“นพดล ปัทมะ” คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนแรกของประเทศไทย ลงนามในแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ/ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
ณ บ้านพระอาทิตย์
ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

ประเด็นที่  นายนพดล ปัทมะ อ้างว่า ปราสาทพระวิหารได้เป็นของกัมพูชาตามคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเมื่อปี พ.ศ.2505 แล้ว แถลงการณ์ร่วมระหว่างไทย-กัมพูชา จึงไม่กระทบต่อประเทศไทยใดๆเกี่ยวกับปราสาทพระวิหารเป็นความจริงที่พูดไม่ครบเพราะ

ประการแรก นายนพดลอาจจะไม่ได้ตระหนักว่า นายถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในเวลานั้นได้ยื่นหนังสือ “ข้อสงวนที่จะทวงคืนปราสาทพระวิหารในวันข้างหน้า” ถึงผู้รักษาการเลขาธิการสหประชาชาติเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 เอาไว้ด้วย โดยผู้รักษาการเลขาธิการสหประชาชาติก็ไม่มีข้อปฏิเสธใดๆ

ข้อสงวนดังกล่าวเป็นการแสดงออกของรัฐบาลไทย ถึงความอยุติธรรมของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ 

ข้อสงวนดังกล่าวไม่ได้อ้างข้อบทบัญญัติในศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ แต่เมื่อฝ่ายไทยเพลี่ยงพล้ำในเวทีนี้ ฝ่ายไทยก็ไม่ได้เป็นสมาชิกของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศอีกจนถึงปัจจุบัน และข้อสงวนของฝ่ายไทยนั้นก็ไม่ได้อ้างอิงข้อบทในกฎหมายของศาลยุติธรรมต่างประเทศในเวลานั้น หากแต่วันหนึ่งในวันข้างหน้าที่กฎหมายพัฒนา หรือเกิดสิทธิที่ถูกต้องเป็นธรรมขึ้น ก็พร้อมที่จะทวงคืนประสาทพระวิหารกลับคืนมาด้วย จึงเป็นการสงวนสิทธิ์ในอนาคตแบบไม่ได้กำหนดระยะเวลา

ดังนั้น การอ้างว่าไทยได้แพ้ในคดีปราสาทพระวิหารไปแล้ว การลงนามในแถลงการณ์ร่วมระหว่างไทย-กัมพูชา จึงไม่ได้เป็นการยกปราสาทพระวิหารให้เป็นมรดกโลกของกัมพูชาฝ่ายเดียวนั้น จึงต้องตั้งคำถามว่ารัฐบาลไทยได้ละทิ้งข้อสงวนของไทยที่นายถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ที่ในเวลานั้นได้ยื่นหนังสือ “ข้อสงวน” ถึงผู้รักษาการเลขาธิการสหประชาชาติเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 จริงหรือไม่?

 ประการที่สอง ประเด็นการขึ้นทะเบียนมรดกโลกของตัวปราสาทวิหารนั้นจะไม่สามารถทำได้ หากไม่มีพื้นที่พัฒนา พื้นที่กันชน ซึ่งเป็นเรื่อง “แผ่นดิน” นอกเหนือจาก “ตัวปราสาทพระวิหาร” ตามคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เมื่อปี พ.ศ. 2505 จึงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนว่า มีการยินยอมจากฝ่ายไทยในแผนผัง(N1, N2, N3) ให้ตัวปราสาทพระวิหารขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกของกัมพูชาฝ่ายเดียวในแถลงการณ์ร่วมระหว่างไทย-กัมพูชาได้อย่างไร โดยไม่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา

ความจริงเรื่องนี้ไม่ควรจะถกเถียงใดๆ อีกแล้ว เพราะศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยที่ 6-7/2511 เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ.2551 ได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดสิ้นสุดไปแล้ว ในคดีที่สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า แถลงการณ์ร่วมระหว่างไทย-กัมพูชา ฉบับลงวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ.2551 เป็นหนังสือสัญญาที่ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 หรือไม่ โดยปรากฏคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในหน้าที่ 23-24 ความตอนหนึ่งว่า

“ส่วนเรื่องอาณาเขตของประเทศนั้น ถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในบริเวณที่ยังมีข้อขัดแย้งกันอยู่ระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศ การดำเนินการและการพิจารณาวินิจฉัยในเรื่องนี้จึงต้องกระทำอย่างรอบคอบ หากเป็นกรณีที่อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของประเทศแล้ว ย่อมจะต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 วรรคสองด้วย

