14 ม.ค. 2568 – นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการอิสระ เผยแพร่บทความเรื่อง “ความรับผิดชอบ”ในคดีชั้น ๑๔ โดยมีเนื้อหา ดังนี้

จรรยาบรรณแพทย์

ถาม ๑๕ มกราคม นี้ ถึงกำหนดที่ฝ่ายแพทย์ ทั้ง รพ.ราชทัณฑ์ และ รพ.ตำรวจ ต้องส่งเวชระเบียน ให้อนุกรรมการสอบสวนของ แพทยสภาแล้ว ขอทราบว่า แพทยสภาเขาจะไปเอาทำอะไรครับ
ตอบ ไปตรวจว่ามีหมอคนไหน ทำผิดจรรยาบรรณ ไม่ซื่อตรงต่อหน้าที่หรือไม่ เช่นรายงานเท็จ ปั้นแต่งให้ความเห็นโดยไม่ใช้วิชาชีพ อย่างนี้ถ้าพบว่ามีจริงก็ลงโทษผิดจรรยาบรรณ คือ พักใช้หรือยึดใบประกอบโรคศิลป์ ทั้งนี้ไม่ว่าหมอคนนั้นจะอยู่ในราชการหรือไม่ก็ตาม

ถาม แล้วหมอคนที่ผิดจรรยาบรรณนั้น ไม่ติดคุกหรือครับ
ตอบ ถ้าอยู่ในราชการ ก็ถือเป็นเจ้าหน้าที่ ต้องไปติดคุกเพราะกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่เป็นอีกฐานความผิดหนึ่ง

ถาม ถ้า รพ.ตำรวจ รับทักษิณไว้ โดยไม่มีการตรวจโรคเลย แล้วหมอก็ผ่าไหล่ให้ตามคำสั่ง ผอ.เท่านั้น
ตอบ หมอที่ผ่าก็ไม่ผิดอะไรในทางจรรยาบรรณ จะผิดก็ตรง ผอ.โรงพยาบาลที่รับนักโทษ ให้ มาอยู่อาศัยราวกับเป็นโรงแรมเท่านั้น ตรงนี้ก็เป็นเรื่องความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ เช่นกัน
ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่

ถาม ถ้าเขาบอกแพทยสภาว่าไม่ให้เวชระเบียน เพราะผู้ป่วยไม่ยินยอม จะได้ไหม
ตอบ ไม่ได้ครับ นี่เป็นคำสั่งเพื่อทำการตามหน้าที่ใ ที่บัญญัติไว้ในกฎหมายวิชาชีพเวชกรรม จะอ้างสิทธิคนป่วยมาหวงกันเวชระเบียนไว้ไม่ได้ กฎหมายสุขภาพชัดเจนว่า ให้ปฏิเสธได้แต่เฉพาะการขอทราบโดยอ้างสิทธิสาธารณะชน ตามกฎหมายข้อมูลข่าวสารเท่านั้น

ถาม เห็น พ.ต.อ.ทวี รัฐมนตรียุติธรรม บอกว่า รพ.ตำรวจ น่าจะส่งเวชระเบียนจากหมอสิงค์โปร์ ให้แพทยสภาเขาไปซะ จะได้หมดเรื่อง
ตอบ อย่ามั่วครับท่าน…แพทยสภาไทย เขาตรวจหมอไทยครับ ว่าตรวจสุขภาพ นช.ทักษิณ และให้ความเห็นถูกต้องไหมในกระบวนการส่งตัวและรับตัวทั้งหมดระหว่างเรือนจำ และ รพ.ตำรวจ ส่วนรายงานแพทย์จากสิงค์โปร์นั้นไม่เกี่ยวอะไรเลย

