11 มกราคม 2568-รายงานพิเศษของเว็บไซต์ The Structure เกี่ยวกับประเด็นเกิดอะไรขึ้นกับประเทศไทย โดยรศ. ดร.ปณิธาน วัฒนายากร ได้สะท้อนภาพจากเหตุการณ์ลอบสังหาร “ลิม กิมยา”กลางกรุงเทพมหานครว่า เกิดอะไรขึ้น กับประเทศไทย? ‘รศ.ดร.ปณิธาน’ สะท้อนภาพที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ ลอบสังหาร ‘ลิม กินยา’ กลางกรุงเทพมหานคร
On 2025-01-10
สืบเนื่องจากกรณีการลอบสังหาร ลิม กิมยา อดีต สส. พรรคสงเคราะห์ชาติกัมพูชา (Cambodia National Rescue Party) และนักเคลื่อนไหวทางการเมือง ถูกลอบยิงที่บริเวณเกาะกลางถนน วงเวียนสิบสามห้าง ตรงข้ามวัดบวรนิเวศวิหาร ในช่วงค่ำของวันที่ 7 ม.ค. 2568

ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจของไทย สามารถระบุตัวคนร้ายจนพบว่าเป็นจ่าเอ็ม-เอกลักษณ์ แพน้อย อดีตทหารนาวิกโยธินของไทย ซึ่งถูกให้ออกจากราชการไปตั้งแต่ปี 2566 แล้ว และสามารถตามจับตัวจ่าเอ็มได้ที่จังหวัดพระตะบอง ประเทศกัมพูชา ในช่วงค่ำวันที่ 8 ม.ค. 2568

และในเวลานี้ จ่าเอ็มยังอยู่ในระหว่างการควบคุมตัวเพื่อสอบสวนของทางการกัมพูชา เนื่องจากฝ่ายกัมพูชาจะมีการดำเนินคดีกับจ่าเอ็มในข้อหาลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายก่อน

รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร นักวิเคราะห์และผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคง ได้กล่าวว่ากรณีนี้นั้น สะท้อนให้เห็นว่าได้เกิดช่องว่าง หรืออุปสรรค์ในการรักษาความปลอดภัยของฝ่ายความมั่นคงของไทย ทั้งในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ, ตำรวจสันติบาล, ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ, สำนักข่าวกรอง หรือแม้แต่สภาความมั่นคงเอง

ที่อาจจะต้องทำงานให้สอดประสานกันเพื่อการกำหนดแนวทางการคุ้มกันบุคคลสำคัญ ซึ่งจริง ๆ แล้วมีการกำหนดหลักปฎิบัติ หรือระเบียบปฎิบัติประจำ (รปจ.) อยู่แล้ว

แต่สำหรับกรณีนี้ ถึงแม้ว่าตัวผู้ถูกลอบสังหารจะไม่ได้ทำการร้องขอการคุ้มกันจากฝ่ายไทย จึงทำให้การจัดชุดรักษาความปลอดภัยนั้นอาจจะทำได้ไม่เต็มที่ แต่ในเมื่อพิจารณาดูแล้วว่า ลิม กินยานั้นเป็นเป้าหมายสำคัญที่อาจจะถูกคุกคาม จนมีความไม่ปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน อีกทั้งยังมีผลกระทบต่อความมั่นคง และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทย

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็สามารถใช้ดุลยพินิจในการตัดสินใจส่งชุดรักษาความปลอดภัยไปดูแลลิม กินยา ตั้งแต่เข้าเมือง หรืออาจจะปฎิเสธการให้เข้าเมืองตั้งแต่แรกเลยก็ทำได้ ถ้าพิจารณาแล้วว่าอาจจะคุ้มครองเขาไม่ได้ ซึ่งกรณีนี้จะต้องมีการพิจารณาในรายละเอียดว่าเกิดอะไรขึ้น

ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ทางการไทยนั้นมีประสบการณ์ในการให้ความคุ้มครองบุคคลสำคัญจากประเทศเพื่อนบ้านมามากพอสมควร ไม่ว่าจะจากลาว, กัมพูชา, มาเลเซีย และเมียนมา ไทยก็เคยให้การดูแลคุ้มกันมาแล้ว

