ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน วิพากษ์วิจารณ์การเจรจาระหว่างสหรัฐฯ กับรัสเซีย ที่กีดกันไม่ให้เคียฟเข้าร่วม ระบุความพยายามยุติสงครามต้อง "ยุติธรรม" และบรรดาประเทศยุโรป ในนั้นรวมถึงตุรกี ควรมีส่วนร่วมด้วย
.
ความเห็นของเขามีขึ้นหลังจากวอชิงตันและมอสโก เผยว่าพวกเขาจะเปิดเผยชื่อคณะทำงานสำหรับเจรจาเส้นทางสู่การยุติสงครามในยูเครน ระหว่างการเจรจาอย่างเป็นทางการระดับสูงครั้งแรกของทั้ง 2 ฝ่าย นับตั้งแต่รัสเซียรุกรานยูเครนเมื่อเกือบ 3 ปีก่อน
.
ความเห็นอันเดือดดาลของผู้นำยูเครน มีขึ้นหลังจากเขาได้พบปะกับประธานาธิบดี เรเจป ตัยยิบ แอร์โดอัน แห่งตุรกี เป็นเวลาเกือบ 3 ชั่วโมง ในกรุงอังการา เมืองหลวงของตุรกี
.
"ยูเครนและยุโรปในสามัญสำนักอย่างกว้างๆ และนี่รวมถึงสหภาพยุโรป ตุรกีและสหราชอาณาจักร ควรมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสนทนาและก่อรูปร่างมาตรการรับประกันความมั่นคงที่จำเป็นร่วมกับอเมริกา ในเรื่องเกี่ยวกับชะตากรรมของเรา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโลก" เซเลนสกีกล่าว
.
"ความพยายามเป็นคนกลางใดๆ ในการยุติความขัดแย้ง ควรเป็นไปอย่างยุติธรรม" เขากล่าว ประณามเจรจาระหว่างสหรัฐฯ และรัสเซีย ในริยาด ก่อนหน้านี้ในวันอังคาร (18 ก.พ.) และเน้นย้ำจุดยืนคัดค้าน "การพูดคุยใดๆ ที่ปราศจากยูเครน เกี่ยวกับแนวทางยุติสงครามในยูเครน"
.
เซเลนสกีเผยว่าเขาไม่ได้รับเชิญให้ร่วมเจรจาในริยาด และตัดสินใจเลื่อนโปรแกรมเดินทางเยือนเมืองหลวงของซาดุอีอาระเบีย จากเดิมที่คาดหมายว่าจะมีขึ้นในวันพุธ (19 ก.พ.) ไปเป็นวันที่ 10 มีนาคม
.
การยกเครื่องนโยบายเกี่ยวกับรัสเซียของทรัมป์ โหมกระพือความกังวลว่าวอชิงตันกำลังเตรียมการบีบเคียฟให้ยอมเจรจาต่อรองบนเงื่อนไขของมอสโก
.
นอกเหนือจากการเจรจาในริยาดแล้ว ความกังวลนี้มีมากขึ้นไปอีก เมื่อ มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ และ เซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย พบปะหารือกันในประเด็นความมั่นคงยุโรปและยูเครน โดยไม่มีตัวแทนใดๆ จากเคียฟหรือบรัสเซลส์เข้าร่วมด้วย
.
ในส่วนของแอร์โดอัน ที่ยืนอยู่ข้างๆ เซเลนสกี ระหว่างแถลงข่าว ได้เสนอให้ตุรกีเป็นเจ้าภาพการเจรจาใดๆ ในการยุติความขัดแย้ง โดยย้อนให้นึกถึงครั้งที่ทั้ง 2 ฝ่าย พบปะกันในอิสตุนบูลในปี 2022 ไม่กี่สัปดาห์หลังรัสเซียรุกรานยูเครน
.
"ตุรกีจะเป็นเจ้าภาพในอุดมคติสำหรับความเป็นไปได้ในการเจรจาใดๆ ระหว่างรัสเซีย ยูเครนและอเมริกา ในอนาคตอันใกล้นี้" เขากล่าว พร้อมบอกว่าการเจรจาในอิสตันบูล "เป็นจุดอ้างอิงที่สำคัญและเป็นแพลตฟอร์มที่ฝ่ายต่างๆ เฉียดใกล้ได้ข้อตกลงหนึ่งมากที่สุดแล้ว"
.
