#น้ำ

ร่างกายมีน้ำเป็นส่วนประกอบกว่าร้อยละ 70 และยังเป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์ทุก ๆ เซลล์ในร่างกาย ช่วยในการนำของเสียออกจากร่างกาย ช่วยลำเลียงอาหารที่ย่อยแล้วไปยังส่วนต่าง ๆ และช่วยในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย เพราะฉะนั้นการดื่มน้ำเป็นวิธีการสำคัญที่จำเป็นต้องทำ

หน้าที่ของน้ำในร่างกาย

• เป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ของเซลล์

• เป็นส่วนประกอบของเลือด น้ำเหลือง น้ำดี น้ำย่อยอาหาร เหงื่อ ปัสสาวะ และน้ำต่าง ๆ ทั่วร่างกาย

• ทำหน้าที่ละลายอาหารที่ย่อยแล้วและแพร่ผ่านผนังหลอดเลือดที่ลำไส้เล็กเข้าสู่กระแสเลือด

• ทำหน้าที่เป็นตัวกลางนำอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ นำของเสียออกจากร่างกายผ่านทางอวัยวะต่าง ๆ เช่น ปอด ผิวหนัง ไต

• ช่วยหล่อลื่นอวัยวะต่าง ๆ ให้มีการเคลื่อนไหวได้ดีและทำงานได้ตามปกติ เช่น น้ำในข้อต่อ ช่องท้อง ช่องปอด

• ทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ตลอดเวลา รวมทั้งทำให้ร่างกายสดชื่น

ในแต่ละวันร่างกายต้องสูญเสียน้ำประมาณวันละ 2 ลิตร ซึ่งขับออกมาทางปัสสาวะ เหงื่อและลมหายใจ ซึ่งขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่ทำ ช่วงอายุ และน้ำหนักของแต่ละบุคคล ดังนั้นเราจึงต้องดื่มน้ำเพื่อชดเชยน้ำที่สูญเสียไปทุกวัน อย่างน้อยวันละ 2 ลิตร ร่างกายอาจมีการสูญเสียน้ำมากกว่าปกติได้หากมีการสูญเสียน้ำทางอื่น เช่น ท้องเสีย อากาศร้อนจัดจนมีการระเหยของน้ำทางลมหายใจและเสียเหงื่อมากขึ้น สำหรับผู้มีโรคประจำตัวบางชนิดอาจต้องมีการจำกัดน้ำ เนื่องจากร่างกายขับน้ำส่วนเกินได้น้อย เช่น กลุ่มผู้ป่วยโรคไต โรคหัวใจ ผู้มีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับปริมาณการบริโภคน้ำที่เหมาะสมกับตนเอง หากดื่มมากหรือน้อยเกินไปก็จะส่งผลต่อร่างกายได้

เมื่อร่างกายขาดน้ำ การทำงานของระบบอวัยวะต่าง ๆ จะติดขัด ในทางกลับกันถ้าร่างกายได้รับน้ำมากเกินไปจนเกิดภาวะน้ำเป็นพิษ จะเกิดการเสียสมดุลระหว่างน้ำในเซลล์และนอกเซลล์ ทำให้ความเข้มข้นของเลือดลดลง ร่างกายต้องขับแร่ธาตุบางชนิดออกจากเซลล์เพื่อปรับสมดุลของน้ำและทำให้ขาดความสมดุลของแร่ธาตุชนิดนั้นแทน ส่งผลให้เกิดความผิดปกติขึ้นในกระบวนการทำงานของเซลล์ ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้

ควรดื่มน้ำเปล่าในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อทดแทนน้ำที่ร่างกายสูญเสียไป โดยมาตรฐานการดื่มน้ำวันละ 8 แก้ว ก็เพียงพอต่อการทำงานของร่างกายของบุคคลทั่วไป แต่ความจริงแล้วยังมีปัจจัยอื่นร่วมด้วย เช่น กิจกรรมที่เราทำในแต่ละวัน เพศ อายุ โรคประจำตัว ความร้อนในสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีส่วนกำหนดความเหมาะสมต่อการดื่มน้ำในแต่ละวันด้วยเช่นกัน

