หนึ่งในเครื่องมือที่นำมาใช้ในการช่วยค้นหาผู้ประสบภัยที่ติดอยู่ในซากอาคาร สตง. ซึ่งถล่มมาจาก #แผ่นดินไหว ก็คือเครื่องมือค้นหาผู้ประสบภัยของบริษัทอิสราเอลอย่างที่เราทราบก็คือกระทรวงกลาโหมอิสราเอลส่งทหารและหน่วยกู้ภัยมายังประเทศไทยจำนวน 21 คนเพื่อสนับสนุนการกู้ภัย ซึ่งโดยปกติแล้วอิสราเอลมักจะสนับสนุนให้บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ต่าง ๆ ในประเทศที่มีจำนวนมากส่งเครื่องมือเข้ามาช่วยสนับสนุนด้วย เช่นในกรณีการช่วยเหลือทีมหมูป่าที่ถ้ำหลวง เป็นต้น ซึ่งอิสราเอลใช้เทคนิคนี้ในการทำประโยชน์สองด้านคือ การช่วยเหลือประเทศอื่นที่ประสบภาวะวิกฤตเพื่อกระชับความสัมพันธ์ และเป็นการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ของอิสราเอลให้เกิดการใช้งานจริงเป็นตัวอย่างเพื่อโอกาสทางธุรกิจในอนาคตในกรณีแผ่นดินไหวครั้งนี้ก็เช่นกัน โดยเครื่องมือที่บริษัทของอิสราเอลนำมาช่วยเหลือด้วยคือ Xaver 400 และ Xaver 100 ของบริษัท Camero Technology ซึ่งเครื่องมือในลักษณะนี้ไม่ได้ใช้ดาวเทียมหรือการ X-Ray เนื่องจากคลื่นของอุปกรณ์ทั้งสองอย่างนี้ไม่สามารถเจาะทะลุผนังหรือสิ่งกีดขวางได้ แต่ใช้เรดาร์ซึ่งเป็นการส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเข้าไปใต้ดินหรือสิ่งกีดขวางต่าง ๆ และรับคลื่นที่สะท้อนกลับมาสร้างแผนภาพของสิ่งที่ค้นพบ ลักษณะคล้ายกับ Ground-Penetrating Radar นั่นเอง โดยเรดาร์แบบนี้สามารถเจาะทะลุคอนกรีต อิฐ ดิน หิน หรือกระจกต่าง ๆ ที่มีความหนามากได้ โดยในกรณีนี้อุปกรณ์ใช้คลื่นในย่าน 3 - 10 GHzที่จริงแล้วเครื่องมือนี้ออกแบบมาสำหรับการใช้งานทางทหาร เพื่อให้กำลังพลที่จะบุกเข้าอาคารหรือสิ่งกีดขวางสามารถทราบได้ว่ามีฝ่ายตรงข้ามซ่อนอยู่ด้านหลังอาคารกี่คน อยู่ในตำแแหน่งไหน รวมถึงสร้างภาพ Layout ด้านหลังแพงว่าเป็นแบบใด ซึ่งจะทำให้ทราบว่าฝ่ายเราจะต้องไปเจอกับอะไรก่อนที่จะบุกเข้าไป และทำให้ไม่ว่าฝ่ายตรงข้ามจะซ่อนตัวมิดชิดขนาดไหนฝ่ายเราก็จะทราบตำแหน่งและจำนวนได้อย่างแม่นยำดังนั้น คุณสมบัตินี้สามารถประยุกต์ใช้งานกับการกู้ภัยและช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ดีกว่าอุปกรณ์ Life Locator ทั่วไป เพราะนอกจากจะสามารถตรวจจับสิ่งมีชีวิตที่อยู่ด้านหลังซากอาคารได้แล้ว ยังสามารถทำ Layout เส้นทางและช่องว่างต่าง ๆ ที่จะเข้าถึงตัวผู้ประสบภัยได้ ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญในการวางแผนเพื่อเข้าถึงตัวผู้ประสบภัย โดยสามารถตรวจจับทะลุซากอาคารได้ลึกถึง 20 เมตร ถือเป็นอุปกรณ์ที่น่าสนใจที่อิสราเอลนำมาใช้ในการสนับสนุนการกู้ภัยในประเทศไทยครั้งนี้ https://www.facebook.com/share/p/1A9a8E4yaz/?mibextid=wwXIfr
