สำหรับผม ญี่ปุ่นและไทยคล้ายคลึงกันมากในปริมณฑลเรื่องเหนือธรรมชาติ ไทยเรามีภูตผีหลากหลายดีไซน์มากพอ ๆ กับโยไคของญี่ปุ่น ต่างกันแค่ผีญี่ปุ่นยังมีการรวมตัวเดินขบวนพาเหรดเป็น "ขบวนแห่ร้อยอสูร" (百鬼夜行 - เฮียกกิยาเกียว) จนเมื่อได้อ่านนิยายเล่มนี้เองที่ได้เจอเรื่องราวของขบวนแห่แบบที่ว่าในรูปผสมผสานสองเชื้อชาติ
'เฮียกกิยาเกียว ขบวนแห่ร้อยผีแห่งเดือนเพ็ญพิศวง' โดย กันตชาต ชวนะวิรัช เป็นนวนิยายที่ได้รับคัดเลือกจาก บ.อมรินทร์ให้ตีพิมพ์ในโปรเจกต์ "ไทยเล่าไทยหลอน" เนื้อเรื่องเกิดขึ้นในที่ที่เป็นไปได้มากว่าจะอยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช มีตำนานท้องถิ่นกล่าวถึงขบวนแห่ร้อยผีที่มีผู้ร่วมขบวนทั้งผีไทยและผีญี่ปุ่น มีผู้นำขบวนคือ เทพอาคันตุกะ หรือนูราริเฮียง ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นเจ้าแห่งโยไคของญี่ปุ่น เล่ากันว่าหากคนทั่วไปที่ไม่ได้มีสัมผัสพิเศษมองเห็นขบวนแห่ร้อยผีเข้า ก็จะโดนทั้งขบวนตามล่าเพื่อนำวิญญาณไปร่วมขบวนด้วย ในเนื้อเรื่อง อัญรินทร์เห็นขบวนแห่นี้และโดนหมายหัว อัคร น้องชายวัย ม.ปลาย ซึ่งมองเห็นวิญญาณได้ จึงพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อพาพี่สาวหลบหนีจากขบวนแห่ร้อยผี แม้กระทั่งต้องเข้าไปซ่อนในบ้านเด็กกำพร้าผีสิงก็ตาม
ถึงจะขึ้นชื่อว่าเป็นเรื่องผี มีคำว่า "ผี" อยู่ในชื่อเรื่อง แต่โทนเรื่องโดยรวมไม่ได้เน้นความน่ากลัวสยองขวัญเท่าไร (สำหรับผมอะนะ) ออกจะเป็นแฟนตาซีที่แฝงกลิ่นอายลึกลับแบบ Spirited Away ของสตูดิโอจิบลิมากกว่า คงเพราะมีผีญี่ปุ่นอยู่ในเรื่องด้วย (แต่ก็น่าเสียดายนิดหน่อยที่เอาจริง ๆ ถ้าเทียบแอร์ไทม์แล้ว ผีในขบวนแห่ร้อยผีกลับมีบทบาทน้อยกว่าผีที่ไม่ได้อยู่ในขบวนแห่เสียอีก) ทั้งนี้ ตอนจบทั้งสวยงามและปวดตับอย่างยิ่ง ต่อให้คุณพอจะคาดการณ์ได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ผมเชื่อว่าบทสุดท้ายก็น่าจะกระชากอารมณ์คุณไม่มากก็น้อย ยกเว้นก็แต่คุณจะอารมณ์ตายด้านไปแล้วหรือไม่ก็เป็นไซโคพาธ อี๋ย์ ไปให้พ้น ชิ่ว ๆ
อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่พื้นที่ที่ผมจะรีวิวหนังสือ แต่ผมจะให้ไพ่ทาโรต์หรือไพ่พยากรณ์ในคลังของผมกำหนดประเด็นที่จะรีวิว วิจารณ์ หรือหยิบยกมาพูด แล้วผมจะนำมาแปลและถ่ายทอดต่ออีกที โดยสุ่มจับไพ่ 4 ใบ และใช้ไพ่ใต้กองอีก 1 ใบ
สำหรับนิยายเล่มนี้ ซึ่งมีภูตผีญี่ปุ่นมาเกี่ยวข้อง ผมก็คิดว่าน่าจะเหมาะสมถ้าใช้ไพ่ที่มีธีมเป็นผีญี่ปุ่นมาทำการ "เผาเรื่อง" นั่นคือไพ่ชุด 'Yokai Tarot' โดย สนพ.Lo Scarabeo จากอิตาลี
ขอเชิญรับชม #ไพ่เราเผาหนังสือ 'เฮียกกิยาเกียว ขบวนแห่ร้อยผีแห่งเดือนเพ็ญพิศวง' ด้วย 'Yokai Tarot' ได้ ณ บัดนี้ครับ
----------
"หลอกลวงคนอ่านอย่าง(เกือบ)แนบเนียน"
🃏I-The Magician + 🃏XIV-Temperance
ไพ่ Magician ของ Yokai Tarot เลือกหน้าไพ่เป็นปีศาจทานุกิ ซึ่งเป็นโยไคที่ขึ้นชื่อเรื่องการแปลงร่างไปหลอกลวงหรือแกล้งมนุษย์ ตรงกับความหมายในแง่ "การหลอกลวง" ของไพ่นักมายากล ส่วนไพ่ Temperance มีหน้าไพ่เป็น "นิงเกียว" หรือก็คือนางเงือกแบบญี่ปุ่น เชื่อกันว่าเนื้อของเงือกญี่ปุ่นจะทำให้อายุยืนยาวหรือถึงขั้นเป็นอมตะ แต่เฉพาะในบริบทของไพ่แห่งความพอดี เงือกคือตัวตนที่แสดงถึงความสอดประสานกันอย่างลงตัว กลมเกลียว และ "แนบเนียน" ระหว่างสิ่งตรงข้าม ไม่ว่าจะคนและปลา หรือบกและน้ำ