ทางการไทยจะต้องมีการดำเนินการเพื่อการป้องกันเหตุการณ์ที่จะสร้างผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของไทย ว่าเป็นพื้นที่สังหารบุคคลสำคัญ, ไม่มีความปลอดภัยสำหรับนักท่องเที่ยว หรือมีการซ่องสุมกองกำลังติดอาวุธต่าง ๆ โดยมีการใช้คนไทยเข้ามาเป็นเครือข่ายในการปฏิบัติการหลายอย่าง ซึ่งเรื่องนี้มีความสำคัญที่จะต้องดูแลกันให้ดี

สำหรับแนวทางในการนำตัวจ่าเอ็ม ผู้ก่อเหตุกลับมาดำเนินคดีในประเทศไทยนั้น มีอยู่ 2 แนวทาง ได้แก่

1 การดำเนินการตามช่องทางปกติ โดยจะต้องมีการดำเนินคดีในฝั่งกัมพูชาก่อนสักระยะหนึ่ง ซึ่งจะต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร โดยจะมีการพิจารณาลงโทษ-ลดโทษ-อภัยโทษ แล้วส่งคืนมายังไทยตามสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน

ทั้งนี้ได้มีการตั้งข้อหาเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายแล้ว แต่อาจจะมีการกล่าวโทษในคดีอื่นเพิ่มเช่น พกพาอาวุธ และความมีส่วนเกี่ยวข้องกับเครือข่ายอาชญากรรมข้ามแดน ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องใช้เวลานานและสร้างความคลุมเครือ

2 การดำเนินการในช่องทางพิเศษ ด้วยวิธีต่างตอบแทน โดยการแลกตัว หรือร้องขอให้ทางกัมพูชาส่งตัวผู้ก่อเหตุให้มาถูกดำเนินคดีในไทยได้อย่างรวดเร็ว แต่กรณีนี้จะต้องระมัดระวังว่าจะกระทบต่อสิทธิมนุษยชน และต้องพิจารณาความตั้งใจจริงของฝ่ายกัมพูชาด้วย เพราะว่าเรื่องนี้นั้นจะเป็นการสะท้อนถึงระดับความสัมพันธ์ หรือเรื่องราวมีความซับซ้อนมากน้อยเพียงใด

แต่ทั้งนี้นั้น ควรจะต้องมีการดำเนินการผ่านกลไกของอาเซียน และตำรวจสากล ที่มีข้อตกลงที่ค่อนข้างชัดเจน และเป็นทางการ แทนการใช้ระบบต่างตอบแทน เพื่อป้องกันข้อครหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดหรือห่างเหินระหว่างผู้นำทั้ง 2 ประเทศในบางสมัย ซึ่งจะต้องมีการเปิดเผยข้อเท็จจริงในเรื่องเหล่านี้ผ่านทางอาเซียน

สำหรับคำถามที่ว่า ประเทศไทยมีขีดความสามารถในการคุ้มครองผู้เห็นต่างทางการเมืองจากประเทศอื่นที่เข้ามาลี้ภัยในประเทศไทยหรือไม่ รศ.ดร. ปณิธานกล่าวว่า ในบางช่วงประเทศไทยก็มีขีดความสามารถในการดำเนินการในเรื่องนี้ได้ดี

ไทยเคยสามารถจับกุมตัวผู้ก่อการร้ายระหว่างประเทศได้หลายครั้ง อย่างกรณี “ฮัม บาลี” ผู้ก่อเหตุวางระเบิดในอินโดนีเซีย หรือกรณีของ วิกเตอร์ บุช ผู้ค้าอาวุธสงครามชาวรัสเซีย และมีการส่งตัวกลับไปยังประเทศต้นทางได้ และได้รับความชื่นชมจากนานาชาติเป็นอย่างมาก

อีกทั้งยังเคยสามารถสกัดกั้นไม่ให้กลุ่มบุคคลต้องสงสัยเข้าประเทศ อย่างเช่นกลุ่มจากประเทศเกาหลีเหนือ และกลุ่มอื่น ๆ ที่อยู่ในบัญชีรายชื่อกว่า 30 กลุ่ม ซึ่งบางครั้งเราก็ทำได้ดี แต่บางครั้งเราก็มีปัญหา ซึ่งในภาพรวมแล้วเราควรจะปรับปรุงให้ดีขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดกรณีเช่นนี้อีก และกรณีนี้ได้สร้างความเสียหายให้กับประเทศไทยเป็นอย่างมาก

