เจ้าหน้าที่สอบสวนในเมืองนิวออร์ลีนส์เร่งหาแรงจูงใจที่ทำให้อดีตทหารอเมริกันขับรถบรรทุกติดธงไอเอส พุ่งเข้าใส่ฝูงชนที่กำลังฉลองปีใหม่ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 15 คน และบาดเจ็บ 30 คน ก่อนที่ผู้ก่อเหตุจะเสียชีวิตระหว่างยิงสู้กับตำรวจ นอกจากนั้น ยังมีการตรวจสอบหาความเชื่อมโยงระหว่างเหตุการณ์นี้กับกรณีที่ไซเบอร์ทรัค รถกระบะไฟฟ้าจากค่ายเทสลาของอีลอน มัสก์ ระเบิดที่บริเวณหน้าโรงแรมของโดนัลด์ ทรัมป์ ในนครลาสเวกัส ซึ่งเกิดขึ้นในเวลาห่างกันไม่กี่ชั่วโมง
.
สำนักงานสอบสวนกลางของสหรัฐฯ (เอฟบีไอ) ระบุว่า ผู้ก่อเหตุในนิวออร์ลีนส์เมื่อวันพุธ (1 ม.ค.) มีชื่อว่า ชัมซุด-ดิน จับบาร์ วัย 42 ปี เป็นพลเมืองอเมริกันจากรัฐเทกซัส และเคยเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีของกองทัพสหรัฐฯ
.
ขณะที่ แอนน์ เคิร์กแพทริก ผู้บัญชาการตำรวจนครนิวออร์ลีนส์ ระบุว่า จับบาร์เป็น “ผู้ก่อการร้าย” โดยที่เอฟบีไอก็เสริมว่า รถที่คนร้ายผู้นี้ใช้ก่อเหตุมีธงไอเอส (IS ย่อมาจาก Islamic State กลุ่มผู้ก่อการร้าย “รัฐอิสลาม” หรือ “ไอเอส”) ติดอยู่
.
ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ประณามการโจมตีดังกล่าวว่า “น่ารังเกียจ” และระบุว่า ก่อนก่อเหตุไม่กี่ชั่วโมง จับบาร์โพสต์วิดีโอประกาศว่า เขาได้แรงบันดาลใจจากไอเอส
.
นอกจากนั้น ไบเดน เสริมว่า หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายกำลังสอบสวนว่า เหตุการณ์นี้มีความเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ที่รถกระบะไซเบอร์ทรัค ซึ่งผลิตจากค่ายเทสลา เกิดระเบิดขึ้นขณะจอดอยู่หน้าโรงแรมของว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ในเมืองลาสเวกัส ทำให้คนที่อยู่ภายในรถเสียชีวิต 1 คนไปหรือไม่ แต่เขาก็ตั้งข้อสังเกตว่า ในเบื้องต้นยังไม่พบว่ามีความเชื่อมโยงใดๆ
.
สำหรับกรณีซึ่งเกิดขึ้นที่นิวออร์ลีนส์นั้น อเลเธีย ดันแคน เจ้าหน้าที่เอฟบีไอ เผยว่า ทางเจ้าหน้าที่กำลังออกติดตามล่าหาผู้สมรู้ร่วมคิด เนื่องจากไม่เชื่อว่า จับบาร์ลงมือคนเดียว และเอฟบีไอได้ออกหมายค้นทั้งในนิวออร์ลีนส์ ซึ่งอยู่ในรัฐลุยเซียนา ตลอดจนในเขตรัฐอื่นๆ แล้ว
.
