FED ธนาคารกลางสหรัฐ มีมติลดดอกเบี้ยนโยบายลงมากถึง 0.5% นับเป็นการลดครั้งแรกในรอบ 4 ปี เพื่อให้เงินเฟ้อขยับลงอย่างยั่งยืนและเศรษฐกิจสหรัฐsoft landing

19 กันยายน 2567-คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งประชุมกันเมื่อวันที่ 17-18 กันยายนที่ผ่านมา มีมติลดดอกเบี้ยนโยบายลงมากถึง 0.5% นับเป็นการลดครั้งแรกในรอบ 4 ปี ทำให้อัตราดอกเบี้ยลงไปอยู่ในระดับ 4.75-5% อย่างไรก็ตาม มติครั้งนี้ไม่เป็นเอกฉันท์ เนื่องจากมีกรรมการ 1 คนคัดค้าน โดยเห็นว่าควรลดเพียง 0.25%

เหตุผลของกรรมการส่วนใหญ่ที่เห็นว่าควรลด 0.5% ก็เพราะมั่นใจมากขึ้นว่าเงินเฟ้อลดลงอย่างยั่งยืนและเคลื่อนไหวในทิศทางที่เชื่อว่าจะเป็นไปตามเป้าหมายที่ 2% ขณะเดียวกัน ก็เพื่อรักษาอัตราการจ้างงานไปด้วย โดยสภาวการณ์ในขณะนี้ค่อนข้างมีความสมดุลที่จะเอื้อให้บรรลุเป้าหมายทั้งด้านเงินเฟ้อและอัตราการจ้างงาน

การลดดอกเบี้ย 0.5% ถูกมองว่าเป็นการลดแบบ “จัมโบ้” หรือค่อนข้างมาก แต่ก็เป็นไปตามที่ตลาดคาดหมาย หลังจากในระยะหลังนักลงทุนเปลี่ยนความคิด จากเดิมที่เชื่อว่าเฟดจะลดดอกเบี้ยครั้งแรกเพียง 0.25% มาเป็น 0.5% เพื่อป้องกันเศรษฐกิจถดถอย

ขณะเดียวกัน เมื่อดูจากคาดการณ์แนวโน้มดอกเบี้ยของกรรมการรายบุคคล หรือ “Dot Plot” บ่งชี้ว่า จะมีการลดดอกเบี้ยอีก 0.5% ภายในสิ้นปี 2024 นี้ ซึ่งจะมีการประชุมเหลืออยู่ 2 ครั้ง คือ เดือนพฤศจิกายน และธันวาคม จากนั้นปี 2025 จะลดอีก 1% และปีถัดไป 2026 ลดอีก 0.5%

“เจอโรม พาวเวลล์” ประธานเฟด ให้สัมภาษณ์หลังการประชุมว่า การลดดอกเบี้ยครั้งนี้เป็นการ “ปรับปรุง” นโยบายการเงินให้เหมาะสมเพื่อรักษาความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจและตลาดแรงงาน และขณะเดียวกัน ก็สามารถทำให้เงินเฟ้อมีเสถียรภาพ เป้าหมายของเฟดคือรักษาอัตราเงินเฟ้อให้มีเสถียรภาพ ขณะเดียวกัน ก็ต้องแน่ใจว่าอัตราว่างงานจะไม่สูงขึ้น เป็นการรักษาเสถียรภาพราคาไปพร้อม ๆ กับรักษาการจ้างงานเอาไว้

ดังนั้น นักลงทุนควรมองว่าการลด 0.5% เป็นการแสดงความ “แน่วแน่” ของเฟดที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ขณะนี้กล่าวได้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐอยู่ในภาวะที่ดี เติบโตแข็งแกร่ง ตลาดแรงงานยังเข้มแข็ง เงินเฟ้อลดต่ำลง