การเดินทางครั้งนี้ของเซเลนสกี ถือเป็นครั้งที่ 3 แล้วที่เขาเดินทางเยือนตุรกี นับตั้งแต่รัสเซียรุกราน โดยคราวนี้เกิดขึ้นในขณะที่เขาพยายามค้ำยันสถานะของเคียฟ ตามหลังประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ เอื้อมมือเข้าหามอสโก
.
ตุรกี ซึ่งเป็นชาติสมาชิกนาโต หาทางคงไว้ซึ่งความสัมพันธ์อันดีกับ 2 ชาติเพื่อนบ้านคู่สงครามทะเลดำ โดยที่แอร์โดอัน วางสถานะของตนเองในฐานะคนกลางและผู้สร้างสันติระหว่าง 2 ฝ่าย
.
แม้อังการาจะมอบโดรนแก่ยูเครน แต่ขณะเดียวกัน พวกเขาก็เพิกเฉยปลีกตัวออกต่างจากมาตรการคว่ำบาตรที่นำโดยตะวันตก ที่กำหนดเล่นงานมอสโก
.
เช่นเดียวกับซาอุดีอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ทางตุรกีเล่นบทบาทสำคัญในการเป็นคนกลางแลกเปลี่ยนเชลยศึกหลายรายระหว่างรัสเซียกับยูเครน ข้อตกลงนี้พบเห็นนักโทษหลายร้อยคนถูกปล่อยตัวกลับมาตุภูมิ แม้ความขัดแย้งยังคงดำเนินต่อไป
.
อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016367
..............
Sondhi X
.
ความเห็นของเขามีขึ้นหลังจากวอชิงตันและมอสโก เผยว่าพวกเขาจะเปิดเผยชื่อคณะทำงานสำหรับเจรจาเส้นทางสู่การยุติสงครามในยูเครน ระหว่างการเจรจาอย่างเป็นทางการระดับสูงครั้งแรกของทั้ง 2 ฝ่าย นับตั้งแต่รัสเซียรุกรานยูเครนเมื่อเกือบ 3 ปีก่อน
.
ความเห็นอันเดือดดาลของผู้นำยูเครน มีขึ้นหลังจากเขาได้พบปะกับประธานาธิบดี เรเจป ตัยยิบ แอร์โดอัน แห่งตุรกี เป็นเวลาเกือบ 3 ชั่วโมง ในกรุงอังการา เมืองหลวงของตุรกี
.
"ยูเครนและยุโรปในสามัญสำนักอย่างกว้างๆ และนี่รวมถึงสหภาพยุโรป ตุรกีและสหราชอาณาจักร ควรมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสนทนาและก่อรูปร่างมาตรการรับประกันความมั่นคงที่จำเป็นร่วมกับอเมริกา ในเรื่องเกี่ยวกับชะตากรรมของเรา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโลก" เซเลนสกีกล่าว
.
"ความพยายามเป็นคนกลางใดๆ ในการยุติความขัดแย้ง ควรเป็นไปอย่างยุติธรรม" เขากล่าว ประณามเจรจาระหว่างสหรัฐฯ และรัสเซีย ในริยาด ก่อนหน้านี้ในวันอังคาร (18 ก.พ.) และเน้นย้ำจุดยืนคัดค้าน "การพูดคุยใดๆ ที่ปราศจากยูเครน เกี่ยวกับแนวทางยุติสงครามในยูเครน"
.
เซเลนสกีเผยว่าเขาไม่ได้รับเชิญให้ร่วมเจรจาในริยาด และตัดสินใจเลื่อนโปรแกรมเดินทางเยือนเมืองหลวงของซาดุอีอาระเบีย จากเดิมที่คาดหมายว่าจะมีขึ้นในวันพุธ (19 ก.พ.) ไปเป็นวันที่ 10 มีนาคม
.
การยกเครื่องนโยบายเกี่ยวกับรัสเซียของทรัมป์ โหมกระพือความกังวลว่าวอชิงตันกำลังเตรียมการบีบเคียฟให้ยอมเจรจาต่อรองบนเงื่อนไขของมอสโก
.
นอกเหนือจากการเจรจาในริยาดแล้ว ความกังวลนี้มีมากขึ้นไปอีก เมื่อ มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ และ เซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย พบปะหารือกันในประเด็นความมั่นคงยุโรปและยูเครน โดยไม่มีตัวแทนใดๆ จากเคียฟหรือบรัสเซลส์เข้าร่วมด้วย
.