สำหรับคำแถลงการณ์ร่วม-กัมพูชา ฉบับลงวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2551 นั้น แม้จะไม่ได้ปรากฏสาระสำคัญอย่างชัดเจนว่าเป็นหนังสือสัญญาที่มีบทเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่อันเป็นอาณาเขตของประเทศไทยก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาข้อบททั้งหมดในคำแถลงการณ์ร่วมประกอบกับแผนที่หรือแผนผังแนบท้ายซึ่งจัดทำขึ้นโดยประเทศกัมพูชาแต่เพียงฝ่ายเดียว อันประกอบเป็นส่วนหนึ่งของคำแถลงการณ์ร่วมแล้ว จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าแผนที่ดังกล่าวได้กล่าวอ้างถึงพื้นที่ N.1 N.2 และ N.3 ได้ชัดเจนว่ามีบริเวณครอบคลุมส่วนใดของประเทศใดเป็นจำนวนเท่าใด ซึ่งเป็นการสุ่มเสี่ยงต่อผลกระทบเรื่องอาณาเขตของประเทศไทย อันเป็นปัญหาที่ละเอียดอ่อนและอาจก่อให้เกิดข้อพิพาทระหว่างประเทศตอบไปภายหน้าได้ 

ประกอบกับการที่ประเทศกัมพูชาขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกนั้นมีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ที่เป็นประเด็นโต้เถียงกันในเรื่องของเส้นเขตแดนและขอบเขตที่ปราสาทตั้งอยู่ ทั้งเป็นประเด็นที่มีความเห็นแตกต่างกันทั้งทางด้านสังคมและการเมืองมาโดยตลอด

การที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ดำเนินการเจรจากับประเทศกัมพูชาก่อนที่จะได้มีการลงนามคำแถลงการร่วมดังกล่าว พึงเล็งเห็นได้ว่า การลงนามคำแถลงการณ์ร่วมไป ก็อาจก่อให้เกิดการแตกแยกกันทางด้านความคิดเห็นของคนในสังคมทั้งสองประเทศ อีกทั้งอาจก่อให้เกิดวิกฤติแก่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา อันมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางสังคมอย่างกว้างขวาง คำแถลงการณ์ร่วมดังกล่าวจึงเป็นหนังสือสัญญาที่อาจมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตประเทศไทย จึงเป็นหนังสือสัญญาที่รัฐธรรมนูญมาตรา 190 วรรคสอง กำหนดให้ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา

อาศัยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ศาลรัฐธรรมนูญจึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คำแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา หรือ Joint Communiqe’ ฉบับลงวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2551 เป็นหนังสือสัญญาที่อาจมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของประเทศ ทั้งยังมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางสังคมของประเทศอย่างกว้างขวางอีกด้วย ซึ่งต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาตามประมวลมาตรา 190 วรรคสอง”

ดังนั้น การโพสต์ว่านายนพดล ปัทมะ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ที่ไปลงนามในแถลงการณ์ร่วมระหว่างไทย-กัมพูชา ในกรณีให้ปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชาโดยไม่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา เป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญนั้น เป็นการใส่ร้ายตรงไหน และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนแรกในประเทศไทยที่ลงนามในแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาที่ไม่ชอบรัฐธรรมนูญนั้นผิดตรงไหน?

ต่อมาคำพิพากษาศาลฎีกาสำนวนคดีหมายเลขดำ ที่ อม.3/2556 เมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2558 ว่านายนพดล ปัทมะ ไม่มีความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 นั้น ในประเด็นแห่งคดีที่ว่านายนพดล ปัทมะ ไม่ได้นำเรื่องแถลงการณ์ร่วมระหว่างไทย-กัมพูชาไม่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภานั้น ศาลฟังไม่ได้ว่า “จำเลยมีเจตนาหลีกเลี่ยงไม่นำร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ให้รัฐสภาพิจารณาเห็นชอบ”

