10 กรณี คอร์รัปชันแห่งปี 2567
.
1. กรณีลดโทษ พักโทษ มอบอภิสิทธิ์ให้นักโทษคดีโกงชาติ
นักโทษชั้น 14 ที่ไม่เคยนอนเรือนจำ และนักโทษคดีจำนำข้าว เช่น นายบุญทรง เสี่ยเปี๋ยง ได้เป็นอิสระเร็วเกินคาด ขณะที่อดีตข้าราชการในคดีเดียวกันยังติดคุกอยู่ แม้ไม่เชื่อมโยงกับการทุจริตที่เป็นตัวเงิน แต่การลดโทษ พักโทษ มอบอภิสิทธิ์ให้นักโทษคดีโกงชาติ คือ “โกงซ้อนโกง”
ถึงวันนี้นักการเมืองและข้าราชการบางคนยังจับมือกันปกปิดความจริง ปฏิเสธกระบวนการตรวจสอบ โดยไม่สนใจว่าจะค้านสายตาประชาชนและสังคมโลก

2. กรณีไฟไหม้รถนำเที่ยวเด็กนักเรียน สูญเสีย 22 ชีวิต
โศกนาฏกรรมนี้ผ่านไปเพียงไม่กี่เดือนเรื่องก็เงียบ ไม่มีเจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางบกคนใดต้องรับผิดชอบเลย! ไม่มีท่าทีของรัฐมนตรี และรัฐบาลที่จะหยุด “ส่วย-สินบน” ในหน่วยงานรัฐเพื่อแก้ปัญหาระยะยาว ทั้งที่เราต่างรู้แก่ใจว่าทุกวันนี้มีรถเถื่อน รถผิดกฎหมายวิ่งอยู่เต็มท้องถนน พร้อมจะนำความตายมาสู่ใครอีกก็ได้

3. คดีนายอิทธิพล คุณปลื้ม
ศาลคอร์รัปชันชี้ว่า “ผิดจริง” แต่ยกฟ้องเพราะคดีขาดอายุความ แถมตำหนิ “ป.ป.ช.” ว่า ไม่ใส่ใจทำคดี คำพิพากษานี้ยังทำให้เกิดประเด็นต้องติดตามอีกว่า เป็นการเปลี่ยนหลักกฎหมายเดิมที่กำหนดให้การหนีคดีของจำเลยทำให้อายุความสะดุดหยุดลง ใช่หรือไม่?

4. กรณีฮุบที่รถไฟ เขากระโดง
หลักนิติธรรมของประเทศถูกทำลาย เมื่ออิทธิพลนักการเมืองใหญ่เหนือคำพิพากษาศาลฎีกา และศาลปกครองสูงสุด กรมที่ดินและการรถไฟฯ โยนเรื่องกันไปมา เลือกหยิบยกข้อกฎหมายไปตีความจนบิดเบี้ยว มาดูกันว่า สุดท้ายแล้วสมบัติของชาติจะได้รับการปกป้องหรือรัฐต้องจ่ายค่าโง่อะไร ก่อนที่ ผู้มีอิทธิพลทางการเมืองเหล่านั้นจะได้สิทธิ์เช่าระยะยาวบนที่ดินหลวงในราคาแสนถูก

5. กรณีสัมปทานรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
โครงการมูลค่ากว่า 2 แสนล้านบาทนี้ พ่วงด้วยสิทธิ์บริหารรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิ้งค์ และที่ดินย่านมักกะสัน แม้การประมูลจบไปแล้ว 5 ปี แต่รัฐยังเปิดให้เอกชนเจรจาแก้สัญญาไม่รู้จบ เฉือนประโยชน์รัฐเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ขัดต่อหลักพื้นฐานการประมูลงานภาครัฐอย่างเป็นธรรม ถ่วงการพัฒนาโครงการ อีอีซี จนนักลงทุนต่างชาติเยาะหยันว่ามาทำธุรกิจเมืองไทย หากไม่มีพวกพ้องก็อยู่ไม่ได้ ความโปร่งใสเป็นแค่เรื่องเพ้อฝัน

