"เหลี่ยม(จน)ชิน-เนวิ(น)เกเตอร์" ฉายาสภาฯ ปี 67 ผู้นำฝ่ายค้านฯ “เท้งเต้ง” ส่วน “บิ๊กป้อม-ธิษะณา” ดาวดับทั้งคู่
.
สื่อสภาฯ ตั้งฉายาปี 67 สส. "เหลี่ยม(จน)ชิน" ส่วน สว. “เนวิ(น)เกเตอร์” ด้านวันนอร์ "รูทีนตีนตุ๊กแก" ประธานวุฒิฯ “ล็อกมง” หน.ปชน.ผู้นำฝ่ายค้านฯ “เท้งเต้ง” ส่วน “บิ๊กป้อม-ธิษะณา” คว้าคู่ "ดาวดับ" ไร้ดาวเด่นดาวสภาฯ 3 ปีซ้อน ยกขันหมาก “เพื่อไทย-ปชป.” เหตุการณ์แห่งปี
.
วันนี้ (26 ธ.ค.) ผู้สื่อข่าวประจำรัฐสภา ร่วมกันตั้ง “ฉายาสภา” เป็นธรรมเนียมประจำทุกปี เพื่อสะท้อนความคิดเห็นการทำหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติทั้ง สส. และ สว. ตลอดปี 2567 ในฐานะที่ติดตามการทำหน้าที่ของ สส. และ สว. มาโดยตลอด ดังนี้
.
“สภาผู้แทนราษฎร" ได้รับฉายา "เหลี่ยม(จน)ชิน"
.
ปี 2567 เกิดการพลิกขั้วรัฐบาลเพื่อไทยอีกครั้ง ที่เขี่ยพรรคพลังประชารัฐ ออกจากพรรคร่วมรัฐบาล และดึงพรรคประชาธิปัตย์เสียบแทน ซึ่งถือเป็นการพลิกขั้วทางการเมืองครั้งสำคัญ แต่ไม่ปรากฏสาเหตุแน่ชัดในการปรับพรรคพลังประชารัฐพ้นรัฐบาล มีเพียงสัญญาณจากนายใหญ่ตระกูลชินเท่านั้น และยังมีการหักเหลี่ยมกัน ระหว่างพรรคเพื่อไทย กับพรรคภูมิใจไทย ในการพิจารณาหลักเกณฑ์การประชามติแก้รัฐธรรมนูญ จนกลายเป็นศึก “อีแอบ” บนเรือรัฐนาวา และยังมีอีกหลายเหลี่ยมที่เกิดขึ้นในสภาฯ ทั้ง พ.ร.บ.จัดระเบียบกระทรวงกลาโหม หรือแม้แต่รายงานนิรโทษกรรม ที่เปลี่ยนใจตอนท้าย หรือประกาศสนับสนุนแล้ว แต่ สส.กลับสวนมติพรรค ทำให้สมัยประชุมนี้ ต้องคุ้นชินกับเหลี่ยมของผู้ทรงเกียรติ
.
"วุฒิสภา" ได้รับฉายา "เนวิ(น)เกเตอร์"
.
กติกาการเลือกวุฒิสภาที่ซับซ้อนไม่หมู แต่กลายเป็น “กติกาหนู ๆ” เห็นได้จากผลการลงมติอย่างสม่ำเสมอของ สว.ในเรื่องต่าง ๆ ที่จะเกาะกลุ่ม 150-160 เสียง ซึ่งถูกมองเป็นเครือข่ายสายตรงพรรคการเมืองสีน้ำเงิน สะท้อนให้เห็นว่า เบื้องหลังการลงมติ มีบ้านใหญ่บุรีรัมย์ เป็น “เนวิเกเตอร์” ชี้นำอยู่เบื้องหลัง
.