พาวเวลล์ย้ำว่า ไม่ต้องการให้นักลงทุนหรือตลาดสันนิษฐานเอาเองว่าการลด 0.5% ในครั้งนี้ จะหมายถึงว่าในอนาคตเฟดจะลดในอัตรานี้ไปเรื่อย ๆ อย่าคิดว่านี่คืออัตราใหม่สำหรับเฟด เพราะเฟดจะไม่เร่งรีบในการผ่อนคลายด้านการเงิน เฟดจะยังทำเหมือนเดิมคือพิจารณาอย่างระมัดระวังในการประชุมแต่ละครั้งก่อนตัดสินใจ

“ที่ผ่านมาจะเห็นว่าความอดทนรอของเราให้ผลตอบแทนที่ดีกลับมา เห็นได้จากเงินเฟ้อค่อย ๆ ลดลงอย่างยั่งยืน จนกระทั่งทำให้เราสามารถลดดอกเบี้ยได้มากในวันนี้” พาวเวลล์ระบุ

ถึงแม้การลด 0.5% จะเป็นที่ชอบใจของนักลงทุนส่วนใหญ่ แต่บางคนก็มีมุมมองต่างออกไป เช่น สก๊อต เฮลฟ์สไตน์ หัวหน้ากลยุทธ์การลงทุนของโกลบอล เอ็กซ์ ระบุว่า การลด 0.5% อาจมากเกินไป เพราะตัวเลขเศรษฐกิจส่วนใหญ่ในระยะหลังนี้ไม่ได้บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจกำลังเติบโตน้อยลง ไม่จำเป็นต้องลดมากขนาดนั้น ซึ่งอัตรานี้จะสนับสนุนให้มีการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น

แนนซี เทนเกลอร์ ประธานบริหารของลาฟเฟอร์ เทนเกลอร์ อินเวสต์เมนต์ เห็นว่า เฟดเคลื่อนไหวเร็วเกินไป เพราะถึงแม้เศรษฐกิจจะชะลอลง แต่ยังคงแข็งแกร่ง ถึงแม้การว่างงานจะเพิ่มขึ้นบ้าง แต่ยังไม่มีการเลิกจ้าง อีกทั้งการเปิดรับตำแหน่งงานใหม่ในสหรัฐยังคงมีจำนวนมากกว่าช่วงก่อนเกิดโควิดด้วยซ้ำ “คำวิพากษ์วิจารณ์ของฉันที่มีต่อเฟดก็คือเน้นการมองในระยะสั้น โดยมุ่งเน้นดูข้อมูลย้อนหลัง แค่ข้อมูลจ้างงานที่อ่อนแอเพียงสัปดาห์เดียว ก็ทำให้ลดดอกเบี้ยมากขนาดนี้”

ฟิลิป สแตรล ประธานเจ้าหน้าที่ลงทุน ของมอร์นิ่งสตาร์ เวลธ์ ชี้ว่า การลดดอกเบี้ยถึง 0.5% เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้น้อยในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่แล้วมักจะใช้ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน อย่างเช่น วิกฤตการเงินครั้งร้ายแรงในปี 2008 และโควิด-19 ระบาดในปี 2020 สำหรับในครั้งนี้ถือว่าลดมากเกินไปและเร็วเกินไป ทั้งที่ข้อมูลเศรษฐกิจค่อนข้างแข็งแกร่ง เมื่อเทียบกับการผ่อนคลายทางการเงินช่วงอื่น ๆ ภายใต้การว่างงานที่ 4.2% นอกจากนี้จีดีพีไตรมาส 2 ก็ขยายตัวถึง 3%

“การลดมากขนาดนี้เป็นตัวชี้ว่าเฟดมีความสบายใจที่เงินเฟ้อขยับลงอย่างยั่งยืน และตอนนี้ก็ปรับเปลี่ยนทิศทางไปมุ่งเน้นการทำให้เศรษฐกิจชะลอลงอย่างSoft Landing “