สำหรับกรณีที่พรรคฝ่ายค้านของกัมพูชากล่าวหาฮุน เซน อดีตนายกฯ กัมพูชาว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการลอบสังหารในครั้งนี้นั้น รศ.ดร. ปณิธานกล่าวว่าเรื่องนี้นั้นถือเป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อน ที่จะต้องมีการพิสูจน์ทราบกันให้ชัดเจน ก่อนที่จะมีการกระทบในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

แต่ทั้งนี้การที่ฝ่ายรัฐบาล หรือฝ่ายค้านกล่าวหาพุ่งเป้าใส่กัน โดยมีการดึงประเทศไทยเข้าไปเกี่ยวข้องนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่เลย อีกทั้งตลอดเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา ทางการกัมพูชาได้ทำเรื่องร้องขอให้มีการส่งตัวนักเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลกัมพูชา เช่น สม รังสี อดีตผู้นำพรรคฝ่ายค้านกัมพูชากลับ ซึ่งก็มีทั้งกรณีที่ทางการไทยส่งตัวกลับ และไม่ส่งตัวกลับ

ดังนั้นเรื่องนี้นั้น ไม่ถือว่าเป็นเรื่องใหม่ และหน่วยงานราชการไทย และฝ่ายความมั่นคงนั้นมีความคุ้นเคยเป็นอย่างดี

แต่ทั้งนี้ไทยต้องดำเนินการป้องกันให้มากกว่านี้ เพื่อการป้องกันไม่ให้ไทยถูกดึงเข้าไปอยู่ในวงความขัดแย้ง ซึ่งกรณีนี้ไม่ได้มีเฉพาะกับกัมพูชาเท่านั้น แต่เกิดขึ้นกับลาว, เมียนมา และมาเลเซียด้วย

นอกจากนี้ ทางการไทยเองก็มีการดำเนินการขอตัวแกนนำสั่งการต่าง ๆ ที่อยู่ในมาเลเซีย มาดำเนินคดีในประเทศไทย ซึ่งได้บ้าง ไม่ได้บ้าง บางกรณีมีการเสียชีวิตในระหว่างทาง ซึ่งเรื่องนี้มีความจำเป็นที่จะต้องมีการจัดระเบียบกันอย่างจริงจัง ก่อนที่จะเกิดความเสียหายกับประเทศไทยไปมากกว่านี้

สำหรับการสืบสาวหาต้นตอ/ขบวนการ/ผู้จ้างวาน ให้มีการลอบสังหารในครั้งนี้นั้น ไม่น่าจะเป็นเรื่องที่ยากนัก เพราะทราบมาว่าฝ่ายนั้นมีการดำเนินการสื่อสารผ่านระบบสมัยใหม่ ซึ่งทางเราสามารถดักจับ และบันทึกอยู่ในฐานข้อมูลของเรา

ดังนั้นการดำเนินการสืบค้นเพื่อเอาหลักฐานเหล่านั้นมาพิสูจน์ในทางนิติวิทยาศาสตร์นั้นก็คงไม่ยากเท่าไรนัก แต่ทั้งนี้จะต้องได้รับความร่วมมือจากทางกัมพูชาด้วย

อย่างไรก็ดี การที่ลิม กินยานั้น เป็นผู้ถือสัญชาติฝรั่งเศสด้วยนั้น ทำให้ฝรั่งเศส, สหภาพยุโรป และนานาชาติต่างก็จับตาดูกรณีนี้เป็นพิเศษ และก็คงจะมีการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภรรยาของลิม กินยา ซึ่งถือสัญชาติฝรั่งเศสด้วย และอาจจะเข้ามาร่วมประสานงานกับประเทศไทย ซึ่งจะทำให้เรื่องราวมีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น

(ทางการฝรั่งเศสได้ประกาศว่าจะมีการติดตามการสืบสวนของฝ่ายไทยอย่างใกล้ชิด เมื่อวานนี้)