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้รับฉายา "รูทีนตีนตุ๊กแก"
นอกจาก นายวันมูหะมัดนอร์ จะสามารถปฏิบัติหน้าที่งานรูทีนของตนเองได้เป็นอย่างดีแล้ว แต่ก็ยังสามารถหนีบเก้าอี้ของตัวเองได้ดียิ่งกว่า หลังกระแสข่าวการแลกเก้าอี้ประธานสภาฯ กับเก้าอี้รัฐมนตรี หรือกระแสข่าวพรรคเพื่อไทยทวงคืนบัลลังก์สะพัด แต่นายวันมูหะมัดนอร์ ก็ยังสามารถรับมือ หนีบเก้าอี้ตัวนี้ไว้ได้อย่างเหนียวแน่นหนึบ และใครก็ไม่สามารถเปลี่ยนตัวประธานสภาฯ ได้ เว้นแต่ตนปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้แล้ว
.
นายมงคล สุระสัจจะ ประธานวุฒิสภา ได้รับฉายา "ล็อกมง"
“ล็อกมงคล” มาตั้งแต่ไก่โห่ หลังมีกระแสข่าวค่ายน้ำเงินล็อก “มงคล” เป็นประธานวุฒิสภา และวุฒิสภายังเทคะแนนให้ “มงคล” ด้วยมติท่วมท้น 159 เสียง จนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสม หรือเป็นเด็กนายที่ล็อกมงมาแต่แรก เพราะประมุขสภาสูงที่ผ่านมามักมีโปรโฟล์ด้านกฎหมายแกร่งกล้า เนื่องจากต้องเป็นหัวเรือใหญ่ในการกรองกฎหมาย ทว่า “นายมงคล” กลับมาจากสายปกครอง ไม่ใช่สายนิติศาสตร์ ทั้งยังแนะนำตัวเองว่ามาจากก้อนดิน ก้อนทราย เด็กวัด เรียนอาชีวะ สู่เก้าอี้อธิบดีกรมการปกครอง จนมานั่งบัลลังก์ประมุขสภาสูง ซึ่งหากขึ้นเวทีประกวดจริง คงค้านสายตาแฟนนางงาม เพราะแบบนี้ “ล็อกมง” แน่นอน
.
นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ได้รับฉายา “เท้งเต้ง”
การทำงาน-พฤติกรรมของผู้นำฝ่ายค้านฯ ป้ายแดง ที่ถูกมองว่า ไม่โดดเด่นเท่าลูกพรรคหลายคน “ดูเคว้งเท้งเต้ง” ซ้ำยังเหมือนฝ่ายค้านพรรคเดียว แม้จะ “มีลุง” มาเสริมทัพ กลับไร้แนวร่วม เป็นฝ่ายค้านโดดเดี่ยวที่ไม่โดดเด่น เน้นรุกเสนอกฎหมายมากกว่าตรวจสอบ จนถูกปรามาสสภาฯ ไร้ฝ่ายค้าน ประกอบกับบทบาทหัวหน้าพรรคฯ มือใหม่ ที่ขาดเสน่ห์ ไร้บารมีผู้นำ ถูกเทียบชั้นกับนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล หนำซ้ำป้ายหาเสียง อบจ.ยังมีแต่ภาพนายพิธา ซึ่งเป็นผู้ช่วยหาเสียงมากกว่ารูป “หัวหน้าเท้ง” ซะอีก จึงเป็น “เท้งเต้ง” ลอยไปลอยมา
.
"ดาวเด่น" ในปี 2567 นี้ สื่อมวลชนประจำรัฐสภา เห็นว่า "ไม่มีผู้ใดเหมาะสม" และโดดเด่นเพียงพอที่จะได้รับตำแหน่งนี้ ซึ่งเป็นปีที่ 3 แล้วที่ฝ่ายนิติบัญญัติขาดดาวเด่น
.
"ดาวดับ" ในปี 2567 นี้สื่อมวลชนประจำรัฐสภา มีความเห็นร่วมกันที่จะมีผู้ได้รับตำแหน่งนี้ 2 คน ได้แก่ "พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ” และ “นางสาวธิษะณา ชุณหะวัณ สส.กรุงเทพฯ พรรคประชาชน”
.
