บริษัทไทยเพิ่งชนะประมูลผลิตไฟจากโซลาร์ฟาร์มที่อินเดียราคา 1.09 บาทตลอด25ปี แต่นายกฯจะให้กกพ.รับซื้อราคา 2.17 บาทตลอด 25 ปี!!??
ข่าวจากฐานเศรษฐกิจว่าบริษัทGPSC ของไทยคว้าโซลาร์ฯ ในอินเดียกำลังผลิต 421 เมกฯเพิ่มไฟฟ้าสีเขียว ดันกำลังการผลิตในประเทศอินเดียพุ่งสูงกว่า 5,000 เมกะวัตต์ ในราคา2.70 รูปี (0.03ดอลลาร์สหรัฐ) เทียบเป็นเงินไทย 1.09 บาท/หน่วย เป็นเวลา 25ปี
ตามเงื่อนไขการประมูล ซึ่งจะมีการลงนามซื้อขายไฟฟ้า หรือ PPA ที่มีอายุสัญญารับซื้อเป็นเวลา 25 ปี แผนการดำเนินโครงการต้องให้แล้วเสร็จภายใน 18 เดือน โดยคาดว่าจะผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 750 ล้านหน่วยต่อปี สามารถจ่ายไฟฟ้าครอบคลุมภาคครัวเรือน ประมาณ 5 แสนครัวเรือนด้วยพลังงานสะอาด และยังมีส่วนสำคัญต่อการลดการปล่อย CO2 สู่ชั้นบรรยากาศเทียบเท่า 698,250 ตันต่อปี
อินเดียประมูลซื้อขายไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ลดลงตลอดอย่างน่าทึ่ง เมื่อเดือนสิงหาคม 2567 อินเดียประมูลซื้อไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ได้ในราคา 1.44 บาท/หน่วย พร้อมแบตเตอรี่
แต่ประเทศไทยโดย คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)ภายใต้นโยบายของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.)ที่มีนายกรัฐมนตรี
แพทองธารเป็นประธาน ประกาศรับซื้อไฟฟ้าจากแสงแดดในราคา 2.17 บาท/หน่วยโดยไม่มีแบตเตอรี่ เป็นเวลา25ปี และให้เวลาเข้าสู่ระบบได้ตั้งแต่ 2-5 ปี (2570-2573) ตามแผนพัฒนาพลังงาน(PDP) 2018
ต้องถามว่ากกพ.ประกาศทำตามมติ กพช. ที่ให้ล็อคทั้งชื่อบริษัท และ ราคา โดยไม่ใช่การประมูล เรียกว่าเหมือนการประกวดนางงามบริษัทที่ใช้ดุลยพินิจเป็นหลัก บริษัทที่ผ่านเข้ารอบดูเพียงคุณสมบัติ แต่ไม่ให้มีการประมูลราคาที่บริษัทจะขายในราคาต่ำที่สุดซึ่งเป็นประโยชน์ต่อประชาชนผู้ใช้ไฟอย่างแท้จริง
ที่น่าสนใจคือ บริษัทGPSC ที่ชนะการประมูลผลิตโซลาร์ฟาร์มที่อินเดียในราคา 1.09 บาท ก็อยู่ในลิสต์รายชื่อบริษัทอันดับที่5 เสนอขายไฟฟ้า 118 เมกกะวัตต์ ที่กกพ.จะประกาศให้เป็นผู้มาทำสัญญาขายไฟในราคา 2.17 บาทโดยไม่มีแบตเตอรี่ (การมีแบตเตอรี่จะทำให้สามารถจ่ายไฟได้ทั้งกลางวันและกลางคืน)
ส่วนการไฟฟ้าฝ่ายผลิต(กฟผ.) เสนอว่าสามารถผลิตได้ในราคา 1.50 บาท/หน่วย แต่ กกพ. ไม่ให้มาแข่งกับเอกชน ซึ่งที่จริงไม่ใช่การแข่งด้วยซ้ำ
เพราะกพช. กำหนดราคาตายตัวไว้เลยที่2.17 บาท/หน่วย แสดงว่าจงใจให้บริษัทเอกชนได้กำไรเห็นๆ ไปยาวๆ 25ปี และไม่ต้องการให้กฟผ.ผลิตทั้งที่ทำได้ถูกกว่า เเละกฟผ.มีหน้าที่ผลิตไฟฟ้าโดยตรง แต่กำลังจะทำให้ กฟผ.กลายเป็น กฟซ.
หรือการไฟฟ้าฝ่ายซื้อ(ไฟแพง)จากเอกชนมาขายประชาชนเป็นหลัก
ราคาพลังงานไฟฟ้าไม่มีทางถูกในระบบผูกขาดกินรวบของระบอบธุรกิจการเมือง
ค่าไฟถูกจะเป็นเพียงกลยุทธ์ประชานิยมเพื่อหวังสร้างคะแนนเสียงชั่วครั้งชั่วคราวของรัฐบาลและพรรคการเมืองเท่านั้น
ถ้าจะทำให้ค่าไฟราคาถูกอย่างเป็นธรรมได้ ต้องปรับโครงสร้างพลังงานให้โปร่งใส มีธรรมาภิบาล และไม่ผูกขาดเท่านั้น ที่ประชาชนจะได้ค่าไฟที่เป็นธรรมอย่างถาวร
ประชาชนควรตั้งคำถามว่ารัฐบาลไทยโง่กว่ารัฐบาลประเทศอื่น หรือจงใจคอร์รัปชันเชิงนโยบายผ่องถ่ายกำไรมหาศาลให้กลุ่มธุรกิจเอกชนกันแน่??!!
รสนา โตสิตระกูล
10 มกราคม 2568
ข่าวจากฐานเศรษฐกิจว่าบริษัทGPSC ของไทยคว้าโซลาร์ฯ ในอินเดียกำลังผลิต 421 เมกฯเพิ่มไฟฟ้าสีเขียว ดันกำลังการผลิตในประเทศอินเดียพุ่งสูงกว่า 5,000 เมกะวัตต์ ในราคา2.70 รูปี (0.03ดอลลาร์สหรัฐ) เทียบเป็นเงินไทย 1.09 บาท/หน่วย เป็นเวลา 25ปี
ตามเงื่อนไขการประมูล ซึ่งจะมีการลงนามซื้อขายไฟฟ้า หรือ PPA ที่มีอายุสัญญารับซื้อเป็นเวลา 25 ปี แผนการดำเนินโครงการต้องให้แล้วเสร็จภายใน 18 เดือน โดยคาดว่าจะผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 750 ล้านหน่วยต่อปี สามารถจ่ายไฟฟ้าครอบคลุมภาคครัวเรือน ประมาณ 5 แสนครัวเรือนด้วยพลังงานสะอาด และยังมีส่วนสำคัญต่อการลดการปล่อย CO2 สู่ชั้นบรรยากาศเทียบเท่า 698,250 ตันต่อปี
อินเดียประมูลซื้อขายไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ลดลงตลอดอย่างน่าทึ่ง เมื่อเดือนสิงหาคม 2567 อินเดียประมูลซื้อไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ได้ในราคา 1.44 บาท/หน่วย พร้อมแบตเตอรี่
แต่ประเทศไทยโดย คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)ภายใต้นโยบายของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.)ที่มีนายกรัฐมนตรี
แพทองธารเป็นประธาน ประกาศรับซื้อไฟฟ้าจากแสงแดดในราคา 2.17 บาท/หน่วยโดยไม่มีแบตเตอรี่ เป็นเวลา25ปี และให้เวลาเข้าสู่ระบบได้ตั้งแต่ 2-5 ปี (2570-2573) ตามแผนพัฒนาพลังงาน(PDP) 2018
ต้องถามว่ากกพ.ประกาศทำตามมติ กพช. ที่ให้ล็อคทั้งชื่อบริษัท และ ราคา โดยไม่ใช่การประมูล เรียกว่าเหมือนการประกวดนางงามบริษัทที่ใช้ดุลยพินิจเป็นหลัก บริษัทที่ผ่านเข้ารอบดูเพียงคุณสมบัติ แต่ไม่ให้มีการประมูลราคาที่บริษัทจะขายในราคาต่ำที่สุดซึ่งเป็นประโยชน์ต่อประชาชนผู้ใช้ไฟอย่างแท้จริง
ที่น่าสนใจคือ บริษัทGPSC ที่ชนะการประมูลผลิตโซลาร์ฟาร์มที่อินเดียในราคา 1.09 บาท ก็อยู่ในลิสต์รายชื่อบริษัทอันดับที่5 เสนอขายไฟฟ้า 118 เมกกะวัตต์ ที่กกพ.จะประกาศให้เป็นผู้มาทำสัญญาขายไฟในราคา 2.17 บาทโดยไม่มีแบตเตอรี่ (การมีแบตเตอรี่จะทำให้สามารถจ่ายไฟได้ทั้งกลางวันและกลางคืน)
ส่วนการไฟฟ้าฝ่ายผลิต(กฟผ.) เสนอว่าสามารถผลิตได้ในราคา 1.50 บาท/หน่วย แต่ กกพ. ไม่ให้มาแข่งกับเอกชน ซึ่งที่จริงไม่ใช่การแข่งด้วยซ้ำ
เพราะกพช. กำหนดราคาตายตัวไว้เลยที่2.17 บาท/หน่วย แสดงว่าจงใจให้บริษัทเอกชนได้กำไรเห็นๆ ไปยาวๆ 25ปี และไม่ต้องการให้กฟผ.ผลิตทั้งที่ทำได้ถูกกว่า เเละกฟผ.มีหน้าที่ผลิตไฟฟ้าโดยตรง แต่กำลังจะทำให้ กฟผ.กลายเป็น กฟซ.
หรือการไฟฟ้าฝ่ายซื้อ(ไฟแพง)จากเอกชนมาขายประชาชนเป็นหลัก
ราคาพลังงานไฟฟ้าไม่มีทางถูกในระบบผูกขาดกินรวบของระบอบธุรกิจการเมือง
ค่าไฟถูกจะเป็นเพียงกลยุทธ์ประชานิยมเพื่อหวังสร้างคะแนนเสียงชั่วครั้งชั่วคราวของรัฐบาลและพรรคการเมืองเท่านั้น
ถ้าจะทำให้ค่าไฟราคาถูกอย่างเป็นธรรมได้ ต้องปรับโครงสร้างพลังงานให้โปร่งใส มีธรรมาภิบาล และไม่ผูกขาดเท่านั้น ที่ประชาชนจะได้ค่าไฟที่เป็นธรรมอย่างถาวร
ประชาชนควรตั้งคำถามว่ารัฐบาลไทยโง่กว่ารัฐบาลประเทศอื่น หรือจงใจคอร์รัปชันเชิงนโยบายผ่องถ่ายกำไรมหาศาลให้กลุ่มธุรกิจเอกชนกันแน่??!!
รสนา โตสิตระกูล
10 มกราคม 2568
0 ความคิดเห็น
0 การแบ่งปัน
71 มุมมอง
0 รีวิว