นิ่วและน้ำ

น้ำดื่มที่สะอาดจะช่วยลดการเกิดนิ่วชนิดออกซาเลตในไต บรรเทาการอักเสบของทางเดินปัสสาวะ ลดอาการท้องผูก น้ำสะอาดจะเร่งการขับสารพิษและของเสียออกไป เมื่อดื่มน้ำที่เพียงพอต่อร่างกายน้ำจะไปช่วยหล่อลื่นข้อกระดูกต่าง ๆ ลดอาการปวดข้อ ปวดหลัง และปวดเอว

ดื่มน้ำมากๆ เพื่อรักษาความสะอาดช่องปาก ป้องกัน “นิ่วต่อมน้ำลาย”

ของเหลวกับน้ำ

เครื่องดื่มชนิดอื่น ๆ เช่น น้ำอัดลม ชา กาแฟ เหล้า เบียร์ จะทำให้เกิดการขับน้ำออกจากร่างกายมากยิ่งขึ้น เพราะคาเฟอีนจะกระตุ้นการขับปัสสาวะ ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำมากขึ้น น้ำตาลที่เป็นส่วนผสมในเครื่องดื่มเหล่านี้เป็นสาเหตุของระดับน้ำตาลในเลือดที่สูง อาจนำไปสู่โรคเบาหวานได้ และในผู้ป่วยเบาหวานที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากจะมีปัญหาการขับปัสสาวะมากกว่าปกติได้

ผู้ป่วยด้วยภาวะต่างๆ เช่น ข้อเข่าเสื่อม กลั้นปัสสาวะไม่ได้ สมองเสื่อม มีความลำบากในการลุกเข้าห้องน้ำทำให้ไม่อยากดื่มน้ำ ผู้ป่วยกลุ่มนี้ควรดื่มน้ำตามปกติ โดยอาจจัดเวลาดื่มน้ำเน้นในช่วงเวลากลางวัน และจัดสถานที่ปัสสาวะให้สะดวกมากขึ้น

ความรู้เรื่องน้ำดื่ม

น้ำ RO

น้ำ RO เป็นน้ำที่มีการกรองเอาเกลือแร่ส่วนเกินและแบคทีเรียออกไป ดังนั้นจึงนับว่าเป็นน้ำที่สะอาด

น้ำด่าง

น้ำด่างนอกจากไม่ช่วยในการป้องกันโรคมะเร็ง เนื่องจากเป็นน้ำที่เติมเกลือแร่บางอย่างเข้าไปทำให้ค่าความเป็นด่างสูงขึ้นเท่านั้น นอกจากนี้ยังเป็นน้ำที่ไปทำให้กระเพาะอาหารมีค่าความเป็นกรดด่างเปลี่ยนไป จนนำไปสู่ปัญหาในระบบทางเดินอาหารและการย่อย

น้ำมนต์

น้ำมนต์บางที่อาจจะเป็นน้ำที่ทำความสะอาดและกรองมาแบบปกติ หรือน้ำดื่มบรรจุขวดมาตรฐานที่มีขายทั่วไป เพียงแค่นำมาตั้งและสวดมนต์ตามความเชื่อ สามารถดื่มได้ตามปกติ

แต่ถ้าเป็นน้ำมนต์จากน้ำที่ผุดขึ้นมาจากบ่อดิน หรือมีการหยดสารอื่น ๆ ลงไป เช่น เทียน ธูป ทำให้น้ำมีสารปนเปื้อนสารเคมี ฝุ่นผง และเชื้อโรค เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรนำไปดื่ม

• เหล็ก หากได้รับเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมาก จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพหลายทาง เช่น ระคายเคืองทางเดินอาหาร ในรายที่รุนแรงมีภาวะเลือดเป็นกรด หลอดเลือดขยายตัวทำให้ความดันเลือดลดลง การสะสมธาตุเหล็กเกินในระยะยาวส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บของตับได้

