สหรัฐฯ "มีความกังวลอย่างมาก" ที่รัสเซียอาจกำลังพิจารณาใช้อาวุธนิวเคลียร์ จากสุ้มเสียงของ แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศอเมริกา ระหว่างให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทม์ส
.
ความเห็นนี้เป็นการตอบคำกล่าวเกี่ยวกับคำกล่าวหารัสเซียข่มขู่ทางนิวเคลียร์ ดูเหมือนเป็นการอ้างถึงกรณีที่มอสโกเปลี่ยนแปลงหลักการทางนิวเคลียร์เมื่อปีที่แล้ว
.
รัสเซียอัปเดตหลักการทางนิวเคลียร์ ครั้งที่บรรดาผู้สนับสนุนตะวันตกของยูเครน ในนั้นรวมถึงสหรัฐฯ กำลังพิจารณาอนุญาตให้เคียฟใช้อาวุธที่ตะวันตกจัดหาให้ โจมตีเล่นงานเป้าหมายต่างๆ ที่อยู่ลึกเข้าไปในดินแดนของรัสเซีย
.
ในเดือนพฤศจิกายน ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย อนุมัติแก้ไขหลักการทางนิวเคลียร์ ขยายขอบเขตเงื่อนไขที่จะนำมาซึ่งการตอบโต้ทางนิวเคลียร์ โดยการอัปเดตดังกล่าว ในนั้นรวมถึงกรณีที่ถูกรุกรานโดยกองกำลังรัฐหรือกลุ่มรัฐที่ไม่มีอาวุธนิวเคลียร์ในครอบครอง แต่อยู่ภายใต้การสนับสนุนของรัฐนิวเคลียร์ จะถูกมองว่าเป็น "การโจมตีร่วม"
.
อย่างไรก็ตาม หลักการดังกล่าวให้คำนิยามอาวุธนิวเคลียร์ว่าเป็น "มาตรการสุดขั้วและบีบบังคับ" และเน้นย้ำว่าเป้าหมายของมอสโกคือป้องกันความตึงเครียดที่อาจนำมาซึ่งความขัดแย้งทางทหาร ในนั้นรวมถึงความขัดแย้งทางนิวเคลียร์
.
บลิงเคน บอกว่าวอชิงตันมองความเคลื่อนไหวของรัสเซียในการเปลี่ยนแปลงหลักการดังกล่าวว่าเป็นการยกระดับความเสี่ยงสถานการณ์ลุกลามบานปลายทางนิวเคลียร์ "แม้หากความเป็นไปได้เพิ่มขึ้นแค่จาก 5% เป็น 15% ในเรื่องเกี่ยวกับอาวุธนิวเคลียร์ มันก็ไม่มีอะไรร้ายแรงกว่านี้อีกแล้ว" รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าว ก่อนหน้านี้เขาเคยวิจารณ์แผนอัปเดตหลักการนิวเคลียร์ของรัสเซียว่า "ไร้ความรับผิดชอบ" ครั้งที่มีการแถลงในเรื่องนี้เป็นครั้งแรกในเดือนกันยายนปีก่อน
.
นอกจากนี้แล้ว บลิงเคน กล่าวอ้างว่า จีนอาจมีอิทธิพลเหนือรัสเซีย โน้มน้าวไม่ให้มอสโกใช้อาวุธนิวเคลียร์ "เรามีเหตุผลที่จะเชื่อว่าจีนพูดคุยกับรัสเซีย และบอกว่าอย่าไปถึงจุดนั้น" พร้อมบ่งชี้ว่า จีนอาจดำเนินการแบบเดียวกัน ครั้งที่สหรัฐฯ กล่าวหารัสเซีย กำลังวางแผนประจำการอาวุธนิวเคลียร์ในอวกาศ คำกล่าวหาที่มอสโกตอบโต้ว่าเป็น "ข่าวปลอม"
.
มอสโก คือชาติที่มีคลังแสงนิวเคลียร์ใหญ่ที่สุดในโลก และเจ้าหน้าที่รัสเซียเน้นย้ำว่าพวกเขาพิจารณาอาวุธชนิดนี้ในฐานะเป็น "ทางเลือกสุดท้าย"
.
