มาตรการภาษีตอบโต้ที่ทรัมป์ประกาศ เป็นเพียงหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงระเบียบโลก ไทยและอาเซียนกำลังเผชิญกับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ต่อจากมิติการค้าการลงทุนซึ่งเป็นเรื่องเร่งด่วน (แต่ผู้นำไทยก็ยังล่าช้า ไม่เท่าทัน) ในระยะกลาง มิติความมั่นคงจะกลายเป็นอีกหนึ่งความท้าทายที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น และไทยต้องชิงเล่นบทบาทนำ เพื่อชดเชยกับความล่าช้าล้าหลังที่เราเสียตำแหน่งผู้นำอาเซียนไปในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
.
ASEAN ZOPFAN และ Bangkok Treaty of 1995 ที่ประกาศให้อาเซียนเป็นเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ ต้องได้รับการ upgrade
.
“ในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีความสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดปรากฎการณ์ ‘กฎแห่งป่า’ (Law of the Jungle) อำนาจกลายเป็นความถูกต้องในการกำหนดกติกา (Might is Right) รัฐที่มีพลังอำนาจเหนือกว่าสามารถเข้ายึดครอง ครอบครอง และกำหนดชะตากรรมของรัฐที่มีพลังอำนาจอ่อนด้อยกว่า และเมื่อกลไกสถาบันระหว่างประเทศไม่สามารถทำงานได้อย่างที่ควรจะเป็น ประชาคมอาเซียนที่รัฐสมาชิกส่วนใหญ่เป็นประเทศขนาดเล็กและขนาดกลางมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพึ่งพากฎกติกาแบบเสรีนิยม”
.
ในวันที่โลกเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ระเบียบโลกใหม่ ปิติ ศรีแสงนาม ชวนหาที่ทางของประชาคมอาเซียนในมิติความเป็นศูนย์กลางด้านความมั่นคงในภูมิภาค
.
อ่านได้ที่: https://www.the101.world/amidst-the-two-oceans-3/
.
“แน่นอนว่า เมื่อกฎแห่งป่าและพลังอำนาจกลายเป็นความถูกต้องในการกำหนดกติกา ฉากทัศน์ที่น่าห่วงกังวลมากที่สุดคือ แต่ละประเทศมุ่งหน้าพัฒนา ผลิต และสะสมเทคโนโลยีนิวเคลียร์ที่มีศักยภาพทางการทหาร เพราะนี่คือแนวทางที่พิสูจน์มาแล้วในทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศว่าเป็นสิ่งที่มีพลังอำนาจในการต่อรองสูงสุด โดยเฉพาะเมื่อต้องต่อรองกับมหาอำนาจ”
.
“อาเซียนเองมีการลงนามและบังคับใช้ปฏิญญาว่าด้วยเขตสันติภาพ เสรีภาพ และความเป็นกลาง (Declaration on the Zone of Peace, Freedom, and Neutrality: ZOPFAN) มาตั้งแต่ปี 1971 เมื่อไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ (สมาชิกอาเซียน ณ ขณะนั้น) เห็นการแทรกแซงกิจการภายในของ เวียดนาม ลาว และกัมพูชา โดยมหาอำนาจภายนอก ไม่ว่าจะเป็นสหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐประชาชนจีน และหลายประเทศในยุโรป จนลุกลามใหญ่โตกลายเป็นสงครามที่ล้างผลาญชีวิตคนจำนวนมาก และเมื่อการสะสมอาวุธนิวเคลียร์กลายเป็นปรากฏการณ์ที่นำความสุ่มเสี่ยงไปทั่วโลก อาเซียนโดยการผลักดันของประเทศไทยก็สามารถลงนามในสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Southeast Asia Nuclear Weapon-Free Zone: SEANWFZ) ได้สำเร็จในปี 1995”
.
“ข้อตกลงที่เอ่ยถึงนี้ถือเป็นความสำเร็จในอดีตที่อาเซียนต้องทบทวน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันที่ประเทศเพื่อนบ้านของไทยกำลังเดินหน้าเพื่อครอบครองเทคโนโลยีนิวเคลียร์ เมียนมาและเวียดนามกำลังเดินหน้าเพื่อการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ 2 แห่งแรกในภูมิภาค แน่นอนว่าด้วยวัตถุประสงค์เพื่อสันติ เพื่อความมั่นคงทางพลังงาน และคาดว่าทั้ง 2 ประเทศจะได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากรัสเซีย”
.