- “พล.อ.ประวิตร” จากพี่ใหญ่บูรพาพยัคฆ์ มากบารมี หัวกะไดบ้านป่าไม่เคยแห้ง กลายเป็นหมดราศี เคราะห์ซ้ำกรรมซัด ทั้งถูกร้องจริยธรรมโดดประชุม 84 ครั้ง จากนัดประชุม 95 ครั้ง มาเซ็นชื่อแล้วก็ชิ่ง สะท้อนการขาดความรับผิดชอบในหน้าที่พื้นฐานที่ต้องเข้าร่วมประชุม ทั้งที่ สส.ที่มีหน้าที่สำคัญในการประชุมสภาฯ จึงเรียกได้ว่า ไม่ทำงานจนดับ หนำซ้ำยังถูกขับออกจากพรรคร่วมรัฐบาล แม้พรรคฯ จะพยายามเสนอชื่อรัฐมนตรี และทวงเก้าอี้รัฐมนตรีไปแล้ว แต่รั้งอะไรไว้ไม่ได้ แถมยังต้องจำใจขับก๊วน ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า สส.พะเยา ออกจากพรรคฯ ให้เป็นไท จากกระแสข่าวความเชื่อมโยงบ่วง “ภูนับดาว” อีก
.
- “นางสาวธิษะณา” หลานปู่อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 17 ของไทย แม้พรรคประชาชน จะผลักดันการทำหน้าที่อย่างเต็มที่ แต่กลับสวนทางกับผลงาน เพราะฟังการอภิปรายแล้วต้องอ้าปากค้าง ทั้งอ่านตัวเลขผิด และยังอินกับสิทธิเสรีภาพเกินเบอร์ ถึงขนาดให้รัฐบาลรับรองสิทธิชาวเมียนมาหนีสงคราม จนถูกโซเชียลหัวคะแนนออแกนิคของพรรค ทับถมเป็น #พรรคประชาชนพม่า และถูกแซวว่า เป็น สส.ราชเทวี หรือหงสาวดีกันแน่? จึงสะท้อนว่า แม้พรรคฯ จะสนับสนุนมาก แต่เจ้าตัวกลับดับโอกาสนั้นเอง
.
“วาทะแห่งปี 2567" ได้แก่ "..ทำให้คนไทย มีกิน มีใช้ มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี.." โดยนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวในการแถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2567 ถือเป็นคำมั่นสัญญาสำคัญ ที่นายกรัฐมนตรี ได้ให้ไว้ต่อประชาชนผ่านสมาชิกรัฐสภา ซึ่งวาทะดังกล่าว ก็ยังคงเป็นที่ติดหู ติดปากประชาชน ตั้งแต่เวทีการหาเสียงของพรรคเพื่อไทย และถูกนำไปล้อเลียนในโซเชียลมีเดีย แต่นายกรัฐมนตรี ก็ยังคงนำวาทะนี้มายืนยันต่อสภา สวนทางกับภาวะเศรษฐกิจปากท้องของประชาชนในปัจจุบัน ซึ่งคำสัญญาที่นายกรัฐมนตรี ได้ให้ไว้ต่อประชาชนผ่านเวทีหาเสียงเลือกตั้ง และรัฐสภานี้ หากไม่สามารถทำได้จริง ประชาชนก็จะลงโทษในคูหาผ่านการเลือกตั้งครั้งถัดไป
.
“เหตุการณ์แห่งปี 2567” ได้แก่ "พรรคเพื่อไทย" เทียบเชิญ "พรรคประชาธิปัตย์" เข้าร่วมรัฐบาล 28 สิงหาคม 2567 ที่รัฐสภา ถือเป็นการปิดตำนานความขัดแย้งยาวนานกว่า 2 ทศวรรษ ระหว่าง 2 พรรคการเมืองใหญ่ที่ขับเคี่ยวทางการเมืองกันมาโดยตลอด ซ้ำยังกลืนอุดมการณ์พรรคฯ ที่ยึดถือมาเกือบ 80 ปี เพียงเพราะขันหมาก พร้อมสินสอด 2 เก้าอี้รัฐมนตรี ทำเอาบรรดาเสื้อแดง พ่อยก-แม่ยกประชาธิปัตย์ ที่บาดเจ็บล้มตายจากการไปร่วมชุมนุม กิน-นอนข้างถนนต้องอกหัก ไม่คิดว่า 2 พรรคนี้ จะมาบรรจบกันได้ หลังแกนนำรุ่นนี้ ประกาศ “ทิ้งความขัดแย้งไว้ข้างหลังแล้ว” แต่ผลพวงความเสียหาย ซากปรักหักพังของประเทศที่เคยเกิดจากความขัดแย้งจาก 2 พรรคนี้ คงถูกทิ้งไว้ข้างหลังแล้วด้วยเช่นกัน
.