• ปรอท เมื่อร่างกายมีปรอทสะสมอยู่ในปริมาณมากจะทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องเสีย หรือส่งผลร้ายแรงต่อระบบประสาท เช่น ทำให้ตาพร่ามัว มองไม่ชัด ส่งผลต่อระบบประสาทด้านอารมณ์และความจำ มีภาวะสมองเสื่อมได้

• แมงกานีส อาจปนเปื้อนมากับน้ำดื่มที่ไม่ได้มาตรฐาน ส่งผลให้มีอาการปวดศีรษะ ระคายเคืองทางเดินอาหารในระยะยาว ส่งผลต่อการบาดเจ็บของเซลล์สมองได้

• ทองแดง หากร่างกายมีทองแดงสะสมเกินกว่า 100 มิลลิกรัม จะส่งผลให้ระคายเคืองทางเดินอาหาร อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร อาเจียน ในรายที่รุนแรงอาจมีเม็ดเลือดแดงแตกและส่งผลถึงการทำงานของตับ

• เชื้อโรคที่ปนเปื้อนมากับน้ำไม่สะอาดโดยเฉพาะเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย เช่น เชื้ออีโคไล ซิโตรแบคเตอร์ เคลบเซลล่า หากมีเชื้อโรคเหล่านี้อาจส่งผลให้เกิดการติดเชื้อ ทำให้มีไข้ ปวดท้อง ท้องเสีย

• การฆ่าเชื้อโรคกลุ่มนี้สามารถทำได้โดยกระบวนการฆ่าเชื้อต่าง ๆ เช่น การต้มน้ำ กระบวนการพาสเจอไรซ์ หรือผ่านระบบกรองน้ำที่มีระบบฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพ

น้ำแร่

ในธรรมชาติแล้วน้ำแร่มักได้มาจากภูเขาสูงซึ่งมีค้างคาวอาศัยอยู่ ของเสียจากสัตว์เหล่านี้อาจจะมีสิ่งปนเปื้อนชนิดที่เรียกว่า สารหนู ซึ่งไม่มีสี ไม่มีรสและไม่มีกลิ่น แต่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก

ถ้าคิดจะดื่ม ต้องมั่นใจว่าผู้ผลิตได้ยืนยันการตรวจสอบปริมาณสารหนูเรียบร้อยแล้ว

TIPS

ในช่วง 5:00 น ถึง 7:00 น ลำไส้จะไม่มีการดูดซึมน้ำ แต่ร่างกายจะปล่อยน้ำส่วนใหญ่มาที่ลำไส้ใหญ่เพื่อการขับถ่าย ดังนั้นการดื่มน้ำในช่วงเวลานี้ในปริมาณมากจึงส่งผลดีต่อร่างกาย

ก่อนรับประทานอาหาร ให้จิบน้ำแค่พอลื่นคอ
ในขณะรับประทานอาหารไม่ควรดื่มน้ำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากจะไปรบกวนความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร และพึงระลึกไว้ว่าอาหารที่เรารับประทานส่วนใหญ่ประกอบด้วยน้ำในตัวของพวกเขาอยู่แล้ว

หลังรับประทานอาหารจิบน้ำเพียงเล็กน้อยแล้วให้รีบไปแปรงฟัน จากนั้นรอจนอาหารย่อยและสารอาหารถูกดูดซึมเข้าหลอดเลือด ในช่วงเวลานี้เลือดคุณจะข้นขึ้น เมื่อเลือดที่ข้นผ่านไปยังไต ไตก็จะสั่ง สัญญาณให้คุณรู้สึกคอแห้งเพื่อเติมน้ำเข้าระบบ ส่วนใหญ่จะใช้เวลาประมาณ 40 นาที

งดหรือหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำในปริมาณมากๆ ในคราวเดียว เนื่องจากจะทำให้กระเพาะอาหารขยายตัวอย่างรวดเร็ว จนไปทับเส้นประสาทที่ควบคุมการทำงานของม้ามและไต ซึ่งนำไปสู่อาการปวดส้นเท้าหรือที่เรียกกันว่ารองช้ำได้

