ต้องฉวยประโยชน์จากสุวรรณภูมิ -3

📡 ในยามสงคราม ฮับเรือ-รางผ่านระนอง มีจุดเด่นมหาศาล แต่ในยามปกติ ก็มีจุดขายที่ไม่มีใครแข่ง

🫡 ถามว่า ขนส่งทางรางจากระนองไปจีนตอนกลาง (คุนหมิงเป็นศูนย์กลาง) ซึ่งใช้รถไฟ

แข่งขันกับขนส่งทางเรือ ผ่านช่องแคบมะละกา ซึ่งค่าใช้จ่าย(ต่อ กม.)ถูกกว่ารถไฟ 8-10 เท่า ได้หรือไม่?

🧐 ตอบว่า ไม่สามารถแข่งได้ สำหรับสินค้าที่ใช้ในจีนฝั่งตะวันออก

แต่สามารถแข่งได้ สำหรับสินค้าที่ใช้ในจีนตอนกลาง เป็น niche market

🚃 รูป 8 สินค้าส่งทางรถไฟ จากท่าเรือระนอง (อักษร x) ไปคุนหมิง ระยะทางยาวประมาณ 1,200 กม. (รูป 9)

รูป 10 สินค้าส่งทางรถไฟ จากท่าเรือเซี่ยงไฮ้ไปคุนหมิง ระยะทางยาวประมาณ 2,200 กม.

ดังนั้น เปรียบเทียยทางรถไฟด้วยกัน ระนองชนะขาดอยู่แล้ว

🛳️ และยังประหยัดเวลา จากช่องแคบมะละกา ไปเซี่ยงไฮ้อีกด้วย เรือคอนเทนเนอร์เดินทาง 5-7 วัน

เรือ break bulk จะใช้เวลานานขึ้น 7-10 วัน

🫡 ถามว่า ปริมาณสินค้าที่ส่งถึงจีนตอนกลาง จะมากพอคุ้มกับฮับเรือ-ราง ผ่านระนอง หรือไม่?

🧐 ตอบว่า แต่ละปี ถ้าไม่นับจากรัสเซีย จีนนำเข้าสินค้ามูลค่า 2.3 ล้านล้านดอลลาร์

🛟 ถ้าคำนวนว่า ครึ่งหนึ่งเป็นอาหารและวัตถุดิบ มูลค่า 1.1 ล้านล้านดอลลาร์

ถ้าสมมุติว่า เป็นสินค้าที่ใช้ในจีนตอนกลาง 1 ใน 4 คิดเป็นมูลค่าสินค้า 2.7 แสนล้านดอลลาร์

⌛️ไทยนำเข้าสินค้าทุกชนิด ไม่รวมน้ำมัน ปีละ 2.5 แสนล้านดอลลาร์

จะเห็นได้ว่า มีปริมาณธุรกิจมากพออยู่แล้ว

นอกจากนี้ รัฐบาลจีนมีนโยบายจะกระจายอุตสาหกรรม จากชายฝั่งตะวันออก ให้ลึกเข้าไปจีนตอนกลางมากขึ้น

ดังนั้น ในระยะยาว จะมีปริมาณขนส่ง ด้านขาส่งออก จากจีนตอนกลาง มากขึ้นเป็นลำดับ

🚉 รูป 11 นอกจากนี้ ในอนาคตข้างหน้า มีแนวโน้มอุตสาหกรรมจะย้ายฐานการผลิตไปอินเดียมากขึ้น

การมีฮับเรือ-ราง ที่ฝั่งอันดามัน จะทำให้ไทยสามารถแทรกตัวเข้าไปอยู่ในซัพพลายเชน

วัตถุดิบที่แปรรูป รวมทั้งชิ้นส่วน สามารถจะส่งจากจีนตะวันออก ลงมาเพิ่มมูลค่าที่เวียดนาม

แล้วมีการสร้างรถไฟความเร็วสูง จากเวียดนามตอนเหนือเข้ามาไทย มาร่วมกับวัตถุดิบจากจีนตอนกลาง

🪝 ชิ้นส่วนที่ผลิตในจีนตอนกลาง ที่เป็นซัพพลายเชนไปยังอินเดีย ก็จะสามารถส่งผ่านฮับในไทยได้ด้วย

โอกาสสำคัญอีกด้านหนึ่ง คือการส่งสินค้าระหว่างจีน กับอินเดีย ผ่านไทย เพราะไม่สามารถส่งผ่านเทือกเขาหิมาลัย

