อ่านเอาเรื่อง Ep.93 : อัลฟ่าโกะกับจีน

ในปี ค.ศ.2016 มีเหตุการณ์เล็กๆที่ยิ่งใหญ่เกิดขึ้นครับ คือ มีการแข่งขันเกมส์ “โกะ” (หรือ หมากล้อม) ระหว่างแชมป์โลกโกะชาวเกาหลีใต้ชื่อ “ลี เซดอล“ กับหุ่นยนต์เอไอของกูเกิ้ล ชื่อ ”อัลฟ่าโกะ - AlphaGo"

ผลก็คือ อัลฟ่าโกะชนะลี เซดอลไปได้ขาดลอย คือ แข่งกัน 5 กระดาน อัลฟ่าโกะชนะไป 4 กระดาน ทำเอาแขมป์โลกลี เซดอลต้องยอมแพ้และถอนตัวจากแข่งขัน

เผื่อใครไม่ทราบ โกะคือเกมส์ที่เล่นบนกระดานครับ ผู้เล่นสองฝั่งต้องวางแผนล่วงหน้าในการเดินหมากเพื่อลวงคู่ต่อสู้ เป็นเกมส์ที่ใช้พลังสมองและฝึกกระบวนการคิดซับซ้อนเป็นอย่างดี
.
.
.
ข่าวชัยชนะของอัลฟ่าโกะนี้แพร่กระจายไปทั่วโลก จนกระทั่งไปเข้าถึงหูของกลุ่มผู้นำจีนในเวลานั้น

เรื่องใครชนะใครแพ้ในเกมส์โกะนั้นไม่สำคัญสำหรับกลุ่มผู้นำรัฐบาลจีนเท่ากับความจริงที่ว่า เทคโนโลยีเอไอนั้นก้าวล้ำไปรวดเร็วกว่าที่ใครจะคาดคิดครับ

ผู้นำจีนได้พูดคุยกันและตัดสินใจทันทีว่า จีนจะต้องเร่งพัฒนาองค์ความรู้เรื่องเอไอเพื่อให้จีนเป็นผู้นำเทคโนโลยีนี้ให้ได้

ดังนั้นแล้วหนึ่งปีหลังจากชัยชนะของอัลฟ่าโกะ คือ ค.ศ.2017 รัฐบาลจีนได้ประกาศแผนแห่งชาติที่ชื่อว่า “New Generation Artificial Intelligence Development Plan" หรือ ”แผนพัฒนาเอไอยุคใหม่“ ออกมาครับ

กล่าวโดยสรุปคือ แผนนี้กำหนดเป้าหมายไว้ว่า

ภายในปี 2020 จีนจะต้องตามทันอเมริกาและชาติที่ก้าวล้ำในด้านเอไอ

ภายในปี 2025 จีนจะต้องสร้างนวัตกรรมสำคัญในเรื่อง เอไอ application

ภายในปี 2030 จีนจะต้องเป็นผู้นำโลกด้านเอไอ

และในหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา รัฐบาลจีนก็ได้จัดสรรเงินลงทุนประมาณ 200,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐมุ่งไปที่การพัฒนาเอไออย่างเดียว

เงินก้อนนี้คิดเป็น 23% ของงบประมาณลงทุนทั้งหมดของรัฐบาลจีนในทศวรรษนี้ครับ

บางท่านอาจถามว่า “อ้าว… แล้วก่อนหน้าปี 2017 นี่ จีนไม่ได้สนใจเรื่องเอไอเลยเหรอ?”

คำตอบคือ สนใจครับ ในยุคนั้นมีบริษัทดังๆเช่น หัวเหว่ย, อาลีบาบา, เทนเซนท์ และไป่ตู้ (Baidu) ซึ่งเป็นบริษัทเทคสำคัญๆของจีนก็สนใจเอไออยู่ แต่งบประมาณยังไม่ได้มากมายอะไร