'เฮียกกิยาเกียว' เป็นนิยายที่ไม่ได้ใส่ผีมาหลอกตัวละครในเรื่องอย่างเดียว แต่ตัวมันยังพยายามหลอกคนอ่านอย่างเราให้เข้าใจผิดเกือบตลอดเวลา ซึ่งก็มาพร้อมกับ Plot twists หรือการหักมุมหลายตลบ แต่ก็ไม่ได้เป็นการหักแบบคอพับ 180 องศาชนิดไม่มีปี่มีขลุ่ย ระหว่างทาง เนื้อเรื่องจะแอบหยอดรายละเอียดที่ค่อย ๆ นำไปสู่การเฉลยปมหักมุมแต่ละเรื่อง ดังนั้นสำหรับผู้อ่านที่ช่างสังเกตและช่างคิด รวมถึงมีชั่วโมงบินเยอะ ก็อาจคาดเดาจุดหักมุมแต่ละจุดได้ไม่ยาก รวมถึง Plot twist ใหญ่ในหน้า 226
นอกจากนี้ ผมชอบเป็นพิเศษที่ไพ่ Temperance ขึ้นมาในหัวข้อนี้พอดี ความหมายหลักอย่างหนึ่งของไพ่ใบนี้คือ "ความกลมเกลียว" และ "การสอดประสานกันอย่างลงตัว" ซึ่งเป็นคำที่ใช้อธิบายได้ดีอย่างยิ่งกับความสัมพันธ์ระหว่างสังคมมนุษย์กับสังคมผีในนิยายเรื่องนี้ เนื้อเรื่องบรรยายว่าชุมชนในเรื่องเป็นที่ที่ผีและคนอยู่ร่วมกันอย่างใกล้ชิด จนบางครั้งพรมแดนระหว่าง 2 ภพก็พร่าเลือนโดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรืออาจจะทั้ง 2 ฝ่ายไม่รู้ตัว ซึ่งนี่ก็เป็นกลวิธีอย่างหนึ่งที่ผู้เขียนใช้หลอกลวงคนอ่านด้วย (แน่นอนว่าตรงนี้ไม่ได้สปอยล์สาระสำคัญของเรื่องแต่อย่างใด ;) )
----------
"บูรณาการตำนาน(ผี)จากสองชาติ"
🃏Queen of Coins (Queen of Pentacles) + 🃏3 of Coins (3 of Pentacles)
โยไคบนหน้าไพ่ราชินีเหรียญของชุด Yokai Tarot คือ "ยามะฮิเมะ" (เจ้าหญิงแห่งขุนเขา) ซึ่งมีบทบาทคล้าย ๆ วิญญาณเจ้าป่าเจ้าเขาในไทยเรา เป็นผู้ปกปักรักษาสิ่งต่าง ๆ ในพื้นที่ภูเขาของตน ทั้งป่าดงพงไพร พืช สัตว์ รวมถึงมนุษย์ที่อาศัยในบริเวณนั้นและเคารพบูชานาง บทบาทตามตำนานความเชื่อของโยไคตนนี้ตรงกับความหมายของไพ่ราชินีเหรียญในแง่การเป็นผูปกปักรักษา บำรุงเลี้ยงดู ขณะเดียวกันก็เชื่อมโยงกับความหมายด้านธรรมชาติของไพ่ใบนี้ด้วย ส่วนในบริบทของนิยายเรื่องนี้ ผมตีความว่าไพ่ใบนี้สื่อถึงสิ่งที่เป็นเสมือนธรรมชาติเก่าแก่ในชุมชนท้องที่ต่าง ๆ ซึ่งก็คือวัฒนธรรม ตำนาน คติชน และเรื่องเล่าต่าง ๆ ที่มีมาแต่โบราณในท้องที่นั้น ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่คนในท้องถิ่นหวนแหนและดูแลสืบต่อไปยังชนรุ่นหลัง
ส่วนไพ่ 3 เหรียญเป็นภาพของ "อิปปงดาตาระ" โยไคตาเดียวขาเดียวที่ว่ากันว่าเคยเป็นช่างฝีมือมาก่อน แต่แกทุ่มเทให้กับงานที่ทำมากเกินไปจนสูญเสียดวงตากับขาไปอย่างละข้าง ไพ่ชุดนี้นำโยไคตนนี้มาเชื่อมโยงกับไพ่ 3 เหรียญในแง่ที่ตัวมันเป็นภูตที่มีที่มาจากช่างฝีมือ ซึ่งเป็นความหมายหนึ่งของไพ่ใบนี้ ส่วนอีกความหมายที่รู้จักกันมากกว่าคือ "การร่วมมือ" (รวมถึงงานประเภทคอลแลบฯ ระหว่างศิลปิน) และ "การบูรณาการ"
ไพ่สองใบนี้รวมกัน จึงสื่อถึง การบูรณาการของตำนานความเชื่อเก่าแก่ ซึ่งในบริบทของ 'เฮียกกิยาเกียว' มันก็คือการบูรณาการความเชื่อเกี่ยวกับภูตผีของไทยและญี่ปุ่น จนกลายมาเป็นขบวนแห่ร้อยผีประจำนิยายเรื่องนี้ ซึ่งเป็นจุดเด่นของเรื่องที่ต้องชื่นชมความช่างคิดของผู้เขียนจริง ๆ
ในขบวนแห่ร้อยผี นอกจากจะมีโยไคญี่ปุ่นอย่างนูราริเฮียงแล้ว ยังมีผีไทยที่คนภาคกลางอาจไม่คุ้นเคยเท่าไร เช่น ผีม้าบ้อง ซึ่งมีลักษณะเป็นครึ่งคนครึ่งม้าคล้ายเซนทอร์ของกรีก (ในนิยายเล่มนี้เรียกผีม้าบ้องว่า "เซนทอร์แห่งล้านนา" ด้วยซ้ำ) หรือแมวจะกละ แมวดำที่ทำให้มนุษย์ที่ได้สัมผัสร่างต้องพบความตายอย่างน่าสยดสยอง นอกจากนั้นยังมีผีบางตนที่มีอยู่ในทั้งเรื่องผีของไทยและญี่ปุ่นอย่างผีกระสือ ซึ่งเวอร์ชันของญี่ปุ่นเรียกว่า "นูเกะคูบิ"
