จีนออกมาประณามความเคลื่อนไหวของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ที่สั่งรีดภาษีสินค้านำเข้าจากแดนมังกรในอัตรา 10% เมื่อวานนี้ (2 ก.พ.) โดยกระทรวงการคลังและกระทรวงพาณิชย์จีนประกาศจะยื่นฟ้องต่อองค์การการค้าโลก (World Trade Organization - WTO) เกี่ยวกับคำสั่งรีดภาษีของทรัมป์ และจะมี "มาตรการตอบโต้" นโยบายของสหรัฐฯ ซึ่งจะเริ่มมีผลบังคับในวันอังคารที่ 4 ก.พ.นี้
.
อย่างไรก็ตาม จีนยังส่งสัญญาณเปิดโอกาสสำหรับการเจรจาพูดคุย เพื่อไม่ให้ 2 มหาอำนาจเกิดการกระทบกระทั่งรุนแรงไปกว่าที่เป็นอยู่
.
เมื่อวันเสาร์ (1) ทรัมป์ ได้ออกคำสั่งเก็บภาษีศุลกากรจากสินค้าแคนาดาและเม็กซิโกในอัตรา 25% และสินค้าจีน 10% โดยชี้ว่าปักกิ่งจำเป็นต้องช่วยสกัดกั้นยาเฟนทานิลซึ่งเป็นสารเสพติดโอปิออยด์ชนิดรุนแรงไม่ให้ไหลเข้าสู่สหรัฐอเมริกา
.
กระทรวงพาณิชย์จีนแถลงว่า คำสั่งของ ทรัมป์ "ถือเป็นการฝ่าฝืนระเบียบการค้าสากลอย่างร้ายแรง" และจีนขอเรียกร้องให้สหรัฐฯ "พูดคุยกันอย่างจริงใจ และยกระดับความร่วมมือกัน"
.
ทั้งนี้ การยื่นฟ้องต่อ WTO จะให้ผลเชิงสัญลักษณ์ว่าจีนนั้นยืนหยัดสนับสนุนระบบการค้าที่อิงกฎเกณฑ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐบาลสหรัฐฯ ทั้งเดโมแครตและรีพับลิกันยึดถือเรื่อยมา โดยก่อนหน้านี้จีนก็เคยยื่นฟ้องต่อ WTO มาแล้วตอนที่ถูกสหภาพยุโรปสั่งรีดภาษีรถอีวีนำเข้าจีนในอัตราสูงสุด 45%
.
อย่างไรก็ดี การร้องเรียนต่อ WTO ก็ไม่ได้ส่งผลกระทบหรือเป็นภัยคุกคามใดๆ ต่อสหรัฐฯ เนื่องจากระบบไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของ WTO นั้นแทบจะถูกปิดไปโดยปริยายตั้งแต่ปี 2019 เมื่อ ทรัมป์ ขัดขวางการแต่งตั้งผู้พิพากษาที่จะมาทำหน้าที่พิจารณาคำอุทธรณ์ นอกจากนี้ สหรัฐฯ ตั้งแต่ยุค บารัค โอบามา เป็นต้นมายังกล่าวหาหน่วยงานอุทธรณ์ของ WTO ว่าละเมิดอำนาจของสหรัฐฯ ด้วย
.
เหมา หนิง โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน ออกมาเอ่ยย้ำตลอดช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า "ไม่มีผู้ชนะในสงครามการค้า"
.
ขณะเดียวกัน กระทรวงการต่างประเทศจีนก็ออกมาชี้ว่า "เฟนทานิลคือปัญหาของอเมริกา" พร้อมย้ำว่า "ที่ผ่านมาฝ่ายจีนได้มีมาตรการต่อต้านยาเสพติดอย่างจริงจังโดยร่วมมือกับสหรัฐฯ ซึ่งก็ได้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ"
.
การหารือระหว่าง ทรัมป์ กับประธานาธิบดี สี จิ้นผิง เมื่อเดือนที่แล้วทำให้เจ้าหน้าที่จีนเริ่มมองเห็นสัญญาณที่ดีว่า ทรัมป์ อาจจะมุ่งลดความขัดแย้งกับจีนลงบ้าง ในขณะที่เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ทั้งสายเดโมแครตและรีพับลิกันยังคงมองจีนเป็นความท้าทายอันดับ 1 ทั้งในด้านนโยบายต่างประเทศและเศรษฐกิจของอเมริกา
.