ด้วยรักและห่วงใยจากใจจริง

Cr. Santi Manadee
#น้ำ ร่างกายมีน้ำเป็นส่วนประกอบกว่าร้อยละ 70 และยังเป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์ทุก ๆ เซลล์ในร่างกาย ช่วยในการนำของเสียออกจากร่างกาย ช่วยลำเลียงอาหารที่ย่อยแล้วไปยังส่วนต่าง ๆ และช่วยในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย เพราะฉะนั้นการดื่มน้ำเป็นวิธีการสำคัญที่จำเป็นต้องทำ หน้าที่ของน้ำในร่างกาย • เป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ของเซลล์ • เป็นส่วนประกอบของเลือด น้ำเหลือง น้ำดี น้ำย่อยอาหาร เหงื่อ ปัสสาวะ และน้ำต่าง ๆ ทั่วร่างกาย • ทำหน้าที่ละลายอาหารที่ย่อยแล้วและแพร่ผ่านผนังหลอดเลือดที่ลำไส้เล็กเข้าสู่กระแสเลือด • ทำหน้าที่เป็นตัวกลางนำอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ นำของเสียออกจากร่างกายผ่านทางอวัยวะต่าง ๆ เช่น ปอด ผิวหนัง ไต • ช่วยหล่อลื่นอวัยวะต่าง ๆ ให้มีการเคลื่อนไหวได้ดีและทำงานได้ตามปกติ เช่น น้ำในข้อต่อ ช่องท้อง ช่องปอด • ทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ตลอดเวลา รวมทั้งทำให้ร่างกายสดชื่น ในแต่ละวันร่างกายต้องสูญเสียน้ำประมาณวันละ 2 ลิตร ซึ่งขับออกมาทางปัสสาวะ เหงื่อและลมหายใจ ซึ่งขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่ทำ ช่วงอายุ และน้ำหนักของแต่ละบุคคล ดังนั้นเราจึงต้องดื่มน้ำเพื่อชดเชยน้ำที่สูญเสียไปทุกวัน อย่างน้อยวันละ 2 ลิตร ร่างกายอาจมีการสูญเสียน้ำมากกว่าปกติได้หากมีการสูญเสียน้ำทางอื่น เช่น ท้องเสีย อากาศร้อนจัดจนมีการระเหยของน้ำทางลมหายใจและเสียเหงื่อมากขึ้น สำหรับผู้มีโรคประจำตัวบางชนิดอาจต้องมีการจำกัดน้ำ เนื่องจากร่างกายขับน้ำส่วนเกินได้น้อย เช่น กลุ่มผู้ป่วยโรคไต โรคหัวใจ ผู้มีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับปริมาณการบริโภคน้ำที่เหมาะสมกับตนเอง หากดื่มมากหรือน้อยเกินไปก็จะส่งผลต่อร่างกายได้ เมื่อร่างกายขาดน้ำ การทำงานของระบบอวัยวะต่าง ๆ จะติดขัด ในทางกลับกันถ้าร่างกายได้รับน้ำมากเกินไปจนเกิดภาวะน้ำเป็นพิษ จะเกิดการเสียสมดุลระหว่างน้ำในเซลล์และนอกเซลล์ ทำให้ความเข้มข้นของเลือดลดลง ร่างกายต้องขับแร่ธาตุบางชนิดออกจากเซลล์เพื่อปรับสมดุลของน้ำและทำให้ขาดความสมดุลของแร่ธาตุชนิดนั้นแทน ส่งผลให้เกิดความผิดปกติขึ้นในกระบวนการทำงานของเซลล์ ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้ ควรดื่มน้ำเปล่าในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อทดแทนน้ำที่ร่างกายสูญเสียไป โดยมาตรฐานการดื่มน้ำวันละ 8 แก้ว ก็เพียงพอต่อการทำงานของร่างกายของบุคคลทั่วไป แต่ความจริงแล้วยังมีปัจจัยอื่นร่วมด้วย เช่น