คู่กัดแห่งปี ได้แก่ นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 และ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว สส.น่าน พรรคเพื่อไทย หลังมีข่าวกินแหนงแคลงใจกัน แม้จะอยู่พรรคเดียวกัน เพราะเมื่อ นพ.ชลน่าน พ้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และมีกระแสข่าวพรรคเพื่อไทย เตรียมดันขึ้นตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร แต่นายวันมูหะมัดนอร์ กลับกอดเก้าอี้ไว้แน่น จึงต้องเล็งมาที่เก้าอี้นายพิเชษฐ์ และเป็นที่สังเกตว่า ทุกครั้งที่นายพิเชษฐ์ ทำหน้าที่ควบคุมการประชุม นายแพทย์ชลน่าน ก็มักจะขึ้นมาอภิปราย และปะทะคารมกันบ่อยครั้ง จนถึงขั้นที่ นพ.ชลน่าน อภิปรายชี้หน้านายพิเชษฐ์ และบอกว่า หากทำหน้าที่ไม่ได้ ก็ให้รองประธานฯ อีกคนมาทำหน้าที่แทน ทำให้นายพิเชษฐ์ ของขึ้นโต้กลับอย่างควันออกหูว่า “ไม่ต้องชี้หน้า อยากเป็นก็ขึ้นมา”
.
ทั้งนี้ สื่อมวลชนประจำรัฐสภา ยังขอเป็นกำลังใจให้ สส.และ สว.ที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นอย่างดีอยู่แล้ว ให้มุ่งมั่น ตั้งใจ ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ส่วน สส. และ สว.ที่ยังบกพร่องในการทำหน้าที่ สื่อมวลชนหวังว่า จะมีการทบทวนปรับปรุงการทำหน้าที่ของตนเองให้ดีมากขึ้น เพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชนต่อไป
...............
Sondhi X
"เหลี่ยม(จน)ชิน-เนวิ(น)เกเตอร์" ฉายาสภาฯ ปี 67 ผู้นำฝ่ายค้านฯ “เท้งเต้ง” ส่วน “บิ๊กป้อม-ธิษะณา” ดาวดับทั้งคู่ . สื่อสภาฯ ตั้งฉายาปี 67 สส. "เหลี่ยม(จน)ชิน" ส่วน สว. “เนวิ(น)เกเตอร์” ด้านวันนอร์ "รูทีนตีนตุ๊กแก" ประธานวุฒิฯ “ล็อกมง” หน.ปชน.ผู้นำฝ่ายค้านฯ “เท้งเต้ง” ส่วน “บิ๊กป้อม-ธิษะณา” คว้าคู่ "ดาวดับ" ไร้ดาวเด่นดาวสภาฯ 3 ปีซ้อน ยกขันหมาก “เพื่อไทย-ปชป.” เหตุการณ์แห่งปี . วันนี้ (26 ธ.ค.) ผู้สื่อข่าวประจำรัฐสภา ร่วมกันตั้ง “ฉายาสภา” เป็นธรรมเนียมประจำทุกปี เพื่อสะท้อนความคิดเห็นการทำหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติทั้ง สส. และ สว. ตลอดปี 2567 ในฐานะที่ติดตามการทำหน้าที่ของ สส. และ สว. มาโดยตลอด ดังนี้ . “สภาผู้แทนราษฎร" ได้รับฉายา "เหลี่ยม(จน)ชิน" . ปี 2567 เกิดการพลิกขั้วรัฐบาลเพื่อไทยอีกครั้ง ที่เขี่ยพรรคพลังประชารัฐ ออกจากพรรคร่วมรัฐบาล และดึงพรรคประชาธิปัตย์เสียบแทน ซึ่งถือเป็นการพลิกขั้วทางการเมืองครั้งสำคัญ แต่ไม่ปรากฏสาเหตุแน่ชัดในการปรับพรรคพลังประชารัฐพ้นรัฐบาล มีเพียงสัญญาณจากนายใหญ่ตระกูลชินเท่านั้น และยังมีการหักเหลี่ยมกัน ระหว่างพรรคเพื่อไทย กับพรรคภูมิใจไทย ในการพิจารณาหลักเกณฑ์การประชามติแก้รัฐธรรมนูญ จนกลายเป็นศึก “อีแอบ” บนเรือรัฐนาวา และยังมีอีกหลายเหลี่ยมที่เกิดขึ้นในสภาฯ ทั้ง พ.