ถาม พ.ต.อ.ทวี ยังพูดในสภาว่า ได้เคยเห็นรายงานผ่าไหล่และ ผล MRI ของ นักโทษ ในรายงานของเรือนจำด้วยตาตนเองเลยนะครับ
ตอบ ประเด็นในคดี มันอยู่ตรงที่ว่า ป่วยหนักจน รพ.ราชทัณฑ์ รักษาไม่ได้จริงหรือไม่ เรื่องผ่าไหล่นั่นไม่เกี่ยวเลย ส่งไปนอนเล่นอยู่โรงพยาบาลตำรวจ แล้วมีผ่าไหล่แถมให้ก็ได้ ผ่าแบบนี้อยู่โรงพยาบาลวันสองวันก็กลับเรือนจำได้แล้ว มิหนำซ้ำพวกหมอเขาบอกว่า ถ้าป่วยวิกฤตแล้ว ทำMRI ก็ไม่ได้ ดมยาสลบก็ไม่ได้นะครับ

ถาม รัฐมนตรีอาจพูดเพื่อให้ตัวเองดูสุจริตก็ได้นะครับ
ตอบ ถ้าในรายงานจากเรือนจำ ชัดเจนว่าไม่มีการตรวจร่างกาย และไม่มีคำสั่งส่งตัวรับตัว ด้วยเหตุป่วยวิกฤตอยู่เลย ตรงนี้ก็แสดงว่า ระดับล่างทำงานบกพร่อง ละเว้นหน้าที่ชัดเจนแล้ว รายงานบกพร่องอย่างนี้ทำไมระดับบน ทั้ง อธิบดี ปลัดกระทรวง และรัฐมนตรีไม่เห็น ไม่ท้วงติง เพียงแค่นี้ผมก็ว่ามีมูลให้ ปปช.ตั้งข้อหา เจ้าหน้าที่ระดับบน เพิ่มได้แล้วครับ

ถาม ถ้า รพ.ตำรวจและเรือนจำ ทำนิ่งเฉยไม่ส่งเวชระเบียน หรือตอบว่าไม่มี จะได้ไหม
ตอบ ถ้าเป็นอย่างนั้น ความตามปากคำพยานบุคคล คือ พลตำรวจเอกเสรี ที่เห็นด้วยตาว่า ทักษิณไม่ป่วยจริง ก็จะมีน้ำหนักฟังเป็นที่ยุติขึ้นมาทันที จะโดน ๑๕๗ กันหมดทั้ง ผบ.เรือนจำและ ผอ.โรงพยาบาลตำรวจ
ถาม ในมติ ปปช.เห็นว่า เจ้าหน้าที่มีมูลความผิด ถึง ๑๒ คน ครับ
ตอบ ๑๒ คน นั้นเป็นคนที่มีชื่อเกี่ยวข้องเท่านั้น ถ้าได้เวชระเบียนมาตรวจสอบ หรือได้ปากคำจนความจริงครบถ้วน ใน ๑๒ คนนี้ก็น่าจะมีคนพ้นข้อสงสัยไปได้ ที่วันนี้โดนสงสัยกันหมดเพราะไม่ยอมให้ปากคำและเวชระเบียนใดๆเลย จริงๆนั้น มาถึงชั้นนี้ มันต้องตัวใครตัวมันกันแล้วครับ
อำนาจศาลยุติธรรม ออกหมายจำคุกใหม่

ถาม คำพืพากษาจำคุกมีแล้ว ออกหมายจำคุกแล้ว แล้วนักโทษถูกปล่อยไปนอนเล่นโรงพยาบาล อย่างนี้จะเอาตัวมาขังใหม่ได้ไหมครับ
ตอบ เรื่องการบังคับตามคำพิพากษษคดีอาญานี้ มีมาตรา ๒๔๖ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาระบุว่า ถ้านักโทษป่วยและอยู่ในคุกแล้วจะมีอันตรายถึงชีวิต ก็ให้ศาลสั่งทุเลาโทษ คือไปรักษาตัวนอกเรือนจำโดยหยุดไม่นับเวลาคุมขังได้ แต่กระทรวงยุติธรรมกลับมาออกกฎกระทรวงให้อำนาจราชทัณฑ์ส่งนักโทษไปรักษานอกเรือนจำได้เองจนยาวไปเลย โดยมีการตรวจสอบของผู้บังคับบัญชาจากรายงานเป็นระยะเท่านั้นเอง
ตรงนี้ ก็นับเป็นปัญหาทางนิติบัญญัติที่ต้องทบทวนกันให้ชัดเจนต่อไปว่าจะเอายังไงกันแน่ ที่จริงนั้นก็ควรจะให้ราชทัณฑ์ส่งตัวโดยไม่ผ่านศาลได้ เฉพาะที่เป็นการฉุกเฉินเท่านั้น แล้วค่อยให้มาขอศาลอีกทีเมื่อเกิน ๓๐ วัน ไปแล้วก็ได้