การที่จีนมียอดการค้าเกินดุลเกือบ 1 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2024 ถือเป็นจุดอ่อนของปักกิ่ง การส่งออกในอุตสาหกรรมหลักๆ ของจีน เช่น ยานยนต์ เติบโตรวดเร็วในแง่ของปริมาณมากกว่ามูลค่า ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าผู้ผลิตจีนเลือกหันมาใช้วิธีลดราคาสินค้าเพื่อเพิ่มยอดขายในต่างประเทศ ท่ามกลางอุปสงค์ในจีนที่ยังคงซบเซา และด้วยเหตุนี้นักวิเคราะห์จึงเชื่อว่าจีนน่าจะพยายามขอเจรจาเพื่อทำข้อตกลงกับรัฐบาล ทรัมป์ ให้ได้โดยเร็ว เพื่อลดผลกระทบจากมาตรการทางภาษีของสหรัฐฯ
.
ทั้งนี้ จีนยังได้เตรียมความพร้อมรับมือมาตรการรีดภาษีของ ทรัมป์ มานานหลายเดือนด้วยการกระชับความร่วมมือกับประเทศหุ้นส่วน ส่งเสริมการพึ่งพาตนเองในด้านเทคโนโลยีหลักๆ และจัดสรรงบประมาณเพื่อช่วยพยุงเศรษฐกิจที่ยังคงเปราะบาง
.
อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000010797
..................
Sondhi X
.
อย่างไรก็ตาม จีนยังส่งสัญญาณเปิดโอกาสสำหรับการเจรจาพูดคุย เพื่อไม่ให้ 2 มหาอำนาจเกิดการกระทบกระทั่งรุนแรงไปกว่าที่เป็นอยู่
.
เมื่อวันเสาร์ (1) ทรัมป์ ได้ออกคำสั่งเก็บภาษีศุลกากรจากสินค้าแคนาดาและเม็กซิโกในอัตรา 25% และสินค้าจีน 10% โดยชี้ว่าปักกิ่งจำเป็นต้องช่วยสกัดกั้นยาเฟนทานิลซึ่งเป็นสารเสพติดโอปิออยด์ชนิดรุนแรงไม่ให้ไหลเข้าสู่สหรัฐอเมริกา
.
กระทรวงพาณิชย์จีนแถลงว่า คำสั่งของ ทรัมป์ "ถือเป็นการฝ่าฝืนระเบียบการค้าสากลอย่างร้ายแรง" และจีนขอเรียกร้องให้สหรัฐฯ "พูดคุยกันอย่างจริงใจ และยกระดับความร่วมมือกัน"
.
ทั้งนี้ การยื่นฟ้องต่อ WTO จะให้ผลเชิงสัญลักษณ์ว่าจีนนั้นยืนหยัดสนับสนุนระบบการค้าที่อิงกฎเกณฑ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐบาลสหรัฐฯ ทั้งเดโมแครตและรีพับลิกันยึดถือเรื่อยมา โดยก่อนหน้านี้จีนก็เคยยื่นฟ้องต่อ WTO มาแล้วตอนที่ถูกสหภาพยุโรปสั่งรีดภาษีรถอีวีนำเข้าจีนในอัตราสูงสุด 45%
.
อย่างไรก็ดี การร้องเรียนต่อ WTO ก็ไม่ได้ส่งผลกระทบหรือเป็นภัยคุกคามใดๆ ต่อสหรัฐฯ เนื่องจากระบบไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของ WTO นั้นแทบจะถูกปิดไปโดยปริยายตั้งแต่ปี 2019 เมื่อ ทรัมป์ ขัดขวางการแต่งตั้งผู้พิพากษาที่จะมาทำหน้าที่พิจารณาคำอุทธรณ์ นอกจากนี้ สหรัฐฯ ตั้งแต่ยุค บารัค โอบามา เป็นต้นมายังกล่าวหาหน่วยงานอุทธรณ์ของ WTO ว่าละเมิดอำนาจของสหรัฐฯ ด้วย
.