หลังจากอัปเดตหลักการนิวเคลียร์ในเดือนพฤศจิกายน เซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย กล่าวว่า "มอสโกสนับสนุนอย่างแน่วแน่ต่อการทำทุกอย่างเพื่อป้องกันสงครามนิวเคลียร์" พร้อมระบุว่าคลังแสงของรัสเซียมีเจตนาเพื่อป้องปรามการรุกรานและเป็นหนทางแห่งการป้องกันความขัดแย้งนิวเคลียร์
.
อย่างไรก็ตาม วังเครมลินระบุมาช้านานว่า ความเคลื่อนไหวยกระดับกองทัพสหรัฐฯ และประจำการขีปนาวุธศักยภาพติดหัวรบนิวเคลียร์ทั่วโลก อาจกระตุ้นการตอบโต้อย่างทัดเทียม โดยเมื่อเดือนที่แล้ว รัสเซียและเบลารุส ลงนามในสนธิสัญญาความมั่นคงที่จะทำให้การประจำการระบบขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิก "โอเรสชุก" ศักยภาพติดหัวรบนิวเคลียร์ของรัสเซีย ในเบลารุสในปีหน้าเป็นรูปธรรมขึ้นมา
.
ขีปนาวุธชนิดนี้ ทางมอสโกบอกว่าไม่มีระบบป้องกันขีปนาวุธไหนๆ ของตะวันตกในปัจจุบันที่สามารถสกัดได้ ขณะที่มันมีศักยภาพโจมตีไปถึงเป้าหมายต่างๆ ทั่วยุโรปภายในไม่กี่นาที
.
อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000001226
..............
Sondhi X
.
ความเห็นนี้เป็นการตอบคำกล่าวเกี่ยวกับคำกล่าวหารัสเซียข่มขู่ทางนิวเคลียร์ ดูเหมือนเป็นการอ้างถึงกรณีที่มอสโกเปลี่ยนแปลงหลักการทางนิวเคลียร์เมื่อปีที่แล้ว
.
รัสเซียอัปเดตหลักการทางนิวเคลียร์ ครั้งที่บรรดาผู้สนับสนุนตะวันตกของยูเครน ในนั้นรวมถึงสหรัฐฯ กำลังพิจารณาอนุญาตให้เคียฟใช้อาวุธที่ตะวันตกจัดหาให้ โจมตีเล่นงานเป้าหมายต่างๆ ที่อยู่ลึกเข้าไปในดินแดนของรัสเซีย
.
ในเดือนพฤศจิกายน ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย อนุมัติแก้ไขหลักการทางนิวเคลียร์ ขยายขอบเขตเงื่อนไขที่จะนำมาซึ่งการตอบโต้ทางนิวเคลียร์ โดยการอัปเดตดังกล่าว ในนั้นรวมถึงกรณีที่ถูกรุกรานโดยกองกำลังรัฐหรือกลุ่มรัฐที่ไม่มีอาวุธนิวเคลียร์ในครอบครอง แต่อยู่ภายใต้การสนับสนุนของรัฐนิวเคลียร์ จะถูกมองว่าเป็น "การโจมตีร่วม"
.
อย่างไรก็ตาม หลักการดังกล่าวให้คำนิยามอาวุธนิวเคลียร์ว่าเป็น "มาตรการสุดขั้วและบีบบังคับ" และเน้นย้ำว่าเป้าหมายของมอสโกคือป้องกันความตึงเครียดที่อาจนำมาซึ่งความขัดแย้งทางทหาร ในนั้นรวมถึงความขัดแย้งทางนิวเคลียร์
.
บลิงเคน บอกว่าวอชิงตันมองความเคลื่อนไหวของรัสเซียในการเปลี่ยนแปลงหลักการดังกล่าวว่าเป็นการยกระดับความเสี่ยงสถานการณ์ลุกลามบานปลายทางนิวเคลียร์ "แม้หากความเป็นไปได้เพิ่มขึ้นแค่จาก 5% เป็น 15% ในเรื่องเกี่ยวกับอาวุธนิวเคลียร์ มันก็ไม่มีอะไรร้ายแรงกว่านี้อีกแล้ว" รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าว ก่อนหน้านี้เขาเคยวิจารณ์แผนอัปเดตหลักการนิวเคลียร์ของรัสเซียว่า "ไร้ความรับผิดชอบ" ครั้งที่มีการแถลงในเรื่องนี้เป็นครั้งแรกในเดือนกันยายนปีก่อน
.