ในส่วนของแอร์โดอัน ที่ยืนอยู่ข้างๆ เซเลนสกี ระหว่างแถลงข่าว ได้เสนอให้ตุรกีเป็นเจ้าภาพการเจรจาใดๆ ในการยุติความขัดแย้ง โดยย้อนให้นึกถึงครั้งที่ทั้ง 2 ฝ่าย พบปะกันในอิสตุนบูลในปี 2022 ไม่กี่สัปดาห์หลังรัสเซียรุกรานยูเครน
.
"ตุรกีจะเป็นเจ้าภาพในอุดมคติสำหรับความเป็นไปได้ในการเจรจาใดๆ ระหว่างรัสเซีย ยูเครนและอเมริกา ในอนาคตอันใกล้นี้" เขากล่าว พร้อมบอกว่าการเจรจาในอิสตันบูล "เป็นจุดอ้างอิงที่สำคัญและเป็นแพลตฟอร์มที่ฝ่ายต่างๆ เฉียดใกล้ได้ข้อตกลงหนึ่งมากที่สุดแล้ว"
.
การเดินทางครั้งนี้ของเซเลนสกี ถือเป็นครั้งที่ 3 แล้วที่เขาเดินทางเยือนตุรกี นับตั้งแต่รัสเซียรุกราน โดยคราวนี้เกิดขึ้นในขณะที่เขาพยายามค้ำยันสถานะของเคียฟ ตามหลังประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ เอื้อมมือเข้าหามอสโก
.
ตุรกี ซึ่งเป็นชาติสมาชิกนาโต หาทางคงไว้ซึ่งความสัมพันธ์อันดีกับ 2 ชาติเพื่อนบ้านคู่สงครามทะเลดำ โดยที่แอร์โดอัน วางสถานะของตนเองในฐานะคนกลางและผู้สร้างสันติระหว่าง 2 ฝ่าย
.
แม้อังการาจะมอบโดรนแก่ยูเครน แต่ขณะเดียวกัน พวกเขาก็เพิกเฉยปลีกตัวออกต่างจากมาตรการคว่ำบาตรที่นำโดยตะวันตก ที่กำหนดเล่นงานมอสโก
.
เช่นเดียวกับซาอุดีอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ทางตุรกีเล่นบทบาทสำคัญในการเป็นคนกลางแลกเปลี่ยนเชลยศึกหลายรายระหว่างรัสเซียกับยูเครน ข้อตกลงนี้พบเห็นนักโทษหลายร้อยคนถูกปล่อยตัวกลับมาตุภูมิ แม้ความขัดแย้งยังคงดำเนินต่อไป
.
อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016367
..............
Sondhi X
ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน วิพากษ์วิจารณ์การเจรจาระหว่างสหรัฐฯ กับรัสเซีย ที่กีดกันไม่ให้เคียฟเข้าร่วม ระบุความพยายามยุติสงครามต้อง "ยุติธรรม" และบรรดาประเทศยุโรป ในนั้นรวมถึงตุรกี ควรมีส่วนร่วมด้วย
.
ความเห็นของเขามีขึ้นหลังจากวอชิงตันและมอสโก เผยว่าพวกเขาจะเปิดเผยชื่อคณะทำงานสำหรับเจรจาเส้นทางสู่การยุติสงครามในยูเครน ระหว่างการเจรจาอย่างเป็นทางการระดับสูงครั้งแรกของทั้ง 2 ฝ่าย นับตั้งแต่รัสเซียรุกรานยูเครนเมื่อเกือบ 3 ปีก่อน
.
ความเห็นอันเดือดดาลของผู้นำยูเครน มีขึ้นหลังจากเขาได้พบปะกับประธานาธิบดี เรเจป ตัยยิบ แอร์โดอัน แห่งตุรกี เป็นเวลาเกือบ 3 ชั่วโมง ในกรุงอังการา เมืองหลวงของตุรกี
.
"ยูเครนและยุโรปในสามัญสำนักอย่างกว้างๆ และนี่รวมถึงสหภาพยุโรป ตุรกีและสหราชอาณาจักร ควรมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสนทนาและก่อรูปร่างมาตรการรับประกันความมั่นคงที่จำเป็นร่วมกับอเมริกา ในเรื่องเกี่ยวกับชะตากรรมของเรา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโลก" เซเลนสกีกล่าว
.