“แน่นอนว่าเมื่อพิจารณามิติพลังงานปรมาณูเพื่อสันติร่วมกับการสร้างและใช้งานโครงข่ายพลังงานอาเซียน (ASEAN Power Grid) อาเซียนจะมีความมั่นคงทางพลังงานสูงขึ้น แต่การมีเทคโนโลยีนิวเคลียร์ เตาปฏิกรณ์ และการเสริมสร้างสารตั้งต้นของปฏิกิริยานิวเคลียร์ ล้วนแล้วแต่ทำให้ศักย์สงคราม (War Capability) ของประเทศนั้นๆ สูงขึ้น”
.
“ลองนึกถึงข้อจำกัดทางทรัพยากรมนุษย์ที่อาจต้องทำให้โรงงานเหล่านี้ดำเนินการโดยวิศวกรและทีมเทคนิคต่างชาติ ลงทุนโดยต่างชาติ และควบคุมตรวจสอบโดยต่างชาติ ร่วมกับเงินทุนที่มีจำกัด เช่น อาจสร้างเตาปฏิกรณ์ในประเทศ และระบบกำจัดกากของเสียจากเตาปฏิกรณ์ต้องส่งออกไปทำลายในต่างประเทศ เหล่านี้ล้วนทำให้เกิดความไม่สบายใจได้ว่า ประเทศอาเซียนจะกลายเป็นแหล่งส่งออกวัตถุดิบต้นน้ำสำหรับการประกอบอาวุธนิวเคลียร์ได้หรือไม่”
.
“ในวันที่ระเบียบโลกกำลังมีความซัดส่ายอย่างยิ่ง สิ่งหนึ่งที่ประเทศไทยเคยทำสำเร็จมาแล้วและต้องเร่งผลักดัน คือการคำนึงถึงว่าจะเป็นการดีหรือไม่ หากต้องมีการปรับปรุงแก้ไขสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia: TAC) ให้ประเทศคู่เจรจาที่ต้องการเป็นมิตรและแสวงหาประโยชร์ร่วมกันอย่างยั่งยืนกับอาเซียนต้องยอมรับเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ของอาเซียนด้วย”
.
ภาพประกอบ: พิรุฬพร นามมูลน้อย
มาตรการภาษีตอบโต้ที่ทรัมป์ประกาศ เป็นเพียงหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงระเบียบโลก ไทยและอาเซียนกำลังเผชิญกับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ต่อจากมิติการค้าการลงทุนซึ่งเป็นเรื่องเร่งด่วน (แต่ผู้นำไทยก็ยังล่าช้า ไม่เท่าทัน) ในระยะกลาง มิติความมั่นคงจะกลายเป็นอีกหนึ่งความท้าทายที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น และไทยต้องชิงเล่นบทบาทนำ เพื่อชดเชยกับความล่าช้าล้าหลังที่เราเสียตำแหน่งผู้นำอาเซียนไปในช่วงหลายปีที่ผ่านมา . ASEAN ZOPFAN และ Bangkok Treaty of 1995 ที่ประกาศให้อาเซียนเป็นเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ ต้องได้รับการ upgrade . “ในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีความสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดปรากฎการณ์ ‘กฎแห่งป่า’ (Law of the Jungle) อำนาจกลายเป็นความถูกต้องในการกำหนดกติกา (Might is Right) รัฐที่มีพลังอำนาจเหนือกว่าสามารถเข้ายึดครอง ครอบครอง และกำหนดชะตากรรมของรัฐที่มีพลังอำนาจอ่อนด้อยกว่า และเมื่อกลไกสถาบันระหว่างประเทศไม่สามารถทำงานได้อย่างที่ควรจะเป็น ประชาคมอาเซียนที่รัฐสมาชิกส่วนใหญ่เป็นประเทศขนาดเล็กและขนาดกลางมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพึ่งพากฎกติกาแบบเสรีนิยม” . ในวันที่โลกเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ระเบียบโลกใหม่ ปิติ ศรีแสงนาม ชวนหาที่ทางของประชาคมอาเซียนในมิติความเป็นศูนย์กลางด้านความมั่นคงในภูมิภาค . อ่านได้ที่: https://www.the101.world/amidst-the-two-oceans-3/ . “แน่นอนว่า เมื่อกฎแห่งป่าและพลังอำนาจกลายเป็นความถูกต้องในการกำหนดกติกา ฉากทัศน์ที่น่าห่วงกังวลมากที่สุดคือ แต่ละประเทศมุ่งหน้าพัฒนา ผลิต และสะสมเทคโนโลยีนิวเคลียร์ที่มีศักยภาพทางการทหาร