ร.บ.จัดระเบียบกระทรวงกลาโหม หรือแม้แต่รายงานนิรโทษกรรม ที่เปลี่ยนใจตอนท้าย หรือประกาศสนับสนุนแล้ว แต่ สส.กลับสวนมติพรรค ทำให้สมัยประชุมนี้ ต้องคุ้นชินกับเหลี่ยมของผู้ทรงเกียรติ . "วุฒิสภา" ได้รับฉายา "เนวิ(น)เกเตอร์" . กติกาการเลือกวุฒิสภาที่ซับซ้อนไม่หมู แต่กลายเป็น “กติกาหนู ๆ” เห็นได้จากผลการลงมติอย่างสม่ำเสมอของ สว.ในเรื่องต่าง ๆ ที่จะเกาะกลุ่ม 150-160 เสียง ซึ่งถูกมองเป็นเครือข่ายสายตรงพรรคการเมืองสีน้ำเงิน สะท้อนให้เห็นว่า เบื้องหลังการลงมติ มีบ้านใหญ่บุรีรัมย์ เป็น “เนวิเกเตอร์” ชี้นำอยู่เบื้องหลัง . นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้รับฉายา "รูทีนตีนตุ๊กแก" นอกจาก นายวันมูหะมัดนอร์ จะสามารถปฏิบัติหน้าที่งานรูทีนของตนเองได้เป็นอย่างดีแล้ว แต่ก็ยังสามารถหนีบเก้าอี้ของตัวเองได้ดียิ่งกว่า หลังกระแสข่าวการแลกเก้าอี้ประธานสภาฯ กับเก้าอี้รัฐมนตรี หรือกระแสข่าวพรรคเพื่อไทยทวงคืนบัลลังก์สะพัด แต่นายวันมูหะมัดนอร์ ก็ยังสามารถรับมือ หนีบเก้าอี้ตัวนี้ไว้ได้อย่างเหนียวแน่นหนึบ และใครก็ไม่สามารถเปลี่ยนตัวประธานสภาฯ ได้ เว้นแต่ตนปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้แล้ว . นายมงคล สุระสัจจะ ประธานวุฒิสภา ได้รับฉายา "ล็อกมง" “ล็อกมงคล” มาตั้งแต่ไก่โห่ หลังมีกระแสข่าวค่ายน้ำเงินล็อก “มงคล” เป็นประธานวุฒิสภา และวุฒิสภายังเทคะแนนให้ “มงคล” ด้วยมติท่วมท้น 159 เสียง จนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสม หรือเป็นเด็กนายที่ล็อกมงมาแต่แรก เพราะประมุขสภาสูงที่ผ่านมามักมีโปรโฟล์ด้านกฎหมายแกร่งกล้า เนื่องจากต้องเป็นหัวเรือใหญ่ในการกรองกฎหมาย ทว่า “นายมงคล” กลับมาจากสายปกครอง ไม่ใช่สายนิติศาสตร์ ทั้งยังแนะนำตัวเองว่ามาจากก้อนดิน ก้อนทราย เด็กวัด เรียนอาชีวะ สู่เก้าอี้อธิบดีกรมการปกครอง จนมานั่งบัลลังก์ประมุขสภาสูง ซึ่งหากขึ้นเวทีประกวดจริง คงค้านสายตาแฟนนางงาม เพราะแบบนี้ “ล็อกมง” แน่นอน . นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ได้รับฉายา “เท้งเต้ง” การทำงาน-พฤติกรรมของผู้นำฝ่ายค้านฯ ป้ายแดง ที่ถูกมองว่า ไม่โดดเด่นเท่าลูกพรรคหลายคน “ดูเคว้งเท้งเต้ง” ซ้ำยังเหมือนฝ่ายค้านพรรคเดียว แม้จะ “มีลุง” มาเสริมทัพ กลับไร้แนวร่วม เป็นฝ่ายค้านโดดเดี่ยวที่ไม่โดดเด่น เน้นรุกเสนอกฎหมายมากกว่าตรวจสอบ จนถูกปรามาสสภาฯ ไร้ฝ่ายค้าน ประกอบกับบทบาทหัวหน้าพรรคฯ มือใหม่ ที่ขาดเสน่ห์ ไร้บารมีผู้นำ ถูกเทียบชั้นกับนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล หนำซ้ำป้ายหาเสียง อบจ.