12 พฤษภาคม 2568- รสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกวุฒิสภา โพสต์ประเด็นสำคัญว่า ”กำไรของ GULF ต้นทุนของประชาชน?
โควตา 12 โครงการที่ได้จากรัฐ...อาจจะกลายเป็นภาระค่าไฟที่เราทุกคนต้องจ่ายแพงเกินจริงยาว 25 ปี?
________________________________________
5,395 ล้านบาท — คือกำไรสุทธิของ GULF ในไตรมาสแรกของปี 2568
เพิ่มขึ้น 54.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ตัวเลขที่นักลงทุนอาจปรบมือให้
แต่ประชาชนควรถาม…
กำไรที่ได้? คือรายจ่ายของใคร?
________________________________________
สัญญาใหม่ที่มาจากโควตาเก่า?
เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2568 GULF เพิ่งเซ็นสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) กับ กฟผ.
รวม 12 โครงการพลังงานแสงอาทิตย์+ระบบกักเก็บพลังงาน (BESS)
กำลังการผลิตรวม 649.31 เมกะวัตต์
ภายใต้สัญญารับซื้อไฟฟ้ายาว 25 ปี
แต่เบื้องหลังสัญญานี้คือ “โควตา” เดิมที่ได้โดยไม่ต้องประมูลใหม่
ย้อนกลับไปเมื่อเมษายน 2566
กกพ. เปิดโครงการพลังงานหมุนเวียนรอบแรก 4,852.26 เมกะวัตต์
และผลที่ออกมาคือ:
GULF ได้ไปถึง 1,891.89 เมกะวัตต์ (เกือบ 39%) — มากที่สุดในประเทศ
GUNKUL ตามมาอีก 832.4 MW (17%)
รวมสองกลุ่มนี้ถือครองโควตาเกิน 56% ของทั้งโครงการ
________________________________________
โควตาเปิดแข่ง...แต่กระจุกในมือทุนใหญ่?
รัฐใช้คำว่า “เปิดแข่งขัน” แต่ผลลัพธ์กลับเป็นภาพซ้ำซากของการ “กระจุกตัว”
ทุนใหญ่ได้โควตาหลายรูปแบบ ทั้งโซลาร์พื้นดิน, โซลาร์+BESS, และพลังงานลม
ขณะที่ทุนกลาง–เล็กได้แค่ 2–4%
ประชาชนแทบไม่มีที่ยืน
ชื่อใหม่ของ “พลังงานหมุนเวียน” จึงเหมือนหมุนวนอยู่ในมือคนเดิม
________________________________________
ต้นทุนไฟฟ้า...ใครกำหนด?
สัญญา 12 โครงการที่เพิ่งเซ็นนั้น
กำหนดอัตรารับซื้อไว้ที่ 2.8331 บาทต่อหน่วย (กรณีมีระบบกักเก็บ)
ล็อกราคานี้ไว้ยาว 25 ปี
แม้ในอนาคตเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์จะถูกลงกว่านี้มาก
สภาองค์กรของผู้บริโภค ประเมินว่า
เพียงโครงการกลุ่มนี้ อาจทำให้ประชาชนต้องจ่ายค่าไฟสูงถึง
65,000 ล้านบาท ตลอดอายุสัญญา
ทั้งที่ต้นทุนจริงในตลาดโลกต่ำกว่านั้นมาก
________________________________________
สิ่งที่ต้องถามไม่ใช่แค่ “กำไร GULF มาจากไหน?”
แต่คือ... “ต้นทุนที่ประชาชนจ่าย มันยุติธรรมหรือไม่?”