เหมา หนิง โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน ออกมาเอ่ยย้ำตลอดช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า "ไม่มีผู้ชนะในสงครามการค้า"
.
ขณะเดียวกัน กระทรวงการต่างประเทศจีนก็ออกมาชี้ว่า "เฟนทานิลคือปัญหาของอเมริกา" พร้อมย้ำว่า "ที่ผ่านมาฝ่ายจีนได้มีมาตรการต่อต้านยาเสพติดอย่างจริงจังโดยร่วมมือกับสหรัฐฯ ซึ่งก็ได้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ"
.
การหารือระหว่าง ทรัมป์ กับประธานาธิบดี สี จิ้นผิง เมื่อเดือนที่แล้วทำให้เจ้าหน้าที่จีนเริ่มมองเห็นสัญญาณที่ดีว่า ทรัมป์ อาจจะมุ่งลดความขัดแย้งกับจีนลงบ้าง ในขณะที่เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ทั้งสายเดโมแครตและรีพับลิกันยังคงมองจีนเป็นความท้าทายอันดับ 1 ทั้งในด้านนโยบายต่างประเทศและเศรษฐกิจของอเมริกา
.
การที่จีนมียอดการค้าเกินดุลเกือบ 1 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2024 ถือเป็นจุดอ่อนของปักกิ่ง การส่งออกในอุตสาหกรรมหลักๆ ของจีน เช่น ยานยนต์ เติบโตรวดเร็วในแง่ของปริมาณมากกว่ามูลค่า ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าผู้ผลิตจีนเลือกหันมาใช้วิธีลดราคาสินค้าเพื่อเพิ่มยอดขายในต่างประเทศ ท่ามกลางอุปสงค์ในจีนที่ยังคงซบเซา และด้วยเหตุนี้นักวิเคราะห์จึงเชื่อว่าจีนน่าจะพยายามขอเจรจาเพื่อทำข้อตกลงกับรัฐบาล ทรัมป์ ให้ได้โดยเร็ว เพื่อลดผลกระทบจากมาตรการทางภาษีของสหรัฐฯ
.
ทั้งนี้ จีนยังได้เตรียมความพร้อมรับมือมาตรการรีดภาษีของ ทรัมป์ มานานหลายเดือนด้วยการกระชับความร่วมมือกับประเทศหุ้นส่วน ส่งเสริมการพึ่งพาตนเองในด้านเทคโนโลยีหลักๆ และจัดสรรงบประมาณเพื่อช่วยพยุงเศรษฐกิจที่ยังคงเปราะบาง
.
อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000010797
..................
Sondhi X
จีนออกมาประณามความเคลื่อนไหวของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ที่สั่งรีดภาษีสินค้านำเข้าจากแดนมังกรในอัตรา 10% เมื่อวานนี้ (2 ก.พ.) โดยกระทรวงการคลังและกระทรวงพาณิชย์จีนประกาศจะยื่นฟ้องต่อองค์การการค้าโลก (World Trade Organization - WTO) เกี่ยวกับคำสั่งรีดภาษีของทรัมป์ และจะมี "มาตรการตอบโต้" นโยบายของสหรัฐฯ ซึ่งจะเริ่มมีผลบังคับในวันอังคารที่ 4 ก.พ.นี้
.
อย่างไรก็ตาม จีนยังส่งสัญญาณเปิดโอกาสสำหรับการเจรจาพูดคุย เพื่อไม่ให้ 2 มหาอำนาจเกิดการกระทบกระทั่งรุนแรงไปกว่าที่เป็นอยู่
.
เมื่อวันเสาร์ (1) ทรัมป์ ได้ออกคำสั่งเก็บภาษีศุลกากรจากสินค้าแคนาดาและเม็กซิโกในอัตรา 25% และสินค้าจีน 10% โดยชี้ว่าปักกิ่งจำเป็นต้องช่วยสกัดกั้นยาเฟนทานิลซึ่งเป็นสารเสพติดโอปิออยด์ชนิดรุนแรงไม่ให้ไหลเข้าสู่สหรัฐอเมริกา
.