นอกจากนี้แล้ว บลิงเคน กล่าวอ้างว่า จีนอาจมีอิทธิพลเหนือรัสเซีย โน้มน้าวไม่ให้มอสโกใช้อาวุธนิวเคลียร์ "เรามีเหตุผลที่จะเชื่อว่าจีนพูดคุยกับรัสเซีย และบอกว่าอย่าไปถึงจุดนั้น" พร้อมบ่งชี้ว่า จีนอาจดำเนินการแบบเดียวกัน ครั้งที่สหรัฐฯ กล่าวหารัสเซีย กำลังวางแผนประจำการอาวุธนิวเคลียร์ในอวกาศ คำกล่าวหาที่มอสโกตอบโต้ว่าเป็น "ข่าวปลอม"
.
มอสโก คือชาติที่มีคลังแสงนิวเคลียร์ใหญ่ที่สุดในโลก และเจ้าหน้าที่รัสเซียเน้นย้ำว่าพวกเขาพิจารณาอาวุธชนิดนี้ในฐานะเป็น "ทางเลือกสุดท้าย"
.
หลังจากอัปเดตหลักการนิวเคลียร์ในเดือนพฤศจิกายน เซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย กล่าวว่า "มอสโกสนับสนุนอย่างแน่วแน่ต่อการทำทุกอย่างเพื่อป้องกันสงครามนิวเคลียร์" พร้อมระบุว่าคลังแสงของรัสเซียมีเจตนาเพื่อป้องปรามการรุกรานและเป็นหนทางแห่งการป้องกันความขัดแย้งนิวเคลียร์
.
อย่างไรก็ตาม วังเครมลินระบุมาช้านานว่า ความเคลื่อนไหวยกระดับกองทัพสหรัฐฯ และประจำการขีปนาวุธศักยภาพติดหัวรบนิวเคลียร์ทั่วโลก อาจกระตุ้นการตอบโต้อย่างทัดเทียม โดยเมื่อเดือนที่แล้ว รัสเซียและเบลารุส ลงนามในสนธิสัญญาความมั่นคงที่จะทำให้การประจำการระบบขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิก "โอเรสชุก" ศักยภาพติดหัวรบนิวเคลียร์ของรัสเซีย ในเบลารุสในปีหน้าเป็นรูปธรรมขึ้นมา
.
ขีปนาวุธชนิดนี้ ทางมอสโกบอกว่าไม่มีระบบป้องกันขีปนาวุธไหนๆ ของตะวันตกในปัจจุบันที่สามารถสกัดได้ ขณะที่มันมีศักยภาพโจมตีไปถึงเป้าหมายต่างๆ ทั่วยุโรปภายในไม่กี่นาที
.
อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000001226
..............
Sondhi X
สหรัฐฯ "มีความกังวลอย่างมาก" ที่รัสเซียอาจกำลังพิจารณาใช้อาวุธนิวเคลียร์ จากสุ้มเสียงของ แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศอเมริกา ระหว่างให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทม์ส
.
ความเห็นนี้เป็นการตอบคำกล่าวเกี่ยวกับคำกล่าวหารัสเซียข่มขู่ทางนิวเคลียร์ ดูเหมือนเป็นการอ้างถึงกรณีที่มอสโกเปลี่ยนแปลงหลักการทางนิวเคลียร์เมื่อปีที่แล้ว
.
รัสเซียอัปเดตหลักการทางนิวเคลียร์ ครั้งที่บรรดาผู้สนับสนุนตะวันตกของยูเครน ในนั้นรวมถึงสหรัฐฯ กำลังพิจารณาอนุญาตให้เคียฟใช้อาวุธที่ตะวันตกจัดหาให้ โจมตีเล่นงานเป้าหมายต่างๆ ที่อยู่ลึกเข้าไปในดินแดนของรัสเซีย
.
ในเดือนพฤศจิกายน ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย อนุมัติแก้ไขหลักการทางนิวเคลียร์ ขยายขอบเขตเงื่อนไขที่จะนำมาซึ่งการตอบโต้ทางนิวเคลียร์ โดยการอัปเดตดังกล่าว ในนั้นรวมถึงกรณีที่ถูกรุกรานโดยกองกำลังรัฐหรือกลุ่มรัฐที่ไม่มีอาวุธนิวเคลียร์ในครอบครอง แต่อยู่ภายใต้การสนับสนุนของรัฐนิวเคลียร์ จะถูกมองว่าเป็น "การโจมตีร่วม"
.