ยังมีแต่ภาพนายพิธา ซึ่งเป็นผู้ช่วยหาเสียงมากกว่ารูป “หัวหน้าเท้ง” ซะอีก จึงเป็น “เท้งเต้ง” ลอยไปลอยมา . "ดาวเด่น" ในปี 2567 นี้ สื่อมวลชนประจำรัฐสภา เห็นว่า "ไม่มีผู้ใดเหมาะสม" และโดดเด่นเพียงพอที่จะได้รับตำแหน่งนี้ ซึ่งเป็นปีที่ 3 แล้วที่ฝ่ายนิติบัญญัติขาดดาวเด่น . "ดาวดับ" ในปี 2567 นี้สื่อมวลชนประจำรัฐสภา มีความเห็นร่วมกันที่จะมีผู้ได้รับตำแหน่งนี้ 2 คน ได้แก่ "พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ” และ “นางสาวธิษะณา ชุณหะวัณ สส.กรุงเทพฯ พรรคประชาชน” . - “พล.อ.ประวิตร” จากพี่ใหญ่บูรพาพยัคฆ์ มากบารมี หัวกะไดบ้านป่าไม่เคยแห้ง กลายเป็นหมดราศี เคราะห์ซ้ำกรรมซัด ทั้งถูกร้องจริยธรรมโดดประชุม 84 ครั้ง จากนัดประชุม 95 ครั้ง มาเซ็นชื่อแล้วก็ชิ่ง สะท้อนการขาดความรับผิดชอบในหน้าที่พื้นฐานที่ต้องเข้าร่วมประชุม ทั้งที่ สส.ที่มีหน้าที่สำคัญในการประชุมสภาฯ จึงเรียกได้ว่า ไม่ทำงานจนดับ หนำซ้ำยังถูกขับออกจากพรรคร่วมรัฐบาล แม้พรรคฯ จะพยายามเสนอชื่อรัฐมนตรี และทวงเก้าอี้รัฐมนตรีไปแล้ว แต่รั้งอะไรไว้ไม่ได้ แถมยังต้องจำใจขับก๊วน ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า สส.พะเยา ออกจากพรรคฯ ให้เป็นไท จากกระแสข่าวความเชื่อมโยงบ่วง “ภูนับดาว” อีก . - “นางสาวธิษะณา” หลานปู่อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 17 ของไทย แม้พรรคประชาชน จะผลักดันการทำหน้าที่อย่างเต็มที่ แต่กลับสวนทางกับผลงาน เพราะฟังการอภิปรายแล้วต้องอ้าปากค้าง ทั้งอ่านตัวเลขผิด และยังอินกับสิทธิเสรีภาพเกินเบอร์ ถึงขนาดให้รัฐบาลรับรองสิทธิชาวเมียนมาหนีสงคราม จนถูกโซเชียลหัวคะแนนออแกนิคของพรรค ทับถมเป็น #พรรคประชาชนพม่า และถูกแซวว่า เป็น สส.ราชเทวี หรือหงสาวดีกันแน่? จึงสะท้อนว่า แม้พรรคฯ จะสนับสนุนมาก แต่เจ้าตัวกลับดับโอกาสนั้นเอง . “วาทะแห่งปี 2567" ได้แก่ "..ทำให้คนไทย มีกิน มีใช้ มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี.." โดยนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวในการแถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2567 ถือเป็นคำมั่นสัญญาสำคัญ ที่นายกรัฐมนตรี ได้ให้ไว้ต่อประชาชนผ่านสมาชิกรัฐสภา ซึ่งวาทะดังกล่าว ก็ยังคงเป็นที่ติดหู ติดปากประชาชน ตั้งแต่เวทีการหาเสียงของพรรคเพื่อไทย