ถ้ารัฐเปิดประมูลแบบโปร่งใส
ปล่อยให้แข่งกันที่ราคาต่ำสุด
ไม่ใช่แจกโควตาแบบลับ ๆ หรือให้เฉพาะกลุ่ม
ค่าไฟอาจถูกกว่านี้หลายหมื่นล้านบาท
________________________________________
เราไม่ได้ค้านพลังงานสะอาด...และไม่ได้อิจฉาผลกำไรของเอกชน
แต่เราทวงถาม... พลังงานที่โปร่งใสและเป็นธรรม
เพราะ “หมุนเวียน” ไม่ควรแปลว่า “หมุนจากกระเป๋าประชนชนไปเข้ากระเป๋าทุน”
และ “อนาคตพลังงาน” ไม่ควรล็อกไว้ในสัญญาที่ประชาชนหมดสิทธิเลือก“
12 พฤษภาคม 2568- รสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกวุฒิสภา โพสต์ประเด็นสำคัญว่า ”กำไรของ GULF ต้นทุนของประชาชน? โควตา 12 โครงการที่ได้จากรัฐ...อาจจะกลายเป็นภาระค่าไฟที่เราทุกคนต้องจ่ายแพงเกินจริงยาว 25 ปี? ________________________________________ 5,395 ล้านบาท — คือกำไรสุทธิของ GULF ในไตรมาสแรกของปี 2568 เพิ่มขึ้น 54.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ตัวเลขที่นักลงทุนอาจปรบมือให้ แต่ประชาชนควรถาม… กำไรที่ได้? คือรายจ่ายของใคร? ________________________________________ สัญญาใหม่ที่มาจากโควตาเก่า? เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2568 GULF เพิ่งเซ็นสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) กับ กฟผ. รวม 12 โครงการพลังงานแสงอาทิตย์+ระบบกักเก็บพลังงาน (BESS) กำลังการผลิตรวม 649.31 เมกะวัตต์ ภายใต้สัญญารับซื้อไฟฟ้ายาว 25 ปี แต่เบื้องหลังสัญญานี้คือ “โควตา” เดิมที่ได้โดยไม่ต้องประมูลใหม่ ย้อนกลับไปเมื่อเมษายน 2566 กกพ. เปิดโครงการพลังงานหมุนเวียนรอบแรก 4,852.26 เมกะวัตต์ และผลที่ออกมาคือ: GULF ได้ไปถึง 1,891.89 เมกะวัตต์ (เกือบ 39%) — มากที่สุดในประเทศ GUNKUL ตามมาอีก 832.4 MW (17%) รวมสองกลุ่มนี้ถือครองโควตาเกิน 56% ของทั้งโครงการ ________________________________________ โควตาเปิดแข่ง...แต่กระจุกในมือทุนใหญ่? รัฐใช้คำว่า “เปิดแข่งขัน” แต่ผลลัพธ์กลับเป็นภาพซ้ำซากของการ “กระจุกตัว” ทุนใหญ่ได้โควตาหลายรูปแบบ ทั้งโซลาร์พื้นดิน, โซลาร์+BESS, และพลังงานลม ขณะที่ทุนกลาง–เล็กได้แค่ 2–4% ประชาชนแทบไม่มีที่ยืน ชื่อใหม่ของ “พลังงานหมุนเวียน” จึงเหมือนหมุนวนอยู่ในมือคนเดิม ________________________________________ ต้นทุนไฟฟ้า...ใครกำหนด? สัญญา 12 โครงการที่เพิ่งเซ็นนั้น กำหนดอัตรารับซื้อไว้ที่ 2.8331 บาทต่อหน่วย (กรณีมีระบบกักเก็บ) ล็อกราคานี้ไว้ยาว 25 ปี แม้ในอนาคตเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์จะถูกลงกว่านี้มาก สภาองค์กรของผู้บริโภค ประเมินว่า เพียงโครงการกลุ่มนี้ อาจทำให้ประชาชนต้องจ่ายค่าไฟสูงถึง 65,000 ล้านบาท ตลอดอายุสัญญา ทั้งที่ต้นทุนจริงในตลาดโลกต่ำกว่านั้นมาก ________________________________________ สิ่งที่ต้องถามไม่ใช่แค่ “กำไร GULF มาจากไหน?” แต่คือ... “ต้นทุนที่ประชาชนจ่าย มันยุติธรรมหรือไม่?” ถ้ารัฐเปิดประมูลแบบโปร่งใส ปล่อยให้แข่งกันที่ราคาต่ำสุด ไม่ใช่แจกโควตาแบบลับ ๆ หรือให้เฉพาะกลุ่ม ค่าไฟอาจถูกกว่านี้หลายหมื่นล้านบาท ________________________________________ เราไม่ได้ค้านพลังงานสะอาด...และไม่ได้อิจฉาผลกำไรของเอกชน แต่เราทวงถาม... พลังงานที่โปร่งใสและเป็นธรรม เพราะ “หมุนเวียน” ไม่ควรแปลว่า “หมุนจากกระเป๋าประชนชนไปเข้ากระเป๋าทุน” และ “อนาคตพลังงาน” ไม่ควรล็อกไว้ในสัญญาที่ประชาชนหมดสิทธิเลือก“
0 Comments 0 Shares 34 Views 0 Reviews