เพราะนี่คือแนวทางที่พิสูจน์มาแล้วในทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศว่าเป็นสิ่งที่มีพลังอำนาจในการต่อรองสูงสุด โดยเฉพาะเมื่อต้องต่อรองกับมหาอำนาจ” . “อาเซียนเองมีการลงนามและบังคับใช้ปฏิญญาว่าด้วยเขตสันติภาพ เสรีภาพ และความเป็นกลาง (Declaration on the Zone of Peace, Freedom, and Neutrality: ZOPFAN) มาตั้งแต่ปี 1971 เมื่อไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ (สมาชิกอาเซียน ณ ขณะนั้น) เห็นการแทรกแซงกิจการภายในของ เวียดนาม ลาว และกัมพูชา โดยมหาอำนาจภายนอก ไม่ว่าจะเป็นสหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐประชาชนจีน และหลายประเทศในยุโรป จนลุกลามใหญ่โตกลายเป็นสงครามที่ล้างผลาญชีวิตคนจำนวนมาก และเมื่อการสะสมอาวุธนิวเคลียร์กลายเป็นปรากฏการณ์ที่นำความสุ่มเสี่ยงไปทั่วโลก อาเซียนโดยการผลักดันของประเทศไทยก็สามารถลงนามในสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Southeast Asia Nuclear Weapon-Free Zone: SEANWFZ) ได้สำเร็จในปี 1995” . “ข้อตกลงที่เอ่ยถึงนี้ถือเป็นความสำเร็จในอดีตที่อาเซียนต้องทบทวน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันที่ประเทศเพื่อนบ้านของไทยกำลังเดินหน้าเพื่อครอบครองเทคโนโลยีนิวเคลียร์ เมียนมาและเวียดนามกำลังเดินหน้าเพื่อการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ 2 แห่งแรกในภูมิภาค แน่นอนว่าด้วยวัตถุประสงค์เพื่อสันติ เพื่อความมั่นคงทางพลังงาน และคาดว่าทั้ง 2 ประเทศจะได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากรัสเซีย” . “แน่นอนว่าเมื่อพิจารณามิติพลังงานปรมาณูเพื่อสันติร่วมกับการสร้างและใช้งานโครงข่ายพลังงานอาเซียน (ASEAN Power Grid) อาเซียนจะมีความมั่นคงทางพลังงานสูงขึ้น แต่การมีเทคโนโลยีนิวเคลียร์ เตาปฏิกรณ์ และการเสริมสร้างสารตั้งต้นของปฏิกิริยานิวเคลียร์ ล้วนแล้วแต่ทำให้ศักย์สงคราม (War Capability) ของประเทศนั้นๆ สูงขึ้น” . “ลองนึกถึงข้อจำกัดทางทรัพยากรมนุษย์ที่อาจต้องทำให้โรงงานเหล่านี้ดำเนินการโดยวิศวกรและทีมเทคนิคต่างชาติ ลงทุนโดยต่างชาติ และควบคุมตรวจสอบโดยต่างชาติ ร่วมกับเงินทุนที่มีจำกัด เช่น อาจสร้างเตาปฏิกรณ์ในประเทศ และระบบกำจัดกากของเสียจากเตาปฏิกรณ์ต้องส่งออกไปทำลายในต่างประเทศ เหล่านี้ล้วนทำให้เกิดความไม่สบายใจได้ว่า ประเทศอาเซียนจะกลายเป็นแหล่งส่งออกวัตถุดิบต้นน้ำสำหรับการประกอบอาวุธนิวเคลียร์ได้หรือไม่” . “ในวันที่ระเบียบโลกกำลังมีความซัดส่ายอย่างยิ่ง สิ่งหนึ่งที่ประเทศไทยเคยทำสำเร็จมาแล้วและต้องเร่งผลักดัน คือการคำนึงถึงว่าจะเป็นการดีหรือไม่ หากต้องมีการปรับปรุงแก้ไขสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia: TAC) ให้ประเทศคู่เจรจาที่ต้องการเป็นมิตรและแสวงหาประโยชร์ร่วมกันอย่างยั่งยืนกับอาเซียนต้องยอมรับเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ของอาเซียนด้วย” . ภาพประกอบ: พิรุฬพร นามมูลน้อย
WWW.THE101.WORLD
Amidst the Two Oceans ตอนที่ 3: ประชาคมอาเซียนในระเบียบโลกใหม่
ปิติ ศรีแสงนาม ชวนหาที่ทางของประชาคมอาเซียนในมิติความเป็นศูนย์กลางด้านความมั่นคงในภูมิภาค ในวันที่โลกเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ระเบียบโลกใหม่
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 92 มุมมอง 0 รีวิว