อย่างไรก็ตาม หลักการดังกล่าวให้คำนิยามอาวุธนิวเคลียร์ว่าเป็น "มาตรการสุดขั้วและบีบบังคับ" และเน้นย้ำว่าเป้าหมายของมอสโกคือป้องกันความตึงเครียดที่อาจนำมาซึ่งความขัดแย้งทางทหาร ในนั้นรวมถึงความขัดแย้งทางนิวเคลียร์
.
บลิงเคน บอกว่าวอชิงตันมองความเคลื่อนไหวของรัสเซียในการเปลี่ยนแปลงหลักการดังกล่าวว่าเป็นการยกระดับความเสี่ยงสถานการณ์ลุกลามบานปลายทางนิวเคลียร์ "แม้หากความเป็นไปได้เพิ่มขึ้นแค่จาก 5% เป็น 15% ในเรื่องเกี่ยวกับอาวุธนิวเคลียร์ มันก็ไม่มีอะไรร้ายแรงกว่านี้อีกแล้ว" รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าว ก่อนหน้านี้เขาเคยวิจารณ์แผนอัปเดตหลักการนิวเคลียร์ของรัสเซียว่า "ไร้ความรับผิดชอบ" ครั้งที่มีการแถลงในเรื่องนี้เป็นครั้งแรกในเดือนกันยายนปีก่อน
.
นอกจากนี้แล้ว บลิงเคน กล่าวอ้างว่า จีนอาจมีอิทธิพลเหนือรัสเซีย โน้มน้าวไม่ให้มอสโกใช้อาวุธนิวเคลียร์ "เรามีเหตุผลที่จะเชื่อว่าจีนพูดคุยกับรัสเซีย และบอกว่าอย่าไปถึงจุดนั้น" พร้อมบ่งชี้ว่า จีนอาจดำเนินการแบบเดียวกัน ครั้งที่สหรัฐฯ กล่าวหารัสเซีย กำลังวางแผนประจำการอาวุธนิวเคลียร์ในอวกาศ คำกล่าวหาที่มอสโกตอบโต้ว่าเป็น "ข่าวปลอม"
.
มอสโก คือชาติที่มีคลังแสงนิวเคลียร์ใหญ่ที่สุดในโลก และเจ้าหน้าที่รัสเซียเน้นย้ำว่าพวกเขาพิจารณาอาวุธชนิดนี้ในฐานะเป็น "ทางเลือกสุดท้าย"
.
หลังจากอัปเดตหลักการนิวเคลียร์ในเดือนพฤศจิกายน เซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย กล่าวว่า "มอสโกสนับสนุนอย่างแน่วแน่ต่อการทำทุกอย่างเพื่อป้องกันสงครามนิวเคลียร์" พร้อมระบุว่าคลังแสงของรัสเซียมีเจตนาเพื่อป้องปรามการรุกรานและเป็นหนทางแห่งการป้องกันความขัดแย้งนิวเคลียร์
.
อย่างไรก็ตาม วังเครมลินระบุมาช้านานว่า ความเคลื่อนไหวยกระดับกองทัพสหรัฐฯ และประจำการขีปนาวุธศักยภาพติดหัวรบนิวเคลียร์ทั่วโลก อาจกระตุ้นการตอบโต้อย่างทัดเทียม โดยเมื่อเดือนที่แล้ว รัสเซียและเบลารุส ลงนามในสนธิสัญญาความมั่นคงที่จะทำให้การประจำการระบบขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิก "โอเรสชุก" ศักยภาพติดหัวรบนิวเคลียร์ของรัสเซีย ในเบลารุสในปีหน้าเป็นรูปธรรมขึ้นมา
.
ขีปนาวุธชนิดนี้ ทางมอสโกบอกว่าไม่มีระบบป้องกันขีปนาวุธไหนๆ ของตะวันตกในปัจจุบันที่สามารถสกัดได้ ขณะที่มันมีศักยภาพโจมตีไปถึงเป้าหมายต่างๆ ทั่วยุโรปภายในไม่กี่นาที
.
อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000001226
..............
Sondhi X