ซึ่งเรื่องนี้กระทรวงต่างประเทศจะต้องมีการตั้งชุดทำงานขึ้นมา เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบมากไปกว่านี้ และในขณะนี้เกิดความแปรปรวนขึ้นพอสมควร เนื่องจากเกิดความเชื่อหลายอย่างขึ้นในโลกออนไลน์ ซึ่งก็อาจจะไม่ใช่ข้อเท็จจริง
11 มกราคม 2568-รายงานพิเศษของเว็บไซต์ The Structure เกี่ยวกับประเด็นเกิดอะไรขึ้นกับประเทศไทย โดยรศ. ดร.ปณิธาน วัฒนายากร ได้สะท้อนภาพจากเหตุการณ์ลอบสังหาร “ลิม กิมยา”กลางกรุงเทพมหานครว่า เกิดอะไรขึ้น กับประเทศไทย? ‘รศ.ดร.ปณิธาน’ สะท้อนภาพที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ ลอบสังหาร ‘ลิม กินยา’ กลางกรุงเทพมหานคร On 2025-01-10 สืบเนื่องจากกรณีการลอบสังหาร ลิม กิมยา อดีต สส. พรรคสงเคราะห์ชาติกัมพูชา (Cambodia National Rescue Party) และนักเคลื่อนไหวทางการเมือง ถูกลอบยิงที่บริเวณเกาะกลางถนน วงเวียนสิบสามห้าง ตรงข้ามวัดบวรนิเวศวิหาร ในช่วงค่ำของวันที่ 7 ม.ค. 2568 ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจของไทย สามารถระบุตัวคนร้ายจนพบว่าเป็นจ่าเอ็ม-เอกลักษณ์ แพน้อย อดีตทหารนาวิกโยธินของไทย ซึ่งถูกให้ออกจากราชการไปตั้งแต่ปี 2566 แล้ว และสามารถตามจับตัวจ่าเอ็มได้ที่จังหวัดพระตะบอง ประเทศกัมพูชา ในช่วงค่ำวันที่ 8 ม.ค. 2568 และในเวลานี้ จ่าเอ็มยังอยู่ในระหว่างการควบคุมตัวเพื่อสอบสวนของทางการกัมพูชา เนื่องจากฝ่ายกัมพูชาจะมีการดำเนินคดีกับจ่าเอ็มในข้อหาลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายก่อน รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร นักวิเคราะห์และผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคง ได้กล่าวว่ากรณีนี้นั้น สะท้อนให้เห็นว่าได้เกิดช่องว่าง หรืออุปสรรค์ในการรักษาความปลอดภัยของฝ่ายความมั่นคงของไทย ทั้งในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ, ตำรวจสันติบาล, ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ, สำนักข่าวกรอง หรือแม้แต่สภาความมั่นคงเอง ที่อาจจะต้องทำงานให้สอดประสานกันเพื่อการกำหนดแนวทางการคุ้มกันบุคคลสำคัญ ซึ่งจริง ๆ แล้วมีการกำหนดหลักปฎิบัติ หรือระเบียบปฎิบัติประจำ (รปจ.) อยู่แล้ว แต่สำหรับกรณีนี้ ถึงแม้ว่าตัวผู้ถูกลอบสังหารจะไม่ได้ทำการร้องขอการคุ้มกันจากฝ่ายไทย จึงทำให้การจัดชุดรักษาความปลอดภัยนั้นอาจจะทำได้ไม่เต็มที่ แต่ในเมื่อพิจารณาดูแล้วว่า ลิม กินยานั้นเป็นเป้าหมายสำคัญที่อาจจะถูกคุกคาม จนมีความไม่ปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน อีกทั้งยังมีผลกระทบต่อความมั่นคง และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็สามารถใช้ดุลยพินิจในการตัดสินใจส่งชุดรักษาความปลอดภัยไปดูแลลิม กินยา ตั้งแต่เข้าเมือง หรืออาจจะปฎิเสธการให้เข้าเมืองตั้งแต่แรกเลยก็ทำได้ ถ้าพิจารณาแล้วว่าอาจจะคุ้มครองเขาไม่ได้ ซึ่งกรณีนี้จะต้องมีการพิจารณาในรายละเอียดว่าเกิดอะไรขึ้น ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ทางการไทยนั้นมีประสบการณ์ในการให้ความคุ้มครองบุคคลสำคัญจากประเทศเพื่อนบ้านมามากพอสมควร