นอกจากนั้น นิยายเรื่องนี้ยังบูรณาการเรื่องจริงที่มีบันทึกในประวัติศาสตร์ไทยเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องด้วย โดยเชื่อมโยงกับชีวิตของยามาดะ นางามาสะ หรือ ออกญาเสนาภิมุข (ซึ่งตรงนี้ทำให้ผมค่อนข้างเชื่อว่า ฉากท้องเรื่องของเรื่องนี้อยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช)
----------
"บางสิ่งที่ไม่อาจหนีพ้น"
ใต้กอง: 🃏Judgement
ไพ่ใต้กองของการเปิดไพ่ "เผาเรื่อง" ครั้งนี้คือไพ่ Judgement ซึ่งเป็นภาพของโยไคชื่อ "คิโยะฮิเมะ" นางเป็นปีศาจงูที่ไปตกหลุมรักพระรูปหนึ่งอย่างจัง แต่พระหนุ่มไม่เล่นด้วย ทิ้งนางอย่างไม่ไยดี นางจึงตามล่าพระหนุ่มไปทั่วญี่ปุ่น จนในที่สุด พระหนุ่มไปหลบซ่อนในระฆังวัด แต่นางก็หาเจอ และคลายขนดหางออกมารัดระฆัง ก่อนจะพ่นไฟออกมาย่างสดพระหนุ่ม โหดฉิบ แต่ใด ๆ คือ ไพ่ชุดนี้เลือกวีรกรรมการตามล่าเหยื่ออย่างไม่ลดไม่ละของนางมาเชื่อมโยงกับความหมายของไพ่ Judgement ในด้านการมาถึงของบางสิ่งที่เราไม่อาจหนีพ้น ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นอะไรก็ตาม อาจเป็นความจริงหรือสัจธรรมของจักรวาล
การถูกตามล่าโดยบางสิ่งที่ไม่อาจหนีพ้น คือแก่นเรื่องของ 'เฮียกกิยาเกียว' ใครก็ตามที่มองเห็นขบวนแห่ร้อยผี (ยกเว้นผู้มีตาทิพย์หรือสัมผัสพิเศษ) จะต้องถูกตามล่าไปตลอดกาล จนกว่าภูตผีในขบวนจะจับตัวและพาไปร่วมขบวนได้ อาจมีบางช่วงเวลาหรือเงื่อนไขที่ช่วยให้ยืดเวลาหรือหลบหนีจากขบวนแห่ร้อยผีได้ แต่ก็ทำได้แค่ชั่วคราว
เมื่ออ่านนิยายเล่มนี้ไปเรื่อย ๆ คนอ่านจะพบว่า ไม่ได้มีแค่อัครและอัญรินทร์ สองตัวละครเอกที่พยายามหนีจากขบวนแห่ร้อยผี มีคนอื่นที่เคยพบเจอและพยายามหนีจากพวกมันด้วย รวมทั้งมีตัวละครอื่นที่พยายามหลบหนีจากอะไรอย่างอื่น แต่ทุกสิ่งล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ไม่มีทางหลบหนีพ้น ดังนั้นจึงมีทางเลือกแค่หาทางหนีประวิงเวลาไปเรื่อย ๆ หรือยอมจำนน
----------
Final Verdict: 🃏I-The Magician + 🃏XIV-Temperance + 🃏Queen of Coins (Queen of Pentacles) + 🃏3 of Coins (3 of Pentacles) + 🃏Judgement (ใต้กอง)
'เฮียกกิยาเกียว' เป็นเรื่องที่นำตำนานความเชื่อและเรื่องเหล่าอันแตกต่างหลากหลายมาผสมผสานและบูรณาการเข้าด้วยกันอย่าชาญฉลาดและลงตัว พร้อมกับทำให้ปิดเล่มไปด้วยความจรรโลงใจและการตระหนักซึ่งในสัจธรรมบางประการ
🃏🃏🃏🃏🃏
เฮียกกิยาเกียว ขบวนแห่ร้อยผีแห่งเดือนเพ็ญพิศวง (2025)
• ผู้เขียน: กันตชาต ชวนะวิรัช
• สำนักพิมพ์: Prism (ในเครืออมรินทร์)
ไพ่ที่ใช้: Yokai Tarot (2024) ผลิตและจัดจำหน่ายโดย Lo Scarabeo Tarot
'เฮียกกิยาเกียว ขบวนแห่ร้อยผีแห่งเดือนเพ็ญพิศวง' โดย กันตชาต ชวนะวิรัช เป็นนวนิยายที่ได้รับคัดเลือกจาก บ.อมรินทร์ให้ตีพิมพ์ในโปรเจกต์ "ไทยเล่าไทยหลอน" เนื้อเรื่องเกิดขึ้นในที่ที่เป็นไปได้มากว่าจะอยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช มีตำนานท้องถิ่นกล่าวถึงขบวนแห่ร้อยผีที่มีผู้ร่วมขบวนทั้งผีไทยและผีญี่ปุ่น มีผู้นำขบวนคือ เทพอาคันตุกะ หรือนูราริเฮียง ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นเจ้าแห่งโยไคของญี่ปุ่น เล่ากันว่าหากคนทั่วไปที่ไม่ได้มีสัมผัสพิเศษมองเห็นขบวนแห่ร้อยผีเข้า ก็จะโดนทั้งขบวนตามล่าเพื่อนำวิญญาณไปร่วมขบวนด้วย ในเนื้อเรื่อง อัญรินทร์เห็นขบวนแห่นี้และโดนหมายหัว อัคร น้องชายวัย ม.ปลาย ซึ่งมองเห็นวิญญาณได้ จึงพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อพาพี่สาวหลบหนีจากขบวนแห่ร้อยผี แม้กระทั่งต้องเข้าไปซ่อนในบ้านเด็กกำพร้าผีสิงก็ตาม