ถาม แล้วคดี นช.ทักษิณจะทำอย่างไร เมื่อได้ส่งตัวไปแล้วโดยไม่ผ่านศาล
ตอบ ก็ต้องถือตามกฎกระทรวงครับ แต่เงื่อนไขว่าต้องเจ็บป่วยวิกฤตถึงชีวิต ยังคงดำรงอยู่

ถาม แล้วศาลจะมีอำนาจตรวจสอบย้อนหลังได้อย่างไรครับ ในเมื่อนักโทษเขาออกจากโรงพยาบาลไปแล้ว พ้นโทษไปแล้วอย่างนี้
ตอบ อำนาจตรวจสอบให้มีการปฏิบัติตามหมายจำคุกนั้นยังมีอยู่เสมอไป มาตรา ๒๔๖ เป็นมาตราที่ยืนยันความมีอยู๋ของอำนาจนี้ว่า ราชทัณฑ์จะเห็นหมายศาลที่ให้จำคุกเป็นกระดาษเช็ดก้นไม่ได้

ถาม แล้วเรื่องจะไปสู่ศาล ให้ศาลตรวจสอบว่านักโทษป่วยวิกฤตจริงไหม ได้อย่างไร ใครจะร้องได้บ้างว่า นักโทษไม่ได้ติดคุกเลย
ตอบ ก็ต้องเอานิติวิธีที่ใช้กฎหมายเทียบเคียงมาช่วยครับ โดยเทียบกับ มาตรา ๒๔๖ ดูสิครับว่ามาตรานี้ใครร้องได้บ้าง มาคดีนี้ก็น่าจะร้องได้อย่างนั้นเหมือนกัน ดูซึ่งผมว่าต้องร้องได้ทั้งราชทัณฑ์เอง หรือศาลเห็นเอง ก็ได้
เริ่มจากรัฐมนตรียุติธรรม ถ้าพึ่งรู้ว่าผิดพลาด จะสั่งราชทัณฑ์ให้ร้องศาลก็ได้ หรือศาลจะเห็นเองก็ได้ ซึ่งวันนี้คดีนี้ก็มีข้อสงสัยถึงขั้น ปปช.สั่งมีมูลแล้ว แพทยสภาขอเวชระเบียนแล้วก็ยังเบี้ยวไม่ยอมให้ เพียงเท่านี้ก็พอให้ศาลสั่งไต่สวนได้แล้วครับ

ถาม ศาลลงมือไต่สวนได้โดยไม่ต้องรอ ผล ปปช. หรือ แพทยสภา ใช่ไหมครับ
ตอบ ไม่ต้องรอแน่นอนครับ โดยหลักกฎหมายนั้น เรามีแต่ห้ามองค์กรใดพิจารณาแข่งกับศาลไม่มีเลยที่ให้ศาลรอผลองค์กรอื่น และยิ่งเรื่องนี้เป็นปัญหาว่าเบี้ยวคำพิพากษาศาลหรือไม่ด้วยแล้ว ศาลจะมานั่งรอเห็นตามคนอื่นไม่ได้หรอกครับ

