สงครามในโลกไซ-ไฟ กลายเป็นจริง!
นักวิจัยจีนหาวิธี ยิงเลเซอร์จากโดรน
"ลำแสงทรงพลัง" ตัดผ่านเหล็กได้
.
วันนี้ (15 ธ.ค.) เว็บไซต์ South China Morning Post สื่อฮ่องกงรายงานว่า เมื่อเดือนตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา ทีมวิจัยซึ่งนำโดย หลี่ เซียว (李霄) ผู้ช่วยนักวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมออปโตอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีการป้องกันประเทศแห่งชาติ (国防科技大学) กองทัพปลดแอกประชาชนจีน ได้เผยแพร่งานวิจัยที่ผ่านการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Acta Armamentarii ว่า
.
"ลำแสงเลเซอร์ที่ปล่อยออกมาจากโดรน เลเซอร์อินฟราเรดใกล้ (Near-infrared laser) ที่มีความยาวคลื่น 1,080 นาโนเมตร สามารถทำให้ตาบอดได้เมื่อใช้พลังงานเพียง 5 ไมโครวัตต์ ความเข้มของลำแสงที่เข้าตาทหารเหล่านี้มีมากกว่า 200 ล้านเท่า ซึ่งสูงถึง 1 กิโลวัตต์ต่อตารางเซนติเมตร หากผิวหนังที่ถูกยิงโดน ไขมันใต้ผิวหนังจะระเหยไปในทันที โดยเลเซอร์ที่มีความเข้มข้นดังกล่าวมีศักยภาพเพียงพอที่จะ 'ตัดผ่านโลหะได้' "
.
อีเมลของ หลี่ เซียว ที่ใช้ชื่อขึ้นต้นว่า "crazy.li" แสดงให้เห็นถึงความคิดที่แหวกแนวของเขา โดยก่อนหน้านี้สิ่งที่เขาจินตนาการเอาไว้นั้นถูกมองว่าเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เพราะการสร้างลำแสงเลเซอร์ที่มีความสามารถในการล่าสังหารจากระยะไกล โดยปกติแล้วต้องใช้อุปกรณ์ในการผลิตลำแสงขนาดใหญ่ราว ๆ รถบรรทุก ซึ่งจักรกลขนาดเล็กอย่างโดรนนั้นไม่สามารถบรรทุกอาวุธเลเซอร์ที่มีพลังสูง และอุปกรณ์จ่ายพลังงานที่เกี่ยวข้องได้
.
โดยหลี่ และทีมงานของเขา ได้ประดิษฐ์คิดค้นอุปกรณ์เปลี่ยนทิศทางขนาดเล็ก และมีน้ำหนักเบาที่ช่วยให้โดรนที่ติดตั้งอุปกรณ์นี้สามารถรับลำแสงที่มีพลังสูงจากพื้นดินและสะท้อนไปยังเป้าหมายของศัตรูได้ โดยวิธีนี้ไม่เพียงแต่เพิ่มพลังเลเซอร์ที่โดรนปล่อยออกมาเป็น 30 กิโลวัตต์หรือสูงกว่านั้นเท่านั้น แต่ยังช่วยให้ลำแสงโค้งงอในท้องฟ้าได้ โดยหลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวาง เช่น อาคาร และโจมตีเป้าหมายในจุดที่เปราะบางที่สุดได้อีกด้วย
.
“ในอนาคต โดรนหลายลำสามารถติดตั้งอุปกรณ์นี้เพื่อตรวจจับเป้าหมาย แล้วร้องขอลำแสงจากภาคพื้น (ตามภาพประกอบ) ซึ่งจะช่วยเพิ่มความเร็วในการตอบสนองได้มากขึ้น” ทีมงานระบุในงานวิจัย
.
สำหรับ ส่วนประกอบหลักของอุปกรณ์เปลี่ยนทิศทางนั้นเป็น ท่อคล้ายกล้องโทรทรรศน์สองท่อ โดย "ท่อรับ" จะหันไปทางเครื่องส่งเลเซอร์ฝ่ายเดียวกันที่อยู่บนพื้น และ "ท่อสะท้อนแสง" ซึ่งจะชี้ตรงไปยังเป้าหมาย ซึ่งเป็นฝั่งศัตรู
.
การเคลื่อนไหวของท่อควบคุมด้วยกลไกเซอร์โวปรับระดับความสูงที่มีความแม่นยำสูงเป็นพิเศษ และแท่นหมุนแนวราบ และเส้นทางแสงระหว่างท่อทั้งสองเชื่อมต่อกันด้วยกระจกสะท้อนแสงประสิทธิภาพสูง
.
