วันนี้คงเห็นข่าวที่ครอบครัวศรีวัฒนประภาฟ้อง Leonardo บริษัทผู้ผลิตเฮลิคอปเตอร์ที่คุณวิชัยโดยสารขึ้นจาก King Power Stadium กันนะครับ เลยมาเล่าสาเหตุของการตกให้ฟังกัน

ก่อนอื่น อยากให้เห็นภาพการทำงานของเฮลิคอปเตอร์แบบคร่าวๆ (อาจจะไม่ตรงเป๊ะนัก) การทำงานของมันต่างกับเครื่องบินตรงที่ใบพัดขนาดใหญ่ด้านบนที่หมุนเพื่อสร้างแรงยกด้วยการผลักลม แต่การหมุนด้วยใบพัดที่ใหญ่ขนาดนี้จะทำให้ตัวเครื่องหมุนในทิศตรงข้ามไปทิศทางการหมุนของใบพัด ตามกฎข้อที่ 3 ของนิวตัน ดังนั้นเฮลิคอปเตอร์ทั่วไปจะมีใบพัดท้ายเครื่อง เพื่อสร้างแรงต้านกลับข้างกัน เพื่อทำให้เครื่องสมดุล ไม่หมุนสวนทางการหมุนของใบพัดหลัก

ใบพัดท้ายเครื่องนี้จะมีกลไกที่ควบคุมได้จากนักบินทำให้สามารถปรับทิศ และองศาของใบพัดได้ เพื่อทำให้สามารถควบคุมทิศทางการหมุนรอบแนวดิ่ง (yaw) ขณะบินได้

ในวันเกิดเหตุ คนขับควบคุมเครื่องขึ้นจากสนาม และควบคุมให้เครื่องบินยกตัวสูงขึ้น และถอยหลังช้าๆ เมื่อเครื่องได้ระดับแล้ว คนขับได้ปรับองศาของใบพัดท้ายเครื่อง เพื่อหมุน (yaw) เครื่อง แต่ตลับลูกปืนของกลไกควบคุมเกิดติดขัด จนไม่สามารถควบคุมองศาใบพัดได้อีกต่อไป เมื่อการกินลมของใบพัดท้ายเครื่องไม่สอดคล้องกับการหมุนของใบพัดหลัก จึงทำให้ตัวเครื่องหมุนอย่างควบคุมไม่ได้ และทำให้เกิดการเบี่ยงเบนทั้งในแกนก้ม-เงย (pitch) และแกนกลิ้ง (roll) ทำให้ไม่สามารถควบคุมเส้นทางการบินของเฮลิคอปเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนเครื่องเสียระดับ ก่อนที่ตัวถังจะกระแทกพื้นจนมีน้ำมันไหลออกมา และเกิดเพลิงไหม้อย่างรวดเร็ว

ทางผู้สอบสวนชี้ประเด็นว่า ผู้ผลิตไม่ได้แจ้งรายละเอียดของการรับโหลดของตลับลูกปืนให้กับผู้ผลิตทราบ และก็ไม่มีมาตรการในการตรวจสอบตลับลูกปืนเหล่านี้ว่า ทำงานได้ตามที่ออกแบบไหม ประกอบกับไม่ได้คิดถึงความเสี่ยงในกรณีที่ตลับลูกปืนมีปัญหาว่าจะมีมาตรการในการควบคุมเครื่องได้อย่างไร

นี่จึงเป็นสาเหตุที่ทางครอบครัวฟ้องเอาผิดกับผู้ผลิตหลายหมื่นล้านบาทนั่นเอง

ใครที่สนใจไปดูคลิปได้ครับ https://youtu.be/XFocqR563Bk

ที่มา https://www.facebook.com/share/p/1YAfqcV3va/?mibextid=wwXIfr
วันนี้คงเห็นข่าวที่ครอบครัวศรีวัฒนประภาฟ้อง Leonardo บริษัทผู้ผลิตเฮลิคอปเตอร์ที่คุณวิชัยโดยสารขึ้นจาก King Power Stadium กันนะครับ เลยมาเล่าสาเหตุของการตกให้ฟังกัน ก่อนอื่น อยากให้เห็นภาพการทำงานของเฮลิคอปเตอร์แบบคร่าวๆ (อาจจะไม่ตรงเป๊ะนัก) การทำงานของมันต่างกับเครื่องบินตรงที่ใบพัดขนาดใหญ่ด้านบนที่หมุนเพื่อสร้างแรงยกด้วยการผลักลม แต่การหมุนด้วยใบพัดที่ใหญ่ขนาดนี้จะทำให้ตัวเครื่องหมุนในทิศตรงข้ามไปทิศทางการหมุนของใบพัด ตามกฎข้อที่ 3 ของนิวตัน ดังนั้นเฮลิคอปเตอร์ทั่วไปจะมีใบพัดท้ายเครื่อง เพื่อสร้างแรงต้านกลับข้างกัน เพื่อทำให้เครื่องสมดุล ไม่หมุนสวนทางการหมุนของใบพัดหลัก ใบพัดท้ายเครื่องนี้จะมีกลไกที่ควบคุมได้จากนักบินทำให้สามารถปรับทิศ และองศาของใบพัดได้ เพื่อทำให้สามารถควบคุมทิศทางการหมุนรอบแนวดิ่ง (yaw) ขณะบินได้ ในวันเกิดเหตุ คนขับควบคุมเครื่องขึ้นจากสนาม และควบคุมให้เครื่องบินยกตัวสูงขึ้น และถอยหลังช้าๆ เมื่อเครื่องได้ระดับแล้ว คนขับได้ปรับองศาของใบพัดท้ายเครื่อง เพื่อหมุน (yaw) เครื่อง แต่ตลับลูกปืนของกลไกควบคุมเกิดติดขัด จนไม่สามารถควบคุมองศาใบพัดได้อีกต่อไป เมื่อการกินลมของใบพัดท้ายเครื่องไม่สอดคล้องกับการหมุนของใบพัดหลัก จึงทำให้ตัวเครื่องหมุนอย่างควบคุมไม่ได้ และทำให้เกิดการเบี่ยงเบนทั้งในแกนก้ม-เงย (pitch) และแกนกลิ้ง (roll) ทำให้ไม่สามารถควบคุมเส้นทางการบินของเฮลิคอปเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนเครื่องเสียระดับ ก่อนที่ตัวถังจะกระแทกพื้นจนมีน้ำมันไหลออกมา และเกิดเพลิงไหม้อย่างรวดเร็ว ทางผู้สอบสวนชี้ประเด็นว่า ผู้ผลิตไม่ได้แจ้งรายละเอียดของการรับโหลดของตลับลูกปืนให้กับผู้ผลิตทราบ และก็ไม่มีมาตรการในการตรวจสอบตลับลูกปืนเหล่านี้ว่า ทำงานได้ตามที่ออกแบบไหม ประกอบกับไม่ได้คิดถึงความเสี่ยงในกรณีที่ตลับลูกปืนมีปัญหาว่าจะมีมาตรการในการควบคุมเครื่องได้อย่างไร นี่จึงเป็นสาเหตุที่ทางครอบครัวฟ้องเอาผิดกับผู้ผลิตหลายหมื่นล้านบาทนั่นเอง ใครที่สนใจไปดูคลิปได้ครับ https://youtu.be/XFocqR563Bk ที่มา https://www.facebook.com/share/p/1YAfqcV3va/?mibextid=wwXIfr
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 177 มุมมอง 0 รีวิว