ถึงจะขึ้นชื่อว่าเป็นเรื่องผี มีคำว่า "ผี" อยู่ในชื่อเรื่อง แต่โทนเรื่องโดยรวมไม่ได้เน้นความน่ากลัวสยองขวัญเท่าไร (สำหรับผมอะนะ) ออกจะเป็นแฟนตาซีที่แฝงกลิ่นอายลึกลับแบบ Spirited Away ของสตูดิโอจิบลิมากกว่า คงเพราะมีผีญี่ปุ่นอยู่ในเรื่องด้วย (แต่ก็น่าเสียดายนิดหน่อยที่เอาจริง ๆ ถ้าเทียบแอร์ไทม์แล้ว ผีในขบวนแห่ร้อยผีกลับมีบทบาทน้อยกว่าผีที่ไม่ได้อยู่ในขบวนแห่เสียอีก) ทั้งนี้ ตอนจบทั้งสวยงามและปวดตับอย่างยิ่ง ต่อให้คุณพอจะคาดการณ์ได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ผมเชื่อว่าบทสุดท้ายก็น่าจะกระชากอารมณ์คุณไม่มากก็น้อย ยกเว้นก็แต่คุณจะอารมณ์ตายด้านไปแล้วหรือไม่ก็เป็นไซโคพาธ อี๋ย์ ไปให้พ้น ชิ่ว ๆ
อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่พื้นที่ที่ผมจะรีวิวหนังสือ แต่ผมจะให้ไพ่ทาโรต์หรือไพ่พยากรณ์ในคลังของผมกำหนดประเด็นที่จะรีวิว วิจารณ์ หรือหยิบยกมาพูด แล้วผมจะนำมาแปลและถ่ายทอดต่ออีกที โดยสุ่มจับไพ่ 4 ใบ และใช้ไพ่ใต้กองอีก 1 ใบ
สำหรับนิยายเล่มนี้ ซึ่งมีภูตผีญี่ปุ่นมาเกี่ยวข้อง ผมก็คิดว่าน่าจะเหมาะสมถ้าใช้ไพ่ที่มีธีมเป็นผีญี่ปุ่นมาทำการ "เผาเรื่อง" นั่นคือไพ่ชุด 'Yokai Tarot' โดย สนพ.Lo Scarabeo จากอิตาลี
ขอเชิญรับชม #ไพ่เราเผาหนังสือ 'เฮียกกิยาเกียว ขบวนแห่ร้อยผีแห่งเดือนเพ็ญพิศวง' ด้วย 'Yokai Tarot' ได้ ณ บัดนี้ครับ
----------
"หลอกลวงคนอ่านอย่าง(เกือบ)แนบเนียน"
🃏I-The Magician + 🃏XIV-Temperance
ไพ่ Magician ของ Yokai Tarot เลือกหน้าไพ่เป็นปีศาจทานุกิ ซึ่งเป็นโยไคที่ขึ้นชื่อเรื่องการแปลงร่างไปหลอกลวงหรือแกล้งมนุษย์ ตรงกับความหมายในแง่ "การหลอกลวง" ของไพ่นักมายากล ส่วนไพ่ Temperance มีหน้าไพ่เป็น "นิงเกียว" หรือก็คือนางเงือกแบบญี่ปุ่น เชื่อกันว่าเนื้อของเงือกญี่ปุ่นจะทำให้อายุยืนยาวหรือถึงขั้นเป็นอมตะ แต่เฉพาะในบริบทของไพ่แห่งความพอดี เงือกคือตัวตนที่แสดงถึงความสอดประสานกันอย่างลงตัว กลมเกลียว และ "แนบเนียน" ระหว่างสิ่งตรงข้าม ไม่ว่าจะคนและปลา หรือบกและน้ำ
'เฮียกกิยาเกียว' เป็นนิยายที่ไม่ได้ใส่ผีมาหลอกตัวละครในเรื่องอย่างเดียว แต่ตัวมันยังพยายามหลอกคนอ่านอย่างเราให้เข้าใจผิดเกือบตลอดเวลา ซึ่งก็มาพร้อมกับ Plot twists หรือการหักมุมหลายตลบ แต่ก็ไม่ได้เป็นการหักแบบคอพับ 180 องศาชนิดไม่มีปี่มีขลุ่ย ระหว่างทาง เนื้อเรื่องจะแอบหยอดรายละเอียดที่ค่อย ๆ นำไปสู่การเฉลยปมหักมุมแต่ละเรื่อง ดังนั้นสำหรับผู้อ่านที่ช่างสังเกตและช่างคิด รวมถึงมีชั่วโมงบินเยอะ ก็อาจคาดเดาจุดหักมุมแต่ละจุดได้ไม่ยาก รวมถึง Plot twist ใหญ่ในหน้า 226
นอกจากนี้ ผมชอบเป็นพิเศษที่ไพ่ Temperance ขึ้นมาในหัวข้อนี้พอดี ความหมายหลักอย่างหนึ่งของไพ่ใบนี้คือ "ความกลมเกลียว" และ "การสอดประสานกันอย่างลงตัว" ซึ่งเป็นคำที่ใช้อธิบายได้ดีอย่างยิ่งกับความสัมพันธ์ระหว่างสังคมมนุษย์กับสังคมผีในนิยายเรื่องนี้ เนื้อเรื่องบรรยายว่าชุมชนในเรื่องเป็นที่ที่ผีและคนอยู่ร่วมกันอย่างใกล้ชิด จนบางครั้งพรมแดนระหว่าง 2 ภพก็พร่าเลือนโดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรืออาจจะทั้ง 2 ฝ่ายไม่รู้ตัว ซึ่งนี่ก็เป็นกลวิธีอย่างหนึ่งที่ผู้เขียนใช้หลอกลวงคนอ่านด้วย (แน่นอนว่าตรงนี้ไม่ได้สปอยล์สาระสำคัญของเรื่องแต่อย่างใด ;) )
----------
"บูรณาการตำนาน(ผี)จากสองชาติ"
🃏Queen of Coins (Queen of Pentacles) + 🃏3 of Coins (3 of Pentacles)