ปัญหาหลักอีกประการของวิธีการนี้ คือ แรงสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นระหว่างการบินของโดรน ซึ่งอาจทำให้ลำแสงเลเซอร์กระจัดกระจาย และลดความรุนแรงของลำแสงลงได้ ดังนั้น อุปกรณ์จะต้องมีเทคโนโลยีป้องกันการสั่นสะเทือนที่ดีเยี่ยม ทีมงานของหลี่ระบุ
.
นอกจากนี้ การล็อกเส้นทางแสงระหว่างโดรน และตัวปล่อยภาคพื้นดินอย่างแน่นหนายังต้องใช้เทคโนโลยีบีคอนออปติกชั้นยอด (first-rate optical beacon) อีกด้วย โดยปัญหาทางเทคนิคเหล่านี้ส่วนใหญ่ นักวิจัยชาวจีนได้หาทางแก้ไขได้แล้ว
.
อนึ่ง จีนเคยส่งดาวเทียมควอนตัมดวงแรกของโลกขึ้นสู่อวกาศในปี 2559 โดยเปลี่ยนเทคโนโลยีการเล็งด้วยเลเซอร์ระยะไกลเป็นพิเศษ (ultra-long-distance laser aiming technology) จากนวนิยายวิทยาศาสตร์ให้กลายเป็นความจริงได้ โดยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ชาวจีนยังประสบความสำเร็จในการพัฒนาเทคโนโลยีการซิงโครไนซ์เวลาที่มีความแม่นยำสูงเป็นพิเศษบนอุปกรณ์พกพา ซึ่งช่วยปรับปรุงความแม่นยำในการประสานงานระหว่างแพลตฟอร์มอาวุธอัจฉริยะได้อย่างมาก
.
สิ่งนี้ทำให้เกิดความก้าวหน้าอย่างใหญ่หลวงของเทคโนโลยีที่ครั้งหนึ่ง เคยถูกมองว่าเป็นเรื่องเพ้อฝัน เช่น การรวมคลื่นไมโครเวฟ หรือ เลเซอร์ที่ปล่อยออกมาจากแพลตฟอร์มต่างๆ ให้กลายเป็นลำแสงพลังงานสูงบนท้องฟ้า เป็นต้น
.
.
.
เรียบเรียงจาก >> https://www.scmp.com/news/china/science/article/3290461/chinese-laser-scientist-crazy-li-arms-small-drones-metal-cutting-beam
สงครามในโลกไซ-ไฟ กลายเป็นจริง! นักวิจัยจีนหาวิธี ยิงเลเซอร์จากโดรน "ลำแสงทรงพลัง" ตัดผ่านเหล็กได้ . วันนี้ (15 ธ.ค.) เว็บไซต์ South China Morning Post สื่อฮ่องกงรายงานว่า เมื่อเดือนตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา ทีมวิจัยซึ่งนำโดย หลี่ เซียว (李霄) ผู้ช่วยนักวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมออปโตอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีการป้องกันประเทศแห่งชาติ (国防科技大学) กองทัพปลดแอกประชาชนจีน ได้เผยแพร่งานวิจัยที่ผ่านการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Acta Armamentarii ว่า . "ลำแสงเลเซอร์ที่ปล่อยออกมาจากโดรน เลเซอร์อินฟราเรดใกล้ (Near-infrared laser) ที่มีความยาวคลื่น 1,080 นาโนเมตร สามารถทำให้ตาบอดได้เมื่อใช้พลังงานเพียง 5 ไมโครวัตต์ ความเข้มของลำแสงที่เข้าตาทหารเหล่านี้มีมากกว่า 200 ล้านเท่า ซึ่งสูงถึง 1 กิโลวัตต์ต่อตารางเซนติเมตร หากผิวหนังที่ถูกยิงโดน ไขมันใต้ผิวหนังจะระเหยไปในทันที โดยเลเซอร์ที่มีความเข้มข้นดังกล่าวมีศักยภาพเพียงพอที่จะ 'ตัดผ่านโลหะได้' " . อีเมลของ หลี่ เซียว ที่ใช้ชื่อขึ้นต้นว่า "crazy.li" แสดงให้เห็นถึงความคิดที่แหวกแนวของเขา โดยก่อนหน้านี้สิ่งที่เขาจินตนาการเอาไว้นั้นถูกมองว่าเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เพราะการสร้างลำแสงเลเซอร์ที่มีความสามารถในการล่าสังหารจากระยะไกล โดยปกติแล้วต้องใช้อุปกรณ์ในการผลิตลำแสงขนาดใหญ่ราว