6. กรณีฮุบป่า รุกที่ ส.ป.ก. หลายแสนไร่ทั่วประเทศ
เป็นดั่งยุคทองของพวกทำลายป่า เมื่อรัฐบาลมีนโยบาย ส.ป.ก. ทองคำ แก้กฎหมายให้ ส.ป.ก. เป็นโฉนดใช้ทำมาหากินได้แทบทุกอย่าง ซื้อขายสิทธิ์ง่าย จำนองธนาคารได้ วันนี้ ส.ป.ก. กว่าร้อยละ 30 อยู่ในมือนายทุน และยังคงถูกบุกรุกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ความสูญเสียเช่นนี้จะไม่เกิดขึ้น หากข้าราชการและนักการเมืองไม่มีเอี่ยว ความหวังยังพอมีเมื่อ ผอ.ชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร และข้าราชการจำนวนหนึ่งกล้าปะทะกับอดีต รมว. เกษตรฯ เพื่อให้พวกท่านเหล่านั้นมีพลังปกป้องผืนป่ามากขึ้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ประชาชนต้องแรงสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง

7. กรณีขุด/ขนย้ายกากแร่แคดเมียม
สังคมตื่นตระหนกเพราะกากแร่อันตรายที่เคยถูกกลบฝังกลับขุดมาขายได้ ขนย้ายผ่านไปหลายจังหวัด โดยประชาชนไม่รู้อะไรเลยเพราะทุกอย่างถูกปิดบัง กฎหมายและนโยบายของรัฐเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมแอบถูกแก้ไขและบิดเบือน ถึงวันนี้ทุกอย่างเงียบหาย ไม่ปรากฏข่าวว่าเจ้าหน้าที่รัฐหน่วยงานใดถูกลงโทษจริงจัง

8. กรณีหมูแช่แข็งเถื่อน
มีผู้สมรู้ร่วมคิด 3 ฝ่าย หนึ่ง-เจ้าหน้าที่รัฐบางคนในกรมศุลกากร กรมปศุสัตว์ กรมประมง อาหารและยา สอง-กลุ่มนักการเมืองใหญ่ สาม-กลุ่มนายทุนนำเข้า บริษัทชิปปิ้ง ทั้งนายทุนรับซื้อสินค้าไปจำหน่ายหรือนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร เนื้อหมูแช่แข็งเถื่อนทำลายความมั่นคงทางอาหารของชาติ ผู้เลี้ยงหมูเดือดร้อนทั่วประเทศ ขณะที่คนไทยต้องเสี่ยงภัยกับเนื้อหมูที่มีสารเร่งเนื้อแดง และเชื้อโรคที่อาจปนเปื้อนมา

9. กรณีปลาหมอคางดำ
วิกฤตสัตว์น้ำขั้นรุนแรงกินวงกว้าง เกิดจากเอกชนรายใหญ่เห็นแก่ได้ ไร้ความรับผิดชอบ เจ้าหน้าที่รัฐปล่อยปละมองข้ามความปลอดภัยของสังคม เกรงใจพ่อค้า โกงความคาดหวังของประชาชน

10. กรณีดิ ไอคอน
คดีดังที่แฉให้เห็นพฤติกรรมรุมกันเรียกรับสินบนของคนจากหลายหน่วยงานรัฐ นักการเมือง และบุคคลที่สังคมเคยไว้วางใจ คดีนี้ฉุดกระชากเหล่าซาตานในคราบเทวดาให้ตกสวรรค์ เผยให้สังคมเห็นคอร์รัปชันที่ทำให้ประชาชนผู้ตกเป็นเหยื่อถูกรัฐทอดทิ้งยามเดือดร้อน