รูป 12 ผู้บริโภคระดับกลางขึ้นไป ในจีนมีอยู่ 40% คือ 560 ล้าน และภายในปี 2030 จะเพิ่มอีก 80 เป็น 640 ล้านคน

รูป 13 ผู้บริโภคระดับกลางขึ้นไป ในอินเดียมีอยู่ 430 ล้าน และภายในปี 2030 จะเพิ่มเป็น 700 ล้านคน

🌏 ผู้บริโภคทั้งสองประเทศ ที่ขนาบประเทศไทยอยู่สองทิศ เกินกว่าพันล้าน ในอนาคตจะมีกำลังซื้อสูงขึ้น ปริมาณการบริโภคจะมากขึ้น

สินค้าผ่านฮับระนอง มีแต่จะมากขึ้น

แนวคิดที่น่าสนใจอีกประการหนึ่ง คือไทยชักชวนให้ธุรกิจจีน มาเปิดโรงงานอุตสาหกรรม ในภาคใต้ของไทย

🔥 เพื่อแปรรูปแร่ธาตุ จาก ก้อน ผง ไปเป็นแผ่น เส้น ท่อ พร้อมใช้งาน ทั้งในอุตสาหกรรมไทย เวียดนาม และจีน

ประเด็นน่าสนใจสุดท้าย ขบวนการขนส่งทางราง จากไทยขึ้นไปจีน จะเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรไทยได้ด้วย

ปลาจับที่อ่าวไทยวันนี้ ต้องทำให้ส่งถึงภัตตาคารที่เมืองใหญ่ในจีนได้ ภายในเช้าวันรุ่งขึ้น

ปล่อยให้ทุเรียนสุกคาต้น สุกเต็มที่มากขึ้น ตัดวันนี้ ต้องทำให้ส่งถึงซูเปอร์มาร์เกตในจีนได้ภายในสองวัน