ทั้งนี้ ตำรวจระบุว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในย่านเฟรนช์ควอเตอร์ อันมีชื่อเสียงของนิวออร์ลีนส์ เมื่อเวลาประมาณ 3.15 น. ของวันพุธ (1 ม.ค.) ขณะที่คนมากมายกำลังฉลองปีใหม่ โดยผู้ต้องสงสัยขับกระบะไฟฟ้าฟอร์ด เอฟ-150 สีขาวมาด้วยความเร็วสูงและไล่ชนคนก่อนหลบหนีไป แต่สุดท้ายเสียชีวิตระหว่างยิงต่อสู้กับตำรวจ โดยมีตำรวจ 2 นายได้รับบาดเจ็บ หลังจากนั้น ตำรวจตรวจค้นพบธงไอเอสในรถ ตลอดจนพบระเบิดทำเอง 2 ลูกอีกด้วย
.
เคิร์กแพทริกระบุว่า พฤติการณ์ของจับบาร์ เป็นความพยายามไล่พุ่งชนคนให้ได้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ และเหตุการณ์นี้มีผู้เสียชีวิต 15 คน และบาดเจ็บ 30 คน
.
ทางด้านกระทรวงกลาโหมเผยว่า จับบาร์เคยรับหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญในฝ่ายทรัพยากรบุคคลและผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีระหว่างปี 2007-2015 ก่อนเข้าเป็นทหารกองหนุนจนถึงปี 2020
.
โฆษกกองทัพเสริมว่า ผู้ต้องสงสัยรายนี้เคยถูกส่งไปอัฟกานิสถานระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2009 จนถึงเดือนมกราคม 2010
.
แม้ยังไม่พบว่า เหตุการณ์นี้กับเหตุไซเบอร์ทรัคระเบิดที่ลาสเวกัสเชื่อมโยงกัน แต่มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือ รถทั้งสองคันต่างเป็นรถเช่าซึ่งเช่าผ่าน “ทูโร” ที่เป็นแอปคาร์แชริ่งยอดนิยม
.
สำหรับเหตุการณ์ที่ลาสเวกัสนั้น เควิน แมคมาฮิลล์ เจ้าหน้าที่ปกครองของกองบัญชาการตำรวจลาสเวกัส เผยว่า ไซเบอร์ทรัค คันที่เกิดเหตุได้ขับไปจอดหน้าโรงแรมทรัมป์ อินเตอร์เนชันแนล โฮเต็ล ลาส เวกัส เมื่อเวลา 8.40 น. ก่อนที่จะเกิดการระเบิดทำให้คนขับเสียชีวิต และมีผู้บาดเจ็บเล็กน้อย 7 คน
.
แมคมาฮิลล์เสริมว่า เจ้าหน้าที่พบน้ำมันเบนซิน ถังน้ำมันสำรองสำหรับการตั้งแคมป์ และดอกไม้ไฟขนาดใหญ่ด้านท้ายรถ
.
เจเรมี ชวาร์ตซ์ เจ้าหน้าที่พิเศษของเอฟบีไอที่รับผิดชอบคดีนี้ เผยว่า ยังไม่มีข้อมูลชัดเจนว่า เป็นการก่อการร้ายหรือไม่ อย่างไรก็ดี เอฟบีไอสามารถระบุตัวคนขับที่เช่ารถคันนี้มาจากโคโลราโดได้แล้ว แต่ยังไม่พร้อมเปิดเผยต่อสาธารณชน
.
ทางด้านอีลอน มัสก์ ซีอีโอเทสลา และผู้สนับสนุนสำคัญในการหาเสียงและที่ปรึกษาของทรัมป์ ซึ่งตอนแรกแสดงความสงสัยว่าเรื่องนี้อาจจะเป็นการก่อการร้าย ได้กลับลำในเวลาต่อมา โดยหันมาเน้นหนักยืนยันว่า เหตุระเบิดไม่ได้เกิดจากความบกพร่องของไซเบอร์ทรัค แต่สามารถยืนยันได้ว่า เกิดจากดอกไม้ไฟขนาดใหญ่ และ/หรือระเบิดที่อยู่ภายในรถดังกล่าว
.
อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000000528
..............