โยไคบนหน้าไพ่ราชินีเหรียญของชุด Yokai Tarot คือ "ยามะฮิเมะ" (เจ้าหญิงแห่งขุนเขา) ซึ่งมีบทบาทคล้าย ๆ วิญญาณเจ้าป่าเจ้าเขาในไทยเรา เป็นผู้ปกปักรักษาสิ่งต่าง ๆ ในพื้นที่ภูเขาของตน ทั้งป่าดงพงไพร พืช สัตว์ รวมถึงมนุษย์ที่อาศัยในบริเวณนั้นและเคารพบูชานาง บทบาทตามตำนานความเชื่อของโยไคตนนี้ตรงกับความหมายของไพ่ราชินีเหรียญในแง่การเป็นผูปกปักรักษา บำรุงเลี้ยงดู ขณะเดียวกันก็เชื่อมโยงกับความหมายด้านธรรมชาติของไพ่ใบนี้ด้วย ส่วนในบริบทของนิยายเรื่องนี้ ผมตีความว่าไพ่ใบนี้สื่อถึงสิ่งที่เป็นเสมือนธรรมชาติเก่าแก่ในชุมชนท้องที่ต่าง ๆ ซึ่งก็คือวัฒนธรรม ตำนาน คติชน และเรื่องเล่าต่าง ๆ ที่มีมาแต่โบราณในท้องที่นั้น ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่คนในท้องถิ่นหวนแหนและดูแลสืบต่อไปยังชนรุ่นหลัง
ส่วนไพ่ 3 เหรียญเป็นภาพของ "อิปปงดาตาระ" โยไคตาเดียวขาเดียวที่ว่ากันว่าเคยเป็นช่างฝีมือมาก่อน แต่แกทุ่มเทให้กับงานที่ทำมากเกินไปจนสูญเสียดวงตากับขาไปอย่างละข้าง ไพ่ชุดนี้นำโยไคตนนี้มาเชื่อมโยงกับไพ่ 3 เหรียญในแง่ที่ตัวมันเป็นภูตที่มีที่มาจากช่างฝีมือ ซึ่งเป็นความหมายหนึ่งของไพ่ใบนี้ ส่วนอีกความหมายที่รู้จักกันมากกว่าคือ "การร่วมมือ" (รวมถึงงานประเภทคอลแลบฯ ระหว่างศิลปิน) และ "การบูรณาการ"
ไพ่สองใบนี้รวมกัน จึงสื่อถึง การบูรณาการของตำนานความเชื่อเก่าแก่ ซึ่งในบริบทของ 'เฮียกกิยาเกียว' มันก็คือการบูรณาการความเชื่อเกี่ยวกับภูตผีของไทยและญี่ปุ่น จนกลายมาเป็นขบวนแห่ร้อยผีประจำนิยายเรื่องนี้ ซึ่งเป็นจุดเด่นของเรื่องที่ต้องชื่นชมความช่างคิดของผู้เขียนจริง ๆ
ในขบวนแห่ร้อยผี นอกจากจะมีโยไคญี่ปุ่นอย่างนูราริเฮียงแล้ว ยังมีผีไทยที่คนภาคกลางอาจไม่คุ้นเคยเท่าไร เช่น ผีม้าบ้อง ซึ่งมีลักษณะเป็นครึ่งคนครึ่งม้าคล้ายเซนทอร์ของกรีก (ในนิยายเล่มนี้เรียกผีม้าบ้องว่า "เซนทอร์แห่งล้านนา" ด้วยซ้ำ) หรือแมวจะกละ แมวดำที่ทำให้มนุษย์ที่ได้สัมผัสร่างต้องพบความตายอย่างน่าสยดสยอง นอกจากนั้นยังมีผีบางตนที่มีอยู่ในทั้งเรื่องผีของไทยและญี่ปุ่นอย่างผีกระสือ ซึ่งเวอร์ชันของญี่ปุ่นเรียกว่า "นูเกะคูบิ"
นอกจากนั้น นิยายเรื่องนี้ยังบูรณาการเรื่องจริงที่มีบันทึกในประวัติศาสตร์ไทยเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องด้วย โดยเชื่อมโยงกับชีวิตของยามาดะ นางามาสะ หรือ ออกญาเสนาภิมุข (ซึ่งตรงนี้ทำให้ผมค่อนข้างเชื่อว่า ฉากท้องเรื่องของเรื่องนี้อยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช)
----------
"บางสิ่งที่ไม่อาจหนีพ้น"
ใต้กอง: 🃏Judgement
ไพ่ใต้กองของการเปิดไพ่ "เผาเรื่อง" ครั้งนี้คือไพ่ Judgement ซึ่งเป็นภาพของโยไคชื่อ "คิโยะฮิเมะ" นางเป็นปีศาจงูที่ไปตกหลุมรักพระรูปหนึ่งอย่างจัง แต่พระหนุ่มไม่เล่นด้วย ทิ้งนางอย่างไม่ไยดี นางจึงตามล่าพระหนุ่มไปทั่วญี่ปุ่น จนในที่สุด พระหนุ่มไปหลบซ่อนในระฆังวัด แต่นางก็หาเจอ และคลายขนดหางออกมารัดระฆัง ก่อนจะพ่นไฟออกมาย่างสดพระหนุ่ม โหดฉิบ แต่ใด ๆ คือ ไพ่ชุดนี้เลือกวีรกรรมการตามล่าเหยื่ออย่างไม่ลดไม่ละของนางมาเชื่อมโยงกับความหมายของไพ่ Judgement ในด้านการมาถึงของบางสิ่งที่เราไม่อาจหนีพ้น ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นอะไรก็ตาม อาจเป็นความจริงหรือสัจธรรมของจักรวาล
การถูกตามล่าโดยบางสิ่งที่ไม่อาจหนีพ้น คือแก่นเรื่องของ 'เฮียกกิยาเกียว' ใครก็ตามที่มองเห็นขบวนแห่ร้อยผี (ยกเว้นผู้มีตาทิพย์หรือสัมผัสพิเศษ) จะต้องถูกตามล่าไปตลอดกาล จนกว่าภูตผีในขบวนจะจับตัวและพาไปร่วมขบวนได้ อาจมีบางช่วงเวลาหรือเงื่อนไขที่ช่วยให้ยืดเวลาหรือหลบหนีจากขบวนแห่ร้อยผีได้ แต่ก็ทำได้แค่ชั่วคราว
