เป็นไปไม่ได้ที่จะขับไล่รัสเซียออกจาก "ทุกตารางนิ้ว" ของดินแดนที่กล่าวอ้างโดยยูเครน ในนั้นรวมถึงแหลมไครเมีย จากความเห็นของ ไมเคิล วอล์ทซ์ ว่าที่ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติ พร้อมเผยว่าบรรดาผู้สนับสนุนของเคียฟ ก็ยอมรับกับความคิดดังกล่าวเช่นกัน
.
วอล์ทซ์ ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวเอบีซีนิวส์ ออกอากาศในวันอาทิตย์ (12 ม.ค.) ระบุว่า "การยอมรับความเป็นจริง จะเป็นก้าวย่างครั้งใหญ่ในการมุ่งหน้าสู่การคลี่คลายความขัดแย้งระหว่างมอสโกกับเคียฟ" พร้อมเผยว่าเวลานี้ แนวคิดนี้กำลังเป็นที่ยอมรับของบรรดาผู้สนับสนุนยูเครน
.
"ทุกๆ คนรู้ว่าความขัดแย้งนี้จำเป็นต้องจบลงด้วยการทูตไม่ว่าทางใดทางหนึ่ง ผมคิดว่ามันดูไม่เป็นความจริงเท่าไหร่ ที่บอกว่าจะขับไล่ทหารรัสเซียทุกๆ นายออกจากทุกตารางนิ้วในแผ่นดินยูเครน แม้กระทั่งไครเมีย ว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ยอมรับข้อเท็จจริงดังกล่าว และผมคิดว่ามันจะเป็นก้าวย่างที่สำคัญมากๆ ที่ทั้งโลกยอมรับข้อเท็จจริงนี้" วอล์ทซ์ เน้นย้ำ
.
วอล์ทซ์ แนะนำว่า การยอมรับข้อเท็จจริงที่ว่า การที่ยูเครนจะคืนสู่เขตชายแดนดั้งเดิมหลังยุคสภาพโซเวียตนั้นไม่อาจเป็นจริงแล้วในเวลานี้ คือการเปิดทางสำหรับการจัดการกับคำถามต่างๆ ในหนทางที่จะทำให้ความขัดแย้งนี้ไม่ยืดเยื้ออีกต่อไป "และเราไม่อาจปล่อยให้ความขัดแย้งลุกลามบานปลายในหนทางที่ฉุดลากคนทั่วโลกได้อีกต่อไปแล้ว"
.
ความเห็นนี้สะท้อนไปในทิศทางเดียวกับถ้อยแถลงที่ผ่านมาของบรรดาพันธมิตรใกล้ชิดคนอื่นๆ ของทรัมป์ ในนั้นรวมถึงว่าที่รองประธานาธิบดี เจ.ดี.แวนซ์ ก่อนหน้าศึกเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายน โดยครั้งนั้น แวนซ์ บ่งชี้ว่าเคียฟอาจลงเอยในสถานการณ์หนึ่งที่ต้องตัดสินใจยอมสละดินแดนบางส่วนแก่รัสเซีย
.
สัญญาณต่างๆ ที่ส่งออกมาจากว่าที่รัฐบาลใหม่สหรัฐฯ สวนทางโดยสิ้นเชิงกับเป้าหมายของยูเครน ที่ประกาศกร้าวซ้ำๆ ว่าจะทวงคืนดินแดนทั้งหมดในยุคหลังสหภาพโซเวียต มันมาพร้อมกับท่าทีปฏิเสธอย่างชัดเจนจากเคียฟ ต่อการเจรจาที่มีความหมายใดๆ กับรัสเซีย อย่างไรก็ตาม มอสโกมอง 5 อดีตแคว้นของยูเครน ในนั้นประกอบด้วย เคียร์ซอน ซาโปริซเซีย โดเนตส์ก ลูฮันสก์ และไครเมีย เป็นดินแดนผนวกของพวกเขา
.
ไครเมีย แยกตัวออกจากยูเครน ตามหลังเหตุรัฐประหารไมดานปี 2014 ในเคียฟ เข้าร่วมกับรัสเซียผ่านการทำประชามติไม่นานหลังจากนั้น ส่วนแคว้นอื่นๆ อีก 4 แคว้น ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งในดินแดนรัสเซียในช่วงปลายปี 2022 หลังชาวบ้านท้องถิ่นโหวตสนับสนุนอย่างท่วมท้นความเคลื่อนไหวดังกล่าวผ่านการลงประชามติ
.
เมื่อปีที่แล้ว มอสโกเรียกร้องให้ เคียฟ ถอนทหารออกจากพื้นที่ต่างๆ ที่ยังคงควบคุมอยู่ในอดีตแคว้นเหล่านี้ เพื่อเริ่มต้นกระบวนการเจรจาที่หยุดชะงักมาช้านาน
.
อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000003512
..............
