ฟันธงยุทธศาสตร์ Made in China 2025
จุดเริ่มต้นทำให้จีนแซงหน้าสหรัฐฯแน่นอน
.
20 กว่าปีที่ผ่านมา จีนทุ่มเงินไปหลายล้านล้านหยวน เพื่อสร้างเทคโนโลยีของตัวเอง และลดการพึ่งพาต่างชาติ เพราะจีนชูนโยบาย Made in China 2025 ทำให้จีนไม่ต้องไปหวั่นไหวกับคำขู่ที่จะคว่ำบาตรและขึ้นภาษีของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ที่ยังคงหลงตัวเองว่าประเทศต่างๆ ต้องมาพึ่งตัวเอง
.
แต่ความจริงก็คือ ทุกวันนี้สหรัฐฯ พึ่งจีนมากกว่าที่จีนพึ่งสหรัฐฯ นี่คือสัจจะวาจาที่ผมให้ก่อนสิ้นปีนี้ การที่จีนมีระบบเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มของตัวเอง ทำให้การปิดล้อมทางเทคโนโลยีของสหรัฐฯ แทบจะไม่ประสบผลสำเร็จเลย ซ้ำยังเป็นแรงผลักดันให้จีนต้องเร่งสร้างเทคโนโลยี และห่วงโซ่อุปทานของตัวเองให้เร็วยิ่งขึ้น
.
ภายใน 14 ปีที่ผ่านมานี้ อุตสาหกรรมที่จีนสร้างผลิตผลทางอุตสาหกรรมกลายเพิ่มขึ้นเป็น 34% ของโลก จาก 19% ของโลก
เพราะในนโยบาย Made in China จีนได้กำหนด 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งขณะนี้มีความก้าวหน้าไปทุกด้าน คือ
(1) เทคโนโลยีสารสนเทศ อีกสองปีข้างหน้า จีนจะผลิตเซมิคอนดักเตอร์ได้เองเกือบ 30% ของโลก
(2) เครื่องจักรชั้นสูงและหุ่นยนต์ในภาคอุตสาหกรรม ทุกประเทศรวมกันในโลกสู้จีนไม่ได้เลย
(3) การบินและอากาศยาน จีนผลิตเครื่องบิน C-919 คู่แข่งโบอิ้ง และแอร์บัส และบริษัท DJI (Dà Jiāng Chuàngxīn)ของจีนผลิตโดรนรายใหญ่ที่สุดของโลกโดย
(4) วิศวกรรมทางการทะเลและการต่อเรือ ครองสัดส่วนมากกว่า 70% ของตลาดโลก
(5) การขนส่งทางราง รถไฟความเร็วสูงในจีนใช้เทคโนโลยีและใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศเกือบทั้งหมด และจีนยังได้ส่งออกเทคโนโลยีรถไฟไปยังต่างประเทศอีกด้วย น่าเสียดายรถไฟความเร็วสูงของบ้านเรายังไม่ไปไหนเลยแม้แต่นิดเดียว
(6) รถยนต์พลังงานใหม่ BYDเป็นผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารายใหญ่ที่สุดของโลก และจีนกำลังแซงหน้าสหรัฐฯ เยอรมนี ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ขึ้นเป็นผู้ส่งออกรถยนต์พลังงานใหม่รายใหญ่ที่สุดของโลก
(7) อุปกรณ์ผลิตไฟฟ้า จีนครองตลาดอุปกรณ์โซลาร์เซลล์มากกว่า 80% ของทั่วโลกที่มีมูลค่ามากกว่า 130,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีที่แล้ว
(8) เครื่องมือเกษตรกรรม แม้จีนยังคงต้องพึ่งพาการนำเข้าอุปกรณ์ล้ำสมัย แต่ได้ผสมผสานเครื่องจักรพลังไฟฟ้าใช้พิกัดดาวเทียมทำการเกษตรแบบอัจฉริยะ
(9) วัสดุใหม่ จีนได้ดุลการค้าในวัสดุทางเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งคาร์บอน ไฟเบอร์ ซึ่งเป็นวัสดุที่จะมาแทนโลหะ
(10) อุปกรณ์การแพทย์และเทคโนโลยีเภสัชกรรม จีนมีความก้าวหน้าในการวิจัยวัคซีน ยารักษาโรค รวมถึงในเทคโนโลยีการผ่าตัดรักษาพยาบาลโดยใช้ระบบ AI (ปัญญาประดิษฐ์) และระบบ 5G เข้ามาช่วยในงานการแพทย์
.