กระทรวงพาณิชย์จีนแถลงว่า คำสั่งของ ทรัมป์ "ถือเป็นการฝ่าฝืนระเบียบการค้าสากลอย่างร้ายแรง" และจีนขอเรียกร้องให้สหรัฐฯ "พูดคุยกันอย่างจริงใจ และยกระดับความร่วมมือกัน"
.
ทั้งนี้ การยื่นฟ้องต่อ WTO จะให้ผลเชิงสัญลักษณ์ว่าจีนนั้นยืนหยัดสนับสนุนระบบการค้าที่อิงกฎเกณฑ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐบาลสหรัฐฯ ทั้งเดโมแครตและรีพับลิกันยึดถือเรื่อยมา โดยก่อนหน้านี้จีนก็เคยยื่นฟ้องต่อ WTO มาแล้วตอนที่ถูกสหภาพยุโรปสั่งรีดภาษีรถอีวีนำเข้าจีนในอัตราสูงสุด 45%
.
อย่างไรก็ดี การร้องเรียนต่อ WTO ก็ไม่ได้ส่งผลกระทบหรือเป็นภัยคุกคามใดๆ ต่อสหรัฐฯ เนื่องจากระบบไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของ WTO นั้นแทบจะถูกปิดไปโดยปริยายตั้งแต่ปี 2019 เมื่อ ทรัมป์ ขัดขวางการแต่งตั้งผู้พิพากษาที่จะมาทำหน้าที่พิจารณาคำอุทธรณ์ นอกจากนี้ สหรัฐฯ ตั้งแต่ยุค บารัค โอบามา เป็นต้นมายังกล่าวหาหน่วยงานอุทธรณ์ของ WTO ว่าละเมิดอำนาจของสหรัฐฯ ด้วย
.
เหมา หนิง โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน ออกมาเอ่ยย้ำตลอดช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า "ไม่มีผู้ชนะในสงครามการค้า"
.
ขณะเดียวกัน กระทรวงการต่างประเทศจีนก็ออกมาชี้ว่า "เฟนทานิลคือปัญหาของอเมริกา" พร้อมย้ำว่า "ที่ผ่านมาฝ่ายจีนได้มีมาตรการต่อต้านยาเสพติดอย่างจริงจังโดยร่วมมือกับสหรัฐฯ ซึ่งก็ได้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ"
.
การหารือระหว่าง ทรัมป์ กับประธานาธิบดี สี จิ้นผิง เมื่อเดือนที่แล้วทำให้เจ้าหน้าที่จีนเริ่มมองเห็นสัญญาณที่ดีว่า ทรัมป์ อาจจะมุ่งลดความขัดแย้งกับจีนลงบ้าง ในขณะที่เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ทั้งสายเดโมแครตและรีพับลิกันยังคงมองจีนเป็นความท้าทายอันดับ 1 ทั้งในด้านนโยบายต่างประเทศและเศรษฐกิจของอเมริกา
.
การที่จีนมียอดการค้าเกินดุลเกือบ 1 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2024 ถือเป็นจุดอ่อนของปักกิ่ง การส่งออกในอุตสาหกรรมหลักๆ ของจีน เช่น ยานยนต์ เติบโตรวดเร็วในแง่ของปริมาณมากกว่ามูลค่า ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าผู้ผลิตจีนเลือกหันมาใช้วิธีลดราคาสินค้าเพื่อเพิ่มยอดขายในต่างประเทศ ท่ามกลางอุปสงค์ในจีนที่ยังคงซบเซา และด้วยเหตุนี้นักวิเคราะห์จึงเชื่อว่าจีนน่าจะพยายามขอเจรจาเพื่อทำข้อตกลงกับรัฐบาล ทรัมป์ ให้ได้โดยเร็ว เพื่อลดผลกระทบจากมาตรการทางภาษีของสหรัฐฯ
.
ทั้งนี้ จีนยังได้เตรียมความพร้อมรับมือมาตรการรีดภาษีของ ทรัมป์ มานานหลายเดือนด้วยการกระชับความร่วมมือกับประเทศหุ้นส่วน ส่งเสริมการพึ่งพาตนเองในด้านเทคโนโลยีหลักๆ และจัดสรรงบประมาณเพื่อช่วยพยุงเศรษฐกิจที่ยังคงเปราะบาง
.
อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000010797
..................
Sondhi X