Sondhi X
เจ้าหน้าที่สอบสวนในเมืองนิวออร์ลีนส์เร่งหาแรงจูงใจที่ทำให้อดีตทหารอเมริกันขับรถบรรทุกติดธงไอเอส พุ่งเข้าใส่ฝูงชนที่กำลังฉลองปีใหม่ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 15 คน และบาดเจ็บ 30 คน ก่อนที่ผู้ก่อเหตุจะเสียชีวิตระหว่างยิงสู้กับตำรวจ นอกจากนั้น ยังมีการตรวจสอบหาความเชื่อมโยงระหว่างเหตุการณ์นี้กับกรณีที่ไซเบอร์ทรัค รถกระบะไฟฟ้าจากค่ายเทสลาของอีลอน มัสก์ ระเบิดที่บริเวณหน้าโรงแรมของโดนัลด์ ทรัมป์ ในนครลาสเวกัส ซึ่งเกิดขึ้นในเวลาห่างกันไม่กี่ชั่วโมง . สำนักงานสอบสวนกลางของสหรัฐฯ (เอฟบีไอ) ระบุว่า ผู้ก่อเหตุในนิวออร์ลีนส์เมื่อวันพุธ (1 ม.ค.) มีชื่อว่า ชัมซุด-ดิน จับบาร์ วัย 42 ปี เป็นพลเมืองอเมริกันจากรัฐเทกซัส และเคยเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีของกองทัพสหรัฐฯ . ขณะที่ แอนน์ เคิร์กแพทริก ผู้บัญชาการตำรวจนครนิวออร์ลีนส์ ระบุว่า จับบาร์เป็น “ผู้ก่อการร้าย” โดยที่เอฟบีไอก็เสริมว่า รถที่คนร้ายผู้นี้ใช้ก่อเหตุมีธงไอเอส (IS ย่อมาจาก Islamic State กลุ่มผู้ก่อการร้าย “รัฐอิสลาม” หรือ “ไอเอส”) ติดอยู่ . ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ประณามการโจมตีดังกล่าวว่า “น่ารังเกียจ” และระบุว่า ก่อนก่อเหตุไม่กี่ชั่วโมง จับบาร์โพสต์วิดีโอประกาศว่า เขาได้แรงบันดาลใจจากไอเอส . นอกจากนั้น ไบเดน เสริมว่า หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายกำลังสอบสวนว่า เหตุการณ์นี้มีความเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ที่รถกระบะไซเบอร์ทรัค ซึ่งผลิตจากค่ายเทสลา เกิดระเบิดขึ้นขณะจอดอยู่หน้าโรงแรมของว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ในเมืองลาสเวกัส ทำให้คนที่อยู่ภายในรถเสียชีวิต 1 คนไปหรือไม่ แต่เขาก็ตั้งข้อสังเกตว่า ในเบื้องต้นยังไม่พบว่ามีความเชื่อมโยงใดๆ . สำหรับกรณีซึ่งเกิดขึ้นที่นิวออร์ลีนส์นั้น อเลเธีย ดันแคน เจ้าหน้าที่เอฟบีไอ เผยว่า ทางเจ้าหน้าที่กำลังออกติดตามล่าหาผู้สมรู้ร่วมคิด เนื่องจากไม่เชื่อว่า จับบาร์ลงมือคนเดียว และเอฟบีไอได้ออกหมายค้นทั้งในนิวออร์ลีนส์ ซึ่งอยู่ในรัฐลุยเซียนา ตลอดจนในเขตรัฐอื่นๆ แล้ว . ทั้งนี้ ตำรวจระบุว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในย่านเฟรนช์ควอเตอร์ อันมีชื่อเสียงของนิวออร์ลีนส์ เมื่อเวลาประมาณ 3.15 น. ของวันพุธ (1 ม.