หลังจากยุทธศาสตร์ Made in China 2025 แล้ว จีนยังมีเป้าหมายที่จะก้าวไปสู่ Made in China ซึ่งหมายความว่า สินค้าที่ใช้เทคโนโลยีของจีน ออกแบบโดยคนจีน แต่ว่าอาจจะไปผลิตที่ประเทศอื่นที่มีต้นทุนถูกกว่า เหมือนกับสินค้าแบรนด์ตะวันตกที่มาผลิตในประเทศต่างๆ นั่นเอง
.
สรุป ถ้านายโดนัลด์ ทรัมป์ ขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีน 60- 100%จริงๆ ตามที่ขู่ไว้ ต้นทุนการผลิตในสหรัฐฯจะสูงขนาดไหน เพราะว่าวัตถุดิบ อุปกรณ์การผลิตหลายอย่างที่สหรัฐฯต้องใช้นั้น ต้องนำเข้าจากจีนที่นับวันมีแต่มากขึ้นๆ หรือถ้าสหรัฐฯ จะแยกตขั้วตัดขาดกับจีน คำถามมีอยู่ว่าแล้วโรงงานสหรัฐฯ จะเอาวัตถุดิบจากไหนล่ะ ไม่มีให้
.
นี่ยังไม่พูดถึงค่าแรงและต้นทุนต่างๆ ในสหรัฐฯ ที่แพงกว่าประเทศจีน ทักษะคนงานในสหรัฐฯบางสาขา เทียบไม่ได้กับความสามารถของคนจีน เช่นนี้แล้ว Made in China 2025 จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ในที่สุดทำให้จีนภายในไม่กี่ปีจากนี้ไป จะต้องแซงหน้าสหรัฐฯอย่างค่อนข้างแน่นอนที่สุด อันนี้ผมฟันธงได้เลย
ฟันธงยุทธศาสตร์ Made in China 2025 จุดเริ่มต้นทำให้จีนแซงหน้าสหรัฐฯแน่นอน . 20 กว่าปีที่ผ่านมา จีนทุ่มเงินไปหลายล้านล้านหยวน เพื่อสร้างเทคโนโลยีของตัวเอง และลดการพึ่งพาต่างชาติ เพราะจีนชูนโยบาย Made in China 2025 ทำให้จีนไม่ต้องไปหวั่นไหวกับคำขู่ที่จะคว่ำบาตรและขึ้นภาษีของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ที่ยังคงหลงตัวเองว่าประเทศต่างๆ ต้องมาพึ่งตัวเอง . แต่ความจริงก็คือ ทุกวันนี้สหรัฐฯ พึ่งจีนมากกว่าที่จีนพึ่งสหรัฐฯ นี่คือสัจจะวาจาที่ผมให้ก่อนสิ้นปีนี้ การที่จีนมีระบบเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มของตัวเอง ทำให้การปิดล้อมทางเทคโนโลยีของสหรัฐฯ แทบจะไม่ประสบผลสำเร็จเลย ซ้ำยังเป็นแรงผลักดันให้จีนต้องเร่งสร้างเทคโนโลยี และห่วงโซ่อุปทานของตัวเองให้เร็วยิ่งขึ้น . ภายใน 14 ปีที่ผ่านมานี้ อุตสาหกรรมที่จีนสร้างผลิตผลทางอุตสาหกรรมกลายเพิ่มขึ้นเป็น 34% ของโลก จาก 19% ของโลก เพราะในนโยบาย Made in China จีนได้กำหนด 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งขณะนี้มีความก้าวหน้าไปทุกด้าน คือ (1) เทคโนโลยีสารสนเทศ อีกสองปีข้างหน้า จีนจะผลิตเซมิคอนดักเตอร์ได้เองเกือบ 30% ของโลก (2) เครื่องจักรชั้นสูงและหุ่นยนต์ในภาคอุตสาหกรรม ทุกประเทศรวมกันในโลกสู้จีนไม่ได้เลย (3) การบินและอากาศยาน จีนผลิตเครื่องบิน C-919 คู่แข่งโบอิ้ง และแอร์บัส และบริษัท DJI (Dà Jiāng Chuàngxīn)ของจีนผลิตโดรนรายใหญ่ที่สุดของโลกโดย (4) วิศวกรรมทางการทะเลและการต่อเรือ ครองสัดส่วนมากกว่า 70% ของตลาดโลก (5) การขนส่งทางราง รถไฟความเร็วสูงในจีนใช้เทคโนโลยีและใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศเกือบทั้งหมด และจีนยังได้ส่งออกเทคโนโลยีรถไฟไปยังต่างประเทศอีกด้วย น่าเสียดายรถไฟความเร็วสูงของบ้านเรายังไม่ไปไหนเลยแม้แต่นิดเดียว (6) รถยนต์พลังงานใหม่ BYDเป็นผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารายใหญ่ที่สุดของโลก และจีนกำลังแซงหน้าสหรัฐฯ เยอรมนี ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ขึ้นเป็นผู้ส่งออกรถยนต์พลังงานใหม่รายใหญ่ที่สุดของโลก (7) อุปกรณ์ผลิตไฟฟ้า จีนครองตลาดอุปกรณ์โซลาร์เซลล์มากกว่า 80% ของทั่วโลกที่มีมูลค่ามากกว่า 130,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีที่แล้ว (8) เครื่องมือเกษตรกรรม แม้จีนยังคงต้องพึ่งพาการนำเข้าอุปกรณ์ล้ำสมัย แต่ได้ผสมผสานเครื่องจักรพลังไฟฟ้าใช้พิกัดดาวเทียมทำการเกษตรแบบอัจฉริยะ (9) วัสดุใหม่ จีนได้ดุลการค้าในวัสดุทางเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งคาร์บอน ไฟเบอร์ ซึ่งเป็นวัสดุที่จะมาแทนโลหะ (10) อุปกรณ์การแพทย์และเทคโนโลยีเภสัชกรรม จีนมีความก้าวหน้าในการวิจัยวัคซีน ยารักษาโรค รวมถึงในเทคโนโลยีการผ่าตัดรักษาพยาบาลโดยใช้ระบบ AI (ปัญญาประดิษฐ์) และระบบ 5G เข้ามาช่วยในงานการแพทย์ . หลังจากยุทธศาสตร์ Made in China 2025 แล้ว จีนยังมีเป้าหมายที่จะก้าวไปสู่ Made in China ซึ่งหมายความว่า สินค้าที่ใช้เทคโนโลยีของจีน ออกแบบโดยคนจีน แต่ว่าอาจจะไปผลิตที่ประเทศอื่นที่มีต้นทุนถูกกว่า เหมือนกับสินค้าแบรนด์ตะวันตกที่มาผลิตในประเทศต่างๆ นั่นเอง . สรุป ถ้านายโดนัลด์ ทรัมป์ ขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีน 60- 100%จริงๆ ตามที่ขู่ไว้ ต้นทุนการผลิตในสหรัฐฯจะสูงขนาดไหน เพราะว่าวัตถุดิบ อุปกรณ์การผลิตหลายอย่างที่สหรัฐฯต้องใช้นั้น ต้องนำเข้าจากจีนที่นับวันมีแต่มากขึ้นๆ หรือถ้าสหรัฐฯ จะแยกตขั้วตัดขาดกับจีน คำถามมีอยู่ว่าแล้วโรงงานสหรัฐฯ จะเอาวัตถุดิบจากไหนล่ะ ไม่มีให้ . นี่ยังไม่พูดถึงค่าแรงและต้นทุนต่างๆ ในสหรัฐฯ ที่แพงกว่าประเทศจีน ทักษะคนงานในสหรัฐฯบางสาขา เทียบไม่ได้กับความสามารถของคนจีน เช่นนี้แล้ว Made in China 2025 จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ในที่สุดทำให้จีนภายในไม่กี่ปีจากนี้ไป จะต้องแซงหน้าสหรัฐฯอย่างค่อนข้างแน่นอนที่สุด อันนี้ผมฟันธงได้เลย
Like
4
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 248 มุมมอง 0 รีวิว