นิด้าโพลเปิดผลสำรวจ คนไทยเหนื่อยหน่ายกับอะไรบ้างในปี 2567 พบเกินครึ่งเป็นเรื่องปัญหาเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อรายได้ รองลงมาเป็นภัยไซเบอร์ และความวุ่นวายทางการเมืองทั้งในและนอกสภา
.
วันนี้ (22 ธ.ค.) ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “เหนื่อยหน่ายกับอะไรบ้าง ในปี 2567 ที่ผ่านมา” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 16-18 ธ.ค. 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ รวม 1,310 หน่วยตัวอย่าง
.
เมื่อถามประชาชนถึงความสุขในปี 2567 ที่ผ่านมา พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 39.92 ระบุว่า ค่อนข้างมีความสุข เพราะ มีความสุขทั้งกับตัวเองและครอบครัว ชีวิตการทำงานราบรื่น ไม่มีอุปสรรค
.
รองลงมา ร้อยละ 32.52 ระบุว่า ไม่ค่อยมีความสุข เพราะมีปัญหาทางการเงินที่เกิดจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น และรู้สึกเบื่อหน่ายกับความวุ่นวายของสถานการณ์ทางการเมืองที่ไม่มีความแน่นอน
.
ร้อยละ 18.17 ระบุว่า มีความสุขมาก เพราะการใช้ชีวิตเป็นไปอย่างราบรื่น สุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ ไม่มีเรื่องใดที่ต้องกังวล
.
และร้อยละ 9.39 ระบุว่าไม่มีความสุขเลย เพราะ เศรษฐกิจที่ย่ำแย่ส่งผลให้เกิดปัญหาหนี้สินสะสม การใช้ชีวิตเป็นไปอย่างยากลำบากและไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงสิ่งที่ประชาชนเหนื่อยหน่ายในปี 2567 ที่ผ่านมา พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 52.14 ระบุว่า ปัญหาเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อรายได้และชีวิตความเป็นอยู่ รองลงมา ร้อยละ 28.09 ระบุว่า ปัญหาภัยไซเบอร์ เช่น แก๊งคอลเซ็นเตอร์ การแฮกข้อมูล เป็นต้น
.
ร้อยละ 27.86 ระบุว่า ปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองทั้งในและนอกสภา ร้อยละ 21.60 ระบุว่า ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดร้อยละ 14.89 ระบุว่า ปัญหาราคาพลังงาน ร้อยละ 13.59 ระบุว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อม ภัยทางธรรมชาติ ร้อยละ 13.44 ระบุว่า ปัญหาสุขภาพ โรคระบาด
.
ร้อยละ 12.98 ระบุว่า ปัญหาอาชญากรรม ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ร้อยละ 12.90 ระบุว่า ปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตร ร้อยละ 12.75 ระบุว่า ไม่เหนื่อยหน่ายกับอะไรเลย ร้อยละ 11.45 ระบุว่า ปัญหาความขัดแย้งในสังคม ร้อยละ 9.85 ระบุว่า ปัญหาการคอร์รัปชันในทุกระดับ
.
ร้อยละ 9.69 ระบุว่า ปัญหาการจราจร ร้อยละ 5.57 ระบุว่า ปัญหาความไม่เป็นธรรมในกระบวนการยุติธรรม ร้อยละ 4.81 ระบุว่า ปัญหาการแต่งตั้งโยกย้ายที่ไม่เป็นธรรมในระบบราชการ และร้อยละ 2.06 ระบุว่า ปัญหาสงคราม ความขัดแย้งในต่างประเทศ
นิด้าโพลเปิดผลสำรวจ คนไทยเหนื่อยหน่ายกับอะไรบ้างในปี 2567 พบเกินครึ่งเป็นเรื่องปัญหาเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อรายได้ รองลงมาเป็นภัยไซเบอร์ และความวุ่นวายทางการเมืองทั้งในและนอกสภา . วันนี้ (22 ธ.ค.) ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “เหนื่อยหน่ายกับอะไรบ้าง ในปี 2567 ที่ผ่านมา” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 16-18 ธ.ค. 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ รวม 1,310 หน่วยตัวอย่าง . เมื่อถามประชาชนถึงความสุขในปี 2567 ที่ผ่านมา พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 39.92 ระบุว่า ค่อนข้างมีความสุข เพราะ มีความสุขทั้งกับตัวเองและครอบครัว ชีวิตการทำงานราบรื่น ไม่มีอุปสรรค . รองลงมา ร้อยละ 32.52 ระบุว่า ไม่ค่อยมีความสุข เพราะมีปัญหาทางการเงินที่เกิดจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น และรู้สึกเบื่อหน่ายกับความวุ่นวายของสถานการณ์ทางการเมืองที่ไม่มีความแน่นอน . ร้อยละ 18.17 ระบุว่า มีความสุขมาก เพราะการใช้ชีวิตเป็นไปอย่างราบรื่น สุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ ไม่มีเรื่องใดที่ต้องกังวล . และร้อยละ 9.39 ระบุว่าไม่มีความสุขเลย เพราะ เศรษฐกิจที่ย่ำแย่ส่งผลให้เกิดปัญหาหนี้สินสะสม การใช้ชีวิตเป็นไปอย่างยากลำบากและไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงสิ่งที่ประชาชนเหนื่อยหน่ายในปี 2567 ที่ผ่านมา พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 52.14 ระบุว่า ปัญหาเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อรายได้และชีวิตความเป็นอยู่ รองลงมา ร้อยละ 28.09 ระบุว่า ปัญหาภัยไซเบอร์ เช่น แก๊งคอลเซ็นเตอร์ การแฮกข้อมูล เป็นต้น . ร้อยละ 27.86 ระบุว่า ปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองทั้งในและนอกสภา ร้อยละ 21.60 ระบุว่า ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดร้อยละ 14.89 ระบุว่า ปัญหาราคาพลังงาน ร้อยละ 13.59 ระบุว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อม ภัยทางธรรมชาติ ร้อยละ 13.44 ระบุว่า ปัญหาสุขภาพ โรคระบาด . ร้อยละ 12.98 ระบุว่า ปัญหาอาชญากรรม ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ร้อยละ 12.90 ระบุว่า ปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตร ร้อยละ 12.75 ระบุว่า ไม่เหนื่อยหน่ายกับอะไรเลย ร้อยละ 11.45 ระบุว่า ปัญหาความขัดแย้งในสังคม ร้อยละ 9.85 ระบุว่า ปัญหาการคอร์รัปชันในทุกระดับ . ร้อยละ 9.69 ระบุว่า ปัญหาการจราจร ร้อยละ 5.57 ระบุว่า ปัญหาความไม่เป็นธรรมในกระบวนการยุติธรรม ร้อยละ 4.81 ระบุว่า ปัญหาการแต่งตั้งโยกย้ายที่ไม่เป็นธรรมในระบบราชการ และร้อยละ 2.06 ระบุว่า ปัญหาสงคราม ความขัดแย้งในต่างประเทศ
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 196 มุมมอง 0 รีวิว