"ความพยายามเป็นคนกลางใดๆ ในการยุติความขัดแย้ง ควรเป็นไปอย่างยุติธรรม" เขากล่าว ประณามเจรจาระหว่างสหรัฐฯ และรัสเซีย ในริยาด ก่อนหน้านี้ในวันอังคาร (18 ก.พ.) และเน้นย้ำจุดยืนคัดค้าน "การพูดคุยใดๆ ที่ปราศจากยูเครน เกี่ยวกับแนวทางยุติสงครามในยูเครน"
.
เซเลนสกีเผยว่าเขาไม่ได้รับเชิญให้ร่วมเจรจาในริยาด และตัดสินใจเลื่อนโปรแกรมเดินทางเยือนเมืองหลวงของซาดุอีอาระเบีย จากเดิมที่คาดหมายว่าจะมีขึ้นในวันพุธ (19 ก.พ.) ไปเป็นวันที่ 10 มีนาคม
.
การยกเครื่องนโยบายเกี่ยวกับรัสเซียของทรัมป์ โหมกระพือความกังวลว่าวอชิงตันกำลังเตรียมการบีบเคียฟให้ยอมเจรจาต่อรองบนเงื่อนไขของมอสโก
.
นอกเหนือจากการเจรจาในริยาดแล้ว ความกังวลนี้มีมากขึ้นไปอีก เมื่อ มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ และ เซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย พบปะหารือกันในประเด็นความมั่นคงยุโรปและยูเครน โดยไม่มีตัวแทนใดๆ จากเคียฟหรือบรัสเซลส์เข้าร่วมด้วย
.
ในส่วนของแอร์โดอัน ที่ยืนอยู่ข้างๆ เซเลนสกี ระหว่างแถลงข่าว ได้เสนอให้ตุรกีเป็นเจ้าภาพการเจรจาใดๆ ในการยุติความขัดแย้ง โดยย้อนให้นึกถึงครั้งที่ทั้ง 2 ฝ่าย พบปะกันในอิสตุนบูลในปี 2022 ไม่กี่สัปดาห์หลังรัสเซียรุกรานยูเครน
.
"ตุรกีจะเป็นเจ้าภาพในอุดมคติสำหรับความเป็นไปได้ในการเจรจาใดๆ ระหว่างรัสเซีย ยูเครนและอเมริกา ในอนาคตอันใกล้นี้" เขากล่าว พร้อมบอกว่าการเจรจาในอิสตันบูล "เป็นจุดอ้างอิงที่สำคัญและเป็นแพลตฟอร์มที่ฝ่ายต่างๆ เฉียดใกล้ได้ข้อตกลงหนึ่งมากที่สุดแล้ว"
.
การเดินทางครั้งนี้ของเซเลนสกี ถือเป็นครั้งที่ 3 แล้วที่เขาเดินทางเยือนตุรกี นับตั้งแต่รัสเซียรุกราน โดยคราวนี้เกิดขึ้นในขณะที่เขาพยายามค้ำยันสถานะของเคียฟ ตามหลังประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ เอื้อมมือเข้าหามอสโก
.
ตุรกี ซึ่งเป็นชาติสมาชิกนาโต หาทางคงไว้ซึ่งความสัมพันธ์อันดีกับ 2 ชาติเพื่อนบ้านคู่สงครามทะเลดำ โดยที่แอร์โดอัน วางสถานะของตนเองในฐานะคนกลางและผู้สร้างสันติระหว่าง 2 ฝ่าย
.
แม้อังการาจะมอบโดรนแก่ยูเครน แต่ขณะเดียวกัน พวกเขาก็เพิกเฉยปลีกตัวออกต่างจากมาตรการคว่ำบาตรที่นำโดยตะวันตก ที่กำหนดเล่นงานมอสโก
.
เช่นเดียวกับซาอุดีอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ทางตุรกีเล่นบทบาทสำคัญในการเป็นคนกลางแลกเปลี่ยนเชลยศึกหลายรายระหว่างรัสเซียกับยูเครน ข้อตกลงนี้พบเห็นนักโทษหลายร้อยคนถูกปล่อยตัวกลับมาตุภูมิ แม้ความขัดแย้งยังคงดำเนินต่อไป
.
อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016367
..............
Sondhi X