เมื่ออ่านนิยายเล่มนี้ไปเรื่อย ๆ คนอ่านจะพบว่า ไม่ได้มีแค่อัครและอัญรินทร์ สองตัวละครเอกที่พยายามหนีจากขบวนแห่ร้อยผี มีคนอื่นที่เคยพบเจอและพยายามหนีจากพวกมันด้วย รวมทั้งมีตัวละครอื่นที่พยายามหลบหนีจากอะไรอย่างอื่น แต่ทุกสิ่งล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ไม่มีทางหลบหนีพ้น ดังนั้นจึงมีทางเลือกแค่หาทางหนีประวิงเวลาไปเรื่อย ๆ หรือยอมจำนน
----------
Final Verdict: 🃏I-The Magician + 🃏XIV-Temperance + 🃏Queen of Coins (Queen of Pentacles) + 🃏3 of Coins (3 of Pentacles) + 🃏Judgement (ใต้กอง)
'เฮียกกิยาเกียว' เป็นเรื่องที่นำตำนานความเชื่อและเรื่องเหล่าอันแตกต่างหลากหลายมาผสมผสานและบูรณาการเข้าด้วยกันอย่าชาญฉลาดและลงตัว พร้อมกับทำให้ปิดเล่มไปด้วยความจรรโลงใจและการตระหนักซึ่งในสัจธรรมบางประการ
🃏🃏🃏🃏🃏
เฮียกกิยาเกียว ขบวนแห่ร้อยผีแห่งเดือนเพ็ญพิศวง (2025)
• ผู้เขียน: กันตชาต ชวนะวิรัช
• สำนักพิมพ์: Prism (ในเครืออมรินทร์)
ไพ่ที่ใช้: Yokai Tarot (2024) ผลิตและจัดจำหน่ายโดย Lo Scarabeo Tarot
สำหรับผม ญี่ปุ่นและไทยคล้ายคลึงกันมากในปริมณฑลเรื่องเหนือธรรมชาติ ไทยเรามีภูตผีหลากหลายดีไซน์มากพอ ๆ กับโยไคของญี่ปุ่น ต่างกันแค่ผีญี่ปุ่นยังมีการรวมตัวเดินขบวนพาเหรดเป็น "ขบวนแห่ร้อยอสูร" (百鬼夜行 - เฮียกกิยาเกียว) จนเมื่อได้อ่านนิยายเล่มนี้เองที่ได้เจอเรื่องราวของขบวนแห่แบบที่ว่าในรูปผสมผสานสองเชื้อชาติ
'เฮียกกิยาเกียว ขบวนแห่ร้อยผีแห่งเดือนเพ็ญพิศวง' โดย กันตชาต ชวนะวิรัช เป็นนวนิยายที่ได้รับคัดเลือกจาก บ.อมรินทร์ให้ตีพิมพ์ในโปรเจกต์ "ไทยเล่าไทยหลอน" เนื้อเรื่องเกิดขึ้นในที่ที่เป็นไปได้มากว่าจะอยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช มีตำนานท้องถิ่นกล่าวถึงขบวนแห่ร้อยผีที่มีผู้ร่วมขบวนทั้งผีไทยและผีญี่ปุ่น มีผู้นำขบวนคือ เทพอาคันตุกะ หรือนูราริเฮียง ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นเจ้าแห่งโยไคของญี่ปุ่น เล่ากันว่าหากคนทั่วไปที่ไม่ได้มีสัมผัสพิเศษมองเห็นขบวนแห่ร้อยผีเข้า ก็จะโดนทั้งขบวนตามล่าเพื่อนำวิญญาณไปร่วมขบวนด้วย ในเนื้อเรื่อง อัญรินทร์เห็นขบวนแห่นี้และโดนหมายหัว อัคร น้องชายวัย ม.ปลาย ซึ่งมองเห็นวิญญาณได้ จึงพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อพาพี่สาวหลบหนีจากขบวนแห่ร้อยผี แม้กระทั่งต้องเข้าไปซ่อนในบ้านเด็กกำพร้าผีสิงก็ตาม
ถึงจะขึ้นชื่อว่าเป็นเรื่องผี มีคำว่า "ผี" อยู่ในชื่อเรื่อง แต่โทนเรื่องโดยรวมไม่ได้เน้นความน่ากลัวสยองขวัญเท่าไร (สำหรับผมอะนะ) ออกจะเป็นแฟนตาซีที่แฝงกลิ่นอายลึกลับแบบ Spirited Away ของสตูดิโอจิบลิมากกว่า คงเพราะมีผีญี่ปุ่นอยู่ในเรื่องด้วย (แต่ก็น่าเสียดายนิดหน่อยที่เอาจริง ๆ ถ้าเทียบแอร์ไทม์แล้ว ผีในขบวนแห่ร้อยผีกลับมีบทบาทน้อยกว่าผีที่ไม่ได้อยู่ในขบวนแห่เสียอีก) ทั้งนี้ ตอนจบทั้งสวยงามและปวดตับอย่างยิ่ง ต่อให้คุณพอจะคาดการณ์ได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ผมเชื่อว่าบทสุดท้ายก็น่าจะกระชากอารมณ์คุณไม่มากก็น้อย ยกเว้นก็แต่คุณจะอารมณ์ตายด้านไปแล้วหรือไม่ก็เป็นไซโคพาธ อี๋ย์ ไปให้พ้น ชิ่ว ๆ
อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่พื้นที่ที่ผมจะรีวิวหนังสือ แต่ผมจะให้ไพ่ทาโรต์หรือไพ่พยากรณ์ในคลังของผมกำหนดประเด็นที่จะรีวิว วิจารณ์ หรือหยิบยกมาพูด แล้วผมจะนำมาแปลและถ่ายทอดต่ออีกที โดยสุ่มจับไพ่ 4 ใบ และใช้ไพ่ใต้กองอีก 1 ใบ
