ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวถึงการให้บริการสิทธิประโยชน์ทันตกรรมในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง 30 บาท) โดย “หน่วยบริการนวัตกรรมคลินิกทันตกรรมเอกชน” ว่า จากข้อมูลการขึ้นทะเบียนหน่วยบริการของ สปสช. ณ วันที่ 6 มกราคม 2568 มีคลินิกทันตกรรมที่ร่วมขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการนวัตกรรมแล้วจำนวน 1,394 แห่ง ซึ่งได้รับการตอบรับจากประชาชนในการใช้สิทธิบัตรทองเข้ารับบริการอย่างมาก โดยปีงบประมาณ 2567 - 2568 (6 ม.ค. 68) มีผู้เข้ารับบริการจำนวน 368,870 คน เป็นจำนวน 666,664 ครั้ง สะท้อนให้เห็นถึงการเข้าถึงบริการทันตกรรมในระบบบัตรทองที่เพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ เป็นผลมาจากนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ มีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนสามารถใช้สิทธิบัตรทองได้โดยสะดวก รวดเร็ว และใกล้บ้านได้ ซึ่งแต่เดิมแม้ว่าภายใต้ระบบบัตรทองจะมีชุดสิทธิประโยชน์บริการทันตกรรมที่ครอบคลุมให้กับประชาชนแล้ว ทั้งการสร้างเสริมป้องกัน การรักษา และฟื้นฟูสุขภาพช่องปากและฟัน พร้อมจัดสรรงบประมาณรองรับเบิกจ่ายค่าบริการ แต่ที่ผ่านมาพบว่าการใช้บริการของประชาชนยังมีไม่มาก ด้วยข้อจำกัดที่มีเพียงแต่หน่วยบริการของรัฐเท่านั้นที่ให้บริการทันตกรรมกับผู้ใช้สิทธิบัตรทอง ทำให้มีคิวรอบริการยาวเหยียด บางแห่งต้องรอคิวข้ามปีกันเลยทีเดียว ขณะที่มีคลินิกทันตกรรมเอกชนกระจายอยู่ทั่วประเทศเกือบ 7,000 แห่ง สามารถให้บริการประชาชนได้เหมือนกัน โดยที่รัฐไม่ต้องลงทุนสร้าง รพ.เพิ่มเติมแต่อย่างใด

ทพ.อรรถพร กล่าวว่า สปสช. จึงได้ร่วมมือกับทันตแพทยสภา เชิญชวนคลินิกทันตกรรมเอกชน มาร่วมให้บริการทันตกรรมตามแนวทางเน้นการรักษาดูแลต่อเนื่องแบบปฐมภูมิ ทั้งการรักษาและการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากปีละ 3 ครั้ง โดยไม่มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากประชาชน ซึ่งตลอดระยะเวลาของการดำเนินการตามแผนขับเคลื่อน 30 บาทรักษาทุกที่ทั้ง 4 ระยะ ทันตแพทยสภาได้ร่วมกับ สปสช. ชี้แจงและทำความเข้าใจกับคลินิกทันตกรรมเอกชนต่างๆ เพื่อให้ความมั่นใจต่อการเข้าร่วมให้บริการในระบบ ทั้งรายการการให้บริการ การยืนยันตัวตนใช้สิทธิ การเบิกจ่าย และการจัดทำระบบและการเชอมต่อข้อมูลต่างๆ

นอกจากนี้ยังได้ร่วมลงพื้นที่ไปยังคลินิกทันตกรรมในจังหวัดต่างๆ ที่เข้าร่วม อาทิ คลินิกทันตกรรมกู๊ด ฟ. ฟัน จ.เชียงใหม่ คลินิกทันตกรรม ซี สไมล์พลัส อ.เมือง จ.ลำพูน ไอสมายล์คลินิกทันตกรรม อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ และที่ คลินิกทันตกรรมทีสมายล์ จ.น่าน เป็นต้น ไม่เพียงแต่ติดตามการให้บริการผู้ใช้สิทธิบัตรทองตามคุณภาพและมาตรฐานแล้ว ยังได้รับทราบและแลกเปลี่ยนข้อมูลต่างๆ กับทางผู้ประกอบการคลินิกฯ ทันตแพทย์ และเจ้าหน้าที่คลินิกฯ ที่ให้บริการ รวมถึงการสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้สิทธิบัตรทองที่มารับบริการ ก็ได้รับคำตอบว่ามีความพึงพอใจมาก เพราะได้ใช้สิทธิบัตรทองทำฟัน ใช้เวลาน้อย ไม่ต้องรอคิวนานที่โรงพยาบาลเหมือนแต่ก่อน และไม่เสียค่าใช้จ่าย ทำให้มีประชาชนใช้บริการแล้วจำนวนมาก