เมื่อรัฐบาลจีนเข้ามาส่งเสริมเอไอเต็มสูบแบบนี้ พวกบริษัทเทคยักษ์ใหญ่ของจีนก็เดินหน้าเต็มเหนี่ยวเช่นกัน เช่น ระบบเอไอเฮลธ์แคร์โดยเทนเซนท์, ระบบสมาร์ทซิตี้ของอาลีบาบา หรือ ระบบจดจำใบหน้าของเอไอโดยเซนส์ไทม์ ฯลฯ
.
.
.
งบ 2 แสนล้านดอลล่าร์ของรัฐบาลนี้ ไม่ได้ส่งไปที่บริษัทหรือเทคสตาร์ทอัพอย่างเดียวครับ แต่ส่งไปยังโรงเรียนและมหาวิทยาลัยทั่วประเทศจีนเพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนทั้ง STEM + เอไอด้วย

STEM ย่อมาจาก การเรียนสายวิทยาศาสตร์คือ Science, Technology, Engineering and Mathematic ครับ

ในระดับประถม-มัธยมก็เริ่มสอนการเขียนโปรแกรม หรือ โค้ดดิ้ง (Coding) แต่เด็กๆ โดยใส่เข้าไปในหลักสูตรเลย

ที่น่าสนใจคือ โรงเรียนและผู้ปกครองส่งเสริมให้เด็กๆหัดเล่นโกะเยอะขึ้นมาก เพื่อให้ฝึกกระบวนการคิดหลายชั้น

และให้เอไอเป็นโค้ชสอนเด็กเล่นโกะด้วยซ้ำ

มหาวิทยาลัยทั้งหลายในจีนเริ่มเปิดหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับเอไอและ STEM มากขึ้น

ในช่วงปี 2016-2019 นักศึกษาปริญญาเอกในสาย STEM ของมหาวิทยาลัยจีนเพิ่มขึ้นจาก 59,000 คน เป็น 83,000 คน

คาดว่าในปี 2025 จีนจะผลิตด็อกเตอร์จบใหม่สาย STEM ได้ปีละ 77,000 คน เทียบกับสหรัฐอเมริกาที่ผลิตปีละ 40,000 คน

ส่วนในระดับปริญญาตรีและโท จีนผลิตบัณฑิตและมหาบัณฑิตได้ปีละหลักล้านคน

ในจีนนั้นมีอยู่ 3 มหาวิทยาลัยที่ถือว่าโด่งดังในหลักสูตรเอไอ คือ ปักกิ่ง, ซิงหัว และ Zhejiang ครับ ซึ่งมหาลัยเหล่านี้เขาก็ทำงานร่วมกับบริษัทเทคยักษ์ใหญ่ของจีน 3 แห่งคือ Baitu, Alibaba และ Tencent

ย่อหน้าที่แล้วผมเขียนชื่อสามบริษัทนี้เป็นภาษาอังกฤษ เพราะยักษ์ใหญ่สามบริษัทนี้เขามีชื่อเรียกย่อๆรวมกันว่า BAT ครับ
.
.
.
ที่ผมนำเรื่องนี้มาเล่า ก็เพราะอยากจะบอกว่าความสำเร็จของเอไอ “ดีปซีค” นั้นไม่ใช่ความสำเร็จชั่วข้ามคืน

แต่เกิดจากยุทธศาสตร์ที่มุ่งพัฒนาชาติของรัฐบาลจีนและความมานะหมั่นเพียรของเด็กจีน

อัลฟ่าโกะนั้นเปรียบเสมือนเสียงนาฬิกาปลุกสำหรับมังกรจีน

เทียบได้กับในวันที่โซเวียตส่งยานสปุตนิกขึ้นไปโคจรรอบโลกแล้วนั่นคือนาฬิกาปลุกของอเมริกา

สำหรับประเทศไทยเรานั้น อย่าไปหวังยุทธศาสตร์อะไรกับนายกรัฐมนตรีที่เทงบซอฟท์พาวเวอร์ไป 5 พันล้านบาทเลยครับ

ยิ่งเห็นข่าวคณะผู้แทนจีนตั้งคำถามกับฝ่ายความมั่นคงและตำรวจไทยเรื่องแก๊งคอลล์เซ็นเตอร์ว่า “ทำไมพวกคุณไม่สนใจดูแลบ้านเมืองของตัวเองบ้างเลย“ แล้ว