ที่มา : https://youtu.be/EgW_pSJqQEc?si=uk4HLrZSsqAVl2AL

#Thaitimes
FED ธนาคารกลางสหรัฐ มีมติลดดอกเบี้ยนโยบายลงมากถึง 0.5% นับเป็นการลดครั้งแรกในรอบ 4 ปี เพื่อให้เงินเฟ้อขยับลงอย่างยั่งยืนและเศรษฐกิจสหรัฐsoft landing 19 กันยายน 2567-คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งประชุมกันเมื่อวันที่ 17-18 กันยายนที่ผ่านมา มีมติลดดอกเบี้ยนโยบายลงมากถึง 0.5% นับเป็นการลดครั้งแรกในรอบ 4 ปี ทำให้อัตราดอกเบี้ยลงไปอยู่ในระดับ 4.75-5% อย่างไรก็ตาม มติครั้งนี้ไม่เป็นเอกฉันท์ เนื่องจากมีกรรมการ 1 คนคัดค้าน โดยเห็นว่าควรลดเพียง 0.25% เหตุผลของกรรมการส่วนใหญ่ที่เห็นว่าควรลด 0.5% ก็เพราะมั่นใจมากขึ้นว่าเงินเฟ้อลดลงอย่างยั่งยืนและเคลื่อนไหวในทิศทางที่เชื่อว่าจะเป็นไปตามเป้าหมายที่ 2% ขณะเดียวกัน ก็เพื่อรักษาอัตราการจ้างงานไปด้วย โดยสภาวการณ์ในขณะนี้ค่อนข้างมีความสมดุลที่จะเอื้อให้บรรลุเป้าหมายทั้งด้านเงินเฟ้อและอัตราการจ้างงาน การลดดอกเบี้ย 0.5% ถูกมองว่าเป็นการลดแบบ “จัมโบ้” หรือค่อนข้างมาก แต่ก็เป็นไปตามที่ตลาดคาดหมาย หลังจากในระยะหลังนักลงทุนเปลี่ยนความคิด จากเดิมที่เชื่อว่าเฟดจะลดดอกเบี้ยครั้งแรกเพียง 0.25% มาเป็น 0.5% เพื่อป้องกันเศรษฐกิจถดถอย ขณะเดียวกัน เมื่อดูจากคาดการณ์แนวโน้มดอกเบี้ยของกรรมการรายบุคคล หรือ “Dot Plot” บ่งชี้ว่า จะมีการลดดอกเบี้ยอีก 0.5% ภายในสิ้นปี 2024 นี้ ซึ่งจะมีการประชุมเหลืออยู่ 2 ครั้ง คือ เดือนพฤศจิกายน และธันวาคม จากนั้นปี 2025 จะลดอีก 1% และปีถัดไป 2026 ลดอีก 0.5% “เจอโรม พาวเวลล์” ประธานเฟด ให้สัมภาษณ์หลังการประชุมว่า การลดดอกเบี้ยครั้งนี้เป็นการ “ปรับปรุง” นโยบายการเงินให้เหมาะสมเพื่อรักษาความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจและตลาดแรงงาน และขณะเดียวกัน ก็สามารถทำให้เงินเฟ้อมีเสถียรภาพ เป้าหมายของเฟดคือรักษาอัตราเงินเฟ้อให้มีเสถียรภาพ ขณะเดียวกัน ก็ต้องแน่ใจว่าอัตราว่างงานจะไม่สูงขึ้น เป็นการรักษาเสถียรภาพราคาไปพร้อม ๆ กับรักษาการจ้างงานเอาไว้ ดังนั้น นักลงทุนควรมองว่าการลด 0.5% เป็นการแสดงความ “แน่วแน่” ของเฟดที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ขณะนี้กล่าวได้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐอยู่ในภาวะที่ดี เติบโตแข็งแกร่ง ตลาดแรงงานยังเข้มแข็ง เงินเฟ้อลดต่ำลง พาวเวลล์ย้ำว่า ไม่ต้องการให้นักลงทุนหรือตลาดสันนิษฐานเอาเองว่าการลด 