  แปลว่าเราต้องเคารพคำวินิจฉันของศาลรัฐธรรมนูญ และคำพิพากษาของศาลฎีกาซึ่งสรุปสั้นๆ ได้คือ นายนพดล ปัทมะ ในสมัยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ลงนามในแถลงการณ์ร่วมระหว่างไทย-กัมพูชา ให้ปราสาทพระวิหารขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกพร้อมแผนผังนั้น เป็นการกระทำที่ไม่ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา และขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนแรกของประเทศไทยที่กระทำขัดต่อรัฐธรรมนูญ เพียงแต่ในอีกคดีหนึ่งที่ศาลฎีกาเห็นว่าไม่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพราะไม่ได้มี “เจตนาหลีกเลี่ยงไม่นำร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ให้รัฐสภาพิจารณาเห็นชอบ”

จึงต้องตั้งคำถามต่อจากนายนพดล ปัทมะ ที่ตั้งประเด็นในการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า จะให้เชื่อใครระหว่างนายสนธิ ลิ้มทองกุลและคณะ กับกรมสนธิสัญญาระหว่างประเทศ ของประเทศไทยนั้น ประเทศไทยได้รับบทเรียนจากกระทรวงการต่างประเทศที่ได้มีการกระทำแบบที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ แพ้คำตัดสินตัวปราสาทพระวิหารในศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในปี พ.ศ. 2505 แพ้การตีความพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารเพิ่มเติมในปี พ.ศ. 2556 ดังนั้นการที่มาตั้งคำถามเพื่อด้อยค่าการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนในทำนองว่าอาจจะมีความรู้น้อยกว่า กรมสนธิสัญญากระทรวงการต่างประเทศจึงไม่น่าเชื่อถือ โดยไม่ฟังเสียงทักท้วงจากประชาชน ถูกต้องแล้วหรือ?

จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงต้องตั้งคำถามว่าข้อความต่อไปนี้ ไม่ใช่ความเท็จ และไม่ใช่การใส่ร้ายป้ายดีใดๆ จริงหรือไม่ ดังจะได้บันทึกให้อ่านกันเป็นข้อความซ้ำกัน 3 ครั้ง ความว่า

 “นายนพดล ปัทมะ คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนแรกของประเทศไทย ลงนามในแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ”

 “นายนพดล ปัทมะ คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนแรกของประเทศไทย ลงนามในแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ”

  “นายนพดล ปัทมะ คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนแรกของประเทศไทย ลงนามในแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ”