ๆ รถบรรทุก ซึ่งจักรกลขนาดเล็กอย่างโดรนนั้นไม่สามารถบรรทุกอาวุธเลเซอร์ที่มีพลังสูง และอุปกรณ์จ่ายพลังงานที่เกี่ยวข้องได้ . โดยหลี่ และทีมงานของเขา ได้ประดิษฐ์คิดค้นอุปกรณ์เปลี่ยนทิศทางขนาดเล็ก และมีน้ำหนักเบาที่ช่วยให้โดรนที่ติดตั้งอุปกรณ์นี้สามารถรับลำแสงที่มีพลังสูงจากพื้นดินและสะท้อนไปยังเป้าหมายของศัตรูได้ โดยวิธีนี้ไม่เพียงแต่เพิ่มพลังเลเซอร์ที่โดรนปล่อยออกมาเป็น 30 กิโลวัตต์หรือสูงกว่านั้นเท่านั้น แต่ยังช่วยให้ลำแสงโค้งงอในท้องฟ้าได้ โดยหลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวาง เช่น อาคาร และโจมตีเป้าหมายในจุดที่เปราะบางที่สุดได้อีกด้วย . “ในอนาคต โดรนหลายลำสามารถติดตั้งอุปกรณ์นี้เพื่อตรวจจับเป้าหมาย แล้วร้องขอลำแสงจากภาคพื้น (ตามภาพประกอบ) ซึ่งจะช่วยเพิ่มความเร็วในการตอบสนองได้มากขึ้น” ทีมงานระบุในงานวิจัย . สำหรับ ส่วนประกอบหลักของอุปกรณ์เปลี่ยนทิศทางนั้นเป็น ท่อคล้ายกล้องโทรทรรศน์สองท่อ โดย "ท่อรับ" จะหันไปทางเครื่องส่งเลเซอร์ฝ่ายเดียวกันที่อยู่บนพื้น และ "ท่อสะท้อนแสง" ซึ่งจะชี้ตรงไปยังเป้าหมาย ซึ่งเป็นฝั่งศัตรู . การเคลื่อนไหวของท่อควบคุมด้วยกลไกเซอร์โวปรับระดับความสูงที่มีความแม่นยำสูงเป็นพิเศษ และแท่นหมุนแนวราบ และเส้นทางแสงระหว่างท่อทั้งสองเชื่อมต่อกันด้วยกระจกสะท้อนแสงประสิทธิภาพสูง . ปัญหาหลักอีกประการของวิธีการนี้ คือ แรงสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นระหว่างการบินของโดรน ซึ่งอาจทำให้ลำแสงเลเซอร์กระจัดกระจาย และลดความรุนแรงของลำแสงลงได้ ดังนั้น อุปกรณ์จะต้องมีเทคโนโลยีป้องกันการสั่นสะเทือนที่ดีเยี่ยม ทีมงานของหลี่ระบุ . นอกจากนี้ การล็อกเส้นทางแสงระหว่างโดรน และตัวปล่อยภาคพื้นดินอย่างแน่นหนายังต้องใช้เทคโนโลยีบีคอนออปติกชั้นยอด (first-rate optical beacon) อีกด้วย โดยปัญหาทางเทคนิคเหล่านี้ส่วนใหญ่ นักวิจัยชาวจีนได้หาทางแก้ไขได้แล้ว . อนึ่ง จีนเคยส่งดาวเทียมควอนตัมดวงแรกของโลกขึ้นสู่อวกาศในปี 2559 โดยเปลี่ยนเทคโนโลยีการเล็งด้วยเลเซอร์ระยะไกลเป็นพิเศษ (ultra-long-distance laser aiming technology) จากนวนิยายวิทยาศาสตร์ให้กลายเป็นความจริงได้ โดยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ชาวจีนยังประสบความสำเร็จในการพัฒนาเทคโนโลยีการซิงโครไนซ์เวลาที่มีความแม่นยำสูงเป็นพิเศษบนอุปกรณ์พกพา ซึ่งช่วยปรับปรุงความแม่นยำในการประสานงานระหว่างแพลตฟอร์มอาวุธอัจฉริยะได้อย่างมาก . สิ่งนี้ทำให้เกิดความก้าวหน้าอย่างใหญ่หลวงของเทคโนโลยีที่ครั้งหนึ่ง เคยถูกมองว่าเป็นเรื่องเพ้อฝัน เช่น การรวมคลื่นไมโครเวฟ หรือ เลเซอร์ที่ปล่อยออกมาจากแพลตฟอร์มต่างๆ ให้กลายเป็นลำแสงพลังงานสูงบนท้องฟ้า เป็นต้น . . . เรียบเรียงจาก >> https://www.scmp.com/news/china/science/article/3290461/chinese-laser-scientist-crazy-li-arms-small-drones-metal-cutting-beam
Like
Wow
9
1 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 369 มุมมอง 0 รีวิว