ถาม เห็นมีข่าวว่า ศาลส่วนหนึ่งเห็นว่าเรื่องนี้เป็นความขัดแย้งทางการเมือง ตนจึงไม่อยากเข้ามายุ่งเกี่ยว กลายเป็น “คู่กรณี” ด้วย
ตอบ เรื่องนี้เป็นเรื่องความยุติธรรมในบ้านเมือง ที่ประชาชนได้ยอมรับเห็นศาลเป็นเสาหลักมาสี่ชั่วคนแล้ว ถ้าวันนี้คนในสถาบันไม่รู้สำนึกในหน้าที่นี้ บ้านเมืองก็ต้องชิบหายต่อไปอีก จนในที่สุดก็หายไปหมดทั้งศาลและประชาชนบนแผ่นดินนี้
แก้วสรร อติโพธิ
14 ม.ค. 2568 – นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการอิสระ เผยแพร่บทความเรื่อง “ความรับผิดชอบ”ในคดีชั้น ๑๔ โดยมีเนื้อหา ดังนี้ จรรยาบรรณแพทย์ ถาม ๑๕ มกราคม นี้ ถึงกำหนดที่ฝ่ายแพทย์ ทั้ง รพ.ราชทัณฑ์ และ รพ.ตำรวจ ต้องส่งเวชระเบียน ให้อนุกรรมการสอบสวนของ แพทยสภาแล้ว ขอทราบว่า แพทยสภาเขาจะไปเอาทำอะไรครับ ตอบ ไปตรวจว่ามีหมอคนไหน ทำผิดจรรยาบรรณ ไม่ซื่อตรงต่อหน้าที่หรือไม่ เช่นรายงานเท็จ ปั้นแต่งให้ความเห็นโดยไม่ใช้วิชาชีพ อย่างนี้ถ้าพบว่ามีจริงก็ลงโทษผิดจรรยาบรรณ คือ พักใช้หรือยึดใบประกอบโรคศิลป์ ทั้งนี้ไม่ว่าหมอคนนั้นจะอยู่ในราชการหรือไม่ก็ตาม ถาม แล้วหมอคนที่ผิดจรรยาบรรณนั้น ไม่ติดคุกหรือครับ ตอบ ถ้าอยู่ในราชการ ก็ถือเป็นเจ้าหน้าที่ ต้องไปติดคุกเพราะกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่เป็นอีกฐานความผิดหนึ่ง ถาม ถ้า รพ.ตำรวจ รับทักษิณไว้ โดยไม่มีการตรวจโรคเลย แล้วหมอก็ผ่าไหล่ให้ตามคำสั่ง ผอ.เท่านั้น ตอบ หมอที่ผ่าก็ไม่ผิดอะไรในทางจรรยาบรรณ จะผิดก็ตรง ผอ.โรงพยาบาลที่รับนักโทษ ให้ มาอยู่อาศัยราวกับเป็นโรงแรมเท่านั้น ตรงนี้ก็เป็นเรื่องความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ เช่นกัน ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ ถาม ถ้าเขาบอกแพทยสภาว่าไม่ให้เวชระเบียน เพราะผู้ป่วยไม่ยินยอม จะได้ไหม ตอบ ไม่ได้ครับ นี่เป็นคำสั่งเพื่อทำการตามหน้าที่ใ ที่บัญญัติไว้ในกฎหมายวิชาชีพเวชกรรม จะอ้างสิทธิคนป่วยมาหวงกันเวชระเบียนไว้ไม่ได้ กฎหมายสุขภาพชัดเจนว่า ให้ปฏิเสธได้แต่เฉพาะการขอทราบโดยอ้างสิทธิสาธารณะชน ตามกฎหมายข้อมูลข่าวสารเท่านั้น ถาม เห็น พ.ต.อ.ทวี รัฐมนตรียุติธรรม บอกว่า รพ.ตำรวจ น่าจะส่งเวชระเบียนจากหมอสิงค์โปร์ ให้แพทยสภาเขาไปซะ จะได้หมดเรื่อง ตอบ อย่ามั่วครับท่าน…แพทยสภาไทย เขาตรวจหมอไทยครับ ว่าตรวจสุขภาพ นช.