ทั้งนี้ สิทธิประโยชน์บัตรทอง รายการบริการทันตกรรมที่คลินิกทันตกรรม มี 6 รายการ ดังนี้ 1.ตรวจสุขภาพช่องปาก 2.ขูดหินปูน 3.อุดฟัน 4.ถอนฟัน 5.เคลือบหลุมร่องฟัน และ 6.เคลือบฟลูออไรด์ โดยสามารถเข้ารับบริการได้คนละ 3 ครั้งต่อปี หากใช้สิทธิครบแล้วผู้ป่วยสามารถเข้ารับบริการเพิ่มเติมได้ที่โรงพยาบาลตามสิทธิได้ หรือกรณีที่มีภาวะรุนแรงและต้องรับการรักษาที่โรงพยาบาลก็ส่งต่อไปรับบริการต่อไป
ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวถึงการให้บริการสิทธิประโยชน์ทันตกรรมในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง 30 บาท) โดย “หน่วยบริการนวัตกรรมคลินิกทันตกรรมเอกชน” ว่า จากข้อมูลการขึ้นทะเบียนหน่วยบริการของ สปสช. ณ วันที่ 6 มกราคม 2568 มีคลินิกทันตกรรมที่ร่วมขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการนวัตกรรมแล้วจำนวน 1,394 แห่ง ซึ่งได้รับการตอบรับจากประชาชนในการใช้สิทธิบัตรทองเข้ารับบริการอย่างมาก โดยปีงบประมาณ 2567 - 2568 (6 ม.ค. 68) มีผู้เข้ารับบริการจำนวน 368,870 คน เป็นจำนวน 666,664 ครั้ง สะท้อนให้เห็นถึงการเข้าถึงบริการทันตกรรมในระบบบัตรทองที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ เป็นผลมาจากนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ มีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนสามารถใช้สิทธิบัตรทองได้โดยสะดวก รวดเร็ว และใกล้บ้านได้ ซึ่งแต่เดิมแม้ว่าภายใต้ระบบบัตรทองจะมีชุดสิทธิประโยชน์บริการทันตกรรมที่ครอบคลุมให้กับประชาชนแล้ว ทั้งการสร้างเสริมป้องกัน การรักษา และฟื้นฟูสุขภาพช่องปากและฟัน พร้อมจัดสรรงบประมาณรองรับเบิกจ่ายค่าบริการ แต่ที่ผ่านมาพบว่าการใช้บริการของประชาชนยังมีไม่มาก ด้วยข้อจำกัดที่มีเพียงแต่หน่วยบริการของรัฐเท่านั้นที่ให้บริการทันตกรรมกับผู้ใช้สิทธิบัตรทอง ทำให้มีคิวรอบริการยาวเหยียด บางแห่งต้องรอคิวข้ามปีกันเลยทีเดียว ขณะที่มีคลินิกทันตกรรมเอกชนกระจายอยู่ทั่วประเทศเกือบ 7,000 แห่ง สามารถให้บริการประชาชนได้เหมือนกัน โดยที่รัฐไม่ต้องลงทุนสร้าง รพ.เพิ่มเติมแต่อย่างใด ทพ.อรรถพร กล่าวว่า สปสช. จึงได้ร่วมมือกับทันตแพทยสภา เชิญชวนคลินิกทันตกรรมเอกชน มาร่วมให้บริการทันตกรรมตามแนวทางเน้นการรักษาดูแลต่อเนื่องแบบปฐมภูมิ ทั้งการรักษาและการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากปีละ 3 ครั้ง โดยไม่มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากประชาชน ซึ่งตลอดระยะเวลาของการดำเนินการตามแผนขับเคลื่อน 30 บาทรักษาทุกที่ทั้ง 4 ระยะ ทันตแพทยสภาได้ร่วมกับ สปสช. ชี้แจงและทำความเข้าใจกับคลินิกทันตกรรมเอกชนต่างๆ เพื่อให้ความมั่นใจต่อการเข้าร่วมให้บริการในระบบ ทั้งรายการการให้บริการ การยืนยันตัวตนใช้สิทธิ การเบิกจ่าย และการจัดทำระบบและการเชอมต่อข้อมูลต่างๆ นอกจากนี้ยังได้ร่วมลงพื้นที่ไปยังคลินิกทันตกรรมในจังหวัดต่างๆ ที่เข้าร่วม อาทิ คลินิกทันตกรรมกู๊ด ฟ. ฟัน จ.เชียงใหม่ คลินิกทันตกรรม ซี สไมล์พลัส อ.เมือง จ.ลำพูน ไอสมายล์คลินิกทันตกรรม อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ และที่ คลินิกทันตกรรมทีสมายล์ จ.น่าน เป็นต้น ไม่เพียงแต่ติดตามการให้บริการผู้ใช้สิทธิบัตรทองตามคุณภาพและมาตรฐานแล้ว ยังได้รับทราบและแลกเปลี่ยนข้อมูลต่างๆ กับทางผู้ประกอบการคลินิกฯ ทันตแพทย์ และเจ้าหน้าที่คลินิกฯ ที่ให้บริการ รวมถึงการสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้สิทธิบัตรทองที่มารับบริการ ก็ได้รับคำตอบว่ามีความพึงพอใจมาก เพราะได้ใช้สิทธิบัตรทองทำฟัน ใช้เวลาน้อย ไม่ต้องรอคิวนานที่โรงพยาบาลเหมือนแต่ก่อน และไม่เสียค่าใช้จ่าย ทำให้มีประชาชนใช้บริการแล้วจำนวนมาก ทั้งนี้ สิทธิประโยชน์บัตรทอง รายการบริการทันตกรรมที่คลินิกทันตกรรม มี 6 รายการ ดังนี้ 1.ตรวจสุขภาพช่องปาก 2.ขูดหินปูน 3.อุดฟัน 4.ถอนฟัน 5.เคลือบหลุมร่องฟัน และ 6.เคลือบฟลูออไรด์ โดยสามารถเข้ารับบริการได้คนละ 3 ครั้งต่อปี หากใช้สิทธิครบแล้วผู้ป่วยสามารถเข้ารับบริการเพิ่มเติมได้ที่โรงพยาบาลตามสิทธิได้ หรือกรณีที่มีภาวะรุนแรงและต้องรับการรักษาที่โรงพยาบาลก็ส่งต่อไปรับบริการต่อไป
Like
1
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 236 มุมมอง 0 รีวิว