คณะบริหารไบเดนเสนอกรอบโครงใหม่จำกัดการส่งออกชิปเอไอ หวังสกัดจีน คู่แข่งตัวกลั่นในสงครามไฮเทค แต่กลับกลายเป็นการสร้างความกังวลในหมู่ผู้บริหารในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีในประเทศ ตลอดจนถึงอียู
.
ขณะที่เหลือเวลาอีกเพียงสัปดาห์เดียวก่อนที่โดนัลด์ ทรัมป์ จะเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ พวกเจ้าหน้าที่คณะบริหารของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ระบุชัดเจนว่า กฎใหม่หล่านี้จะมีผลบังคับใช้ภายใน 120 วัน ดังนั้นจึงทำให้คณะบริหารของทรัมป์ต้องเป็นผู้ตัดสินใจว่า จะสานต่อหรือยกเลิกกรอบโครงเหล่านี้ที่จะส่งผลกระทบต่อ 120 ประเทศ ขณะที่เจ้าหน้าที่อาวุโสคนหนึ่งเตือนว่า การระงับการใช้กฎนี้อาจเท่ากับเปิดโอกาสให้จีนมีเวลาสะสมมากขึ้นในการสะสมฮาร์ดแวร์ที่มาจากอเมริกา
.
เจค ซัลลิแวน ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของทำเนียบขาว กล่าวอ้างเมื่อวันจันทร์ (13 ม.ค.) ว่า เดิมพันจะสูงมาก หากจีนกลายเป็นผู้กำหนดอนาคตของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ)
.
จีนา ไรมอนโด รัฐมนตรีพาณิชย์สหรัฐฯ ขานรับว่า สิ่งสำคัญคือการรักษาความเป็นผู้นำของอเมริกาในด้านเอไอและการพัฒนาชิปเกี่ยวกับเอไอ และเสริมว่า กรอบโครงนี้ออกแบบมาเพื่อปกป้องเทคโนโลยีเอไอขั้นสูงสุด และให้ความมั่นใจว่า เทคโนโลยีนี้จะไม่ตกอยู่ในมือศัตรูต่างชาติ แต่ขณะเดียวกันจะสามารถเผยแพร่และแบ่งปันประโยชน์กับประเทศที่เป็นหุ้นส่วนของอเมริกา
.
แม้คณะบริหารชุดนี้ออกมาตรการจำกัดการส่งออกกับศัตรู เช่น จีนและรัสเซียไปแล้ว แต่พวกเขาอ้างว่าบางมาตรการยังมีช่องโหว่ และกฎล่าสุดมุ่งจะตั้งข้อจำกัดกับประเทศต่างๆ ในขอบเขตที่กว้างขวางขึ้น
.
ด้าน เอ็ด มิลส์ นักวิเคราะห์ของ เรย์มอนด์ เจมส์ ชี้ว่า เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ แสดงความกังวลโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับศูนย์ข้อมูลในตะวันออกกลางและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากบริษัทจีนใช้ศูนย์เหล่านั้นในการสร้างโมเดลเอไอด้วยเทคโนโลยีที่ตนเองไม่สามารถนำเข้าสู่จีนได้โดยตรง
.
อย่างไรก็ตาม สัปดาห์ที่แล้ว สภาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศของอเมริกาเตือนไรมอนโดว่า การเร่งรีบใช้กฎใหม่ของคณะบริหารเดโมแครต อาจกลายเป็นการบ่อนทำลายห่วงโซ่อุปทานโลก และทำให้บริษัทอเมริกันเป็นฝ่ายเสียเปรียบ
.
ต่อมาในวันจันทร์ สมาคมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของอเมริกา (เอสไอเอ) แสดงความเห็นว่า ผิดหวังที่มีการเร่งรัดผลักดันนโยบายก่อนที่จะมีการเปลี่ยนผ่านคณะบริหาร
.
จอห์น นิวเฟอร์ ประธานและซีอีโอเอสไอเอ เตือนว่า กฎใหม่เสี่ยงทำให้เกิดความเสียหายยาวนานโดยไม่ตั้งใจกับเศรษฐกิจและขีดความสามารถแข่งขันระดับโลกของธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์และเอไอของอเมริกา เนื่องจากการทำเช่นนี้มีความเสี่ยงที่จะกลายเป็นการยกตลาดสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ให้แก่พวกคู่แข่ง
.