ไม่ว่าจะจากลาว, กัมพูชา, มาเลเซีย และเมียนมา ไทยก็เคยให้การดูแลคุ้มกันมาแล้ว ทางการไทยจะต้องมีการดำเนินการเพื่อการป้องกันเหตุการณ์ที่จะสร้างผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของไทย ว่าเป็นพื้นที่สังหารบุคคลสำคัญ, ไม่มีความปลอดภัยสำหรับนักท่องเที่ยว หรือมีการซ่องสุมกองกำลังติดอาวุธต่าง ๆ โดยมีการใช้คนไทยเข้ามาเป็นเครือข่ายในการปฏิบัติการหลายอย่าง ซึ่งเรื่องนี้มีความสำคัญที่จะต้องดูแลกันให้ดี สำหรับแนวทางในการนำตัวจ่าเอ็ม ผู้ก่อเหตุกลับมาดำเนินคดีในประเทศไทยนั้น มีอยู่ 2 แนวทาง ได้แก่ 1 การดำเนินการตามช่องทางปกติ โดยจะต้องมีการดำเนินคดีในฝั่งกัมพูชาก่อนสักระยะหนึ่ง ซึ่งจะต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร โดยจะมีการพิจารณาลงโทษ-ลดโทษ-อภัยโทษ แล้วส่งคืนมายังไทยตามสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน ทั้งนี้ได้มีการตั้งข้อหาเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายแล้ว แต่อาจจะมีการกล่าวโทษในคดีอื่นเพิ่มเช่น พกพาอาวุธ และความมีส่วนเกี่ยวข้องกับเครือข่ายอาชญากรรมข้ามแดน ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องใช้เวลานานและสร้างความคลุมเครือ 2 การดำเนินการในช่องทางพิเศษ ด้วยวิธีต่างตอบแทน โดยการแลกตัว หรือร้องขอให้ทางกัมพูชาส่งตัวผู้ก่อเหตุให้มาถูกดำเนินคดีในไทยได้อย่างรวดเร็ว แต่กรณีนี้จะต้องระมัดระวังว่าจะกระทบต่อสิทธิมนุษยชน และต้องพิจารณาความตั้งใจจริงของฝ่ายกัมพูชาด้วย เพราะว่าเรื่องนี้นั้นจะเป็นการสะท้อนถึงระดับความสัมพันธ์ หรือเรื่องราวมีความซับซ้อนมากน้อยเพียงใด แต่ทั้งนี้นั้น ควรจะต้องมีการดำเนินการผ่านกลไกของอาเซียน และตำรวจสากล ที่มีข้อตกลงที่ค่อนข้างชัดเจน และเป็นทางการ แทนการใช้ระบบต่างตอบแทน เพื่อป้องกันข้อครหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดหรือห่างเหินระหว่างผู้นำทั้ง 2 ประเทศในบางสมัย ซึ่งจะต้องมีการเปิดเผยข้อเท็จจริงในเรื่องเหล่านี้ผ่านทางอาเซียน สำหรับคำถามที่ว่า ประเทศไทยมีขีดความสามารถในการคุ้มครองผู้เห็นต่างทางการเมืองจากประเทศอื่นที่เข้ามาลี้ภัยในประเทศไทยหรือไม่ รศ.ดร. ปณิธานกล่าวว่า ในบางช่วงประเทศไทยก็มีขีดความสามารถในการดำเนินการในเรื่องนี้ได้ดี ไทยเคยสามารถจับกุมตัวผู้ก่อการร้ายระหว่างประเทศได้หลายครั้ง อย่างกรณี “ฮัม บาลี” ผู้ก่อเหตุวางระเบิดในอินโดนีเซีย หรือกรณีของ วิกเตอร์ บุช ผู้ค้าอาวุธสงครามชาวรัสเซีย และมีการส่งตัวกลับไปยังประเทศต้นทางได้ และได้รับความชื่นชมจากนานาชาติเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังเคยสามารถสกัดกั้นไม่ให้กลุ่มบุคคลต้องสงสัยเข้าประเทศ อย่างเช่นกลุ่มจากประเทศเกาหลีเหนือ และกลุ่มอื่น ๆ ที่อยู่ในบัญชีรายชื่อกว่า 30 กลุ่ม ซึ่งบางครั้งเราก็ทำได้ดี แต่บางครั้งเราก็มีปัญหา ซึ่งในภาพรวมแล้วเราควรจะปรับปรุงให้ดีขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดกรณีเช่นนี้อีก และกรณีนี้ได้สร้างความเสียหายให้กับประเทศไทยเป็นอย่างมาก สำหรับกรณีที่พรรคฝ่ายค้านของกัมพูชากล่าวหาฮุน เซน อดีตนายกฯ กัมพูชาว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการลอบสังหารในครั้งนี้นั้น รศ.