กิจกรรมที่เราทำในแต่ละวัน เพศ อายุ โรคประจำตัว ความร้อนในสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีส่วนกำหนดความเหมาะสมต่อการดื่มน้ำในแต่ละวันด้วยเช่นกัน นิ่วและน้ำ น้ำดื่มที่สะอาดจะช่วยลดการเกิดนิ่วชนิดออกซาเลตในไต บรรเทาการอักเสบของทางเดินปัสสาวะ ลดอาการท้องผูก น้ำสะอาดจะเร่งการขับสารพิษและของเสียออกไป เมื่อดื่มน้ำที่เพียงพอต่อร่างกายน้ำจะไปช่วยหล่อลื่นข้อกระดูกต่าง ๆ ลดอาการปวดข้อ ปวดหลัง และปวดเอว ดื่มน้ำมากๆ เพื่อรักษาความสะอาดช่องปาก ป้องกัน “นิ่วต่อมน้ำลาย” ของเหลวกับน้ำ เครื่องดื่มชนิดอื่น ๆ เช่น น้ำอัดลม ชา กาแฟ เหล้า เบียร์ จะทำให้เกิดการขับน้ำออกจากร่างกายมากยิ่งขึ้น เพราะคาเฟอีนจะกระตุ้นการขับปัสสาวะ ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำมากขึ้น น้ำตาลที่เป็นส่วนผสมในเครื่องดื่มเหล่านี้เป็นสาเหตุของระดับน้ำตาลในเลือดที่สูง อาจนำไปสู่โรคเบาหวานได้ และในผู้ป่วยเบาหวานที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากจะมีปัญหาการขับปัสสาวะมากกว่าปกติได้ ผู้ป่วยด้วยภาวะต่างๆ เช่น ข้อเข่าเสื่อม กลั้นปัสสาวะไม่ได้ สมองเสื่อม มีความลำบากในการลุกเข้าห้องน้ำทำให้ไม่อยากดื่มน้ำ ผู้ป่วยกลุ่มนี้ควรดื่มน้ำตามปกติ โดยอาจจัดเวลาดื่มน้ำเน้นในช่วงเวลากลางวัน และจัดสถานที่ปัสสาวะให้สะดวกมากขึ้น ความรู้เรื่องน้ำดื่ม น้ำ RO น้ำ RO เป็นน้ำที่มีการกรองเอาเกลือแร่ส่วนเกินและแบคทีเรียออกไป ดังนั้นจึงนับว่าเป็นน้ำที่สะอาด น้ำด่าง น้ำด่างนอกจากไม่ช่วยในการป้องกันโรคมะเร็ง เนื่องจากเป็นน้ำที่เติมเกลือแร่บางอย่างเข้าไปทำให้ค่าความเป็นด่างสูงขึ้นเท่านั้น นอกจากนี้ยังเป็นน้ำที่ไปทำให้กระเพาะอาหารมีค่าความเป็นกรดด่างเปลี่ยนไป จนนำไปสู่ปัญหาในระบบทางเดินอาหารและการย่อย น้ำมนต์ น้ำมนต์บางที่อาจจะเป็นน้ำที่ทำความสะอาดและกรองมาแบบปกติ หรือน้ำดื่มบรรจุขวดมาตรฐานที่มีขายทั่วไป เพียงแค่นำมาตั้งและสวดมนต์ตามความเชื่อ สามารถดื่มได้ตามปกติ แต่ถ้าเป็นน้ำมนต์จากน้ำที่ผุดขึ้นมาจากบ่อดิน หรือมีการหยดสารอื่น ๆ ลงไป เช่น เทียน ธูป ทำให้น้ำมีสารปนเปื้อนสารเคมี ฝุ่นผง และเชื้อโรค เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรนำไปดื่ม • เหล็ก หากได้รับเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมาก จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพหลายทาง เช่น ระคายเคืองทางเดินอาหาร ในรายที่รุนแรงมีภาวะเลือดเป็นกรด หลอดเลือดขยายตัวทำให้ความดันเลือดลดลง การสะสมธาตุเหล็กเกินในระยะยาวส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บของตับได้ • ปรอท เมื่อร่างกายมีปรอทสะสมอยู่ในปริมาณมากจะทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องเสีย