0.5% ในครั้งนี้ จะหมายถึงว่าในอนาคตเฟดจะลดในอัตรานี้ไปเรื่อย ๆ อย่าคิดว่านี่คืออัตราใหม่สำหรับเฟด เพราะเฟดจะไม่เร่งรีบในการผ่อนคลายด้านการเงิน เฟดจะยังทำเหมือนเดิมคือพิจารณาอย่างระมัดระวังในการประชุมแต่ละครั้งก่อนตัดสินใจ “ที่ผ่านมาจะเห็นว่าความอดทนรอของเราให้ผลตอบแทนที่ดีกลับมา เห็นได้จากเงินเฟ้อค่อย ๆ ลดลงอย่างยั่งยืน จนกระทั่งทำให้เราสามารถลดดอกเบี้ยได้มากในวันนี้” พาวเวลล์ระบุ ถึงแม้การลด 0.5% จะเป็นที่ชอบใจของนักลงทุนส่วนใหญ่ แต่บางคนก็มีมุมมองต่างออกไป เช่น สก๊อต เฮลฟ์สไตน์ หัวหน้ากลยุทธ์การลงทุนของโกลบอล เอ็กซ์ ระบุว่า การลด 0.5% อาจมากเกินไป เพราะตัวเลขเศรษฐกิจส่วนใหญ่ในระยะหลังนี้ไม่ได้บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจกำลังเติบโตน้อยลง ไม่จำเป็นต้องลดมากขนาดนั้น ซึ่งอัตรานี้จะสนับสนุนให้มีการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น แนนซี เทนเกลอร์ ประธานบริหารของลาฟเฟอร์ เทนเกลอร์ อินเวสต์เมนต์ เห็นว่า เฟดเคลื่อนไหวเร็วเกินไป เพราะถึงแม้เศรษฐกิจจะชะลอลง แต่ยังคงแข็งแกร่ง ถึงแม้การว่างงานจะเพิ่มขึ้นบ้าง แต่ยังไม่มีการเลิกจ้าง อีกทั้งการเปิดรับตำแหน่งงานใหม่ในสหรัฐยังคงมีจำนวนมากกว่าช่วงก่อนเกิดโควิดด้วยซ้ำ “คำวิพากษ์วิจารณ์ของฉันที่มีต่อเฟดก็คือเน้นการมองในระยะสั้น โดยมุ่งเน้นดูข้อมูลย้อนหลัง แค่ข้อมูลจ้างงานที่อ่อนแอเพียงสัปดาห์เดียว ก็ทำให้ลดดอกเบี้ยมากขนาดนี้” ฟิลิป สแตรล ประธานเจ้าหน้าที่ลงทุน ของมอร์นิ่งสตาร์ เวลธ์ ชี้ว่า การลดดอกเบี้ยถึง 0.5% เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้น้อยในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่แล้วมักจะใช้ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน อย่างเช่น วิกฤตการเงินครั้งร้ายแรงในปี 2008 และโควิด-19 ระบาดในปี 2020 สำหรับในครั้งนี้ถือว่าลดมากเกินไปและเร็วเกินไป ทั้งที่ข้อมูลเศรษฐกิจค่อนข้างแข็งแกร่ง เมื่อเทียบกับการผ่อนคลายทางการเงินช่วงอื่น ๆ ภายใต้การว่างงานที่ 4.2% นอกจากนี้จีดีพีไตรมาส 2 ก็ขยายตัวถึง 3% “การลดมากขนาดนี้เป็นตัวชี้ว่าเฟดมีความสบายใจที่เงินเฟ้อขยับลงอย่างยั่งยืน และตอนนี้ก็ปรับเปลี่ยนทิศทางไปมุ่งเน้นการทำให้เศรษฐกิจชะลอลงอย่างSoft Landing “ ที่มา : https://youtu.be/EgW_pSJqQEc?si=uk4HLrZSsqAVl2AL #Thaitimes
Like
Haha
2
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2032 มุมมอง 0 รีวิว