สำหรับนิยายเล่มนี้ ซึ่งมีภูตผีญี่ปุ่นมาเกี่ยวข้อง ผมก็คิดว่าน่าจะเหมาะสมถ้าใช้ไพ่ที่มีธีมเป็นผีญี่ปุ่นมาทำการ "เผาเรื่อง" นั่นคือไพ่ชุด 'Yokai Tarot' โดย สนพ.Lo Scarabeo จากอิตาลี
ขอเชิญรับชม #ไพ่เราเผาหนังสือ 'เฮียกกิยาเกียว ขบวนแห่ร้อยผีแห่งเดือนเพ็ญพิศวง' ด้วย 'Yokai Tarot' ได้ ณ บัดนี้ครับ
----------
"หลอกลวงคนอ่านอย่าง(เกือบ)แนบเนียน"
🃏I-The Magician + 🃏XIV-Temperance
ไพ่ Magician ของ Yokai Tarot เลือกหน้าไพ่เป็นปีศาจทานุกิ ซึ่งเป็นโยไคที่ขึ้นชื่อเรื่องการแปลงร่างไปหลอกลวงหรือแกล้งมนุษย์ ตรงกับความหมายในแง่ "การหลอกลวง" ของไพ่นักมายากล ส่วนไพ่ Temperance มีหน้าไพ่เป็น "นิงเกียว" หรือก็คือนางเงือกแบบญี่ปุ่น เชื่อกันว่าเนื้อของเงือกญี่ปุ่นจะทำให้อายุยืนยาวหรือถึงขั้นเป็นอมตะ แต่เฉพาะในบริบทของไพ่แห่งความพอดี เงือกคือตัวตนที่แสดงถึงความสอดประสานกันอย่างลงตัว กลมเกลียว และ "แนบเนียน" ระหว่างสิ่งตรงข้าม ไม่ว่าจะคนและปลา หรือบกและน้ำ
'เฮียกกิยาเกียว' เป็นนิยายที่ไม่ได้ใส่ผีมาหลอกตัวละครในเรื่องอย่างเดียว แต่ตัวมันยังพยายามหลอกคนอ่านอย่างเราให้เข้าใจผิดเกือบตลอดเวลา ซึ่งก็มาพร้อมกับ Plot twists หรือการหักมุมหลายตลบ แต่ก็ไม่ได้เป็นการหักแบบคอพับ 180 องศาชนิดไม่มีปี่มีขลุ่ย ระหว่างทาง เนื้อเรื่องจะแอบหยอดรายละเอียดที่ค่อย ๆ นำไปสู่การเฉลยปมหักมุมแต่ละเรื่อง ดังนั้นสำหรับผู้อ่านที่ช่างสังเกตและช่างคิด รวมถึงมีชั่วโมงบินเยอะ ก็อาจคาดเดาจุดหักมุมแต่ละจุดได้ไม่ยาก รวมถึง Plot twist ใหญ่ในหน้า 226
นอกจากนี้ ผมชอบเป็นพิเศษที่ไพ่ Temperance ขึ้นมาในหัวข้อนี้พอดี ความหมายหลักอย่างหนึ่งของไพ่ใบนี้คือ "ความกลมเกลียว" และ "การสอดประสานกันอย่างลงตัว" ซึ่งเป็นคำที่ใช้อธิบายได้ดีอย่างยิ่งกับความสัมพันธ์ระหว่างสังคมมนุษย์กับสังคมผีในนิยายเรื่องนี้ เนื้อเรื่องบรรยายว่าชุมชนในเรื่องเป็นที่ที่ผีและคนอยู่ร่วมกันอย่างใกล้ชิด จนบางครั้งพรมแดนระหว่าง 2 ภพก็พร่าเลือนโดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรืออาจจะทั้ง 2 ฝ่ายไม่รู้ตัว ซึ่งนี่ก็เป็นกลวิธีอย่างหนึ่งที่ผู้เขียนใช้หลอกลวงคนอ่านด้วย (แน่นอนว่าตรงนี้ไม่ได้สปอยล์สาระสำคัญของเรื่องแต่อย่างใด ;) )
----------
"บูรณาการตำนาน(ผี)จากสองชาติ"
🃏Queen of Coins (Queen of Pentacles) + 🃏3 of Coins (3 of Pentacles)
โยไคบนหน้าไพ่ราชินีเหรียญของชุด Yokai Tarot คือ "ยามะฮิเมะ" (เจ้าหญิงแห่งขุนเขา) ซึ่งมีบทบาทคล้าย ๆ วิญญาณเจ้าป่าเจ้าเขาในไทยเรา เป็นผู้ปกปักรักษาสิ่งต่าง ๆ ในพื้นที่ภูเขาของตน ทั้งป่าดงพงไพร พืช สัตว์ รวมถึงมนุษย์ที่อาศัยในบริเวณนั้นและเคารพบูชานาง บทบาทตามตำนานความเชื่อของโยไคตนนี้ตรงกับความหมายของไพ่ราชินีเหรียญในแง่การเป็นผูปกปักรักษา บำรุงเลี้ยงดู ขณะเดียวกันก็เชื่อมโยงกับความหมายด้านธรรมชาติของไพ่ใบนี้ด้วย ส่วนในบริบทของนิยายเรื่องนี้ ผมตีความว่าไพ่ใบนี้สื่อถึงสิ่งที่เป็นเสมือนธรรมชาติเก่าแก่ในชุมชนท้องที่ต่าง ๆ ซึ่งก็คือวัฒนธรรม ตำนาน คติชน และเรื่องเล่าต่าง ๆ ที่มีมาแต่โบราณในท้องที่นั้น ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่คนในท้องถิ่นหวนแหนและดูแลสืบต่อไปยังชนรุ่นหลัง
ส่วนไพ่ 3 เหรียญเป็นภาพของ "อิปปงดาตาระ" โยไคตาเดียวขาเดียวที่ว่ากันว่าเคยเป็นช่างฝีมือมาก่อน แต่แกทุ่มเทให้กับงานที่ทำมากเกินไปจนสูญเสียดวงตากับขาไปอย่างละข้าง ไพ่ชุดนี้นำโยไคตนนี้มาเชื่อมโยงกับไพ่ 3 เหรียญในแง่ที่ตัวมันเป็นภูตที่มีที่มาจากช่างฝีมือ ซึ่งเป็นความหมายหนึ่งของไพ่ใบนี้ ส่วนอีกความหมายที่รู้จักกันมากกว่าคือ "การร่วมมือ" (รวมถึงงานประเภทคอลแลบฯ ระหว่างศิลปิน) และ "การบูรณาการ"
