อเล็กซานเดอร์ ลูคาเชนโก ประธานธิบดีเบลารุส กล่าวอ้างว่า "เผด็จการ" ของเขา ดีกว่า "ประชาธิปไตย" ในเพื่อนบ้านอย่างยูเครน ชาติที่ถูกสงครามฉีกเป็นชิ้นๆ ความเห็นมีขึ้นในขณะที่ผู้นำรายนี้ซึ่งปกครองเบลารุสมาช้านาน กำลังหาเสียงเลือกตั้ง ลุ้นกลับมาดำรงตำแหน่งเป็นสมัยที่ 7 ปลายเดือนนี้
.
ระหว่างกล่าว ณ พิธีคริสต์มาสของนิกายออร์โธดอกซ์ เมื่อวันอังคาร(7ม.ค.) ลูคาเชนโก แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับถ้อยแถลงเมื่อเร็วๆนี้ของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน ที่ออกมาพูดชี้ช่องว่าในท้ายที่สุดแล้ว เบลารุส จะได้รับการปลดปล่อย
.
"ปล่อยให้พวกเขาพูดไปเถอะ ว่าเรามีเผด็จการที่นี่ ลองดูซิ การมีเผด็จการแบบเดียวกับในเบลารุส ดีกว่าการมีประชาธิปไตยในยูเครน เป็นไหนๆ เราต้องหนักแน่น เราต้องไม่สั่นคลอนต่อกรณีใดๆ" สำนักข่าวเบลทา สื่อมวลชนแห่งรัฐ รายงานโดยอ้างคำกล่าวของ ลูคาเชนโก
.
ผู้นำเบลารุส อ้างด้วยว่าพวกผู้ประสงค์ร้ายในต่างแดน ต้องการทำลายสันติภาพในประเทศ และชี้ว่าเคียฟกำลังทำตามคำสั่งของตะวันตก
.
ก่อนหน้านี้ ในคำปราศรัยในวาระขึ้นปีใหม่ เซเลนสกี กล่าวอ้างว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องสนับสนุนประชาชนที่กำลังสู้รบเพื่อสันติภาพ คำพูดที่พาดพิงถึงประชาชนชาวเบลารุสโดยเฉพาะ
.
"ถ้าเซเลนสกี พูดเป็นนัยว่าอีกไม่นาน เบลารุส อยากเป็นเหมือนยูเครน นี่คือสิ่งที่ผมคิดตอนที่ได้ยินเขาพูด ผมอุทานว่า พระเจ้า ขออย่าให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นเลย" ลูคาเชนโกระบุ
.
ลูคาเชนโก ซึ่งปกครองเบลารุสมาตั้งแต่ปี 1994 ลงสมัครรับเลือกตั้งกลับมาดำรงตำแหน่งอีกสมัย ในศึกเลือกตั้งที่กำหนดจัดขึ้นในวันที่ 26 มกราคม ในขณะที่ศึกเลือกตั้งหนหลังสุดเมื่อปี 2020 โหมกระพือการประท้วงหลายระลอก ในสิ่งที่พวกฝ่ายค้านอ้างว่ามีการโกงอย่างกว้างขวาง อย่างไรก็ตามเบลารุสปฏิเสธคำกล่าวหานี้ และยืนยันว่าสถานการณ์ความไม่สงบเป็นการบงการของสหรัฐฯและบริวารยุโรปของอเมริกา เช่นเดียวกับยูเครน
.
ลูคาเชนโก ถูกตราหน้าอย่างกว้างขวางจากสื่อมวลชนและองค์กรต่างๆของตะวันตก ว่าเป็น "เผด็จการ" สืบเนื่องจากการยึดครองอำนาจและคำกล่าวหาละเมิดสิทธิมนุษยชน ในเดือนพฤศจิกายน เขายอมรับว่าเป็นเรื่องจริงที่มีเผด็จการภายในประเทศของเขา แต่เป็นเผด็จการแห่ง "เสถียรภาพ ความมั่นคง ความเป็นระเบียบเรียบร้อย มีเมตตาและใจดี"
.
ในยูเครน เคยมีการปฏิวัติที่ได้รับการสนับสนุนจากตะวันตกมาแล้ว 2 รอบ ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา หนึ่งในนั้นคือเหตุการณ์คลื่นการเดินขบวน "ยูโรไมดาน" ซึ่งเกิดขึ้นตามหลัง วิคเตอร์ ยานูโควิช ประธานธิบดี ณ ขณะนั้น ขอเลื่อนการพูดคุยหารือข้อตกลงฉบับหนึ่งเกี่ยวกับการคบค้าสมาคมกับสหภาพยุโรป ความเคลื่อนไหวที่ท้ายที่สุดแล้วนำมาซึ่งการที่ ยานูโควิช ถูกโค่นอำนาจ และจัดตั้งรัฐบาลที่ฝักใฝ่สหรัฐฯและอียูขึ้นมาแทน
.
เหตุการณ์เหล่านั้นกลายเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่นำมาซึ่งความขัดแย้งที่ลุกลามบานปลายกับรัสเซีย ในปี 2022 จากคำกล่าวอ้างของ เซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซียเมื่อเดือนที่แล้ว
.
รัสเซียกับเบลารุส ลงนามในข้อตกลงด้านความมั่นคงฉบับใหม่เมื่อเดือนก่อน ซึ่งนอกเหนือจากสิ่งอื่นๆแล้ว เนื้อหาในนั้นยังได้เปิดทางให้รัสเซีย ประจำการขีปนาวุธล้ำสมัย "โอเรสนิก" ในประเทศเพื่อนบ้านแห่งนี้
.
อ่านเพิ่มเติม..
..............