ดร.มานะ นิมิตรมงคล ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย)
23 ธันวาคม 2567
10 กรณี คอร์รัปชันแห่งปี 2567 . 1. กรณีลดโทษ พักโทษ มอบอภิสิทธิ์ให้นักโทษคดีโกงชาติ นักโทษชั้น 14 ที่ไม่เคยนอนเรือนจำ และนักโทษคดีจำนำข้าว เช่น นายบุญทรง เสี่ยเปี๋ยง ได้เป็นอิสระเร็วเกินคาด ขณะที่อดีตข้าราชการในคดีเดียวกันยังติดคุกอยู่ แม้ไม่เชื่อมโยงกับการทุจริตที่เป็นตัวเงิน แต่การลดโทษ พักโทษ มอบอภิสิทธิ์ให้นักโทษคดีโกงชาติ คือ “โกงซ้อนโกง” ถึงวันนี้นักการเมืองและข้าราชการบางคนยังจับมือกันปกปิดความจริง ปฏิเสธกระบวนการตรวจสอบ โดยไม่สนใจว่าจะค้านสายตาประชาชนและสังคมโลก 2. กรณีไฟไหม้รถนำเที่ยวเด็กนักเรียน สูญเสีย 22 ชีวิต โศกนาฏกรรมนี้ผ่านไปเพียงไม่กี่เดือนเรื่องก็เงียบ ไม่มีเจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางบกคนใดต้องรับผิดชอบเลย! ไม่มีท่าทีของรัฐมนตรี และรัฐบาลที่จะหยุด “ส่วย-สินบน” ในหน่วยงานรัฐเพื่อแก้ปัญหาระยะยาว ทั้งที่เราต่างรู้แก่ใจว่าทุกวันนี้มีรถเถื่อน รถผิดกฎหมายวิ่งอยู่เต็มท้องถนน พร้อมจะนำความตายมาสู่ใครอีกก็ได้ 3. คดีนายอิทธิพล คุณปลื้ม ศาลคอร์รัปชันชี้ว่า “ผิดจริง” แต่ยกฟ้องเพราะคดีขาดอายุความ แถมตำหนิ “ป.ป.ช.” ว่า ไม่ใส่ใจทำคดี คำพิพากษานี้ยังทำให้เกิดประเด็นต้องติดตามอีกว่า เป็นการเปลี่ยนหลักกฎหมายเดิมที่กำหนดให้การหนีคดีของจำเลยทำให้อายุความสะดุดหยุดลง ใช่หรือไม่? 4. กรณีฮุบที่รถไฟ เขากระโดง หลักนิติธรรมของประเทศถูกทำลาย เมื่ออิทธิพลนักการเมืองใหญ่เหนือคำพิพากษาศาลฎีกา และศาลปกครองสูงสุด กรมที่ดินและการรถไฟฯ โยนเรื่องกันไปมา เลือกหยิบยกข้อกฎหมายไปตีความจนบิดเบี้ยว มาดูกันว่า สุดท้ายแล้วสมบัติของชาติจะได้รับการปกป้องหรือรัฐต้องจ่ายค่าโง่อะไร ก่อนที่ ผู้มีอิทธิพลทางการเมืองเหล่านั้นจะได้สิทธิ์เช่าระยะยาวบนที่ดินหลวงในราคาแสนถูก 5. กรณีสัมปทานรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โครงการมูลค่ากว่า 2 แสนล้านบาทนี้ พ่วงด้วยสิทธิ์บริหารรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิ้งค์ และที่ดินย่านมักกะสัน แม้การประมูลจบไปแล้ว 5 ปี แต่รัฐยังเปิดให้เอกชนเจรจาแก้สัญญาไม่รู้จบ เฉือนประโยชน์รัฐเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ขัดต่อหลักพื้นฐานการประมูลงานภาครัฐอย่างเป็นธรรม ถ่วงการพัฒนาโครงการ อีอีซี จนนักลงทุนต่างชาติเยาะหยันว่ามาทำธุรกิจเมืองไทย หากไม่มีพวกพ้องก็อยู่ไม่ได้ ความโปร่งใสเป็นแค่เรื่องเพ้อฝัน 6. กรณีฮุบป่า รุกที่ ส.