เอ็นวิเดีย บริษัทชิปยักษ์ใหญ่ โพสต์บนบล็อก สำทับว่า แม้มีจุดประสงค์เพื่อต่อต้านจีน แต่มาตรการนี้ไม่ได้ช่วยส่งเสริมความมั่นคงของอเมริกาแต่อย่างใด
.
กฎใหม่นี้เนื้อหาสำคัญคือยกระดับการควบคุมการส่งออกชิป ด้วยการกำหนดให้ต้องมีการขออนุญาตสำหรับการส่งออก รวมทั้งการส่งออกต่อ และการถ่ายโอนภายในประเทศ ขณะที่ศูนย์ข้อมูลเอไอต้องปฏิบัติตามมาตรการรักษาความปลอดภัยที่รัดกุมมากขึ้นหากต้องการนำเข้าชิป รวมทั้งมีการเพิ่มความเข้มงวดในการแชร์โมเดลเอไอล้ำสมัย
.
กฎใหม่เหล่านี้มีข้อยกเว้นหลายอย่างสำหรับพันธมิตรและหุ้นส่วนสำคัญราว 20 ชาติ เช่น ออสเตรเลีย แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน และอังกฤษ
.
อย่างไรก็ดี การตั้งข้อจำกัดกับบางประเทศในสหภาพยุโรป ทำให้เจ้าหน้าที่บรัสเซลส์ออกมาคัดค้านโดยระบุว่า การขายชิปเอไอขั้นสูงให้สมาชิกอียูถือเป็นโอกาสทางเศรษฐกิจสำหรับอเมริกา ไม่ใช่ความเสี่ยงด้านความมั่นคง
.
ทางด้านกระทรวงพาณิชย์จีนโจมตีนโยบายใหม่ของไบเดนว่า ละเมิดกฎการค้าระหว่างประเทศ พร้อมประกาศปกป้องผลประโยชน์ของชาติเต็มที่
.
อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000004280
..............
Sondhi X
คณะบริหารไบเดนเสนอกรอบโครงใหม่จำกัดการส่งออกชิปเอไอ หวังสกัดจีน คู่แข่งตัวกลั่นในสงครามไฮเทค แต่กลับกลายเป็นการสร้างความกังวลในหมู่ผู้บริหารในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีในประเทศ ตลอดจนถึงอียู . ขณะที่เหลือเวลาอีกเพียงสัปดาห์เดียวก่อนที่โดนัลด์ ทรัมป์ จะเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ พวกเจ้าหน้าที่คณะบริหารของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ระบุชัดเจนว่า กฎใหม่หล่านี้จะมีผลบังคับใช้ภายใน 120 วัน ดังนั้นจึงทำให้คณะบริหารของทรัมป์ต้องเป็นผู้ตัดสินใจว่า จะสานต่อหรือยกเลิกกรอบโครงเหล่านี้ที่จะส่งผลกระทบต่อ 120 ประเทศ ขณะที่เจ้าหน้าที่อาวุโสคนหนึ่งเตือนว่า การระงับการใช้กฎนี้อาจเท่ากับเปิดโอกาสให้จีนมีเวลาสะสมมากขึ้นในการสะสมฮาร์ดแวร์ที่มาจากอเมริกา . เจค ซัลลิแวน ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของทำเนียบขาว กล่าวอ้างเมื่อวันจันทร์ (13 ม.ค.) ว่า เดิมพันจะสูงมาก หากจีนกลายเป็นผู้กำหนดอนาคตของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) . จีนา ไรมอนโด รัฐมนตรีพาณิชย์สหรัฐฯ ขานรับว่า สิ่งสำคัญคือการรักษาความเป็นผู้นำของอเมริกาในด้านเอไอและการพัฒนาชิปเกี่ยวกับเอไอ และเสริมว่า กรอบโครงนี้ออกแบบมาเพื่อปกป้องเทคโนโลยีเอไอขั้นสูงสุด และให้ความมั่นใจว่า เทคโนโลยีนี้จะไม่ตกอยู่ในมือศัตรูต่างชาติ แต่ขณะเดียวกันจะสามารถเผยแพร่และแบ่งปันประโยชน์กับประเทศที่เป็นหุ้นส่วนของอเมริกา . แม้คณะบริหารชุดนี้ออกมาตรการจำกัดการส่งออกกับศัตรู