หรือส่งผลร้ายแรงต่อระบบประสาท เช่น ทำให้ตาพร่ามัว มองไม่ชัด ส่งผลต่อระบบประสาทด้านอารมณ์และความจำ มีภาวะสมองเสื่อมได้ • แมงกานีส อาจปนเปื้อนมากับน้ำดื่มที่ไม่ได้มาตรฐาน ส่งผลให้มีอาการปวดศีรษะ ระคายเคืองทางเดินอาหารในระยะยาว ส่งผลต่อการบาดเจ็บของเซลล์สมองได้ • ทองแดง หากร่างกายมีทองแดงสะสมเกินกว่า 100 มิลลิกรัม จะส่งผลให้ระคายเคืองทางเดินอาหาร อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร อาเจียน ในรายที่รุนแรงอาจมีเม็ดเลือดแดงแตกและส่งผลถึงการทำงานของตับ • เชื้อโรคที่ปนเปื้อนมากับน้ำไม่สะอาดโดยเฉพาะเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย เช่น เชื้ออีโคไล ซิโตรแบคเตอร์ เคลบเซลล่า หากมีเชื้อโรคเหล่านี้อาจส่งผลให้เกิดการติดเชื้อ ทำให้มีไข้ ปวดท้อง ท้องเสีย • การฆ่าเชื้อโรคกลุ่มนี้สามารถทำได้โดยกระบวนการฆ่าเชื้อต่าง ๆ เช่น การต้มน้ำ กระบวนการพาสเจอไรซ์ หรือผ่านระบบกรองน้ำที่มีระบบฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพ น้ำแร่ ในธรรมชาติแล้วน้ำแร่มักได้มาจากภูเขาสูงซึ่งมีค้างคาวอาศัยอยู่ ของเสียจากสัตว์เหล่านี้อาจจะมีสิ่งปนเปื้อนชนิดที่เรียกว่า สารหนู ซึ่งไม่มีสี ไม่มีรสและไม่มีกลิ่น แต่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก ถ้าคิดจะดื่ม ต้องมั่นใจว่าผู้ผลิตได้ยืนยันการตรวจสอบปริมาณสารหนูเรียบร้อยแล้ว TIPS ในช่วง 5:00 น ถึง 7:00 น ลำไส้จะไม่มีการดูดซึมน้ำ แต่ร่างกายจะปล่อยน้ำส่วนใหญ่มาที่ลำไส้ใหญ่เพื่อการขับถ่าย ดังนั้นการดื่มน้ำในช่วงเวลานี้ในปริมาณมากจึงส่งผลดีต่อร่างกาย ก่อนรับประทานอาหาร ให้จิบน้ำแค่พอลื่นคอ ในขณะรับประทานอาหารไม่ควรดื่มน้ำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากจะไปรบกวนความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร และพึงระลึกไว้ว่าอาหารที่เรารับประทานส่วนใหญ่ประกอบด้วยน้ำในตัวของพวกเขาอยู่แล้ว หลังรับประทานอาหารจิบน้ำเพียงเล็กน้อยแล้วให้รีบไปแปรงฟัน จากนั้นรอจนอาหารย่อยและสารอาหารถูกดูดซึมเข้าหลอดเลือด ในช่วงเวลานี้เลือดคุณจะข้นขึ้น เมื่อเลือดที่ข้นผ่านไปยังไต ไตก็จะสั่ง สัญญาณให้คุณรู้สึกคอแห้งเพื่อเติมน้ำเข้าระบบ ส่วนใหญ่จะใช้เวลาประมาณ 40 นาที งดหรือหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำในปริมาณมากๆ ในคราวเดียว เนื่องจากจะทำให้กระเพาะอาหารขยายตัวอย่างรวดเร็ว จนไปทับเส้นประสาทที่ควบคุมการทำงานของม้ามและไต ซึ่งนำไปสู่อาการปวดส้นเท้าหรือที่เรียกกันว่ารองช้ำได้ ด้วยรักและห่วงใยจากใจจริง Cr. Santi Manadee
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 125 มุมมอง 0 รีวิว