ทักษิณ และให้ความเห็นถูกต้องไหมในกระบวนการส่งตัวและรับตัวทั้งหมดระหว่างเรือนจำ และ รพ.ตำรวจ ส่วนรายงานแพทย์จากสิงค์โปร์นั้นไม่เกี่ยวอะไรเลย ถาม พ.ต.อ.ทวี ยังพูดในสภาว่า ได้เคยเห็นรายงานผ่าไหล่และ ผล MRI ของ นักโทษ ในรายงานของเรือนจำด้วยตาตนเองเลยนะครับ ตอบ ประเด็นในคดี มันอยู่ตรงที่ว่า ป่วยหนักจน รพ.ราชทัณฑ์ รักษาไม่ได้จริงหรือไม่ เรื่องผ่าไหล่นั่นไม่เกี่ยวเลย ส่งไปนอนเล่นอยู่โรงพยาบาลตำรวจ แล้วมีผ่าไหล่แถมให้ก็ได้ ผ่าแบบนี้อยู่โรงพยาบาลวันสองวันก็กลับเรือนจำได้แล้ว มิหนำซ้ำพวกหมอเขาบอกว่า ถ้าป่วยวิกฤตแล้ว ทำMRI ก็ไม่ได้ ดมยาสลบก็ไม่ได้นะครับ ถาม รัฐมนตรีอาจพูดเพื่อให้ตัวเองดูสุจริตก็ได้นะครับ ตอบ ถ้าในรายงานจากเรือนจำ ชัดเจนว่าไม่มีการตรวจร่างกาย และไม่มีคำสั่งส่งตัวรับตัว ด้วยเหตุป่วยวิกฤตอยู่เลย ตรงนี้ก็แสดงว่า ระดับล่างทำงานบกพร่อง ละเว้นหน้าที่ชัดเจนแล้ว รายงานบกพร่องอย่างนี้ทำไมระดับบน ทั้ง อธิบดี ปลัดกระทรวง และรัฐมนตรีไม่เห็น ไม่ท้วงติง เพียงแค่นี้ผมก็ว่ามีมูลให้ ปปช.ตั้งข้อหา เจ้าหน้าที่ระดับบน เพิ่มได้แล้วครับ ถาม ถ้า รพ.ตำรวจและเรือนจำ ทำนิ่งเฉยไม่ส่งเวชระเบียน หรือตอบว่าไม่มี จะได้ไหม ตอบ ถ้าเป็นอย่างนั้น ความตามปากคำพยานบุคคล คือ พลตำรวจเอกเสรี ที่เห็นด้วยตาว่า ทักษิณไม่ป่วยจริง ก็จะมีน้ำหนักฟังเป็นที่ยุติขึ้นมาทันที จะโดน ๑๕๗ กันหมดทั้ง ผบ.เรือนจำและ ผอ.โรงพยาบาลตำรวจ ถาม ในมติ ปปช.เห็นว่า เจ้าหน้าที่มีมูลความผิด ถึง ๑๒ คน ครับ ตอบ ๑๒ คน นั้นเป็นคนที่มีชื่อเกี่ยวข้องเท่านั้น ถ้าได้เวชระเบียนมาตรวจสอบ หรือได้ปากคำจนความจริงครบถ้วน ใน ๑๒ คนนี้ก็น่าจะมีคนพ้นข้อสงสัยไปได้ ที่วันนี้โดนสงสัยกันหมดเพราะไม่ยอมให้ปากคำและเวชระเบียนใดๆเลย จริงๆนั้น มาถึงชั้นนี้ มันต้องตัวใครตัวมันกันแล้วครับ อำนาจศาลยุติธรรม ออกหมายจำคุกใหม่ ถาม คำพืพากษาจำคุกมีแล้ว ออกหมายจำคุกแล้ว แล้วนักโทษถูกปล่อยไปนอนเล่นโรงพยาบาล อย่างนี้จะเอาตัวมาขังใหม่ได้ไหมครับ ตอบ เรื่องการบังคับตามคำพิพากษษคดีอาญานี้ มีมาตรา ๒๔๖ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาระบุว่า ถ้านักโทษป่วยและอยู่ในคุกแล้วจะมีอันตรายถึงชีวิต ก็ให้ศาลสั่งทุเลาโทษ คือไปรักษาตัวนอกเรือนจำโดยหยุดไม่นับเวลาคุมขังได้ แต่กระทรวงยุติธรรมกลับมาออกกฎกระทรวงให้อำนาจราชทัณฑ์ส่งนักโทษไปรักษานอกเรือนจำได้เองจนยาวไปเลย โดยมีการตรวจสอบของผู้บังคับบัญชาจากรายงานเป็นระยะเท่านั้นเอง ตรงนี้ ก็นับเป็นปัญหาทางนิติบัญญัติที่ต้องทบทวนกันให้ชัดเจนต่อไปว่าจะเอายังไงกันแน่ ที่จริงนั้นก็ควรจะให้ราชทัณฑ์ส่งตัวโดยไม่ผ่านศาลได้ เฉพาะที่เป็นการฉุกเฉินเท่านั้น แล้วค่อยให้มาขอศาลอีกทีเมื่อเกิน ๓๐ วัน ไปแล้วก็ได้ ถาม แล้วคดี นช.