ด้วยจิตคารวะ
ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต



“นพดล ปัทมะ” คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนแรกของประเทศไทย ลงนามในแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ/ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ณ บ้านพระอาทิตย์ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ประเด็นที่  นายนพดล ปัทมะ อ้างว่า ปราสาทพระวิหารได้เป็นของกัมพูชาตามคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเมื่อปี พ.ศ.2505 แล้ว แถลงการณ์ร่วมระหว่างไทย-กัมพูชา จึงไม่กระทบต่อประเทศไทยใดๆเกี่ยวกับปราสาทพระวิหารเป็นความจริงที่พูดไม่ครบเพราะ ประการแรก นายนพดลอาจจะไม่ได้ตระหนักว่า นายถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในเวลานั้นได้ยื่นหนังสือ “ข้อสงวนที่จะทวงคืนปราสาทพระวิหารในวันข้างหน้า” ถึงผู้รักษาการเลขาธิการสหประชาชาติเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 เอาไว้ด้วย โดยผู้รักษาการเลขาธิการสหประชาชาติก็ไม่มีข้อปฏิเสธใดๆ ข้อสงวนดังกล่าวเป็นการแสดงออกของรัฐบาลไทย ถึงความอยุติธรรมของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ  ข้อสงวนดังกล่าวไม่ได้อ้างข้อบทบัญญัติในศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ แต่เมื่อฝ่ายไทยเพลี่ยงพล้ำในเวทีนี้ ฝ่ายไทยก็ไม่ได้เป็นสมาชิกของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศอีกจนถึงปัจจุบัน และข้อสงวนของฝ่ายไทยนั้นก็ไม่ได้อ้างอิงข้อบทในกฎหมายของศาลยุติธรรมต่างประเทศในเวลานั้น หากแต่วันหนึ่งในวันข้างหน้าที่กฎหมายพัฒนา หรือเกิดสิทธิที่ถูกต้องเป็นธรรมขึ้น ก็พร้อมที่จะทวงคืนประสาทพระวิหารกลับคืนมาด้วย จึงเป็นการสงวนสิทธิ์ในอนาคตแบบไม่ได้กำหนดระยะเวลา ดังนั้น การอ้างว่าไทยได้แพ้ในคดีปราสาทพระวิหารไปแล้ว การลงนามในแถลงการณ์ร่วมระหว่างไทย-กัมพูชา จึงไม่ได้เป็นการยกปราสาทพระวิหารให้เป็นมรดกโลกของกัมพูชาฝ่ายเดียวนั้น จึงต้องตั้งคำถามว่ารัฐบาลไทยได้ละทิ้งข้อสงวนของไทยที่นายถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ที่ในเวลานั้นได้ยื่นหนังสือ “ข้อสงวน” ถึงผู้รักษาการเลขาธิการสหประชาชาติเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 จริงหรือไม่?  ประการที่สอง ประเด็นการขึ้นทะเบียนมรดกโลกของตัวปราสาทวิหารนั้นจะไม่สามารถทำได้ หากไม่มีพื้นที่พัฒนา พื้นที่กันชน ซึ่งเป็นเรื่อง “แผ่นดิน” นอกเหนือจาก “ตัวปราสาทพระวิหาร” ตามคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เมื่อปี พ.ศ. 2505 จึงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนว่า มีการยินยอมจากฝ่ายไทยในแผนผัง(N1, N2, N3) ให้ตัวปราสาทพระวิหารขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกของกัมพูชาฝ่ายเดียวในแถลงการณ์ร่วมระหว่างไทย-กัมพูชาได้อย่างไร โดยไม่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา ความจริงเรื่องนี้ไม่ควรจะถกเถียงใดๆ อีกแล้ว เพราะศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยที่ 6-7/2511 เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ.2551 ได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดสิ้นสุดไปแล้ว ในคดีที่สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า แถลงการณ์ร่วมระหว่างไทย-กัมพูชา ฉบับลงวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ.2551 เป็นหนังสือสัญญาที่ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 หรือไม่ โดยปรากฏคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในหน้าที่ 23-24 ความตอนหนึ่งว่า “ส่วนเรื่องอาณาเขตของประเทศนั้น ถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในบริเวณที่ยังมีข้อขัดแย้งกันอยู่ระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศ การดำเนินการและการพิจารณาวินิจฉัยในเรื่องนี้จึงต้องกระทำอย่างรอบคอบ หากเป็นกรณีที่อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของประเทศแล้ว ย่อมจะต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 วรรคสองด้วย สำหรับคำแถลงการณ์ร่วม-กัมพูชา ฉบับลงวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2551 นั้น แม้จะไม่ได้ปรากฏสาระสำคัญอย่างชัดเจนว่าเป็นหนังสือสัญญาที่มีบทเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่อันเป็นอาณาเขตของประเทศไทยก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาข้อบททั้งหมดในคำแถลงการณ์ร่วมประกอบกับแผนที่หรือแผนผังแนบท้ายซึ่งจัดทำขึ้นโดยประเทศกัมพูชาแต่เพียงฝ่ายเดียว อันประกอบเป็นส่วนหนึ่งของคำแถลงการณ์ร่วมแล้ว จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าแผนที่ดังกล่าวได้กล่าวอ้างถึงพื้นที่ N.1 N.2 และ N.3 ได้ชัดเจนว่ามีบริเวณครอบคลุมส่วนใดของประเทศใดเป็นจำนวนเท่าใด ซึ่งเป็นการสุ่มเสี่ยงต่อผลกระทบเรื่องอาณาเขตของประเทศไทย อันเป็นปัญหาที่ละเอียดอ่อนและอาจก่อให้เกิดข้อพิพาทระหว่างประเทศตอบไปภายหน้าได้  ประกอบกับการที่ประเทศกัมพูชาขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกนั้นมีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ที่เป็นประเด็นโต้เถียงกันในเรื่องของเส้นเขตแดนและขอบเขตที่ปราสาทตั้งอยู่ ทั้งเป็นประเด็นที่มีความเห็นแตกต่างกันทั้งทางด้านสังคมและการเมืองมาโดยตลอด การที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ดำเนินการเจรจากับประเทศกัมพูชาก่อนที่จะได้มีการลงนามคำแถลงการร่วมดังกล่าว พึงเล็งเห็นได้ว่า การลงนามคำแถลงการณ์ร่วมไป ก็อาจก่อให้เกิดการแตกแยกกันทางด้านความคิดเห็นของคนในสังคมทั้งสองประเทศ อีกทั้งอาจก่อให้เกิดวิกฤติแก่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา อันมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางสังคมอย่างกว้างขวาง คำแถลงการณ์ร่วมดังกล่าวจึงเป็นหนังสือสัญญาที่อาจมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตประเทศไทย จึงเป็นหนังสือสัญญาที่รัฐธรรมนูญมาตรา 190 วรรคสอง กำหนดให้ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา อาศัยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ศาลรัฐธรรมนูญจึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คำแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา หรือ Joint Communiqe’ ฉบับลงวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2551 เป็นหนังสือสัญญาที่อาจมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของประเทศ ทั้งยังมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางสังคมของประเทศอย่างกว้างขวางอีกด้วย ซึ่งต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาตามประมวลมาตรา 190 วรรคสอง” ดังนั้น การโพสต์ว่านายนพดล ปัทมะ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ที่ไปลงนามในแถลงการณ์ร่วมระหว่างไทย-กัมพูชา ในกรณีให้ปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชาโดยไม่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา เป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญนั้น เป็นการใส่ร้ายตรงไหน และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนแรกในประเทศไทยที่ลงนามในแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาที่ไม่ชอบรัฐธรรมนูญนั้นผิดตรงไหน? ต่อมาคำพิพากษาศาลฎีกาสำนวนคดีหมายเลขดำ ที่ อม.3/2556 เมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2558 ว่านายนพดล ปัทมะ ไม่มีความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 นั้น ในประเด็นแห่งคดีที่ว่านายนพดล ปัทมะ ไม่ได้นำเรื่องแถลงการณ์ร่วมระหว่างไทย-กัมพูชาไม่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภานั้น ศาลฟังไม่ได้ว่า “จำเลยมีเจตนาหลีกเลี่ยงไม่นำร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ให้รัฐสภาพิจารณาเห็นชอบ”   แปลว่าเราต้องเคารพคำวินิจฉันของศาลรัฐธรรมนูญ และคำพิพากษาของศาลฎีกาซึ่งสรุปสั้นๆ ได้คือ นายนพดล ปัทมะ ในสมัยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ลงนามในแถลงการณ์ร่วมระหว่างไทย-กัมพูชา ให้ปราสาทพระวิหารขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกพร้อมแผนผังนั้น เป็นการกระทำที่ไม่ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา และขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนแรกของประเทศไทยที่กระทำขัดต่อรัฐธรรมนูญ เพียงแต่ในอีกคดีหนึ่งที่ศาลฎีกาเห็นว่าไม่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพราะไม่ได้มี “เจตนาหลีกเลี่ยงไม่นำร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ให้รัฐสภาพิจารณาเห็นชอบ” จึงต้องตั้งคำถามต่อจากนายนพดล ปัทมะ ที่ตั้งประเด็นในการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า จะให้เชื่อใครระหว่างนายสนธิ ลิ้มทองกุลและคณะ กับกรมสนธิสัญญาระหว่างประเทศ ของประเทศไทยนั้น ประเทศไทยได้รับบทเรียนจากกระทรวงการต่างประเทศที่ได้มีการกระทำแบบที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ แพ้คำตัดสินตัวปราสาทพระวิหารในศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในปี พ.ศ. 2505 แพ้การตีความพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารเพิ่มเติมในปี พ.ศ. 2556 ดังนั้นการที่มาตั้งคำถามเพื่อด้อยค่าการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนในทำนองว่าอาจจะมีความรู้น้อยกว่า กรมสนธิสัญญากระทรวงการต่างประเทศจึงไม่น่าเชื่อถือ โดยไม่ฟังเสียงทักท้วงจากประชาชน ถูกต้องแล้วหรือ? จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงต้องตั้งคำถามว่าข้อความต่อไปนี้ ไม่ใช่ความเท็จ และไม่ใช่การใส่ร้ายป้ายดีใดๆ จริงหรือไม่ ดังจะได้บันทึกให้อ่านกันเป็นข้อความซ้ำกัน 3 ครั้ง ความว่า  “นายนพดล ปัทมะ คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนแรกของประเทศไทย ลงนามในแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ”  “นายนพดล ปัทมะ คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนแรกของประเทศไทย ลงนามในแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ”   “นายนพดล ปัทมะ คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนแรกของประเทศไทย ลงนามในแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ” ด้วยจิตคารวะ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต
Like
1
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 300 มุมมอง 0 รีวิว