่เป็นปลายทางที่อยู่ติดกับทะเลหรือในทะเล ถ้าใครได้เป็นเจ้าของ ประเทศนั้นก็จะได้ครอบครองน่านน้ำเพิ่มออกไปจากจุดนั้นอีก 22.2 กิโลเมตร รวมถึงบนฟ้าและใต้ดินที่อยู่ในอาณาเขตด้วย
ก็แปลว่าประเทศไทย นอกจากจะเป็นเจ้าของพื้นที่รูปขวานใน Map โลกแล้ว หลายๆ เกาะในที่อยู่ไกลจากผืนดินมากที่สุด บวกเพิ่มไปอีก 22.2 กิโลเมตร ก็นับเป็นโซนของประเทศไทยเหมือนกัน
นั่นแปลว่า พื้นที่ใต้น่านน้ำอาณาเขต หากมีทรัพยากรธรรมชาติ ยกตัวอย่างเช่น แหล่งก๊าซธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติใต้น้ำนั้นจะเป็นของประเทศนั้น ๆ
แต่ก่อนทั้งไทยและมาเลเซียต่างก็เคยออกมาอ้างสิทธิในพื้นที่ทะเล ทำให้เกิดข้อถกเถียงกันขึ้น จนต้องเจรจากันอย่างจริงจังใน พ.ศ. 2515 โดยมีข้อสรุปในครั้งนั้น คือ
แบ่งเขตแดนทางทะเลด้วยวิธีการลากเส้นตั้งฉากจากแนวโค้งของผืนดินแต่ละฝ่าย หรือเรียกว่าเขตไหล่ทวีปตามหลักสากล
การแบ่งด้วยวิธีนั้นทำให้พื้นที่แหล่งก๊าซธรรมชาติกลายเป็นของมาเลเซียทั้งหมด
แต่โชคดีของไทย ที่ยังมีเกาะโลซิน โดยไทยยืนยันว่าได้ก่อสร้างประภาคารไว้บนเกาะนี้เพื่อแสดงอาณาเขตไว้แล้ว
ตามอนุสัญญาเจนีวา กฎหมายทางทะเล ค.ศ.1958 ที่ไทยเป็นสมาชิกในอนุสัญญา ได้ระบุความหมายของเกาะไว้ว่า "แผ่นดินที่มีน้ำล้อมรอบ" ซึ่งหมายถึงเกาะที่เป็นหิน หรือกองหินโผล่จากน้ำขึ้นมาด้วย
ดังนั้น เกาะโลซินก็เลยกลายเป็นเกาะสุดท้ายของประเทศไทยที่ทำให้ฝ่ายมาเลเซียต้องยอมให้
ในปี 2522 ประเทศไทยและมาเลเซียเจรจาตกลงกำหนดพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลให้เป็นพื้นที่พัฒนาร่วม (Joint Development Area) ครอบคลุมประมาณ 7,250 ตร.กม. โดยตั้งองค์กรขึ้นมาบริหารจัดการร่วมกันแล้วแบ่งผลประโยชน์คนละครึ่ง เป็นระยะเวลา 50 ปี
เมื่อมีการสำรวจขุดเจาะก๊าซธรรมชาติขึ้นมาก็พบว่า แหล่งก๊าซที่มีปริมาณมากถึงราว 75% นั้น อยู่ในซีกพื้นที่ใกล้ชายฝั่งมาเลเซีย
แต่ไทยเราได้รับผลประโยชน์ไปด้วย เพราะ การอ้างอาณาเขตจากเกาะโลซินที่เป็นแค่กองหินเล็กๆ ขนาดไม่เกิน 50 ตร.ม. นั้นแหละ
จนหลายคนตั้งชื่อเกาะโลซินใหม่ว่า "กองหินแสนล้าน" ตามมูลค่าของแหล่งก๊าซธรรมชาติที่สำรวจพบใต้น่านน้ำอาณาเขตนั่นเอง
แต่ในปี 2572 ข้อตกลงเจรจาระหว่างไทย-มาเลเซีย ที่กำหนดพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลให้เป็นพื้นที่พัฒนาร่วมจะหมดอายุลง เกาะโลซินยังจะถูกเรียกเหมือนเดิมไหมไม่รู้ เพื่อนบ้านของเรา จะเปิดการเจรจาเพื่อตกลงผลประโยชน์ใหม่หรือเปล่า คงต้องรอกันจนถึงวันนั้น
และหากเรามาดูเป้าหมายของกลุ่มแบ่งแยกดินแดน ที่อยากจะแบ่งแยกตั้งตัวเองเป็นรัฐใหม่ ซึ่งประกอบไปด้วย ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และอีกสามอำเภอของสงขลา โดยตั้งเป้าเอาไว้ว่า
ในปี 2570 จะทำให้เกิดสงครามกลางเมือง จนแบ่งแยกดินแดนสำเร็จ ด้วยความช่วยเหลือจากนานาชาติ และนักการเมืองแนวร่วม ในปี 2580
ซึ่งหากกระทำการสำเร็จ เราจะไม่ได้เสียแค่ดินแดนบนผืนแผ่นดิน แต่เราจะสูญเสียเกาะโลซินที่รวมอยู่กับจังหวัดปัตตานี รวมถึงทรัพยากรแสนล้านใต้น่านน้ำอาณาเขต ที่เราได้จากการเป็นเจ้าของเกาะโลซินแห่งนี้ด้วยเช่นกัน
https://www.facebook.com/share/p/1BdTQSpXHd/?mibextid=wwXIfr
0 Comments
0 Shares
71 Views
0 Reviews