ค.) ขณะที่คนมากมายกำลังฉลองปีใหม่ โดยผู้ต้องสงสัยขับกระบะไฟฟ้าฟอร์ด เอฟ-150 สีขาวมาด้วยความเร็วสูงและไล่ชนคนก่อนหลบหนีไป แต่สุดท้ายเสียชีวิตระหว่างยิงต่อสู้กับตำรวจ โดยมีตำรวจ 2 นายได้รับบาดเจ็บ หลังจากนั้น ตำรวจตรวจค้นพบธงไอเอสในรถ ตลอดจนพบระเบิดทำเอง 2 ลูกอีกด้วย . เคิร์กแพทริกระบุว่า พฤติการณ์ของจับบาร์ เป็นความพยายามไล่พุ่งชนคนให้ได้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ และเหตุการณ์นี้มีผู้เสียชีวิต 15 คน และบาดเจ็บ 30 คน . ทางด้านกระทรวงกลาโหมเผยว่า จับบาร์เคยรับหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญในฝ่ายทรัพยากรบุคคลและผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีระหว่างปี 2007-2015 ก่อนเข้าเป็นทหารกองหนุนจนถึงปี 2020 . โฆษกกองทัพเสริมว่า ผู้ต้องสงสัยรายนี้เคยถูกส่งไปอัฟกานิสถานระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2009 จนถึงเดือนมกราคม 2010 . แม้ยังไม่พบว่า เหตุการณ์นี้กับเหตุไซเบอร์ทรัคระเบิดที่ลาสเวกัสเชื่อมโยงกัน แต่มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือ รถทั้งสองคันต่างเป็นรถเช่าซึ่งเช่าผ่าน “ทูโร” ที่เป็นแอปคาร์แชริ่งยอดนิยม . สำหรับเหตุการณ์ที่ลาสเวกัสนั้น เควิน แมคมาฮิลล์ เจ้าหน้าที่ปกครองของกองบัญชาการตำรวจลาสเวกัส เผยว่า ไซเบอร์ทรัค คันที่เกิดเหตุได้ขับไปจอดหน้าโรงแรมทรัมป์ อินเตอร์เนชันแนล โฮเต็ล ลาส เวกัส เมื่อเวลา 8.40 น. ก่อนที่จะเกิดการระเบิดทำให้คนขับเสียชีวิต และมีผู้บาดเจ็บเล็กน้อย 7 คน . แมคมาฮิลล์เสริมว่า เจ้าหน้าที่พบน้ำมันเบนซิน ถังน้ำมันสำรองสำหรับการตั้งแคมป์ และดอกไม้ไฟขนาดใหญ่ด้านท้ายรถ . เจเรมี ชวาร์ตซ์ เจ้าหน้าที่พิเศษของเอฟบีไอที่รับผิดชอบคดีนี้ เผยว่า ยังไม่มีข้อมูลชัดเจนว่า เป็นการก่อการร้ายหรือไม่ อย่างไรก็ดี เอฟบีไอสามารถระบุตัวคนขับที่เช่ารถคันนี้มาจากโคโลราโดได้แล้ว แต่ยังไม่พร้อมเปิดเผยต่อสาธารณชน . ทางด้านอีลอน มัสก์ ซีอีโอเทสลา และผู้สนับสนุนสำคัญในการหาเสียงและที่ปรึกษาของทรัมป์ ซึ่งตอนแรกแสดงความสงสัยว่าเรื่องนี้อาจจะเป็นการก่อการร้าย ได้กลับลำในเวลาต่อมา โดยหันมาเน้นหนักยืนยันว่า เหตุระเบิดไม่ได้เกิดจากความบกพร่องของไซเบอร์ทรัค แต่สามารถยืนยันได้ว่า เกิดจากดอกไม้ไฟขนาดใหญ่ และ/หรือระเบิดที่อยู่ภายในรถดังกล่าว . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000000528 .............. Sondhi X
Like
2
0 Comments 0 Shares 1271 Views 0 Reviews