ป.ก. หลายแสนไร่ทั่วประเทศ เป็นดั่งยุคทองของพวกทำลายป่า เมื่อรัฐบาลมีนโยบาย ส.ป.ก. ทองคำ แก้กฎหมายให้ ส.ป.ก. เป็นโฉนดใช้ทำมาหากินได้แทบทุกอย่าง ซื้อขายสิทธิ์ง่าย จำนองธนาคารได้ วันนี้ ส.ป.ก. กว่าร้อยละ 30 อยู่ในมือนายทุน และยังคงถูกบุกรุกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ความสูญเสียเช่นนี้จะไม่เกิดขึ้น หากข้าราชการและนักการเมืองไม่มีเอี่ยว ความหวังยังพอมีเมื่อ ผอ.ชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร และข้าราชการจำนวนหนึ่งกล้าปะทะกับอดีต รมว. เกษตรฯ เพื่อให้พวกท่านเหล่านั้นมีพลังปกป้องผืนป่ามากขึ้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ประชาชนต้องแรงสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง 7. กรณีขุด/ขนย้ายกากแร่แคดเมียม สังคมตื่นตระหนกเพราะกากแร่อันตรายที่เคยถูกกลบฝังกลับขุดมาขายได้ ขนย้ายผ่านไปหลายจังหวัด โดยประชาชนไม่รู้อะไรเลยเพราะทุกอย่างถูกปิดบัง กฎหมายและนโยบายของรัฐเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมแอบถูกแก้ไขและบิดเบือน ถึงวันนี้ทุกอย่างเงียบหาย ไม่ปรากฏข่าวว่าเจ้าหน้าที่รัฐหน่วยงานใดถูกลงโทษจริงจัง 8. กรณีหมูแช่แข็งเถื่อน มีผู้สมรู้ร่วมคิด 3 ฝ่าย หนึ่ง-เจ้าหน้าที่รัฐบางคนในกรมศุลกากร กรมปศุสัตว์ กรมประมง อาหารและยา สอง-กลุ่มนักการเมืองใหญ่ สาม-กลุ่มนายทุนนำเข้า บริษัทชิปปิ้ง ทั้งนายทุนรับซื้อสินค้าไปจำหน่ายหรือนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร เนื้อหมูแช่แข็งเถื่อนทำลายความมั่นคงทางอาหารของชาติ ผู้เลี้ยงหมูเดือดร้อนทั่วประเทศ ขณะที่คนไทยต้องเสี่ยงภัยกับเนื้อหมูที่มีสารเร่งเนื้อแดง และเชื้อโรคที่อาจปนเปื้อนมา 9. กรณีปลาหมอคางดำ วิกฤตสัตว์น้ำขั้นรุนแรงกินวงกว้าง เกิดจากเอกชนรายใหญ่เห็นแก่ได้ ไร้ความรับผิดชอบ เจ้าหน้าที่รัฐปล่อยปละมองข้ามความปลอดภัยของสังคม เกรงใจพ่อค้า โกงความคาดหวังของประชาชน 10. กรณีดิ ไอคอน คดีดังที่แฉให้เห็นพฤติกรรมรุมกันเรียกรับสินบนของคนจากหลายหน่วยงานรัฐ นักการเมือง และบุคคลที่สังคมเคยไว้วางใจ คดีนี้ฉุดกระชากเหล่าซาตานในคราบเทวดาให้ตกสวรรค์ เผยให้สังคมเห็นคอร์รัปชันที่ทำให้ประชาชนผู้ตกเป็นเหยื่อถูกรัฐทอดทิ้งยามเดือดร้อน ดร.มานะ นิมิตรมงคล ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) 23 ธันวาคม 2567
Like
Love
6
1 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 465 มุมมอง 1 รีวิว