ผมอายบรรพบุรุษครับ

อายว่า “เจนเนอเรชั่นพวกเรานั้น ทำได้แค่นี้เหรอ? มีดีแค่นี้เหรอ?“
อ่านเอาเรื่อง Ep.93 : อัลฟ่าโกะกับจีน ในปี ค.ศ.2016 มีเหตุการณ์เล็กๆที่ยิ่งใหญ่เกิดขึ้นครับ คือ มีการแข่งขันเกมส์ “โกะ” (หรือ หมากล้อม) ระหว่างแชมป์โลกโกะชาวเกาหลีใต้ชื่อ “ลี เซดอล“ กับหุ่นยนต์เอไอของกูเกิ้ล ชื่อ ”อัลฟ่าโกะ - AlphaGo" ผลก็คือ อัลฟ่าโกะชนะลี เซดอลไปได้ขาดลอย คือ แข่งกัน 5 กระดาน อัลฟ่าโกะชนะไป 4 กระดาน ทำเอาแขมป์โลกลี เซดอลต้องยอมแพ้และถอนตัวจากแข่งขัน เผื่อใครไม่ทราบ โกะคือเกมส์ที่เล่นบนกระดานครับ ผู้เล่นสองฝั่งต้องวางแผนล่วงหน้าในการเดินหมากเพื่อลวงคู่ต่อสู้ เป็นเกมส์ที่ใช้พลังสมองและฝึกกระบวนการคิดซับซ้อนเป็นอย่างดี . . . ข่าวชัยชนะของอัลฟ่าโกะนี้แพร่กระจายไปทั่วโลก จนกระทั่งไปเข้าถึงหูของกลุ่มผู้นำจีนในเวลานั้น เรื่องใครชนะใครแพ้ในเกมส์โกะนั้นไม่สำคัญสำหรับกลุ่มผู้นำรัฐบาลจีนเท่ากับความจริงที่ว่า เทคโนโลยีเอไอนั้นก้าวล้ำไปรวดเร็วกว่าที่ใครจะคาดคิดครับ ผู้นำจีนได้พูดคุยกันและตัดสินใจทันทีว่า จีนจะต้องเร่งพัฒนาองค์ความรู้เรื่องเอไอเพื่อให้จีนเป็นผู้นำเทคโนโลยีนี้ให้ได้ ดังนั้นแล้วหนึ่งปีหลังจากชัยชนะของอัลฟ่าโกะ คือ ค.ศ.2017 รัฐบาลจีนได้ประกาศแผนแห่งชาติที่ชื่อว่า “New Generation Artificial Intelligence Development Plan" หรือ ”แผนพัฒนาเอไอยุคใหม่“ ออกมาครับ กล่าวโดยสรุปคือ แผนนี้กำหนดเป้าหมายไว้ว่า ภายในปี 2020 จีนจะต้องตามทันอเมริกาและชาติที่ก้าวล้ำในด้านเอไอ ภายในปี 2025 จีนจะต้องสร้างนวัตกรรมสำคัญในเรื่อง เอไอ application ภายในปี 2030 จีนจะต้องเป็นผู้นำโลกด้านเอไอ และในหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา รัฐบาลจีนก็ได้จัดสรรเงินลงทุนประมาณ 200,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐมุ่งไปที่การพัฒนาเอไออย่างเดียว เงินก้อนนี้คิดเป็น 23% ของงบประมาณลงทุนทั้งหมดของรัฐบาลจีนในทศวรรษนี้ครับ บางท่านอาจถามว่า “อ้าว… แล้วก่อนหน้าปี 2017 นี่ จีนไม่ได้สนใจเรื่องเอไอเลยเหรอ?” คำตอบคือ สนใจครับ ในยุคนั้นมีบริษัทดังๆเช่น หัวเหว่ย, อาลีบาบา, เทนเซนท์ และไป่ตู้ (Baidu) ซึ่งเป็นบริษัทเทคสำคัญๆของจีนก็สนใจเอไออยู่ แต่งบประมาณยังไม่ได้มากมายอะไร เมื่อรัฐบาลจีนเข้ามาส่งเสริมเอไอเต็มสูบแบบนี้ พวกบริษัทเทคยักษ์ใหญ่ของจีนก็เดินหน้าเต็มเหนี่ยวเช่นกัน เช่น ระบบเอไอเฮลธ์แคร์โดยเทนเซนท์, ระบบสมาร์ทซิตี้ของอาลีบาบา