หนึ่งในเครื่องมือที่นำมาใช้ในการช่วยค้นหาผู้ประสบภัยที่ติดอยู่ในซากอาคาร สตง. ซึ่งถล่มมาจาก #แผ่นดินไหว ก็คือเครื่องมือค้นหาผู้ประสบภัยของบริษัทอิสราเอลอย่างที่เราทราบก็คือกระทรวงกลาโหมอิสราเอลส่งทหารและหน่วยกู้ภัยมายังประเทศไทยจำนวน 21 คนเพื่อสนับสนุนการกู้ภัย ซึ่งโดยปกติแล้วอิสราเอลมักจะสนับสนุนให้บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ต่าง ๆ ในประเทศที่มีจำนวนมากส่งเครื่องมือเข้ามาช่วยสนับสนุนด้วย เช่นในกรณีการช่วยเหลือทีมหมูป่าที่ถ้ำหลวง เป็นต้น ซึ่งอิสราเอลใช้เทคนิคนี้ในการทำประโยชน์สองด้านคือ การช่วยเหลือประเทศอื่นที่ประสบภาวะวิกฤตเพื่อกระชับความสัมพันธ์ และเป็นการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ของอิสราเอลให้เกิดการใช้งานจริงเป็นตัวอย่างเพื่อโอกาสทางธุรกิจในอนาคตในกรณีแผ่นดินไหวครั้งนี้ก็เช่นกัน โดยเครื่องมือที่บริษัทของอิสราเอลนำมาช่วยเหลือด้วยคือ Xaver 400 และ Xaver 100 ของบริษัท Camero Technology ซึ่งเครื่องมือในลักษณะนี้ไม่ได้ใช้ดาวเทียมหรือการ X-Ray เนื่องจากคลื่นของอุปกรณ์ทั้งสองอย่างนี้ไม่สามารถเจาะทะลุผนังหรือสิ่งกีดขวางได้ แต่ใช้เรดาร์ซึ่งเป็นการส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเข้าไปใต้ดินหรือสิ่งกีดขวางต่าง ๆ และรับคลื่นที่สะท้อนกลับมาสร้างแผนภาพของสิ่งที่ค้นพบ ลักษณะคล้ายกับ Ground-Penetrating Radar นั่นเอง โดยเรดาร์แบบนี้สามารถเจาะทะลุคอนกรีต อิฐ ดิน หิน หรือกระจกต่าง ๆ ที่มีความหนามากได้ โดยในกรณีนี้อุปกรณ์ใช้คลื่นในย่าน 3 - 10 GHzที่จริงแล้วเครื่องมือนี้ออกแบบมาสำหรับการใช้งานทางทหาร เพื่อให้กำลังพลที่จะบุกเข้าอาคารหรือสิ่งกีดขวางสามารถทราบได้ว่ามีฝ่ายตรงข้ามซ่อนอยู่ด้านหลังอาคารกี่คน อยู่ในตำแแหน่งไหน รวมถึงสร้างภาพ Layout ด้านหลังแพงว่าเป็นแบบใด ซึ่งจะทำให้ทราบว่าฝ่ายเราจะต้องไปเจอกับอะไรก่อนที่จะบุกเข้าไป และทำให้ไม่ว่าฝ่ายตรงข้ามจะซ่อนตัวมิดชิดขนาดไหนฝ่ายเราก็จะทราบตำแหน่งและจำนวนได้อย่างแม่นยำดังนั้น คุณสมบัตินี้สามารถประยุกต์ใช้งานกับการกู้ภัยและช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ดีกว่าอุปกรณ์ Life Locator ทั่วไป เพราะนอกจากจะสามารถตรวจจับสิ่งมีชีวิตที่อยู่ด้านหลังซากอาคารได้แล้ว ยังสามารถทำ Layout เส้นทางและช่องว่างต่าง ๆ ที่จะเข้าถึงตัวผู้ประสบภัยได้ ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญในการวางแผนเพื่อเข้าถึงตัวผู้ประสบภัย โดยสามารถตรวจจับทะลุซากอาคารได้ลึกถึง 20 เมตร ถือเป็นอุปกรณ์ที่น่าสนใจที่อิสราเอลนำมาใช้ในการสนับสนุนการกู้ภัยในประเทศไทยครั้งนี้ https://www.facebook.com/share/p/1A9a8E4yaz/?mibextid=wwXIfr
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 77 มุมมอง 0 รีวิว