ทักษิณจะทำอย่างไร เมื่อได้ส่งตัวไปแล้วโดยไม่ผ่านศาล ตอบ ก็ต้องถือตามกฎกระทรวงครับ แต่เงื่อนไขว่าต้องเจ็บป่วยวิกฤตถึงชีวิต ยังคงดำรงอยู่ ถาม แล้วศาลจะมีอำนาจตรวจสอบย้อนหลังได้อย่างไรครับ ในเมื่อนักโทษเขาออกจากโรงพยาบาลไปแล้ว พ้นโทษไปแล้วอย่างนี้ ตอบ อำนาจตรวจสอบให้มีการปฏิบัติตามหมายจำคุกนั้นยังมีอยู่เสมอไป มาตรา ๒๔๖ เป็นมาตราที่ยืนยันความมีอยู๋ของอำนาจนี้ว่า ราชทัณฑ์จะเห็นหมายศาลที่ให้จำคุกเป็นกระดาษเช็ดก้นไม่ได้ ถาม แล้วเรื่องจะไปสู่ศาล ให้ศาลตรวจสอบว่านักโทษป่วยวิกฤตจริงไหม ได้อย่างไร ใครจะร้องได้บ้างว่า นักโทษไม่ได้ติดคุกเลย ตอบ ก็ต้องเอานิติวิธีที่ใช้กฎหมายเทียบเคียงมาช่วยครับ โดยเทียบกับ มาตรา ๒๔๖ ดูสิครับว่ามาตรานี้ใครร้องได้บ้าง มาคดีนี้ก็น่าจะร้องได้อย่างนั้นเหมือนกัน ดูซึ่งผมว่าต้องร้องได้ทั้งราชทัณฑ์เอง หรือศาลเห็นเอง ก็ได้ เริ่มจากรัฐมนตรียุติธรรม ถ้าพึ่งรู้ว่าผิดพลาด จะสั่งราชทัณฑ์ให้ร้องศาลก็ได้ หรือศาลจะเห็นเองก็ได้ ซึ่งวันนี้คดีนี้ก็มีข้อสงสัยถึงขั้น ปปช.สั่งมีมูลแล้ว แพทยสภาขอเวชระเบียนแล้วก็ยังเบี้ยวไม่ยอมให้ เพียงเท่านี้ก็พอให้ศาลสั่งไต่สวนได้แล้วครับ ถาม ศาลลงมือไต่สวนได้โดยไม่ต้องรอ ผล ปปช. หรือ แพทยสภา ใช่ไหมครับ ตอบ ไม่ต้องรอแน่นอนครับ โดยหลักกฎหมายนั้น เรามีแต่ห้ามองค์กรใดพิจารณาแข่งกับศาลไม่มีเลยที่ให้ศาลรอผลองค์กรอื่น และยิ่งเรื่องนี้เป็นปัญหาว่าเบี้ยวคำพิพากษาศาลหรือไม่ด้วยแล้ว ศาลจะมานั่งรอเห็นตามคนอื่นไม่ได้หรอกครับ ถาม เห็นมีข่าวว่า ศาลส่วนหนึ่งเห็นว่าเรื่องนี้เป็นความขัดแย้งทางการเมือง ตนจึงไม่อยากเข้ามายุ่งเกี่ยว กลายเป็น “คู่กรณี” ด้วย ตอบ เรื่องนี้เป็นเรื่องความยุติธรรมในบ้านเมือง ที่ประชาชนได้ยอมรับเห็นศาลเป็นเสาหลักมาสี่ชั่วคนแล้ว ถ้าวันนี้คนในสถาบันไม่รู้สำนึกในหน้าที่นี้ บ้านเมืองก็ต้องชิบหายต่อไปอีก จนในที่สุดก็หายไปหมดทั้งศาลและประชาชนบนแผ่นดินนี้ แก้วสรร อติโพธิ
Like
3
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 202 มุมมอง 0 รีวิว