มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ในวันอาทิตย์ (2 ก.พ.) ขู่ดำเนินการกับปานามา หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เพื่อลดอิทธิพลของจีนเหนือคลองปานามา อย่างไรก็ตาม ผู้นำของประเทศแห่งนี้ยืนกรานว่าเขาไม่กลัวอเมริกาจะใช้กำลังเข้ายึด และเสนอให้ทั้ง 2 ฝ่ายหันหน้าพูดคุยเจรจากัน
.
รูบิโอ ซึ่งเดินทางเยือนต่างแดนเป็นครั้งแรกในฐานะรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ บอกกับปานามา ว่าประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ สรุปแล้วว่าประเทศแห่งนี้ละเมิดเงื่อนไขในสนธิสัญญา เกี่ยวกับการส่งมอบน่านน้ำสำคัญนี้คืนแก่ปานามาในปี 1999
.
เขาชี้ถึงกรณีที่จีนมีอิทธิพลและควบคุมคลองปานามา ทางน้ำสำคัญที่เชื่อมระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกกับมหาสมุทรแปซิฟิก และเป็นเส้นทางการสัญจรผ่านของตู้สินค้าสหรัฐฯ ราว 40%
.
แทมมี บรูซ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ระบุว่าระหว่างพบปะกับประธานาธิบดีโฮเซ ราอูล มาลิโน ทางรูบิโอ "พูดอย่างชัดเจนว่าสถานภาพปัจจุบันเป็นสิ่งที่ไม่อาจยอมรับได้และถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงในทันทีทันใด มันจะจำเป็นที่สหรัฐฯ ต้องใช้มาตรการต่างๆ ที่จำเป็นเพื่อปกป้องสิทธิของตนเองภายใต้สนธิสัญญา"
.
อย่างไรก็ตาม รูบิโอ ให้ภาพการประชุมเลวร้ายน้อยกว่าทางสหรัฐฯ หลังจากก่อนหน้านี้เขาให้การตอบรับ รูบิโอ เขาสู่ทำเนียบประธานาธิบดี ด้วยทหารกองเกียรติยศ
.
"ณ เวลานี้ ผมไม่รู้ถึงภัยคุกคามที่เป็นจริงเป็นจังใดๆ ที่มีต่อสนธิสัญญา มันยังอยู่ดี และรู้สึกกังวลน้อยกว่ามากเกี่ยวกับการใช้กำลังทหารเข้ายึดคลอง" มูลิโน บอกกับผู้สื่อข่าวหลังการพบปะหารือ อ้างถึงสนธิสัญญาส่งมอบคลองในช่วงปลายปี 1999 "อธิปไตยเหนือคลองแห่งนี้ ไม่อยู่ในข้อสงสัยใดๆ" เขากล่าว พร้อมเสนอเจรจาระดับเทคนิคกับสหรัฐฯ เพื่อปัดเป่าความกังวล
.
รูบิโอ ไม่ได้บอกว่าสหรัฐฯ จะใช้มาตรการใด แต่เมื่อเร็วๆ นี้ ทรัมป์ เพิ่งกำหนดมาตรการรีดภาษีสูงลิ่วเล่นงาน 3 คู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของอเมริกา ได้แก่ แคนาดา จีน และเม็กซิโก
.
ทั้ง รูบิโอ และ ทรัมป์ ต่างกล่าวหา จีน มีอิทธิพลอย่างมากเหนือโครงสร้างพื้นฐานโดยรอบคลอง ที่อาจดำเนินการปิดมันในกรณีที่เกิดความขัดแย้งใดๆ ซึ่งอาจส่งผลกระทบหายนะสำหรับสหรัฐฯ
.
มีการประท้วงกลุ่มเล็กๆ แต่เป็นไปอย่างดุเดือดในปานามา ก่อนหน้าการเดินทางเยือนของรูบิโอ กระตุ้นให้ตำรวจต้องใช้แก๊สน้ำตา
.
พวกผู้ประท้วงเผาหุ่นรูบิโอที่สวมสูทสีแดงขาวน้ำเงิน และชูภาพเขากับทรัมป์ต่อหน้าธงนาซี "รูบิโอ ออกไปจากปานามา" เหล่าผู้ชุมนุมต่างร้องตะโกนตอนที่รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ พบปะกับมูลิโน "นี่คือการส่งสารถึงพวกจักรวรรดินิยม" ซาอูล เมนเดซ ผู้นำสหภาพแรงงานกล่าวถึงรูบิโอ "เราเน้นย้ำว่า ที่นี่ไม่มีอะไรให้ทรัมป์ ปานามาเป็นประเทศเสรีและมีอำนาจอธิปไตย"
.