Sondhi X
อเล็กซานเดอร์ ลูคาเชนโก ประธานธิบดีเบลารุส กล่าวอ้างว่า "เผด็จการ" ของเขา ดีกว่า "ประชาธิปไตย" ในเพื่อนบ้านอย่างยูเครน ชาติที่ถูกสงครามฉีกเป็นชิ้นๆ ความเห็นมีขึ้นในขณะที่ผู้นำรายนี้ซึ่งปกครองเบลารุสมาช้านาน กำลังหาเสียงเลือกตั้ง ลุ้นกลับมาดำรงตำแหน่งเป็นสมัยที่ 7 ปลายเดือนนี้ . ระหว่างกล่าว ณ พิธีคริสต์มาสของนิกายออร์โธดอกซ์ เมื่อวันอังคาร(7ม.ค.) ลูคาเชนโก แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับถ้อยแถลงเมื่อเร็วๆนี้ของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน ที่ออกมาพูดชี้ช่องว่าในท้ายที่สุดแล้ว เบลารุส จะได้รับการปลดปล่อย . "ปล่อยให้พวกเขาพูดไปเถอะ ว่าเรามีเผด็จการที่นี่ ลองดูซิ การมีเผด็จการแบบเดียวกับในเบลารุส ดีกว่าการมีประชาธิปไตยในยูเครน เป็นไหนๆ เราต้องหนักแน่น เราต้องไม่สั่นคลอนต่อกรณีใดๆ" สำนักข่าวเบลทา สื่อมวลชนแห่งรัฐ รายงานโดยอ้างคำกล่าวของ ลูคาเชนโก . ผู้นำเบลารุส อ้างด้วยว่าพวกผู้ประสงค์ร้ายในต่างแดน ต้องการทำลายสันติภาพในประเทศ และชี้ว่าเคียฟกำลังทำตามคำสั่งของตะวันตก . ก่อนหน้านี้ ในคำปราศรัยในวาระขึ้นปีใหม่ เซเลนสกี กล่าวอ้างว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องสนับสนุนประชาชนที่กำลังสู้รบเพื่อสันติภาพ คำพูดที่พาดพิงถึงประชาชนชาวเบลารุสโดยเฉพาะ . "ถ้าเซเลนสกี พูดเป็นนัยว่าอีกไม่นาน เบลารุส อยากเป็นเหมือนยูเครน นี่คือสิ่งที่ผมคิดตอนที่ได้ยินเขาพูด ผมอุทานว่า พระเจ้า ขออย่าให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นเลย" ลูคาเชนโกระบุ . ลูคาเชนโก ซึ่งปกครองเบลารุสมาตั้งแต่ปี 1994 ลงสมัครรับเลือกตั้งกลับมาดำรงตำแหน่งอีกสมัย ในศึกเลือกตั้งที่กำหนดจัดขึ้นในวันที่ 26 มกราคม ในขณะที่ศึกเลือกตั้งหนหลังสุดเมื่อปี 2020 โหมกระพือการประท้วงหลายระลอก ในสิ่งที่พวกฝ่ายค้านอ้างว่ามีการโกงอย่างกว้างขวาง อย่างไรก็ตามเบลารุสปฏิเสธคำกล่าวหานี้ และยืนยันว่าสถานการณ์ความไม่สงบเป็นการบงการของสหรัฐฯและบริวารยุโรปของอเมริกา เช่นเดียวกับยูเครน . ลูคาเชนโก ถูกตราหน้าอย่างกว้างขวางจากสื่อมวลชนและองค์กรต่างๆของตะวันตก ว่าเป็น "เผด็จการ" สืบเนื่องจากการยึดครองอำนาจและคำกล่าวหาละเมิดสิทธิมนุษยชน ในเดือนพฤศจิกายน เขายอมรับว่าเป็นเรื่องจริงที่มีเผด็จการภายในประเทศของเขา แต่เป็นเผด็จการแห่ง "เสถียรภาพ ความมั่นคง ความเป็นระเบียบเรียบร้อย มีเมตตาและใจดี" . ในยูเครน เคยมีการปฏิวัติที่ได้รับการสนับสนุนจากตะวันตกมาแล้ว 2 รอบ ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา หนึ่งในนั้นคือเหตุการณ์คลื่นการเดินขบวน "ยูโรไมดาน" ซึ่งเกิดขึ้นตามหลัง วิคเตอร์ ยานูโควิช ประธานธิบดี ณ ขณะนั้น ขอเลื่อนการพูดคุยหารือข้อตกลงฉบับหนึ่งเกี่ยวกับการคบค้าสมาคมกับสหภาพยุโรป ความเคลื่อนไหวที่ท้ายที่สุดแล้วนำมาซึ่งการที่ ยานูโควิช ถูกโค่นอำนาจ และจัดตั้งรัฐบาลที่ฝักใฝ่สหรัฐฯและอียูขึ้นมาแทน . เหตุการณ์เหล่านั้นกลายเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่นำมาซึ่งความขัดแย้งที่ลุกลามบานปลายกับรัสเซีย ในปี 2022 จากคำกล่าวอ้างของ เซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซียเมื่อเดือนที่แล้ว . รัสเซียกับเบลารุส ลงนามในข้อตกลงด้านความมั่นคงฉบับใหม่เมื่อเดือนก่อน ซึ่งนอกเหนือจากสิ่งอื่นๆแล้ว เนื้อหาในนั้นยังได้เปิดทางให้รัสเซีย ประจำการขีปนาวุธล้ำสมัย "โอเรสนิก" ในประเทศเพื่อนบ้านแห่งนี้ . อ่านเพิ่มเติม.. .............. Sondhi X
Like
Haha
7
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 476 มุมมอง 0 รีวิว