ไพ่สองใบนี้รวมกัน จึงสื่อถึง การบูรณาการของตำนานความเชื่อเก่าแก่ ซึ่งในบริบทของ 'เฮียกกิยาเกียว' มันก็คือการบูรณาการความเชื่อเกี่ยวกับภูตผีของไทยและญี่ปุ่น จนกลายมาเป็นขบวนแห่ร้อยผีประจำนิยายเรื่องนี้ ซึ่งเป็นจุดเด่นของเรื่องที่ต้องชื่นชมความช่างคิดของผู้เขียนจริง ๆ
ในขบวนแห่ร้อยผี นอกจากจะมีโยไคญี่ปุ่นอย่างนูราริเฮียงแล้ว ยังมีผีไทยที่คนภาคกลางอาจไม่คุ้นเคยเท่าไร เช่น ผีม้าบ้อง ซึ่งมีลักษณะเป็นครึ่งคนครึ่งม้าคล้ายเซนทอร์ของกรีก (ในนิยายเล่มนี้เรียกผีม้าบ้องว่า "เซนทอร์แห่งล้านนา" ด้วยซ้ำ) หรือแมวจะกละ แมวดำที่ทำให้มนุษย์ที่ได้สัมผัสร่างต้องพบความตายอย่างน่าสยดสยอง นอกจากนั้นยังมีผีบางตนที่มีอยู่ในทั้งเรื่องผีของไทยและญี่ปุ่นอย่างผีกระสือ ซึ่งเวอร์ชันของญี่ปุ่นเรียกว่า "นูเกะคูบิ"
นอกจากนั้น นิยายเรื่องนี้ยังบูรณาการเรื่องจริงที่มีบันทึกในประวัติศาสตร์ไทยเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องด้วย โดยเชื่อมโยงกับชีวิตของยามาดะ นางามาสะ หรือ ออกญาเสนาภิมุข (ซึ่งตรงนี้ทำให้ผมค่อนข้างเชื่อว่า ฉากท้องเรื่องของเรื่องนี้อยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช)
----------
"บางสิ่งที่ไม่อาจหนีพ้น"
ใต้กอง: 🃏Judgement
ไพ่ใต้กองของการเปิดไพ่ "เผาเรื่อง" ครั้งนี้คือไพ่ Judgement ซึ่งเป็นภาพของโยไคชื่อ "คิโยะฮิเมะ" นางเป็นปีศาจงูที่ไปตกหลุมรักพระรูปหนึ่งอย่างจัง แต่พระหนุ่มไม่เล่นด้วย ทิ้งนางอย่างไม่ไยดี นางจึงตามล่าพระหนุ่มไปทั่วญี่ปุ่น จนในที่สุด พระหนุ่มไปหลบซ่อนในระฆังวัด แต่นางก็หาเจอ และคลายขนดหางออกมารัดระฆัง ก่อนจะพ่นไฟออกมาย่างสดพระหนุ่ม โหดฉิบ แต่ใด ๆ คือ ไพ่ชุดนี้เลือกวีรกรรมการตามล่าเหยื่ออย่างไม่ลดไม่ละของนางมาเชื่อมโยงกับความหมายของไพ่ Judgement ในด้านการมาถึงของบางสิ่งที่เราไม่อาจหนีพ้น ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นอะไรก็ตาม อาจเป็นความจริงหรือสัจธรรมของจักรวาล
การถูกตามล่าโดยบางสิ่งที่ไม่อาจหนีพ้น คือแก่นเรื่องของ 'เฮียกกิยาเกียว' ใครก็ตามที่มองเห็นขบวนแห่ร้อยผี (ยกเว้นผู้มีตาทิพย์หรือสัมผัสพิเศษ) จะต้องถูกตามล่าไปตลอดกาล จนกว่าภูตผีในขบวนจะจับตัวและพาไปร่วมขบวนได้ อาจมีบางช่วงเวลาหรือเงื่อนไขที่ช่วยให้ยืดเวลาหรือหลบหนีจากขบวนแห่ร้อยผีได้ แต่ก็ทำได้แค่ชั่วคราว
เมื่ออ่านนิยายเล่มนี้ไปเรื่อย ๆ คนอ่านจะพบว่า ไม่ได้มีแค่อัครและอัญรินทร์ สองตัวละครเอกที่พยายามหนีจากขบวนแห่ร้อยผี มีคนอื่นที่เคยพบเจอและพยายามหนีจากพวกมันด้วย รวมทั้งมีตัวละครอื่นที่พยายามหลบหนีจากอะไรอย่างอื่น แต่ทุกสิ่งล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ไม่มีทางหลบหนีพ้น ดังนั้นจึงมีทางเลือกแค่หาทางหนีประวิงเวลาไปเรื่อย ๆ หรือยอมจำนน
----------
Final Verdict: 🃏I-The Magician + 🃏XIV-Temperance + 🃏Queen of Coins (Queen of Pentacles) + 🃏3 of Coins (3 of Pentacles) + 🃏Judgement (ใต้กอง)
'เฮียกกิยาเกียว' เป็นเรื่องที่นำตำนานความเชื่อและเรื่องเหล่าอันแตกต่างหลากหลายมาผสมผสานและบูรณาการเข้าด้วยกันอย่าชาญฉลาดและลงตัว พร้อมกับทำให้ปิดเล่มไปด้วยความจรรโลงใจและการตระหนักซึ่งในสัจธรรมบางประการ
🃏🃏🃏🃏🃏
เฮียกกิยาเกียว ขบวนแห่ร้อยผีแห่งเดือนเพ็ญพิศวง (2025)
• ผู้เขียน: กันตชาต ชวนะวิรัช
• สำนักพิมพ์: Prism (ในเครืออมรินทร์)
ไพ่ที่ใช้: Yokai Tarot (2024) ผลิตและจัดจำหน่ายโดย Lo Scarabeo Tarot