เช่น จีนและรัสเซียไปแล้ว แต่พวกเขาอ้างว่าบางมาตรการยังมีช่องโหว่ และกฎล่าสุดมุ่งจะตั้งข้อจำกัดกับประเทศต่างๆ ในขอบเขตที่กว้างขวางขึ้น . ด้าน เอ็ด มิลส์ นักวิเคราะห์ของ เรย์มอนด์ เจมส์ ชี้ว่า เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ แสดงความกังวลโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับศูนย์ข้อมูลในตะวันออกกลางและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากบริษัทจีนใช้ศูนย์เหล่านั้นในการสร้างโมเดลเอไอด้วยเทคโนโลยีที่ตนเองไม่สามารถนำเข้าสู่จีนได้โดยตรง . อย่างไรก็ตาม สัปดาห์ที่แล้ว สภาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศของอเมริกาเตือนไรมอนโดว่า การเร่งรีบใช้กฎใหม่ของคณะบริหารเดโมแครต อาจกลายเป็นการบ่อนทำลายห่วงโซ่อุปทานโลก และทำให้บริษัทอเมริกันเป็นฝ่ายเสียเปรียบ . ต่อมาในวันจันทร์ สมาคมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของอเมริกา (เอสไอเอ) แสดงความเห็นว่า ผิดหวังที่มีการเร่งรัดผลักดันนโยบายก่อนที่จะมีการเปลี่ยนผ่านคณะบริหาร . จอห์น นิวเฟอร์ ประธานและซีอีโอเอสไอเอ เตือนว่า กฎใหม่เสี่ยงทำให้เกิดความเสียหายยาวนานโดยไม่ตั้งใจกับเศรษฐกิจและขีดความสามารถแข่งขันระดับโลกของธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์และเอไอของอเมริกา เนื่องจากการทำเช่นนี้มีความเสี่ยงที่จะกลายเป็นการยกตลาดสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ให้แก่พวกคู่แข่ง . เอ็นวิเดีย บริษัทชิปยักษ์ใหญ่ โพสต์บนบล็อก สำทับว่า แม้มีจุดประสงค์เพื่อต่อต้านจีน แต่มาตรการนี้ไม่ได้ช่วยส่งเสริมความมั่นคงของอเมริกาแต่อย่างใด . กฎใหม่นี้เนื้อหาสำคัญคือยกระดับการควบคุมการส่งออกชิป ด้วยการกำหนดให้ต้องมีการขออนุญาตสำหรับการส่งออก รวมทั้งการส่งออกต่อ และการถ่ายโอนภายในประเทศ ขณะที่ศูนย์ข้อมูลเอไอต้องปฏิบัติตามมาตรการรักษาความปลอดภัยที่รัดกุมมากขึ้นหากต้องการนำเข้าชิป รวมทั้งมีการเพิ่มความเข้มงวดในการแชร์โมเดลเอไอล้ำสมัย . กฎใหม่เหล่านี้มีข้อยกเว้นหลายอย่างสำหรับพันธมิตรและหุ้นส่วนสำคัญราว 20 ชาติ เช่น ออสเตรเลีย แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน และอังกฤษ . อย่างไรก็ดี การตั้งข้อจำกัดกับบางประเทศในสหภาพยุโรป ทำให้เจ้าหน้าที่บรัสเซลส์ออกมาคัดค้านโดยระบุว่า การขายชิปเอไอขั้นสูงให้สมาชิกอียูถือเป็นโอกาสทางเศรษฐกิจสำหรับอเมริกา ไม่ใช่ความเสี่ยงด้านความมั่นคง . ทางด้านกระทรวงพาณิชย์จีนโจมตีนโยบายใหม่ของไบเดนว่า ละเมิดกฎการค้าระหว่างประเทศ พร้อมประกาศปกป้องผลประโยชน์ของชาติเต็มที่ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000004280 .............. Sondhi X
Like
3
0 Comments 0 Shares 257 Views 0 Reviews