Sondhi X
เป็นไปไม่ได้ที่จะขับไล่รัสเซียออกจาก "ทุกตารางนิ้ว" ของดินแดนที่กล่าวอ้างโดยยูเครน ในนั้นรวมถึงแหลมไครเมีย จากความเห็นของ ไมเคิล วอล์ทซ์ ว่าที่ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติ พร้อมเผยว่าบรรดาผู้สนับสนุนของเคียฟ ก็ยอมรับกับความคิดดังกล่าวเช่นกัน . วอล์ทซ์ ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวเอบีซีนิวส์ ออกอากาศในวันอาทิตย์ (12 ม.ค.) ระบุว่า "การยอมรับความเป็นจริง จะเป็นก้าวย่างครั้งใหญ่ในการมุ่งหน้าสู่การคลี่คลายความขัดแย้งระหว่างมอสโกกับเคียฟ" พร้อมเผยว่าเวลานี้ แนวคิดนี้กำลังเป็นที่ยอมรับของบรรดาผู้สนับสนุนยูเครน . "ทุกๆ คนรู้ว่าความขัดแย้งนี้จำเป็นต้องจบลงด้วยการทูตไม่ว่าทางใดทางหนึ่ง ผมคิดว่ามันดูไม่เป็นความจริงเท่าไหร่ ที่บอกว่าจะขับไล่ทหารรัสเซียทุกๆ นายออกจากทุกตารางนิ้วในแผ่นดินยูเครน แม้กระทั่งไครเมีย ว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ยอมรับข้อเท็จจริงดังกล่าว และผมคิดว่ามันจะเป็นก้าวย่างที่สำคัญมากๆ ที่ทั้งโลกยอมรับข้อเท็จจริงนี้" วอล์ทซ์ เน้นย้ำ . วอล์ทซ์ แนะนำว่า การยอมรับข้อเท็จจริงที่ว่า การที่ยูเครนจะคืนสู่เขตชายแดนดั้งเดิมหลังยุคสภาพโซเวียตนั้นไม่อาจเป็นจริงแล้วในเวลานี้ คือการเปิดทางสำหรับการจัดการกับคำถามต่างๆ ในหนทางที่จะทำให้ความขัดแย้งนี้ไม่ยืดเยื้ออีกต่อไป "และเราไม่อาจปล่อยให้ความขัดแย้งลุกลามบานปลายในหนทางที่ฉุดลากคนทั่วโลกได้อีกต่อไปแล้ว" . ความเห็นนี้สะท้อนไปในทิศทางเดียวกับถ้อยแถลงที่ผ่านมาของบรรดาพันธมิตรใกล้ชิดคนอื่นๆ ของทรัมป์ ในนั้นรวมถึงว่าที่รองประธานาธิบดี เจ.ดี.แวนซ์ ก่อนหน้าศึกเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายน โดยครั้งนั้น แวนซ์ บ่งชี้ว่าเคียฟอาจลงเอยในสถานการณ์หนึ่งที่ต้องตัดสินใจยอมสละดินแดนบางส่วนแก่รัสเซีย . สัญญาณต่างๆ ที่ส่งออกมาจากว่าที่รัฐบาลใหม่สหรัฐฯ สวนทางโดยสิ้นเชิงกับเป้าหมายของยูเครน ที่ประกาศกร้าวซ้ำๆ ว่าจะทวงคืนดินแดนทั้งหมดในยุคหลังสหภาพโซเวียต มันมาพร้อมกับท่าทีปฏิเสธอย่างชัดเจนจากเคียฟ ต่อการเจรจาที่มีความหมายใดๆ กับรัสเซีย อย่างไรก็ตาม มอสโกมอง 5 อดีตแคว้นของยูเครน ในนั้นประกอบด้วย เคียร์ซอน ซาโปริซเซีย โดเนตส์ก ลูฮันสก์ และไครเมีย เป็นดินแดนผนวกของพวกเขา . ไครเมีย แยกตัวออกจากยูเครน ตามหลังเหตุรัฐประหารไมดานปี 2014 ในเคียฟ เข้าร่วมกับรัสเซียผ่านการทำประชามติไม่นานหลังจากนั้น ส่วนแคว้นอื่นๆ อีก 4 แคว้น ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งในดินแดนรัสเซียในช่วงปลายปี 2022 หลังชาวบ้านท้องถิ่นโหวตสนับสนุนอย่างท่วมท้นความเคลื่อนไหวดังกล่าวผ่านการลงประชามติ . เมื่อปีที่แล้ว มอสโกเรียกร้องให้ เคียฟ ถอนทหารออกจากพื้นที่ต่างๆ ที่ยังคงควบคุมอยู่ในอดีตแคว้นเหล่านี้ เพื่อเริ่มต้นกระบวนการเจรจาที่หยุดชะงักมาช้านาน . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000003512 .............. Sondhi X
Like
Haha
5
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 430 มุมมอง 0 รีวิว