ดร. ปณิธานกล่าวว่าเรื่องนี้นั้นถือเป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อน ที่จะต้องมีการพิสูจน์ทราบกันให้ชัดเจน ก่อนที่จะมีการกระทบในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แต่ทั้งนี้การที่ฝ่ายรัฐบาล หรือฝ่ายค้านกล่าวหาพุ่งเป้าใส่กัน โดยมีการดึงประเทศไทยเข้าไปเกี่ยวข้องนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่เลย อีกทั้งตลอดเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา ทางการกัมพูชาได้ทำเรื่องร้องขอให้มีการส่งตัวนักเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลกัมพูชา เช่น สม รังสี อดีตผู้นำพรรคฝ่ายค้านกัมพูชากลับ ซึ่งก็มีทั้งกรณีที่ทางการไทยส่งตัวกลับ และไม่ส่งตัวกลับ ดังนั้นเรื่องนี้นั้น ไม่ถือว่าเป็นเรื่องใหม่ และหน่วยงานราชการไทย และฝ่ายความมั่นคงนั้นมีความคุ้นเคยเป็นอย่างดี แต่ทั้งนี้ไทยต้องดำเนินการป้องกันให้มากกว่านี้ เพื่อการป้องกันไม่ให้ไทยถูกดึงเข้าไปอยู่ในวงความขัดแย้ง ซึ่งกรณีนี้ไม่ได้มีเฉพาะกับกัมพูชาเท่านั้น แต่เกิดขึ้นกับลาว, เมียนมา และมาเลเซียด้วย นอกจากนี้ ทางการไทยเองก็มีการดำเนินการขอตัวแกนนำสั่งการต่าง ๆ ที่อยู่ในมาเลเซีย มาดำเนินคดีในประเทศไทย ซึ่งได้บ้าง ไม่ได้บ้าง บางกรณีมีการเสียชีวิตในระหว่างทาง ซึ่งเรื่องนี้มีความจำเป็นที่จะต้องมีการจัดระเบียบกันอย่างจริงจัง ก่อนที่จะเกิดความเสียหายกับประเทศไทยไปมากกว่านี้ สำหรับการสืบสาวหาต้นตอ/ขบวนการ/ผู้จ้างวาน ให้มีการลอบสังหารในครั้งนี้นั้น ไม่น่าจะเป็นเรื่องที่ยากนัก เพราะทราบมาว่าฝ่ายนั้นมีการดำเนินการสื่อสารผ่านระบบสมัยใหม่ ซึ่งทางเราสามารถดักจับ และบันทึกอยู่ในฐานข้อมูลของเรา ดังนั้นการดำเนินการสืบค้นเพื่อเอาหลักฐานเหล่านั้นมาพิสูจน์ในทางนิติวิทยาศาสตร์นั้นก็คงไม่ยากเท่าไรนัก แต่ทั้งนี้จะต้องได้รับความร่วมมือจากทางกัมพูชาด้วย อย่างไรก็ดี การที่ลิม กินยานั้น เป็นผู้ถือสัญชาติฝรั่งเศสด้วยนั้น ทำให้ฝรั่งเศส, สหภาพยุโรป และนานาชาติต่างก็จับตาดูกรณีนี้เป็นพิเศษ และก็คงจะมีการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภรรยาของลิม กินยา ซึ่งถือสัญชาติฝรั่งเศสด้วย และอาจจะเข้ามาร่วมประสานงานกับประเทศไทย ซึ่งจะทำให้เรื่องราวมีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น (ทางการฝรั่งเศสได้ประกาศว่าจะมีการติดตามการสืบสวนของฝ่ายไทยอย่างใกล้ชิด เมื่อวานนี้) ซึ่งเรื่องนี้กระทรวงต่างประเทศจะต้องมีการตั้งชุดทำงานขึ้นมา เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบมากไปกว่านี้ และในขณะนี้เกิดความแปรปรวนขึ้นพอสมควร เนื่องจากเกิดความเชื่อหลายอย่างขึ้นในโลกออนไลน์ ซึ่งก็อาจจะไม่ใช่ข้อเท็จจริง
Like
3
0 Comments 0 Shares 453 Views 0 Reviews