หรือ ระบบจดจำใบหน้าของเอไอโดยเซนส์ไทม์ ฯลฯ . . . งบ 2 แสนล้านดอลล่าร์ของรัฐบาลนี้ ไม่ได้ส่งไปที่บริษัทหรือเทคสตาร์ทอัพอย่างเดียวครับ แต่ส่งไปยังโรงเรียนและมหาวิทยาลัยทั่วประเทศจีนเพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนทั้ง STEM + เอไอด้วย STEM ย่อมาจาก การเรียนสายวิทยาศาสตร์คือ Science, Technology, Engineering and Mathematic ครับ ในระดับประถม-มัธยมก็เริ่มสอนการเขียนโปรแกรม หรือ โค้ดดิ้ง (Coding) แต่เด็กๆ โดยใส่เข้าไปในหลักสูตรเลย ที่น่าสนใจคือ โรงเรียนและผู้ปกครองส่งเสริมให้เด็กๆหัดเล่นโกะเยอะขึ้นมาก เพื่อให้ฝึกกระบวนการคิดหลายชั้น และให้เอไอเป็นโค้ชสอนเด็กเล่นโกะด้วยซ้ำ มหาวิทยาลัยทั้งหลายในจีนเริ่มเปิดหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับเอไอและ STEM มากขึ้น ในช่วงปี 2016-2019 นักศึกษาปริญญาเอกในสาย STEM ของมหาวิทยาลัยจีนเพิ่มขึ้นจาก 59,000 คน เป็น 83,000 คน คาดว่าในปี 2025 จีนจะผลิตด็อกเตอร์จบใหม่สาย STEM ได้ปีละ 77,000 คน เทียบกับสหรัฐอเมริกาที่ผลิตปีละ 40,000 คน ส่วนในระดับปริญญาตรีและโท จีนผลิตบัณฑิตและมหาบัณฑิตได้ปีละหลักล้านคน ในจีนนั้นมีอยู่ 3 มหาวิทยาลัยที่ถือว่าโด่งดังในหลักสูตรเอไอ คือ ปักกิ่ง, ซิงหัว และ Zhejiang ครับ ซึ่งมหาลัยเหล่านี้เขาก็ทำงานร่วมกับบริษัทเทคยักษ์ใหญ่ของจีน 3 แห่งคือ Baitu, Alibaba และ Tencent ย่อหน้าที่แล้วผมเขียนชื่อสามบริษัทนี้เป็นภาษาอังกฤษ เพราะยักษ์ใหญ่สามบริษัทนี้เขามีชื่อเรียกย่อๆรวมกันว่า BAT ครับ . . . ที่ผมนำเรื่องนี้มาเล่า ก็เพราะอยากจะบอกว่าความสำเร็จของเอไอ “ดีปซีค” นั้นไม่ใช่ความสำเร็จชั่วข้ามคืน แต่เกิดจากยุทธศาสตร์ที่มุ่งพัฒนาชาติของรัฐบาลจีนและความมานะหมั่นเพียรของเด็กจีน อัลฟ่าโกะนั้นเปรียบเสมือนเสียงนาฬิกาปลุกสำหรับมังกรจีน เทียบได้กับในวันที่โซเวียตส่งยานสปุตนิกขึ้นไปโคจรรอบโลกแล้วนั่นคือนาฬิกาปลุกของอเมริกา สำหรับประเทศไทยเรานั้น อย่าไปหวังยุทธศาสตร์อะไรกับนายกรัฐมนตรีที่เทงบซอฟท์พาวเวอร์ไป 5 พันล้านบาทเลยครับ ยิ่งเห็นข่าวคณะผู้แทนจีนตั้งคำถามกับฝ่ายความมั่นคงและตำรวจไทยเรื่องแก๊งคอลล์เซ็นเตอร์ว่า “ทำไมพวกคุณไม่สนใจดูแลบ้านเมืองของตัวเองบ้างเลย“ แล้ว ผมอายบรรพบุรุษครับ อายว่า “เจนเนอเรชั่นพวกเรานั้น ทำได้แค่นี้เหรอ? มีดีแค่นี้เหรอ?“
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 45 มุมมอง 0 รีวิว