และถูกนำไปล้อเลียนในโซเชียลมีเดีย แต่นายกรัฐมนตรี ก็ยังคงนำวาทะนี้มายืนยันต่อสภา สวนทางกับภาวะเศรษฐกิจปากท้องของประชาชนในปัจจุบัน ซึ่งคำสัญญาที่นายกรัฐมนตรี ได้ให้ไว้ต่อประชาชนผ่านเวทีหาเสียงเลือกตั้ง และรัฐสภานี้ หากไม่สามารถทำได้จริง ประชาชนก็จะลงโทษในคูหาผ่านการเลือกตั้งครั้งถัดไป . “เหตุการณ์แห่งปี 2567” ได้แก่ "พรรคเพื่อไทย" เทียบเชิญ "พรรคประชาธิปัตย์" เข้าร่วมรัฐบาล 28 สิงหาคม 2567 ที่รัฐสภา ถือเป็นการปิดตำนานความขัดแย้งยาวนานกว่า 2 ทศวรรษ ระหว่าง 2 พรรคการเมืองใหญ่ที่ขับเคี่ยวทางการเมืองกันมาโดยตลอด ซ้ำยังกลืนอุดมการณ์พรรคฯ ที่ยึดถือมาเกือบ 80 ปี เพียงเพราะขันหมาก พร้อมสินสอด 2 เก้าอี้รัฐมนตรี ทำเอาบรรดาเสื้อแดง พ่อยก-แม่ยกประชาธิปัตย์ ที่บาดเจ็บล้มตายจากการไปร่วมชุมนุม กิน-นอนข้างถนนต้องอกหัก ไม่คิดว่า 2 พรรคนี้ จะมาบรรจบกันได้ หลังแกนนำรุ่นนี้ ประกาศ “ทิ้งความขัดแย้งไว้ข้างหลังแล้ว” แต่ผลพวงความเสียหาย ซากปรักหักพังของประเทศที่เคยเกิดจากความขัดแย้งจาก 2 พรรคนี้ คงถูกทิ้งไว้ข้างหลังแล้วด้วยเช่นกัน . คู่กัดแห่งปี ได้แก่ นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 และ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว สส.น่าน พรรคเพื่อไทย หลังมีข่าวกินแหนงแคลงใจกัน แม้จะอยู่พรรคเดียวกัน เพราะเมื่อ นพ.ชลน่าน พ้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และมีกระแสข่าวพรรคเพื่อไทย เตรียมดันขึ้นตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร แต่นายวันมูหะมัดนอร์ กลับกอดเก้าอี้ไว้แน่น จึงต้องเล็งมาที่เก้าอี้นายพิเชษฐ์ และเป็นที่สังเกตว่า ทุกครั้งที่นายพิเชษฐ์ ทำหน้าที่ควบคุมการประชุม นายแพทย์ชลน่าน ก็มักจะขึ้นมาอภิปราย และปะทะคารมกันบ่อยครั้ง จนถึงขั้นที่ นพ.ชลน่าน อภิปรายชี้หน้านายพิเชษฐ์ และบอกว่า หากทำหน้าที่ไม่ได้ ก็ให้รองประธานฯ อีกคนมาทำหน้าที่แทน ทำให้นายพิเชษฐ์ ของขึ้นโต้กลับอย่างควันออกหูว่า “ไม่ต้องชี้หน้า อยากเป็นก็ขึ้นมา” . ทั้งนี้ สื่อมวลชนประจำรัฐสภา ยังขอเป็นกำลังใจให้ สส.และ สว.ที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นอย่างดีอยู่แล้ว ให้มุ่งมั่น ตั้งใจ ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ส่วน สส. และ สว.ที่ยังบกพร่องในการทำหน้าที่ สื่อมวลชนหวังว่า จะมีการทบทวนปรับปรุงการทำหน้าที่ของตนเองให้ดีมากขึ้น เพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชนต่อไป ............... Sondhi X
Like
4
0 Comments 0 Shares 323 Views 0 Reviews