🫶 นี่เอง ที่ล้นเกล้า ร.9 ทรงตั้งชื่อสนามบินว่า สุวรรณภูมิ

เพราะที่ตั้งภูมิศาสตร์นี้ เป็นแหล่งทองคำอย่างแท้จริง

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2568

นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ
ประธานคณะกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ
ต้องฉวยประโยชน์จากสุวรรณภูมิ -3 📡 ในยามสงคราม ฮับเรือ-รางผ่านระนอง มีจุดเด่นมหาศาล แต่ในยามปกติ ก็มีจุดขายที่ไม่มีใครแข่ง 🫡 ถามว่า ขนส่งทางรางจากระนองไปจีนตอนกลาง (คุนหมิงเป็นศูนย์กลาง) ซึ่งใช้รถไฟ แข่งขันกับขนส่งทางเรือ ผ่านช่องแคบมะละกา ซึ่งค่าใช้จ่าย(ต่อ กม.)ถูกกว่ารถไฟ 8-10 เท่า ได้หรือไม่? 🧐 ตอบว่า ไม่สามารถแข่งได้ สำหรับสินค้าที่ใช้ในจีนฝั่งตะวันออก แต่สามารถแข่งได้ สำหรับสินค้าที่ใช้ในจีนตอนกลาง เป็น niche market 🚃 รูป 8 สินค้าส่งทางรถไฟ จากท่าเรือระนอง (อักษร x) ไปคุนหมิง ระยะทางยาวประมาณ 1,200 กม. (รูป 9) รูป 10 สินค้าส่งทางรถไฟ จากท่าเรือเซี่ยงไฮ้ไปคุนหมิง ระยะทางยาวประมาณ 2,200 กม. ดังนั้น เปรียบเทียยทางรถไฟด้วยกัน ระนองชนะขาดอยู่แล้ว 🛳️ และยังประหยัดเวลา จากช่องแคบมะละกา ไปเซี่ยงไฮ้อีกด้วย เรือคอนเทนเนอร์เดินทาง 5-7 วัน เรือ break bulk จะใช้เวลานานขึ้น 7-10 วัน 🫡 ถามว่า ปริมาณสินค้าที่ส่งถึงจีนตอนกลาง จะมากพอคุ้มกับฮับเรือ-ราง ผ่านระนอง หรือไม่? 🧐 ตอบว่า แต่ละปี ถ้าไม่นับจากรัสเซีย จีนนำเข้าสินค้ามูลค่า 2.3 ล้านล้านดอลลาร์ 🛟 ถ้าคำนวนว่า ครึ่งหนึ่งเป็นอาหารและวัตถุดิบ มูลค่า 1.1 ล้านล้านดอลลาร์ ถ้าสมมุติว่า เป็นสินค้าที่ใช้ในจีนตอนกลาง 1 ใน 4 คิดเป็นมูลค่าสินค้า 2.7 แสนล้านดอลลาร์ ⌛️ไทยนำเข้าสินค้าทุกชนิด ไม่รวมน้ำมัน ปีละ 2.5 แสนล้านดอลลาร์ จะเห็นได้ว่า มีปริมาณธุรกิจมากพออยู่แล้ว นอกจากนี้ รัฐบาลจีนมีนโยบายจะกระจายอุตสาหกรรม จากชายฝั่งตะวันออก ให้ลึกเข้าไปจีนตอนกลางมากขึ้น ดังนั้น ในระยะยาว จะมีปริมาณขนส่ง ด้านขาส่งออก จากจีนตอนกลาง มากขึ้นเป็นลำดับ 🚉 รูป 11 นอกจากนี้ ในอนาคตข้างหน้า มีแนวโน้มอุตสาหกรรมจะย้ายฐานการผลิตไปอินเดียมากขึ้น การมีฮับเรือ-ราง ที่ฝั่งอันดามัน จะทำให้ไทยสามารถแทรกตัวเข้าไปอยู่ในซัพพลายเชน วัตถุดิบที่แปรรูป รวมทั้งชิ้นส่วน สามารถจะส่งจากจีนตะวันออก ลงมาเพิ่มมูลค่าที่เวียดนาม แล้วมีการสร้างรถไฟความเร็วสูง จากเวียดนามตอนเหนือเข้ามาไทย มาร่วมกับวัตถุดิบจากจีนตอนกลาง 🪝 ชิ้นส่วนที่ผลิตในจีนตอนกลาง ที่เป็นซัพพลายเชนไปยังอินเดีย ก็จะสามารถส่งผ่านฮับในไทยได้ด้วย โอกาสสำคัญอีกด้านหนึ่ง คือการส่งสินค้าระหว่างจีน กับอินเดีย ผ่านไทย เพราะไม่สามารถส่งผ่านเทือกเขาหิมาลัย รูป 12 ผู้บริโภคระดับกลางขึ้นไป ในจีนมีอยู่ 40% คือ 560 ล้าน และภายในปี 2030 จะเพิ่มอีก 80 เป็น 640 ล้านคน รูป 13 ผู้บริโภคระดับกลางขึ้นไป ในอินเดียมีอยู่ 430 ล้าน และภายในปี 2030 จะเพิ่มเป็น 700 ล้านคน 🌏 ผู้บริโภคทั้งสองประเทศ ที่ขนาบประเทศไทยอยู่สองทิศ เกินกว่าพันล้าน ในอนาคตจะมีกำลังซื้อสูงขึ้น ปริมาณการบริโภคจะมากขึ้น สินค้าผ่านฮับระนอง มีแต่จะมากขึ้น แนวคิดที่น่าสนใจอีกประการหนึ่ง คือไทยชักชวนให้ธุรกิจจีน มาเปิดโรงงานอุตสาหกรรม ในภาคใต้ของไทย 🔥 เพื่อแปรรูปแร่ธาตุ จาก ก้อน ผง ไปเป็นแผ่น เส้น ท่อ พร้อมใช้งาน ทั้งในอุตสาหกรรมไทย เวียดนาม และจีน ประเด็นน่าสนใจสุดท้าย ขบวนการขนส่งทางราง จากไทยขึ้นไปจีน จะเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรไทยได้ด้วย ปลาจับที่อ่าวไทยวันนี้ ต้องทำให้ส่งถึงภัตตาคารที่เมืองใหญ่ในจีนได้ ภายในเช้าวันรุ่งขึ้น ปล่อยให้ทุเรียนสุกคาต้น สุกเต็มที่มากขึ้น ตัดวันนี้ ต้องทำให้ส่งถึงซูเปอร์มาร์เกตในจีนได้ภายในสองวัน 🫶 นี่เอง ที่ล้นเกล้า ร.9 ทรงตั้งชื่อสนามบินว่า สุวรรณภูมิ เพราะที่ตั้งภูมิศาสตร์นี้ เป็นแหล่งทองคำอย่างแท้จริง วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2568 นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ ประธานคณะกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ
Like
Love
3
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 54 มุมมอง 0 รีวิว