ระหว่างให้สัมภาษณ์กับพวกผู้สื่อข่าวในวันศุกร์ (31 ม.ค.) ทรัมป์ ระบุว่าการอ้อนข้อเกี่ยวกับคลองยังไม่เพียงพอ และ "มันเป็นเรื่องเหมาะสมที่เราจะเอาคลองคืนมา"
.
คลองปานามาถูกสร้างขึ้นโดยสหรัฐฯ ที่ต้องแลกมาด้วยชีวิตของแรงงานหลายพันคน ส่วนใหญ่เป็นชนเชื้อสายแอฟริกา ที่มาจากบาร์บาดอส จาไมกา และที่อื่นๆ ในแถบแคริบเบียน
.
สหรัฐฯ คงไว้ซึ่งการควบคุมคลองปานามา ครั้งที่เปิดทำการในปี 1914 แต่เริ่มเจรจาต่อรอง ตามหลังเหตุจลาจลนองเลือดในปี 1964 โดยผู้ประท้วงชาวปานามา ที่โกรธเคืองกรณีที่ปล่อยให้ต่างชาติควบคุมคลองแห่งนี้
.
จิมมี คาร์เตอร์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ณ ขณะนั้น ตกลงมอบคลองแห่งนี้แก่ปานามาในช่วงปลายปี 1999 โดยอดีตประธานาธิบดีผู้ล่วงลับรายนี้มองว่าเป็นสิ่งจำเป็นทางศีลธรรมที่อเมริกาต้องเคารพต่อประเทศที่เล็กกว่าแต่มีอธิปไตยแห่งนี้
.
แต่สำหรับ ทรัมป์ เขามีมุมมองที่ต่างออกไป และหันมาใช้แนวทาง "Big Stick" (การใช้ความเข้มแข็งหรือการข่มขู่ในการจัดการกับสถานการณ์ทางการเมืองหรือความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ) แบบเดียวกับในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ซึ่งสหรัฐฯ มักขู่ใช้กำลังในการเปิดทางดำเนินการต่างๆ โดยเฉพาะในละตินอเมริกา
.
อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000010779
..................
Sondhi X
มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ในวันอาทิตย์ (2 ก.พ.) ขู่ดำเนินการกับปานามา หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เพื่อลดอิทธิพลของจีนเหนือคลองปานามา อย่างไรก็ตาม ผู้นำของประเทศแห่งนี้ยืนกรานว่าเขาไม่กลัวอเมริกาจะใช้กำลังเข้ายึด และเสนอให้ทั้ง 2 ฝ่ายหันหน้าพูดคุยเจรจากัน . รูบิโอ ซึ่งเดินทางเยือนต่างแดนเป็นครั้งแรกในฐานะรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ บอกกับปานามา ว่าประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ สรุปแล้วว่าประเทศแห่งนี้ละเมิดเงื่อนไขในสนธิสัญญา เกี่ยวกับการส่งมอบน่านน้ำสำคัญนี้คืนแก่ปานามาในปี 1999 . เขาชี้ถึงกรณีที่จีนมีอิทธิพลและควบคุมคลองปานามา ทางน้ำสำคัญที่เชื่อมระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกกับมหาสมุทรแปซิฟิก และเป็นเส้นทางการสัญจรผ่านของตู้สินค้าสหรัฐฯ ราว 40% . แทมมี บรูซ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ระบุว่าระหว่างพบปะกับประธานาธิบดีโฮเซ ราอูล มาลิโน ทางรูบิโอ "พูดอย่างชัดเจนว่าสถานภาพปัจจุบันเป็นสิ่งที่ไม่อาจยอมรับได้และถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงในทันทีทันใด มันจะจำเป็นที่สหรัฐฯ ต้องใช้มาตรการต่างๆ ที่จำเป็นเพื่อปกป้องสิทธิของตนเองภายใต้สนธิสัญญา" . อย่างไรก็ตาม รูบิโอ ให้ภาพการประชุมเลวร้ายน้อยกว่าทางสหรัฐฯ หลังจากก่อนหน้านี้เขาให้การตอบรับ รูบิโอ เขาสู่ทำเนียบประธานาธิบดี ด้วยทหารกองเกียรติยศ . "ณ เวลานี้ ผมไม่รู้ถึงภัยคุกคามที่เป็นจริงเป็นจังใดๆ ที่มีต่อสนธิสัญญา มันยังอยู่ดี และรู้สึกกังวลน้อยกว่ามากเกี่ยวกับการใช้กำลังทหารเข้ายึดคลอง" มูลิโน บอกกับผู้สื่อข่าวหลังการพบปะหารือ อ้างถึงสนธิสัญญาส่งมอบคลองในช่วงปลายปี 1999 "อธิปไตยเหนือคลองแห่งนี้ ไม่อยู่ในข้อสงสัยใดๆ" เขากล่าว พร้อมเสนอเจรจาระดับเทคนิคกับสหรัฐฯ เพื่อปัดเป่าความกังวล . รูบิโอ ไม่ได้บอกว่าสหรัฐฯ จะใช้มาตรการใด แต่เมื่อเร็วๆ นี้ ทรัมป์ เพิ่งกำหนดมาตรการรีดภาษีสูงลิ่วเล่นงาน 3 คู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของอเมริกา ได้แก่ แคนาดา จีน และเม็กซิโก . ทั้ง รูบิโอ และ ทรัมป์ ต่างกล่าวหา จีน มีอิทธิพลอย่างมากเหนือโครงสร้างพื้นฐานโดยรอบคลอง ที่อาจดำเนินการปิดมันในกรณีที่เกิดความขัดแย้งใดๆ ซึ่งอาจส่งผลกระทบหายนะสำหรับสหรัฐฯ . มีการประท้วงกลุ่มเล็กๆ แต่เป็นไปอย่างดุเดือดในปานามา ก่อนหน้าการเดินทางเยือนของรูบิโอ กระตุ้นให้ตำรวจต้องใช้แก๊สน้ำตา . พวกผู้ประท้วงเผาหุ่นรูบิโอที่สวมสูทสีแดงขาวน้ำเงิน และชูภาพเขากับทรัมป์ต่อหน้าธงนาซี "รูบิโอ ออกไปจากปานามา" เหล่าผู้ชุมนุมต่างร้องตะโกนตอนที่รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ พบปะกับมูลิโน "นี่คือการส่งสารถึงพวกจักรวรรดินิยม" ซาอูล เมนเดซ ผู้นำสหภาพแรงงานกล่าวถึงรูบิโอ "เราเน้นย้ำว่า ที่นี่ไม่มีอะไรให้ทรัมป์ ปานามาเป็นประเทศเสรีและมีอำนาจอธิปไตย" . ระหว่างให้สัมภาษณ์กับพวกผู้สื่อข่าวในวันศุกร์ (31 ม.ค.) ทรัมป์ ระบุว่าการอ้อนข้อเกี่ยวกับคลองยังไม่เพียงพอ และ "มันเป็นเรื่องเหมาะสมที่เราจะเอาคลองคืนมา" . คลองปานามาถูกสร้างขึ้นโดยสหรัฐฯ ที่ต้องแลกมาด้วยชีวิตของแรงงานหลายพันคน ส่วนใหญ่เป็นชนเชื้อสายแอฟริกา ที่มาจากบาร์บาดอส จาไมกา และที่อื่นๆ ในแถบแคริบเบียน . สหรัฐฯ คงไว้ซึ่งการควบคุมคลองปานามา ครั้งที่เปิดทำการในปี 1914 แต่เริ่มเจรจาต่อรอง ตามหลังเหตุจลาจลนองเลือดในปี 1964 โดยผู้ประท้วงชาวปานามา ที่โกรธเคืองกรณีที่ปล่อยให้ต่างชาติควบคุมคลองแห่งนี้ . จิมมี คาร์เตอร์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ณ ขณะนั้น ตกลงมอบคลองแห่งนี้แก่ปานามาในช่วงปลายปี 1999 โดยอดีตประธานาธิบดีผู้ล่วงลับรายนี้มองว่าเป็นสิ่งจำเป็นทางศีลธรรมที่อเมริกาต้องเคารพต่อประเทศที่เล็กกว่าแต่มีอธิปไตยแห่งนี้ . แต่สำหรับ ทรัมป์ เขามีมุมมองที่ต่างออกไป และหันมาใช้แนวทาง "Big Stick" (การใช้ความเข้มแข็งหรือการข่มขู่ในการจัดการกับสถานการณ์ทางการเมืองหรือความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ) แบบเดียวกับในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ซึ่งสหรัฐฯ มักขู่ใช้กำลังในการเปิดทางดำเนินการต่างๆ โดยเฉพาะในละตินอเมริกา . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000010779 .................. Sondhi X
Like
5
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 296 มุมมอง 0 รีวิว